วิธีการคุ้มครองโจทก์ มาตรา 254

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
นอร์เวย์ 14 มีนาคม 2556 วิวยามเช้า
Advertisements

การอธิบายด้วยสมการ การอธิบายด้วยกราฟ กรณีของประเทศไทย
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต UMAPORN.
หน่วยของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็กๆเรียกว่า เซลล์ 1.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยีสต์ 2.สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น.
คณะอุตสาหกรรมเกษตร พุทธศักราช 2547
จีนกับเศรษฐกิจเปิด เริ่ม 2521
พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
นางสาวดรุณรัตน์ แก้วมูล รหัสนักศึกษา
ทิศทางการพัฒนาการเกษตร ของจังหวัดน่าน ด้านการประมง
Lesson 3 HAI, WAKARIMASHITA はい、わかりました。.
ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น
HAI, WAKARIMASHITA はい、わかりました。.
Ima nan ji desu ka พรเทพ เจิมขุนทด.
ALL RIGHTS RESERVED K. Charernsom: Dept. Entomology, Kasetsart Univ.
Sukanlaya Tantiwisawaruji
Page: 1 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ อ. บุรินทร์ รุจจนพันธุ์.. ปรับปรุง 12 กรกฎาคม 2550 HTML (HyperText Markup Language)
HTML Hypertext Markup Language Updated : August 23,2012.
Skype (สไคป์) เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วยภาพและเสียง สามารถ Download โปรแกรม Skype ได้ที่
การแปลงชนิดข้อมูลของตัวแปร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สู่ความเป็นนานาชาติ
English Basic.
- เครื่องมือพัฒนา Web Design - CMS ยอดนิยม - Web Google Map Api
นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร
การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา
สื่อสารความเสี่ยงแห่งอาเซียนสำหรับผู้ฝึกสอนหรือพี่เลี้ยง
Session 1 Welcome & International Economics Is Different.
“EndNote Program : Introduction” Nounlaor Chulapasars Librarian Faculty of Veterinary Medicine CMU 2008.
Happy 8 WorK Place นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์
F.I.O State Enterprise Economic Plantation 144,000 ha (200 Project) Wood Residues 1,200,000 tons/yr Agriculture Residues from Neighboring F.I.O Plantation.
Highlight in ThaiRefer version 1.6.
นายกฤษพงษ์ สุบันนารถ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น โครงการสังเคราะห์องค์ ความรู้ จากรายงานสอบสวนโรคเลป โตสไปโรซิส ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่
รายวิชา ท ๓๑๑๐๑ ภาษาไทย จัดทำโดย ครูสุดใจ เรืองวนิช
แฟ้มสะสมผลงาน ด. ญ. ปติวรดา รัตนการ ชั้น ม.2/8 เลขที่ 32.
RNA (Ribonuclei c acid). RNA มี 3 ชนิด คือ 1.Ribosomal RNA (rRNA) ไร โบโซมอล อาร์เอ็นเอ ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหลัก ของ ribosome 2.Transfer RNA (tRNA)
Indirect Question without Question Word.
Thai Festivals Thai Festivals By..... Mrs. Atitaya Pimpa Foreign Language Department Sa School. Nan.
ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ( )
Guide Line Migrated Network นครหลวงที 1 Planning
Posttranslational Modifications
本命チョコ 義理チョコ 友チョコ ローマ字で書いてください の ประเทศ kuni มหาวิทยาลัย daigaku ร่ม kasa กระเป๋า kaban กุญแจ kagi บ้าน ie/uchi การบ้าน shukudai หมา inu ฉัน watashi คุณพ่อ.
By Aj. Somboon Sammatchani
เซลล์ (Cell).
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสุโขทัย
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
Nursing Care of patients with arthritis
Nerve injury Kaiwan Sriruanthong M.D. Nan Hospital.
บทที่ 4 หน่วยของสิ่งมีชีวิต.
การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา
ยีนและโครโมโซม.
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ (Cell and Cell Compositions)
MATLAB Week 2.
บทที่ 1 อยู่ดีมีสุข.
บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เซลล์และองค์ประกอบสำคัญของเซลล์
อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ประชุมคณะอนุกรรมการติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ
โครงสรางพื้นฐานของเซลล
ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มรอบ
วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา วิธีการคุ้มครองจำเลย มาตรา 253
แก๊ส (Gas) ปิติ ตรีสุกล โครงการจัดตั้งภาควิชาเคมี
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
2 E 2 S E M N G Requests and Replies
ผลการดำเนินงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบส่งต่อ
วิธีการคุ้มครองคู่ความ มาตรา 264
การเสวนา “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างนโยบายที่เหมาะสม
Fichtner, Falk; Mörer, Onnen; Laudi, Sven; Weber-Carstens, Steffen; Nothacker, Monika; Kaisers, Udo Beatmungstherapie und Extrakorporalverfahren bei akuter.
Sukhothai page M.1 History.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิธีการคุ้มครองโจทก์ มาตรา 254 กฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง 2

วิธีการคุ้มครองโจทก์ มาตรา 254 มาตรา 254 คดีอื่นๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่ จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องหรือในเวลาใดๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคำขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่ง เงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใดๆ ดังต่อไปนี้ (1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของ จำเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจำนวน เงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่ จำเลย (2) ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือ กระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญาหรือการกระทำ ที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความ เดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำ ของจำเลย หรือมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของ จำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือ การบุบสลายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

วิธีการคุ้มครองโจทก์ มาตรา 254 (3) ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจด ทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิก ถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สิน ของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) ให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้ อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไป จนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกา ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอตาม มาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่ง อนุญาตหรือยกคำขอเช่นว่านี้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

เหตุที่ต้องให้การคุ้มครอง ในระหว่างการพิจารณาคดีก่อนที่ศาลจะมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์ชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา จำเลยอาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน ระหว่างพิจารณา เพื่อมิให้โจทก์บังคับคดีให้เป็นไป ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะมีขึ้นได้ หรือแม้จะ บังคับคดีได้แต่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย วัตถุประสงค์ของมาตรา 254 เพื่อให้โจทก์ สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่โจทก์ขอคุ้มครองจะต้องตรงกับ การกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ใน ประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้าย ฟ้องด้วย 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 4659/2555 ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเนื่องจากการ จัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็น ทายาทผู้รับพินัยกรรมของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมตัดทายาท โดยธรรมมิให้รับมรดก ผู้ร้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ขอให้ยกคำร้อง และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คดี จึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดสมควรเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งหากผู้ร้องชนะคดีศาลก็เพียงมีคำสั่งตั้ง ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ไม่มีผลบังคับไปถึงรายได้หรือ ดอกผลจากกองมรดกของผู้ตายซึ่งผู้คัดค้านเป็นผู้ครอบครองตามที่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาด้วย คำร้องขอ คุ้มครองชั่วคราวของผู้ร้องที่ขอให้ผู้คัดค้านนำรายได้หรือดอก ผลจากกองมรดกของผู้ตายมาเก็บไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ หรือฝากธนาคารไว้หรือตั้งผู้ร้องเป็นผู้ควบคุมจัดการรายได้ จากทรัพย์มรดกภายใต้การกำกับของศาลก่อนมีคำพิพากษา คำร้องขอคุ้มครองดังกล่าวเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นข้อ พิพาทแห่งคดีและคำขอท้ายคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่มีเหตุ สมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(2) มาใช้บังคับ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ประเภทของคำพิพากษาคดีแพ่ง บังคับให้ใช้เงิน บังคับให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ บังคับให้ขับไล่หรือรื้อถอน บังคับให้ส่งมอบทรัพย์สิน บังคับให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาทำ นิติกรรม ข้อพิจารณา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำขอท้ายฟ้องของ โจทก์หรือคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลย 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2552 วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์สามารถ บังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอ คุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ใน ประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน พิพาทโดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้ โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะ ซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของ โจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอ คุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำ นิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทไว้ ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดี และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำ วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 มาใช้บังคับได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

บุคคลที่จะขอความคุ้มครอง 1) โจทก์ หมายถึง ผู้ที่ยื่นคำฟ้องต่อศาล และโจทก์ที่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเท่านั้น 2) จำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้ง (โจทก์ฟ้องแย้ง) 3) ผู้ร้องในคดีไม่มีข้อพิพาทที่มีการ คัดค้าน 4) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษากรณีจำเลยขาด นัด ต่อมาลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอให้ พิจารณาใหม่ แล้วศาลได้ส่งคำสั่งให้งดการ บังคับคดีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อสังเกต 2. จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรานี้ ไม่ได้ 1. คำขอในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ผู้ขอต้องเป็นโจทก์ ตามคำฟ้องของศาลชั้นต้นเท่านั้น เพราะโจทก์มีคำ ขอให้บังคับจำเลย จำเลยซึ่งมิได้ฟ้องแย้งคงให้การ ต่อสู้คดีให้พ้นความรับผิด มิได้ขอให้บังคับอย่างใด หากจำเลยชนะคดี ศาลก็เพียงยกฟ้องโจทก์ จำเลยไม่ มีผลประโยชน์อะไรที่ศาลจะต้องคุ้มครองให้ในระหว่าง พิจารณา 2. จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรานี้ ไม่ได้ 3. จำเลยผู้อุทธรณ์หรือฎีการ้อง (โจทก์อุทธรณ์หรือ โจทก์ฎีกา) ขอความคุ้มครองตามมาตรา 254 ไม่ได้ 4. บุคคลภายนอกคดีร้องขอความคุ้มครองไม่ได้ แม้ จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีอื่น 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2502 ผู้ร้องเป็นแต่เพียงผู้ที่อ้างตนว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย โดยผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยในคดีหนึ่ง ไม่ มีสิทธิอย่างใดที่จะมาร้องขอให้งดการขายทอดตลาด ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่ง ได้นำยึดไว้เพื่อบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้และผู้ ร้องจะไปร้องในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ขอยึดหรืออายัดทรัพย์ ดังกล่าวนี้ก่อนคำพิพากษาตาม ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ก็ไม่ได้ เพราะต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 คู่ความที่เกี่ยวข้องกับคดีเท่านั้นที่จะร้องขอขยาย ระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบุคคลนอกคดี ก็ไม่อาจจะ ขอให้ศาลสั่งขยายระยะเวลาการขายทอดตลาดเพื่อให้ โอกาสผู้ร้องเข้าขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ขายนั้นได้ การขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ1หมวด 1 นั้น จะกระทำ ได้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นคู่ความในคดีนั้น 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) แต่ผู้ที่จะมีสิทธิ ขอคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวต้อง เป็นโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำ ร้องดังกล่าว 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ก่อนพิพากษา (ม.254(1)) ทรัพย์สินที่จะยึด ได้แก่ ทรัพย์สินที่พิพาทและ ทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดหรือบางส่วน ทรัพย์สินที่อายัด ได้แก่ จำนวนเงินหรือ ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ที่จำเลยมีสิทธิ เรียกร้องซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย ข้อพิจารณา วิธีการนี้ใช้ สำหรับคำฟ้องที่ขอให้บังคับ จำเลยชำระเงิน 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 2381/2530 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยร่วมกันชำระเงินค่า รับเหมาก่อสร้างค่าสินจ้างและค่าเสียหาย ก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบบัญชีผู้พักและ รายได้โรงแรมของจำเลยที่ 1 และนำผลประโยชน์ รายวันของโรงแรมมาเก็บรักษา โดยอ้างว่าจำเลย มีหนี้สินและเจ้าหนี้จำนวนมาก หากโจทก์ชนะคดี ก็ยากจะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ ดังนี้ คำขอ ของโจทก์หาใช่ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของ จำเลย หรือเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยตาม 254 (1) ไม่ จึง ไม่อาจยกเอาบทกฎหมายดังกล่าวมาปรับสั่งคดี โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ห้ามจำเลยกระทำการจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น (ม.254(2)) ห้ามจำเลยกระทำการจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคำสั่งเป็น อย่างอื่น แบ่งออกเป็น 4 กรณี ห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการ ละเมิด การผิดสัญญา หรือ การกระทำที่ถูกฟ้องร้อง มีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไป เนื่องจากการกระทำของจำเลย ข้อพิจารณา สองวิธีการนี้ใช้สำหรับคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลย กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ มีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือ จำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลย มีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลย ข้อพิจารณา สองวิธีการนี้ใช้สำหรับคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลย ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 2708/2522 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่โจทก์เพื่อให้ โจทก์มีสิทธิและอำนาจดำเนินการขุดแร่หรือโอนขายประทานบัตรและ อื่นๆ ได้ทั้งสิ้นตามสัญญาขายสิทธิการทำเหมืองแร่ เช่นดังที่จำเลย ได้เคยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไว้แต่เดิมและขอให้เพิกถอน หนังสือมอบอำนาจที่จำเลยมอบอำนาจไห้ ว.มาเปิดทำการขุดหาแร่ ในที่ประทานบัตรที่ขายให้โจทก์ อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้อง ทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แล้วโจทก์มีคำขอให้ศาลสั่ง ห้ามชั่วคราวมิให้จำเลย และ ว. เข้าทำเหมืองแร่ คำฟ้องของโจทก์ มิใช่เรื่องขอให้บังคับเอาแก่ตัวทรัพย์หรือเหมืองแร่ที่โจทก์ขอให้ ศาลมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของโจทก์เลย และโจทก์มิได้ฟ้อง เรียกค่าเสียหายมาด้วย เหมืองแร่ที่ ว. เข้าไปทำจึงมิใช่ตัว ทรัพย์ที่พิพาทในคดีนี้ การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอให้ศาลมี คำสั่งคุ้มครองสิทธิของโจทก์ดังกล่าว จึงไม่ตรงกับการ กระทำที่จำเลยถูกฟ้อง ซึ่งไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์หรือเหมืองแร่ หากการกระทำของ ว. และจำเลยอาจเกิดความเสียหายแก่ โจทก์ในเวลาต่อมา ก็เป็นเรื่องนอกคำขอท้ายฟ้องคดีนี้ และ ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของโจทก์ให้กระทบกระเทือนถึง ว. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่มีโอกาสต่อสู้คดีหาได้ไม่ ศาลจึงไม่จำต้องรับคำร้องของโจทก์ไว้พิจารณา 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 13124/2553 การขอคุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา 254(2) จะต้องเป็นการห้ามมิให้กระทำซ้ำซึ่งการละเมิดหรือการ ผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคำสั่ง อื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลย หาก กรณีไม่ใช่เรื่องดังกล่าวแล้ว จะต้องเป็นการห้าม ชั่วคราวมิให้จำเลยโอนขาย ยักย้าย หรือจำหน่าย ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่ง ให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายซึ่ง ทรัพย์สินดังกล่าว แต่กรณีตามคำร้องของโจทก์ที่ ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจนกว่าศาลจะ พิพากษาคดีถึงที่สุดนี้ ไม่เข้าเหตุดังกล่าวข้างต้น เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้พยายามโอนขายที่ดินพิพาท ให้แก่บุคคลอื่น จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะขอ คุ้มครองชั่วคราวได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ระงับการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด (ม.254(3)) ระงับการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือ บุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจด ทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการ เพิกถอนการจดทะเบียน ไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง ต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่พิพาท หรือ ทรัพย์สินของจำเลย หรือ ที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

เงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาต หลักเกณฑ์ที่ศาลจะพิจารณา (ม.254 ประกอบ ม.255) ต้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่และไม่ใช่คดีที่โดย สภาพแห่งคำฟ้องไม่อาจขอได้ คำฟ้องต้องมีมูล ต้องมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอ นั้นมาใช้ ต้องเป็นประโยชน์ต่อการบังคับคดี ต้องมีเหตุผลอันสมควรและมีความเหมาะสม 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ต้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่ ลักษณะของคดีมโนสาเร่ (ม.189) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณ เป็นราคาเงินได้หรือคดีที่มีทุนทรัพย์หรือราคา ทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจาก อสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ต้องไม่ใช่คดีที่โดยสภาพแห่งคำฟ้องไม่อาจขอได้ แม้เป็นคดีแพ่งสามัญ แต่ สภาพแห่งคำฟ้องไม่อาจมีคำขอ ได้ เช่น ฟ้องหย่า ฟ้องให้ เพิกถอนการสมรส ฟ้องขอให้ รับรองบุตร ฟ้องขอให้เพิกถอน ผู้ชำระบัญชีหรือผู้จัดการมรดก 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำฟ้องต้องมีมูล คำว่า “มีมูล” หมายถึง มีมูลที่จะนำคดี มาฟ้องร้องจำเลยต่อศาลได้ พิจารณาจาก คำฟ้องของโจทก์เท่านั้น ไม่ต้องไป พิจารณาถึงพยานหลักฐานในสำนวน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาหรือ ขอให้สั่งงดการบังคับคดี ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ ไม่มีมูล โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตาม สัญญา ถือว่าเป็นคำฟ้องที่มีมูล โดยโจทก์ ไม่ต้องนำสืบพยานหลักฐานจนสิ้นกระแส ความ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2539 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145 วรรคแรกบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมี คำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำ พิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองด เสียถ้าหากมีเมื่อโจทก์ทั้งสองเห็นว่าคำพิพากษาของศาล ชั้นต้นไม่ถูกต้องโจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาเพื่อให้ ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไขต่อไปสำหรับการ บังคับคดีนั้นเมื่อโจทก์ที่1ซึ่งเป็นฝ่าย แพ้คดีมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจำเลยที่2ซึ่งเป็น ฝ่ายชนะชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271หาก โจทก์ทั้งสองประสงค์จะขอให้งดการบังคับคดีไว้ก็ต้องยื่นคำ ร้องขอในคดีเดิมโจทก์ทั้งสองไม่อาจฟ้องขอให้ เพิกถอนคำ พิพากษาหรือขอให้สั่ง งดการบังคับคดีเป็นคดีใหม่ได้เมื่อ โจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ก็ไม่อาจนำวิธีการชั่วคราว ก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา254มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสี่ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ต้องมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ กรณีโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ ก่อนพิพากษาตามมาตรา 254 (1) ต้องให้เป็นที่พอใจ ของศาลใน 2 กรณี ตามมาตรา 225 ดังนี้ จำเลยตั้งใจจะยักย้าย โอน ขายหรือจำหน่าย ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของตนทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล เพื่อประวิงหรือ ขัดขวางต่อการบังคับตามคำบังคับใดๆ ซึ่งอาจจะ ออกบังคับเอาแก่จำเลย หรือจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ (ม.255(1)(ก)) มีเหตุจําเป็นอื่นใดตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็น เป็นการยุติธรรมและสมควร (ม.255(1)(ข)) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 753/2541 โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างเจ้ามรดกยังมีชีวิตได้มอบหมายให้จำเลย ซึ่งเป็นบุตรคนหนึ่งดูแลทรัพย์สินและจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน แทนเจ้ามรดกมีทรัพย์สินเป็นเงินสดและที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เจ้า มรดกลงชื่อจำเลยในบัญชีเงินฝากและในโฉนดที่ดิน โดยแสดง เจตนาว่าทรัพย์สินของเจ้ามรดกนั้น จำเลยมีชื่อเพียงในฐานะผู้ ครอบครองแทน เจ้ามรดกมีเจตนาที่จะแบ่งทรัพย์สินของตนให้บุตร ทุกคนเท่ากันเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการ มรดกและทายาทคนอื่นเรียกให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่จำเลย ครอบครองอยู่เข้ากองมรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทแต่จำเลยปฏิเสธ คำฟ้องดังกล่าวย่อมครอบคลุมรวมทั้งทรัพย์มรดกที่มีชื่อและไม่มีชื่อเจ้า มรดก มิได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่มีชื่อเจ้ามรดกปรากฏอยู่เท่านั้น และโดยที่ในชั้นพิจารณามีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าเงินฝากในธนาคาร เป็นเงินที่เจ้ามรดกยกให้จำเลยหรือเพียงให้จำเลยจัดการแทน ซึ่ง หากเป็นกรณีเพียงให้จำเลยจัดการแทน แม้บัญชีดังกล่าวจะมีจำเลย คนเดียวเป็นผู้ฝาก เงินดังกล่าวก็เป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์และทายาท อื่นมีสิทธิอยู่ด้วย เมื่อพฤติการณ์ส่อแสดงว่าจำเลยอาจโอนเงิน ดังกล่าวไปให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อขัดขวางการบังคับคดี เนื่องจาก เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยนำใบถอนเงินซึ่งมีลายมือชื่อ เจ้ามรดกลงชื่อร่วมกับจำเลยในช่องเจ้าของบัญชีและในช่องผู้รับเงิน มาถอนเงินและปิดบัญชี อีกทั้งภายหลังโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลย ยังได้ถอนเงินออกจากบัญชีของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำ ร้องขอให้อายัดเงินฝากดังกล่าว อันเป็นวิธีการขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาตามมาตรา 255(1) (ก) ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 692/2544 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราว ก่อนพิพากษาครั้งแรกแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำ ขอให้ยกเลิกคำสั่งตามมาตรา 267 วรรค 2 หรือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามมาตรา 228 วรรค 2 คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาล ชั้นต้นมีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกัน เบื้องต้นในการที่โจทก์จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมา ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ได้ เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับ คดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดิน ชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะ ได้รับเงินจากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือ เสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้ ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่ สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงิน ดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ต้องมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ มีเหตุจำเป็นอื่นใดตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็นเป็นการ ยุติธรรมและสมควร (ม.255(1)(ข)) คำพิพากษาฎีกาที่ 178/2551 (มีต่อ) จำเลยตั้งโจทก์เป็น ตัวแทนประสานงานเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยในการได้รับ จ้างงานในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาจำเลยได้ เข้าเป็นคู่สัญญากับกิจการร่วมค้าไอทีโอโดยเป็นผลจากการดำเนินการ ของโจทก์ตามสัญญาตั้งตัวแทน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเป็นมูลหนี้ ตามสัญญาดังกล่าวที่จะฟ้องร้องจำเลยได้ คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะ ฟ้องร้อง ส่วนปัญหาว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาตั้งตัวแทน หรือจำเลยได้รับการจ้างเหมาช่วงงานดังกล่าวโดยไม่ได้เป็นผลจาก การปฏิบัติตามสัญญาของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นที่โต้เถียงกันซึ่งต้องนำ สืบพยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาต่อไป แม้จำเลยไม่ตั้งใจยักย้าย ทรัพย์สินของตนไปให้พ้นจากอำนาจศาล ตามมาตรา 255(1)(ก) เพราะจำเลยไม่มีทรัพย์สินอันใดในประเทศไทยที่จะยักย้ายหรือจะโอน การที่กิจการร่วมค้าไอทีโอชำระเงินค่าจ้างตามสัญญาให้จำเลยแล้ว 7 งวด โดยชำระเข้าบัญชีของจำเลยโดยตรงที่ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี ก็เป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาช่วง จำเลยมิได้มีเจตนาจะยัก ย้ายเงินค่าจ้างตามมาตรา 255(1)(ก) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 178/2551 แต่การที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยไม่มี สำนักงานสาขาในประเทศไทย แม้เคยมีก็ปิด สำนักงานสาขาไปแล้วเพราะใบอนุญาตประกอบกิจการ ของคนต่างด้าวไม่ถูกต้อง และการที่จำเลยไม่มี ทรัพย์สินใดในประเทศไทย ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยมีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยพอที่โจทก์จะบังคับ คดีในประเทศไทยได้ ย่อมเป็นเหตุจำเป็นอื่นที่เป็นการ ยุติธรรมและสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ใน ระหว่างพิจารณาตามมาตรา 255(1)(ข) ที่จำเลยนำ สืบอ้างว่า จำเลยมีกิจการและฐานะการเงินมั่นคงใน ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี กิจการดังกล่าวก็ไม่อยู่ใน อำนาจบังคับคดีของศาลไทย กรณีจึงนำวิธีคุ้มครอง ชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ในการสั่งให้อายัดเงิน ค่าจ้างที่กิจการร่วมค้าไอทีโอบุคคลภายนอกจะชำระ ให้แก่จำเลยได้ตามมาตรา 254(1) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามมาตรา 254(2) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลใน 4 ตามมาตรา 255 (2) กรณี 1. จำเลยตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง (ม.255(2)(ก)) 1.1 กรณีการละเมิด ฎีกาที่ 6424/2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้าย ทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้างออกจากที่ดินพิพาท และคืนที่ดินพิพาทแก่ โจทก์ในสภาพไม่มีสิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ห้ามจำเลย และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท การที่จำเลยเข้าไปดำเนินการ ก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทหลังจากที่โจทก์ยื่นคำฟ้องแล้ว ย่อมเป็น การกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดที่ถูกฟ้องร้อง อาจ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็น ฝ่ายชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครอง ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามมาตรา 254(2) มาใช้ โดยห้ามชั่วคราวมิ ให้จำเลยและบริวารดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทจนกว่าคดี จะถึงที่สุดได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

1.2 กรณีการผิดสัญญา คำพิพากษาฎีกาที่ 1868/2548 โจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยทั้งสิบเจ็ดและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูก สร้างของโจทก์ซึ่งจำเลยทั้งสิบเจ็ดเช่าจากโจทก์ แต่ จำเลยทั้งสิบเจ็ดผิดสัญญาเช่าเพราะนำทรัพย์สินของ โจทก์ดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง และยังปลูกสร้าง อาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นปลูกสร้างอาคารในที่ดิน ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์จึงยื่นคำร้องขอ คุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมี คำสั่งห้ามจำเลยทั้งสิบเจ็ดนำทรัพย์สินของโจทก์ตาม ฟ้องออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงจนกว่าคดีถึงที่สุด คำสั่ง ดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกภายในขอบเขตตามความ จำเป็นเพื่อคุ้มครองโจทก์มิให้เสียหายจากการกระทำ ผิดสัญญาของจำเลยทั้งสิบเจ็ดต่อไป จึงชอบด้วย มาตรา 254(2) ประกอบมาตรา 255(2)(ก) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามมาตรา 254(2) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลใน 4 กรณี ตามมาตรา 255(2) 2. โจทก์จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปเนื่องจาก การกระทำของจำเลย (ม.255(2)(ข)) คำพิพากษาฎีกาที่ 7221/2544 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลย รื้อถอนกำแพงพิพาท ซึ่งจำเลยได้ก่อสร้างปิดทางภารจำยอม อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ในการใช้ทางภารจำยอม เข้าสู่ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครอง ประโยชน์ของโจทก์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยรื้อ ถอนกำแพงพิพาทออกไปก่อน เพื่อโจทก์จะได้ใช้ทางภารจำ ยอมได้นั้น จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทา ความเดือดร้อนที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ ถูกฟ้องร้องดังกล่าวตามมาตรา 254(2) กรณีตามคำร้องมีเหตุ ที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ได้ และเมื่อคดีปรากฏว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ได้ก่อสร้างกำแพงปิด ทางภารจำยอม ทำให้โจทก์ไม่สามารถผ่านเข้าออกที่ดินของ โจทก์ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ได้โดยสะดวก เช่นนี้กรณีมีเหตุ สมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองที่โจทก์ขอมาใช้บังคับ ตามมาตรา 255 เฉพาะบริเวณที่ติดกับที่ดินของโจทก์ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามมาตรา 254(2) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลใน 4 กรณี 3. ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้นมีพฤติการณ์ว่าจะมี การกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่น (ม.255(2)( ค)) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2553 การทำสวนยางพาราเป็นกิจการ อย่างหนึ่งของโจทก์ และโจทก์ใช้ที่ดินพิพาทบางแปลงทำสวนยางพารา ดังนี้ ต้นยางพาราซึ่งเป็นไม้ยืนต้นย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท โจทก์ ย่อมมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งต้นยางพาราอันเป็น ส่วนควบของที่ดิน เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 11 ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ มีผลเท่ากับ เป็นการโต้เถียงสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและต้นยางพาราอันเป็น ส่วนควบของที่ดิน ถือได้ว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ พิพาทกันในคดีด้วย ข้อเท็จจริงได้ความตามทางไต่สวนว่า ในระหว่าง การพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้า มาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขาย อันเป็นการกระทำให้ เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทตาม ป. วิ.พ. มาตรา 255 (2) หากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะทำให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์ได้ จึงสมควรสั่งห้ามไม่ให้จำเลยที่ 2 เข้าตัดฟันต้น ยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราวตาม ป. วิ.พ. มาตรา 254 (2) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามมาตรา 254(2) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลใน 4 กรณี ตามมาตรา 255(2) 4. กรณีมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยัก ย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย โดยมีเหตุดังต่อไปนี้ (ม.255(2)(ง)) 3.1 จำเลยตั้งใจจะยักย้าย โอน ขายหรือจำหน่าย ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของตนทั้งหมดหรือแต่ บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล เพื่อ ประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับตามคำบังคับใดๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย หรือ จะทำให้โจทก์เสียเปรียบ 3.2 มีเหตุจำเป็นอื่นใดตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็น เป็นการยุติธรรมและสมควร 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 200/2539 โจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ โดยห้ามจำเลยที่ 1 โอน ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในคดีที่จำเลย ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ ย่อมมีผลเป็นการให้ งดการบังคับคดีในคดีซึ่งได้ถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ หากจำเลยที่ 2 บังคับคดีให้เป็นที่เสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็น บุคคลภายนอกคดีอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 2 ต่อไป โจทก์หามีสิทธิมายื่นขอใช้วิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อให้มีผลห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการ บังคับคดีในคดีดังกล่าวได้ไม่ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับ พิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากจำเลยที่ 2 บังคับคดีรับโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่ 1 แล้วโอน ต่อไปยังบุคคลภายนอกอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ โจทก์ จึงมีสิทธิขอให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยห้ามมิให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น แม้โจทก์จะเป็นสามีจำเลยที่ 1 ซึ่ง มีสิทธิขอกันส่วนของโจทก์ได้ตามมาตรา 287 ก็ตาม แต่ก็หามีบท กฎหมายใดบังคับให้โจทก์จำต้องใช้สิทธิขอกันส่วนแต่อย่างเดียวไม่ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กรณีโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามมาตรา 254 (3) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลใน 2 กรณี ตามมาตรา 255(3) ดังนี้ 1. เป็นที่เกรงว่าจำเลยจะดำเนินการให้มีการจด ทะเบียน แก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิก ถอนการจดทะเบียนเกี่ยวกับ 1.1 ทรัพย์สินที่พิพาท หรือ 1.2 ทรัพย์สินของจำเลย หรือ 1.3 ที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง การดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่โจทก์ (ม.255(3)(ก)) 2. มีเหตุจำเป็นอื่นใดตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็นเป็น การยุติธรรมและสมควร (ม.255 (3)(ข)) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 6908/2552 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งปันทรัพย์มรดกของ จ. ให้แก่ โจทก์ตามพินัยกรรม โดยมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินและหุ้นของบริษัท สามแห่ง ซึ่งที่ดินและหุ้นดังกล่าวเจ้ามรดกได้ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ต่อมาจำเลยที่ 2 แถลง ต่อที่ประชุมบริษัทแห่งหนึ่งขอโอนหุ้นของบริษัทดังกล่าวให้แก่ทายาท ตามพินัยกรรมของจำเลยที่ 1 ซึ่งที่ประชุมบริษัทมีมติอนุมัติ โจทก์จึง ยื่นคำร้องขอให้กำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาล คำร้อง ขอของโจทก์เป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 254(3) ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างมา ในคำร้องแล้วว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จำเลยที่ 1 จะดำเนินการให้มีการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทให้แก่ทายาทจำเลยที่ 1 ซึ่งการ ดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งหากทายาทของจำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินที่พิพาทให้แก่ บุคคลภายนอกต่อไป การบังคับคดีของโจทก์จะเกิดความยุ่งยาก ซับซ้อน หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวอ้างย่อมมีเหตุผลเพียงพอ ที่จะนำวิธีการคุ้มครองตามที่ขอมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 255(3)(ก) การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ได้ไต่ สวนให้ได้ความจริงว่าเป็นเช่นไรก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

1. จำเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือคำสั่ง ของศาล กรณีโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังจำเลย ไว้ชั่วคราวตามมาตรา 254(4) ต้องให้เป็นที่พอใจของ ศาล ตามมาตรา 255(4)ว่า เพื่อที่จะประวิงหรือ ขัดขวางต่อการพิจารณาคดีหรือการบังคับตามคำบังคับ ใด ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย หรือเพื่อจะทำ ให้โจทก์เสียเปรียบ 1. จำเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือคำสั่ง ของศาล 2. จำเลยได้ยักย้ายไปให้พ้นอำนาจศาลหรือซุก ซ่อนเอกสารใดๆ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่าจะใช้เป็น พยานหลักฐานยันจำเลยในคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณา หรือทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือเป็นที่เกรงว่าจำเลยจะจำหน่าย หรือทำลายเอกสารหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือ 3. ปรากฏตามกิริยาหรือตามวิธีที่จำเลยประกอบการ งานหรือการค้าของตนว่า จำเลยจะหลีกหนีหรือพอ เห็นได้ว่าจะหลีกหนีไปให้พ้นอำนาจศาล 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ต้องเป็นประโยชน์ต่อการบังคับคดี ต้องเกี่ยวเนื่องกับคำขอท้ายฟ้องและไม่กระทบต่อ บุคคลภายนอกคดี คำพิพากษาฎีกาที่ 3730/2552 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โดยหลังจาก จำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำ สัญญาจะซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 แต่โจทก์ไม่มีคำขอให้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และ รับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครอง ชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ทำ นิติกรรมใดเกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทไว้ ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา จึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็น แห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงไม่มีเหตุสมควรและ เพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม มาตรา 254 มาใช้บังคับได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ต้องมีเหตุผลอันสมควร ต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาอันสมควรและไม่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลย ฎีกาที่ 24/2540 คดีมีประเด็นพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นสา ธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ คดีอยู่ในระหว่าง พิจารณา ซึ่งตามคำฟ้องคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยฟังได้ว่าโจทก์ เป็นผู้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทหากจำเลยได้ใช้ให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง เข้าไปปักป้ายโฆษณา ไถปรับพื้นดินและทำการก่อสร้างในที่ดินพิพาท ซึ่งแม้จะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากฟ้องคดี แต่ก็อาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะ คดี แม้โจทก์จะร้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามมิให้กระทำการใดในที่ดิน พิพาทตามคำร้องของโจทก์ได้ตามมาตรา ๒๕๔ (๒) (เดิม) ก็ตาม แต่ เมื่อปรากฏตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์เอง ว่า จำเลยเข้าไปทำการบนที่ดินพิพาทและลงมือปรับพื้นที่ทำการ ก่อสร้างตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาเป็นเวลา ๕ เดือนเศษ การยื่นคำขอของโจทก์จึงล่วงเลยเวลา อันสมควร ทั้งหากจะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของ โจทก์มาใช้แก่จำเลยในคดีนี้ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย เช่นเดียวกัน ตามพฤติการณ์ในกรณีเช่นนี้จึงยังไม่สมควรที่ศาลจะนำ วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามมาตรา ๒๕๔ (๒) มาใช้แก่จำเลยตาม คำขอของโจทก์ได้ (ฎ.๖๗๙๓/๒๕๔๓ และ ๕๒๗๓/๒๕๔๖ วินิจฉัยยืนตาม) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

หลักเกณฑ์การร้องขอ 1) ต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้อง (ม.254 ว.1) 2) ต้องยื่นพร้อมกับคำฟ้อง หรือในเวลาใดก่อน ศาลในแต่ละชั้นมีคำพิพากษา (ม.254 ว.1 ประกอบ ม.1(3)) ข้อพิจารณา 1. กรณีศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราว โจทก์ ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามมาตรา 254 ได้ 2. กรณีโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำ ฟ้อง โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2524 การที่คู่ความร้องขอให้ศาลชั้นต้นรอฟังผลของคำ พิพากษาในคดีอื่นเพื่ออาศัยเป็นหลักในการชี้ขาดตัดสินคดีนี้ เป็นการร้องขอให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 ที่ศาลชั้นต้นมี คำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ชั่วคราวจึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อน การนั่งพิจารณาไปนั่นเอง หาใช่เป็นการสั่งจำหน่ายคดีเสีย จากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ไม่ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณา ต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ดังนั้นโจทก์ย่อมมี สิทธิร้องขอในเวลาใด ๆ ก่อนคำพิพากษาเพื่อให้ศาลมี คำสั่งคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 254 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง กำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้ด้วย 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2526 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องของ โจทก์ แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่ง ดังกล่าว ถ้าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับ ฟ้องของโจทก์ คดีก็ต้องกลับไปสู่ศาล ชั้นต้นที่จะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไป ศาลอุทธรณ์ยังไม่อาจสั่งหรือพิพากษา ให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ได้ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอ คุ้มครองก่อนพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำสั่งคุ้มครอง ชั่วคราวให้โจทก์ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ลักษณะของคำขอ 2. คำขอให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ ชั่วคราวก่อนพิพากษา 1) กรณีเป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัดตาม มาตรา 21(3) 1. คำขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ ก่อนพิพากษา และ 2. คำขอให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ ชั่วคราวก่อนพิพากษา 2) กรณีไม่เป็นคำขอฝายเดียวโดยเคร่งครัด ตามมาตรา 21(3) 1. คำขอห้ามจำเลยกระทำการจนกว่าคดี จะถึงที่สุด และ 2. คำขอระงับการเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

จำเลยจะเสนอข้อคัดค้านของตนในการที่ศาลนั่ง พิจารณาคำขอนั้นก็ได้ (ม.256) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 254(2) หรือ (3) ถ้าศาลเห็นว่า หากให้โอกาสจำเลย คัดค้านก่อนจะไม่เสียหายแก่โจทก์ ให้ศาลแจ้งกำหนด วันนั่งพิจารณาพร้อมทั้งส่งสำเนาคำขอให้แก่จำเลยโดย ทางเจ้าพนักงานศาล จำเลยจะเสนอข้อคัดค้านของตนในการที่ศาลนั่ง พิจารณาคำขอนั้นก็ได้ (ม.256) ฎีกาที่ 699/2508 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาล เปิดทางเดินในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดเป็นคำขอฝ่าย เดียว กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องให้คู่ความอีกฝ่าย หนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน กฎหมายให้อยู่ในอำนาจ หรือดุลพินิจของศาลที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ สำหรับมาตรา 256 นั้น จะใช้บังคับต่อเมื่อศาลใช้ ดุลพินิจเห็นสมควรให้ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 21(3) แต่ถ้าหากศาลใช้ดุลพินิจเห็นว่า ไม่สมควรให้ ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว กรณีก็ไม่จำต้องปฏิบัติตาม มาตรา 256 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ศาลที่ทำการไต่สวนและพิจารณาสั่ง 1) ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นและ ศาลชั้นต้นเป็นผู้ไต่สวนและพิจารณาสั่ง 2) ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา 2.1) ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้ไต่สวนและมี อำนาจพิจารณาสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนี้ได้ (ม.254 ว.ท้าย ประกอบ ม.144(3)) 2.2) ศาลชั้นต้นส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาล ฎีกาแล้ว (ม.254 ว.ท้าย) 1. ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่ กรณี ในทางปฏิบัติจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น 2. ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาสั่งในแต่ ละชั้นศาล โดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาอาจส่งสำนวนไปให้ ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนก่อนพิจารณาสั่งอนุญาตหรือยกคำขอ นี้ก็ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อสังเกต 1. การขอให้ยึดทรัพย์ก่อนพิพากษาตามมาตรา 254 จะต้องมีการไต่สวนตามมาตรา 255 ก่อน จึงจะอนุญาตได้ แม้จำเลยจะเคยถูกยึดทรัพย์ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษามาแล้ว ต่อมามีการถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าว เมื่อมาขอยึดทรัพย์ใน ชั้นอุทธรณ์อีกก็จะต้องมีการไต่สวนตามมาตรา 255 ก่อน จึงจะมีคำสั่งอนุญาตได้ 2. ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามมาตรา 254 โดยเพียงแต่ สอบถามโจทก์จำเลยและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งที่ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอตามมาตรา 255 ไม่ได้ แตกต่างจากกรณีโจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาในกรณีฉุกเฉินตามมาตรา 267 3. หากศาลพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ของโจทก์แล้วเห็นว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลหรือไม่มีเหตุเพียงพอ ศาลมีอำนาจสั่งยกคำขอโดยไม่ต้องทำการไต่สวนได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2490 เมื่อศาลพิพากษาคดี และสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาแล้ว โจทก์จะขอทุเลาการ บังคับขอให้ยึดทรัพย์จำเลยไว้ต่อไปในระหว่างอุทธรณ์ ไม่ได้ คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ชั่วคราว อาจยื่นได้ใน กระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ก่อนศาลอุทธรณ์ พิพากษา เมื่อมีคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ชั่วคราว ศาลต้องไต่ สวนก่อนมีคำสั่งอนุญาตจะสั่งอนุญาตไปทีเดียวโดยไม่ มีการไต่สวนย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ในกรณีที่จะขอให้ศาลยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำ พิพากษาในเหตุฉุกเฉินนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องแสดง ให้เห็นว่าคดีมีเหตุฉุกเฉินขอให้ศาลสั่งเป็นกรณีฉุกเฉิน ด้วย 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2526 การที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำ ขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา 254 แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ศาล ชั้นต้นจะต้องฟังพยานที่ผู้ขอนำมาสืบหรือที่ ศาลเรียกมาสืบให้ได้ความตามที่มาตรา 255 บัญญัติไว้เสียก่อน จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำ ขอโดยเพียงแต่สอบถามโจทก์จำเลยแล้ว บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาทั้งที่ยัง ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอตามมาตรา 255 ไม่ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2516 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255 วรรค แรก เป็นบทบัญญัติบังคับไว้ว่า ศาลจะสั่งอนุญาตตามคำร้องขอ โดยไม่ไต่สวนฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความตามอนุมาตรา (1)(2)ของ มาตรา 255 เสียก่อนไม่ได้ ส่วนในกรณีที่ศาลพิเคราะห์คำร้องแล้ว เห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรก็ดี ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตาม คำขอมาใช้ก็ดี ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องเสียได้โดยหาจำต้อง ไต่สวนฟังพยานผู้ร้องขอเสียก่อนไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองเหนือ ที่ดินพิพาทห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า เป็นที่ของจำเลย ขอให้ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการครอบครองที่พิพาทคู่ความยังโต้แย้งฟ้องและฟ้องแย้งขอ บังคับมิให้อีกฝ่ายหนึ่งเกี่ยวข้อง และอยู่ระหว่างสืบพยานหลักฐาน เกี่ยวกับข้อเท็จจริงนี้อยู่ จึงยังไม่มีเหตุสมควร และไม่มีเหตุเพียง พอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามคำขอของโจทก์ ที่ขอให้ศาลสั่งห้าม จำเลยและบริวารขัดขวางการครอบครองของโจทก์อ้างว่าเป็นการ กระทำซ้ำในเรื่องที่ถูกฟ้องไว้ก่อนมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 มาใช้ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำ ร้องของโจทก์เสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวนพยานของโจทก์ก่อน 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2543 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยพร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครอง ชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมี คำสั่งห้ามจำเลยจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากประจำหลายบัญชี แต่ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากไป ยังธนาคาร จำเลยถอนเงินจากบัญชีและปิดบัญชี ดังกล่าวทั้งหมดแล้วนำเงินฝากไปเปิดบัญชีเงินฝาก ประจำใหม่ที่ธนาคารอื่นนั้นเมื่อการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งปิดบัญชีแล้ว เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ทำให้ศาลชั้นต้นสั่งไป โดยหลงผิด ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งเดิม และมีคำสั่งใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริงเพื่อให้คำสั่งนั้น สัมฤทธิผลในทางปฏิบัติได้โดยโจทก์ทั้งสามหาจำต้องยื่น คำร้องขอให้คุ้มครองชั่วคราวอีกครั้งหนึ่งไม่ทั้งศาล ชั้นต้นก็ไม่จำต้องไต่สวนแต่ประการใดอีก 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำสั่งของศาล 1) ยกคำร้อง 1.1) โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งได้ (ม.228(2) และ ม.247) 1. การที่โจทก์อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาลที่ยกคำร้องขอ คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษายก ฟ้องคดีโจทก์แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะ วินิจฉัยอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าวต่อไป เนื่องจากการขอ คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ย่อมไม่มีความจำเป็นแล้ว อีกทั้งโจทก์สามารถขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ 2. ในระหว่างที่โจทก์อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาลที่ยกคำ ร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ โจทก์ชนะคดี จึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาว่าด้วยการขอ คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้ 1.2) โจทก์ยื่นคำขอใหม่ได้ แต่ต้องอ้างเหตุใหม่ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2537 หากโจทก์ประสงค์ที่จะขอให้อายัดที่ดิน พิพาทไว้ชั่วคราวระหว่างการพิจารณาของ ศาลฎีกา โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้อง โดยเฉพาะต่อศาลชั้นต้นหรือศาลฎีกา การที่ โจทก์ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่สั่งให้ อายัดที่ดินพิพาทตามคำร้องขอให้อายัดที่ดิน พิพาทไว้ชั่วคราวซึ่งได้ยื่นไว้ในระหว่างการ พิจารณาของศาลชั้นต้นเมื่อปรากฏว่าศาล ชั้นต้นได้พิพากษาคดีโดยให้ยกฟ้องโจทก์ แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาที่ โจทก์ฎีกาต่อไป ศาลฎีกาย่อมให้จำหน่ายคดี จากสารบบความของศาลฎีกา 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2503 เมื่อเสร็จการพิจารณาแล้ว ก่อนมีคำ พิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่ง อายัดหรือให้ระงับการโอนที่ดินของ จำเลยไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 254,255,257 ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง และมีคำพิพากษาในคดีถึงที่สุด ดังนี้ ศาลฎีกาก็ไม่อาจให้ดำเนินกระบวน พิจารณาว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนคำ พิพากษาได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2519 โจทก์ได้ยื่นคำร้องเป็นกรณีมีเหตุฉุกเฉินขอให้ยึดหรือ อายัดการทำเหมืองแร่ของจำเลย และทรัพย์สินต่าง ๆ ตาม บัญชีท้ายฟ้องไว้ก่อนคำพิพากษาแล้วถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งก็ อ้างเหตุผลทำนองเดียวกันว่า จำเลยกำลังจะจำหน่ายจ่ายโอน ทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องตลอดจนอุปกรณ์การทำเหมืองแร่และ รถยนต์ ในการไต่สวนคำร้องดังกล่าวครั้งแรกนั้น คำเบิก ความของโจทก์เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ปราศจาก พยานหลักฐานสนับสนุน กล่าวคลุม ๆ ไม่ได้ความแน่ชัดว่า จำเลยกำลังจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ใดตามคำร้องให้แก่ผู้ใด เมื่อใด ยังไมได้ว่าคำขอนี้มีเหตุผลสมควรอันแท้จริงที่จะสั่ง อนุญาตตามที่โจทก์ขอ เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องขออย่าง เดียวกันนั้นอีก (แต่ไม่อ้างกรณีฉุกเฉิน) โดยอ้างเหตุผลในการ ขอทำนองเดียวกับการร้องขอครั้งแรกที่ศาลได้เคยไต่สวนไว้ แล้ว โดยไม่มีเหตุผลพิเศษอื่นใดนอกเหนือไปกว่าเดิม ศาลจึง ชอบที่จะสั่งยกคำร้องโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องอีกได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำสั่งของศาล 2) อนุญาตตามคำร้อง 2.1) ขอบเขตหรือเงื่อนไขเป็นดุลพินิจของศาล แล้วแต่ศาลจะ เห็นสมควร (ม.257 ว.1) 2.2) การแจ้งคำสั่ง 1. คำขอตามมาตรา 254(1) ให้ศาลแจ้งคำสั่งให้จำเลย ทราบโดยไม่ชักช้า (ม.258 ว.1) 2. คำขอตามมาตรา 254(2) ให้ศาลแจ้งคำสั่งให้จำเลย ทราบ (ม.257 ว.2) 3. กรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยัก ย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยที่ กฎหมายกำหนดไว้ให้จดทะเบียนตามมาตรา 254(2) หรือคำขอตาม มาตรา 254(3) ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว หรือที่เกี่ยวกับการกระทำ ที่ถูกฟ้องร้อง ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทราบ และให้บุคคล ดังกล่าวบันทึกคำสั่งของศาลไว้ในทะเบียน และต้องแจ้งให้จำเลย ทราบด้วย (ม.257 ว.2 ประกอบด้วย ม.257 ว.4) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำสั่งของศาล 2.3) การกำหนดวิธีการโฆษณา กรณีศาลมี คำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของ จำเลย ศาลจะกำหนดวิธีการโฆษณาตามที่ เห็นสมควรเพื่อป้องกันการฉ้อฉลก็ได้ (ม.257 ว.3) 2.4) การวางเงินหรือหาประกันเพื่อประกันประกัน ความเสียหาย (ม.257 ว.ท้าย) ก่อนที่ศาลจะออกหมายยึด หมายอายัด หมาย ห้ามชั่วคราว หมายจับ หรือคำสั่งใดๆ ศาลจะสั่งให้ ผู้ขอนำเงินหรือหาประกันตามจำนวนที่เห็นสมควรมา วางศาล เพื่อการชำระค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลย อาจได้รับตามมาตรา 263 ก็ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อสังเกต 1. จำเลยอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ศาลเห็นสมควรให้โจทก์ มาวางศาล เพื่อการชำระค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจำเลยอาจได้รับตามมาตรา 263 นี้ได้ว่า ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้นมีจำนวนไม่สมควร 2. ศาลไม่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาประกัน ตามจำนวนที่เห็นสมควรมาวางศาล เพื่อการ ชำระค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยอาจได้รับ ตามมาตรา 263 นี้ ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 704/2545 โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 และ จ. ตัวแทนเชิดของ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 ได้ตกลงซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 272 โฉนดเนื้อที่ 49 ไร่ ให้แก่โจทก์ในราคา 90 ล้านบาท โจทก์ชำระเงิน ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางส่วนและเข้าครอบครองเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 สมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 21 แสดงเจตนาลวง บุคคลภายนอกทำนิติกรรมซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทั้งหมดไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 21 จึงเห็นได้ว่าตามคำฟ้องของ โจทก์ หากจำเลยที่ 21 โอนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่บุคคลอื่นในระหว่าง พิจารณาย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะแม้โจทก์ชนะคดีก็ ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ได้ กรณีนับว่ามีเหตุจำเป็นและ สมควรเพียงพอที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) ประกอบมาตรา 255(2) ห้ามมิให้ จำเลยที่ 21 โอนที่ดินพิพาทแก่บุคคลอื่นจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ได้ แต่เมื่อได้ความว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวตั้งอยู่ในย่านที่เจริญสิ่งปลูกสร้าง ในที่ดินเป็นบ้านจัดสรร มีตลาดพาณิชย์ มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในขณะฟ้องมีราคาเกินกว่า 500 ล้านบาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพียง 1 แสนบาทจึงไม่เหมาะสม เพราะ จำเลยที่ 21 ก็ต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดิน พิพาท และฟ้องโจทก์เป็นเท็จ ซึ่งหากทางพิจารณาได้ความในภายหลัง ว่าโจทก์นำคดีมาสู่ศาลโดยไม่มีมูลแล้ว เงินจำนวนดังกล่าวย่อมไม่อาจ ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ จึงเห็นสมควรให้ โจทก์วางเงินประกันจำนวน 20 ล้านบาท 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาฎีกาที่ 6424/2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้าง ออกจากที่ดินพิพาท และคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในสภาพไม่มีสิ่งปลูก สร้างและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับ ที่ดินพิพาท การที่จำเลยเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดิน พิพาทหลังจากที่โจทก์ยื่นคำฟ้องแล้ว ย่อมเป็นการกระทำซ้ำหรือ กระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดที่ถูกฟ้องร้อง อาจก่อให้เกิดความ เสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาตาม ป.วิ.พ. 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยและ บริวารดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทจนกว่าจะถึงที่สุดได้ ตามคำขอของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครอง ชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจำเลยก็มี สิทธิที่จะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 เมื่อโจทก์ เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมได้รับประโยชน์จากข้อ สันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่ ศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือ หาประกันมาวางตามมาตรา 257 วรรคท้าย จึงชอบแล้ว 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

3) ผลของคำสั่งศาลที่อนุญาตตามคำร้อง (ม.258 และ ม.258 ทวิ) 3.1) คำขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ก่อน พิพากษา ให้บังคับจำเลยได้ทันที ผลของการฝ่าฝืนคำสั่ง 1. กรณียึดทรัพย์สินไว้ก่อนพิพากษา จำเลย ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ไม่ ถึงแม้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าจำนวน หนี้ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมในการ ฟ้องร้องและการบังคับคดี และจำเลยได้จำหน่าย ทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้นก็ตาม (ม.259 ประกอบ ม.305(1)) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2494 การยึดทรัพย์จำเลยก่อนคำพิพากษานั้น แม้การยึด ทรัพย์เจ้าพนักงานจะมิได้แจ้งให้จำเลยทราบเพราะไม่พบตัว จำเลยก็ไม่ทำให้การยึดนั้นเสียไป จำเลยขายทรัพย์ที่ถูกยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษา แก่ผู้อื่น แม้ผู้ซื้อจะซื้อโดยสุจริต ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามนัย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 259,305 และในภายหลังปรากฏว่าจำเลยถูกศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว เพราะมีผู้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถเข้าครอบครองทรัพย์ที่ถูก ยึดดังกล่าวข้างต้นได้ เนื่องจากเมื่อซื้อขายทรัพย์ที่ถูกยึดกัน แล้ว ผู้ซื้อก็ขนเอาทรัพย์นั้นไปหมด โดยผู้ดูแลรักษาทรัพย์ นั้นได้รู้เห็น ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงาน บังคับคดี ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องให้ผู้ซื้อทรัพย์นั้นกับ ผู้ดูแลรักษาทรัพย์นั้นส่งทรัพย์ที่เอาไปได้ ถ้าส่งไม่ได้ก็ต้อง ใช้ราคา 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ผลของการฝ่าฝืนคำสั่ง 2. กรณีอายัดทรัพย์สินไว้ก่อนพิพากษา จำเลย ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิเรียกร้องที่ได้ ถูกอายัดภายหลังที่ได้ทำการอายัดไว้แล้วนั้น หาอาจ ใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับ คดีได้ไม่ ถึงแม้ราคาแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นจะเกินกว่า จำนวนหนี้ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมในการ ฟ้องร้องและการบังคับคดี และจำเลยได้จำหน่ายสิทธิ เรียกร้องนั้นเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้นก็ตาม (ม.259 ประกอบ ม.314(1)) 3. จะใช้บังคับบุคคลภายนอก ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า ได้รับโอนสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก่อนการแจ้งคำสั่ง ให้จำเลยทราบมิได้ (ม.258 ว.1) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อสังเกต 1. หากมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลย ไว้ก่อนพิพากษาแล้ว โจทก์ในคดีอื่นของจำเลย คนเดียวกันจะขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของ จำเลยไว้ก่อนพิพากษาในทรัพย์สินเดียวกันนั้นอีก ไม่ได้ 2. หากมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลย ไว้ก่อนพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จำเลยคนเดียวกันในคดีอื่นจะขอให้ยึดหรืออายัด ทรัพย์สินของจำเลยในทรัพย์สินเดียวกันนั้นได้ แต่จะมายื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายยึดทรัพย์นั้น เพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7972/2549 การยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อน พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ซึ่งเป็นวิธีการ คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของ การบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องห้ามที่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาอื่นจะยึดทรัพย์สินนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่น จึงต้องไปดำเนินการยึดทรัพย์ที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวนั้นจะ มายื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายยึดทรัพย์นั้นชั่วคราว เพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ได้ คำสั่งของศาลทรัพย์สินทาง ปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่อนุญาตให้ผู้ ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้ก่อนศาลมีคำ พิพากษาคดีนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 290 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ผลของคำสั่งศาลที่อนุญาตตามคำร้อง (ม.258 และ ม.258 ทวิ) 3.2 คำขอให้ห้ามจำเลยกระทำการจนกว่าคดีจะถึง ที่สุด ให้บังคับจำเลยได้ทันที ถึงแม้ว่าจำเลยยังมิได้รับแจ้ง คำสั่ง เว้นแต่ ศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นสมควรให้ คำสั่งมีผลบังคับเมื่อจำเลยได้รับแจ้งคำสั่ง (ม.258 ว.2) ผลของการฝ่าฝืนคำสั่ง 1. กรณีมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือ จำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หาอาจใช้ยันแก่ โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สิน นั้นจะเกินกว่าจำนวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและ การบังคับคดี และจำเลยได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงบางส่วนที่เกิน จำนวนนั้นก็ตาม (ม.258 ทวิ ว.1) 2. กรณีอื่นนอกจากข้อ 1. โจทก์ขอให้จับและกักขัง จำเลยเพื่อให้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลได้ (ม.259 ประกอบ ม.297) ข้อพิจารณา มาตรา 258 วรรค 2 ไม่มีบทคุ้มครอง บุคคลภายนอกผู้สุจริตไว้ดังเช่นมาตรา 258 วรรค 1 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ผลของคำสั่งศาลที่อนุญาตตามคำร้อง (ม.258 และ ม.258 ทวิ) ผลของคำสั่งศาลที่อนุญาตตามคำร้อง (ม.258 และ ม.258 ทวิ) 3.3 คำขอให้ระงับการเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนจนกว่าคดีจะถึงที่สุดที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที ถึงแม้ว่าบุคคล ตามที่ระบุไว้จะยังมิได้รับแจ้งคำสั่ง เว้นแต่ ศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นสมควรให้คำสั่งมีผลบังคับเมื่อบุคคล ดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่ง (ม.258 ว.3) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ผลของการฝ่าฝืนคำสั่ง หาอาจใช้ยันแก่โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ไม่ เว้นแต่ผู้รับโอนจะพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอนโดย สุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะ ได้รับแจ้งคำสั่ง (ม.258 ทวิ ว.2) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2552 พนักงาน อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบิดาของ ว. ขอให้ บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ ว. การที่ผู้คัดค้าน รับโอนที่ดินจากจำเลยภายหลังเจ้าพนักงานที่ดิน ได้รับแจ้งคำสั่ง คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดย ห้าม โอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายที่ดินแล้ว ผู้ คัดค้านจึงไม่อาจอ้างเรื่องการโอนโดยสุจริตและเสีย ค่าตอบแทนมาใช้ยัน ว. ได้ เพราะต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 258 ทวิ วรรคสอง 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ผลของคำสั่งศาลที่อนุญาตตามคำร้อง (ม.258 และ ม.258 ทวิ) 3.4) คำขอให้ระงับการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนจนกว่าคดี จะถึงที่สุดที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ให้มีผลใช้บังคับแก่บุคคลตามที่ระบุไว้ต่อเมื่อบุคคล ดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่ง (ม.258 ว.4) ผลของการฝ่าฝืนคำสั่ง ยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมายในระหว่างใช้วิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษา (ม.258 ทวิ ว.ท้าย) 3.5) หมายจับจำเลย ให้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร แต่ห้ามมิให้กักขังเกิน 6 เดือน นับแต่วันจับ (ม.258 ว.ท้าย) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

การสิ้นผลของคำสั่งศาลที่อนุญาตตามคำร้อง 1) คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีได้กล่าวถึงวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้เป็นไปตามที่ศาลมีคำสั่งไว้ในคำพิพากษา หรือคำสั่ง 2) คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีมิได้กล่าวถึงวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้ 1. ศาลตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือ บางส่วน (ม.260(1)) คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวในส่วนที่ จำเลยชนะคดีนั้น ให้ถือว่าเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนด 7 วัน นับ แต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทางแก้ของโจทก์ (1) โจทก์ต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นภายใน กำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง (2) คำขอของโจทก์ต้องแสดงว่าตนประสงค์จะยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมี คำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำสั่งของศาลกรณียกคำขอของโจทก์ (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอของโจทก์ คำสั่งของศาลดังกล่าวให้เป็นที่สุด (2) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวยังคงมี ผลใช้บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นให้มีผล ใช้บังคับต่อไปจนกว่า (2.1) ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา (2.2) ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดไม่รับอุทธรณ์หรือ ฎีกา แล้วแต่กรณี (2.3) หากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่า ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้ 2. ศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี (ม.260(2)) คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราว ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อ ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล (ม.269(2)) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2551 (มีต่อ) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยสั่ง อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท ส. และ บริษัท ส. ได้ส่งเงินตามคำสั่งอายัดต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ศาล ชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ ศาลสั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดเงินชั่วคราว ก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลให้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อ ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เมื่อโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีและศาลชั้นต้นได้ ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2549 อันเป็นการ ดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับ คดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ จึงมีผล เท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มี การชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงาน บังคับคดีนับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2551 (ต่อ) ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้า พนักงานศาลหรือเป็นเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับ คดีดังที่ผู้ร้องอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้อง ขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลออก หมายบังคับคดี อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงิน หรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือส่งเงินอันเป็น ทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดังที่ผู้ร้องเข้าใจไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ย ทรัพย์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งล่วงพ้น ระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ถือว่าบริษัท ส. ส่ง ทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องย่อมไม่มี สิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2547 การปฏิบัติตามคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของ ศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) มิใช่กรณีที่เจ้า พนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัด ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง แม้ หลังจากศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่ง อายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคงมีผลบังคับ ต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ตาม มาตรา 260 (2) ก็ตาม แต่ก็เป็นวิธีการชั่วคราวก่อน พิพากษา ไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ มิได้ขอออกหมายบังคับคดีอันเป็นการดำเนินกระบวน พิจารณาเพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา จึงถือ ไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรือ อายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ ซึ่ง เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงไม่ต้องห้ามมิให้ยึด หรืออายัดซ้ำตาม มาตรา 290 วรรคหนึ่ง 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อสังเกต 1. การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ค้ำประกันซึ่ง รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนำหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย ที่ศาลมีคำสั่งห้ามกระทำนิติกรรมชั่วคราวใน ระหว่างพิจารณา หากศาลชั้นต้นพิพากษาให้ จำเลยชนะคดีโดยไม่กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อน พิพากษา และโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้น ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำ พิพากษาแสดงว่าประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำ พิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้ใช้ วิธีการชั่วคราวเช่นนั้นมีผลใช้บังคับต่อไป ผู้ค้ำ ประกันย่อมมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541 คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มา เป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ ศาลมีคำสั่งห้าม จำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 265และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 เป็นคำสั่งที่กำหนดใช้ วิธีการชั่วคราวก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะ คดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่น คำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำ พิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุ สมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผล บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึง เป็นอันยกเลิก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1)ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาล ต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็น หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผล ถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกา ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อพิจารณา 2. หากไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อน พิพากษา จะไม่มีผลยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา ให้โจทก์แพ้คดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อน พิพากษา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2545 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยตกลงกันให้ศาลชั้นต้นถอนคำสั่งอันเกี่ยวกับ วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยจำเลยเสนอหนังสือ ค้ำประกันของธนาคารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยอมผูกพัน เพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยเงื่อนไขว่าหากคดี ถึงที่สุดแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ธนาคารจึงต้อง ผูกพันตามข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 กรณีไม่อาจถือว่าการเข้าค้ำประกันของธนาคารต่อศาล เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้น เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันจะมีผล ยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ตาม มาตรา 260 (1) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

มีการบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ยึดหรืออายัดไว้ก่อนพิพากษาโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2541 แม้ศาลชั้นต้นจะ มีคำสั่งอายัดเงินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ตามคำร้องของโจทก์ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาของจำเลยในคดีอื่นก็มีสิทธิที่จะขออายัดทรัพย์ นั้นเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีของตน เพราะ กรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้อายัดทรัพย์ซ้ำตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 และเมื่อ บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ครอบครองเงินของจำเลยได้ จัดส่งเงินดังกล่าวซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้ ชั่วคราวมาแล้วเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในคดีอื่นได้ขอบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ บังคับคดีโดยมีหนังสือขออายัดเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว การอายัดเงินดังกล่าวของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำ พิพากษาตามคำร้องของโจทก์ย่อมสิ้นผลไปโดยปริยาย 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

กฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง 2 คำขอในเหตุฉุกเฉิน กฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง 2 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำขอในเหตุฉุกเฉิน 1) กรณีที่จะยื่นคำขอ (ม.266 ว.1) 1.1) เป็นกรณีตามมาตรา 254 และ 1.2) มีเหตุฉุกเฉินเพื่อให้ศาลมีคำสั่งหรือ ออกหมายตามที่โจทก์ขอโดยไม่ชักช้า 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อสังเกต 1. จำเลยขอคุ้มครองชั่วคราวตาม มาตรา 253 ในเหตุฉุกเฉินไม่ได้ 2. คู่ความขอคุ้มครองประโยชน์ตาม มาตรา 264 ในเหตุฉุกเฉินไม่ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

2) วิธียื่นคำขอและลักษณะของคำขอ 2.1) ต้องยื่นคำขอเป็น 2 ฉบับ 1. คำขอตามมาตรา 254 2. คำขอแสดงให้ศาลเห็นว่าคดีมีเหตุ ฉุกเฉิน และขอให้ศาลสั่งเป็นกรณีฉุกเฉินด้วย 2.2) เป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2490 เมื่อศาลพิพากษาคดี และสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาแล้ว โจทก์จะขอทุเลาการบังคับ ขอให้ยึดทรัพย์จำเลยไว้ต่อไปในระหว่างอุทธรณ์ไม่ได้ คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ชั่วคราว อาจยื่นได้ในกระบวน พิจารณาชั้นอุทธรณ์ก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษา เมื่อมีคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ชั่วคราว ศาลต้องไต่สวน ก่อนมีคำสั่งอนุญาตจะสั่งอนุญาตไปทีเดียวโดยไม่มีการไต่ สวนย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ในกรณีที่จะขอให้ศาลยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษา ในเหตุฉุกเฉินนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องแสดงให้เห็นว่าคดีมี เหตุฉุกเฉินขอให้ศาลสั่งเป็นกรณีฉุกเฉินด้วย 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

3) วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอ (ม.266 ว.2) 3.1) ให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน (ม.267 ว.1) 1. ศาลต้องไต่สวนโจทก์เพียงฝ่ายเดียว จะให้ จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างไม่ได้ 2. ศาลต้องพิจารณาจากคำแถลงของโจทก์ หรือ จากพยานหลักฐานที่โจทก์ได้นำมาสืบ หรือที่ศาลได้เรียกมา สืบเอง 3.2) เงื่อนไขที่ศาลจะสั่งอนุญาต 1. คดีนั้นเป็นคดีมีเหตุฉุกเฉิน โดยให้ศาลมีอำนาจ ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าคดีนั้นมีเหตุฉุกเฉินหรือไม่ (ม.267) และ 2. คำขอนั้นมีเหตุผลสมควรอันแท้จริง (ม.254) 3. วิธีการที่ศาลจะกำหนดนั้น หากจำเป็นต้องเสื่อม เสียแก่สิทธิของคู่ความในประเด็นแห่งคดี ก็ให้เสื่อมเสียเท่าที่ จำเป็นแก่กรณี (ม.268) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

3) วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอ (ม.266 ว.2) 3.3) คำสั่งอนุญาต (ม.269) 1. ให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายตามที่ขอ ภายในขอบเขตและเงื่อนไขไปตามที่เห็นจำเป็นทันที (ม.267 ว.1) 2. ให้มีผลบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 258 และ 258 ทวิ 3. ศาลจะสั่งให้โจทก์รอการบังคับคดีไว้ จนกว่า 3.1 ศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาดคำขอของ จำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่ง หรือ 3.2 จนกว่าโจทก์จะได้วางประกัน 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

3) วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอ (ม.266 ว.2) 3.4) คำสั่งให้ยกคำขอในเหตุฉุกเฉิน 1. ศาลต้องสั่งยกคำร้องขอฉุกเฉินตามมาตรา 266 และ คำร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามมาตรา 254 โดยไม่ต้องพิจารณาเนื้อหาตามคำร้องขอให้ใช้วิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาตามมาตรา 254 2. ให้เป็นที่สุด ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ (ม.267 ว.1 ตอนท้าย) 3. ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอ ตามมาตรา 254 นั้นใหม่ (ม.267 ว.3) 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7140/2547 เดิมโจทก์ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอคุ้มครอง ชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นยกคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ทำให้ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวฉบับที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วย ซึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสาม การที่ศาลยกคำขอในเหตุ ฉุกเฉินย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 นั้นใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับใหม่ลงวันที่ 9 เมษายน 2544 เข้ามาได้อีก แม้ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนและมี คำสั่งตามคำร้องฉบับดังกล่าว โจทก์จะได้ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉิน พร้อมกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับลงวันที่ 11 เมษายน 2544 เข้ามาอีก และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในวัน เดียวกันนั้นเอง ก็มีผลเป็นการยกคำขอในเหตุฉุกเฉินและทำให้คำ ร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วย เท่านั้น จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาเช่นเดียวกันนั้นอีก ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่ง ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2544 ที่โจทก์ยื่นไว้ก่อนได้ กรณีไม่เป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 อนึ่ง จำเลยผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้กระทำการยึด รถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ ซึ่งโจทก์ผู้เช่าซื้ออ้างว่าเป็นการกระทำที่ผิด สัญญาเช่าซื้อและทำให้โจทก์เสียหาย เมื่อคดีของโจทก์มีมูลและมี เหตุผลเพียงพอ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาใน คดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) หาจำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2526 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 267 วรรคแรก เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยก คำขอในเหตุฉุกเฉินแล้ว คำสั่งเช่นว่านี้ให้ เป็นที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึง เป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาต่อมา ศาล ฎีกาไม่รับวินิจฉัย 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7140/2547 เดิมโจทก์ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอคุ้มครอง ชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นยกคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ทำให้คำ ร้องขอคุ้มครองชั่วคราวฉบับที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วย ซึ่งตาม ป. วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสาม การที่ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉินย่อมไม่ ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 นั้นใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิ ยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับใหม่ลงวันที่ 9 เมษายน 2544 เข้ามาได้อีก แม้ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งตามคำ ร้องฉบับดังกล่าว โจทก์จะได้ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอ คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาฉบับลงวันที่ 11 เมษายน 2544 เข้ามา อีก และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในวันเดียวกันนั้นเอง ก็มีผลเป็น การยกคำขอในเหตุฉุกเฉินและทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วยเท่านั้น จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะ ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเช่นเดียวกันนั้นอีก ศาล ชั้นต้นจึงมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2544 ที่โจทก์ยื่นไว้ก่อนได้ กรณีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 อนึ่ง จำเลยผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้กระทำการยึด รถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ ซึ่งโจทก์ผู้เช่าซื้ออ้างว่าเป็นการกระทำที่ผิดสัญญา เช่าซื้อและทำให้โจทก์เสียหาย เมื่อคดีของโจทก์มีมูลและมีเหตุผล เพียงพอ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนี้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) หาจำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

ข้อสังเกต 1. โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยอ้างเหตุฉุกเฉิน แต่ศาลดำเนินกระบวน พิจารณาแบบธรรมดา มิได้ดำเนินการตาม มาตรา 267 และมาตรา 269 ถ้าศาลยกคำ ขอของโจทก์ถือว่าเป็นการยกคำขอเหตุธรรมดา คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นที่สุดตามมาตรา 267 วรรค 1 ตอนท้าย 2. ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอฉุกเฉินเพียง บางส่วน ส่วนที่ศาลไม่อนุญาตนั้นมีผลเท่ากับ ศาลยกคำขอของโจทก์ในส่วนนั้น คำสั่งในส่วน นี้เป็นที่สุด 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2514 โจทก์ฟ้องว่าโจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนหย่ากัน โดยมีข้อสัญญาว่าให้บุตรอยู่ในความอุปการะของโจทก์ จำเลยมาหลอกลวงเอาบุตรไป จึงฟ้องเรียกคืน ดังนี้ โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยส่งบุตร ให้โจทก์ก่อนศาลพิพากษาได้ ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) เพราะมาตรา 254 นี้มิใช่เฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์เท่านั้น โจทก์ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอให้ ศาลใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาศาลนัดไต่สวนใน วันที่ 4 นับแต่วันนั้น กับส่งให้ส่งสำเนาให้จำเลย ทราบเมื่อไต่สวนแล้วศาลมีคำสั่งให้จำเลยนำบุตรไป มอบให้แก่โจทก์ภายใน 3 วันนับแต่วันได้รับทราบดังนี้ ถือว่าศาลดำเนินการพิจารณาไต่สวนคำร้องของโจทก์ อย่างวิธีธรรมดา เพราะมิได้ดำเนินการตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267, 269 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

3) วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอ (ม.266 ว.2) 3.5) จำเลยขอให้ยกเลิกคำสั่งหรือหมายของศาล (ม.267 ว.2) 1. จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอโดยพลัน ให้ศาลยกเลิก คำสั่งหรือหมายตามคำขอของโจทก์ในเหตุฉุกเฉินได้ 2. จำเลยอาจทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยได้รับ อนุญาตจากศาล 3. ให้นำบทบัญญัติแห่งวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดย อนุโลม กล่าวคือ 3.1 ศาลต้องพิจารณาคำขอเป็นการด่วน 3.2 ให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานจากคำแถลง ของจำเลย หรือพยานหลักฐานที่จำเลยได้นำมาสืบ หรือที่ ศาลได้เรียกมาสืบเอง 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

4. ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด โจทก์อุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2536 คำสั่งของ ศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอของจำเลยที่ให้ยกเลิก คำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับการคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินนั้นเป็นคำสั่ง อันเกี่ยว ด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยมีสิทธิ อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ ยกเลิกคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วคำสั่งเช่นนี้ย่อม เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่งมาตรา 267 วรรคสอง 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2550 โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาต่อศาลชั้นต้นในเหตุฉุกเฉิน ศาลชั้นต้น ไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาต จำเลยยื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินนั้น ศาลชั้นต้นไต่ สวนแล้วมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งเดิม จำเลยอุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษา กลับให้ยกคำร้อง อันมีผลเป็นการยกเลิกคำสั่ง คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินของ ศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อม เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

5. ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งที่ได้ออกตามคำขอในเหตุฉุกเฉินย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 นั้นใหม่ (ม.267 ว.3) ข้อสังเกต 1. จำเลยจะฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนหรือยกเลิกคำสั่งในเหตุ ฉุกเฉินและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ จำเลยต้องดำเนินการตาม มาตรา 267 และมาตรา 263 2. คำสั่งของศาลที่ให้ยกเลิกคำสั่งในเหตุฉุกเฉินให้เป็นที่สุด ไม่ว่าจำเลยจะขอโดยอาศัยมาตรา 267 วรรค 2 หรือ มาตรา 262 และไม่ว่าศาลจะพิจารณาคำขอของจำเลยเป็น กรณีฉุกเฉินตามมาตรา 267 วรรค 2 หรือกรณีธรรมดา หรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่าย 3. ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้วิธีการตามมาตรา 254 ไปตามคำขอธรรมดา จำเลยจะขอให้ยกเลิกคำสั่งหรือหมาย ของศาลตามมาตรา 267 วรรค 2 ไม่ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2539 คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครอง ชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา267วรรคสองไม่ว่าจำเลยทั้งหกจะขอให้ ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยอาศัย บทบัญญัติมาตรา262หรือศาลชั้นต้นได้ พิจารณาคำขอในกรณีธรรมดาก็ตามโจทก์จะ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวอีกไม่ได้การที่ศาล อุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ สั่งยกเลิกคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2536 (มีต่อ) โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2531 ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนคำร้องทั้งสองฉบับของ โจทก์ในวันดังกล่าว แต่มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องทั้ง สองฉบับให้แก่จำเลยทั้งสี่ และนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 18ตุลาคม 2531 การที่ศาลชั้นต้นให้นัดไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์หลังวันยื่นคำร้องถึง 8 วัน จึงมิใช่เป็นการ พิจารณาเป็นการด่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 267 ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินการไต่ สวนคำร้องโจทก์อย่างวิธีธรรมดา ดังนี้ เมื่อศาล อุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาของ ศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดแจ้งการโอนหุ้นลง ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท จำเลยที่ 1และออกใบหุ้นพร้อมกับใช้ค่าเสียหายให้แก่ โจทก์ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2536 (ต่อ) แต่ตามคำร้องที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กลับเป็นเรื่องโจทก์ต้องการใช้สิทธิเข้าไปดูแลครอบงำการจัดการ และเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจะได้ดำเนินการบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อไปชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคำฟ้อง โจทก์ไม่อาจร้องขอให้คุ้มครองดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุ สมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาใช้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 และ ในวันเดียวกันกรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ร่วม ประชุมแต่งตั้งได้ยื่นคำร้องขอถอนทนายจำเลยที่ 1 ที่กรรมการ ชุดเดิมได้ตั้งไว้ หลังจากนั้นโจทก์กับทนายคนใหม่ของจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้เป็นไปตามคำขอท้าย ฟ้องของโจทก์เช่นนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปโดยไม่สุจริตและ กระทำเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดีแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่ง จำเลยดังกล่าวต่างให้การต่อสู้อยู่ว่า หุ้นตามฟ้องมิใช่ของโจทก์ ทั้งยังคัดค้านคำร้องขอถอนฟ้องด้วย ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แล้วพิพากษาคดี ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

5. ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งที่ได้ออกตามคำขอในเหตุฉุกเฉินย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 นั้นใหม่ (ม.267 ว.3) 4. โจทก์ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวโดยมีคำ ขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ให้ศาลสั่งห้ามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดการใช้เงินเป็นการชั่วคราว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัด ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งอายัด จึงเป็น กรณีที่บุคคลภายนอกคือผู้ร้องถูกหมายอายัดและขอ เพิกถอนคำสั่ง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ถูกหมาย อายัดและเป็นผู้ขอให้ยกเลิกตามมาตรา 267 จึงต้อง อาศัยบทบัญญัติมาตรา 259 นำมาตรา 312 ซึ่ง เป็นบทบัญญัติสำหรับบุคคลภายนอกเป็นผู้ร้องขอมาใช้ บังคับโดยอนุโลม อันทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ เพิกถอนคำสั่งอายัดถึงที่สุดตามมาตรา 267 วรรค 2 เช่นเดียวกัน 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2519 เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลเพื่อใช้ วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ได้ขอให้ศาลไต่สวน ฉุกเฉิน อายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยจะได้รับจาก บุคคลอื่น และศาลได้มีคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างที่ จำเลยจะได้รับจากบุคคลอื่นแล้ว จำเลยย่อมไม่มี สิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนการอายัดดังกล่าว ได้ จำเลยมีสิทธิเพียงแต่จะขอให้ศาลสั่งยกเลิก คำสั่งหนือหมายอายัดทรัพย์ชั่วคราวตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง ได้เท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียก ค่าเสียหายจากโจทก์ได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2547 โจทก์ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อน พิพากษา โดยมีคำขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้ศาลสั่ง ห้ามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินตาม ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดการ ใช้เงินเป็นการชั่วคราว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ยกเลิกคำสั่งอายัด จึงเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกคือผู้ ร้องถูกหมายอายัดและขอเพิกถอนคำสั่ง ไม่ใช่กรณีที่ จำเลยเป็นผู้ถูกหมายอายัดและเป็นผู้ขอให้ยกเลิกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 จึงต้องอาศัยบทบัญญัติมาตรา 259 นำมาตรา 312 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับ บุคคลภายนอกเป็นผู้ร้องขอมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันเป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดถึง ที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง เช่นเดียวกัน 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

5. ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งที่ได้ออกตามคำขอในเหตุฉุกเฉินย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 นั้นใหม่ (ม.267 ว.3) 5. โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและ ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของ โจทก์หลังวันยื่นคำร้องถึง 8 วัน จึงมิใช่เป็นการพิจารณา เป็นการด่วนตามมาตรา267 ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินการไต่ สวนคำร้องของโจทก์อย่างวิธีธรรมดา ศาลชั้นต้นไต่สวน แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำ ขอของโจทก์ จำเลยขอให้ยกเลิกคำสั่ง ศาลชั้นต้นยกคำ ร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่ง ศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุด โจทก์ย่อม มีสิทธิฎีกาคำสั่งได้ 6. ถ้าศาลยกเลิกคำสั่งในเหตุฉุกเฉินเพียงบางส่วน จำเลยอุทธรณ์ฎีกาขอให้ยกเลิกคำสั่งเดิมในส่วนที่ศาลไม่ ยกเลิกได้ 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2522 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดทรัพย์ก่อนคำ พิพากษากรณีฉุกเฉินและยกคำร้องที่จำเลย ขอให้ถอนการยึด ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ ถอนการยึดเฉพาะทรัพย์บางรายการ ดังนี้ จำเลยฎีกาให้ถอนการยึดทั้งหมดได้คำ พิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถึงที่สุด 08/04/62 Mrs.Wasinee Nanthakwang Chawnour,Lecturer