การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว เพื่อพื้นที่มรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว เพื่อพื้นที่มรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้จัดทำ ชื่อ : นางสาวชุติมา งามพิพัฒน์ ชื่อ : นางสาวชุติมา งามพิพัฒน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผศ.ดร.ธเนศ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม : ผศ.ดร.ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 2 3 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ในการวิจัย กรอบแนวความคิดที่ใช้ในการวิจัย ขอบเขตการวิจัย 4

วิธีการดำเนินการวิจัย 5 6 7 วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ดินบริเวณหมู่บ้านคลองสระบัว และบริเวณใกล้เคียง ลักษณะดินจะเป็นดินเปรี๊ยว เมื่อขุดลึกลงไปจะเป็น “ดินสีเหลือง”ชาวบ้านเรียกว่า “ดินขุยปู” นำมากรองและผสมน้ำให้มีความข้นพอดี ใช้ทาเคลือบผิวหม้อดิน เมื่อเผาหม้อดินและขัดมันก่อนการเผาหม้อจะทำให้หม้อดินมีสีแดงสวย นับเป็นภูมิปัญญาด้านการทำเคลือบ การเคลือบผิวหม้อดิน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามีผิวสวยงามสดใส เป็นมันวาว จึงนับว่าช่างปั้นหม้อดินเผาคลองสระบัวใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมานานตั้งแต่บรรพบุรษ และสืบสานถ่ายทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (แสงเทียน โยยรัมย์และทนงศักดิ์ ประทุมสูติ.2552 : 1) เครื่องปั้นดินเผาทำกันมากที่ชุมชนคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมชาวบ้านคลองสระบัวทำกระเบื้องดินเผาสำหรับมุงหลังคาชนิดมีขอเป็นอาชีพหลัก และต่อมากระเบื้องมุงหลังคาชนิดนี้เสื่อมความนิยมลง ชาวบ้านจึงเป็นมาทำอาชีพปั้นหม้อ และเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น อ่าง กระทะ เตา เป็นต้น แต่ที่นิยมปั้นมากที่สุด “ปั้นหม้อ” ซึ่งมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่ และลงตามลำดับจนถึงขนาดที่เป็นของเด็กเล่น มีชื่อเรียกต่างๆ คือ หม้อต้น หม้อกลาง หม้อปลาย (หม้อกระจอก) หม้อหู (กระทะ) การปั้นหม้อชุมชนคลองสระบัวทำกันในลักษณะถ่ายทอดสืบต่อกันมาจาก บรรพบุรุษ ปัจจุบันยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เครื่องปั้นดินเผาคลองสระบัว มีคุณสมบัติคือเมื่อนำมาใช้ประกอบอาหาร จึงทำให้อาหารมีกลิ่นนุ่มนวลและรสชาติอร่อยอย่างพิศวง การปั้นหม้อคลองสระบัวมีการทำเป็นจำนวนน้อยมาก โอกาสที่เครื่องปั้นดินเผาคลองสระบัวจะสูญหายไปจากสระบัวนั้นค่อนข้างสูง เพราะปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมหันไปทำงานโรงงาน ฯลฯ ทำให้การปั้นหม้อ คลองสระบัวขาดคนอนุรักษ์ภูมิปัญญา และอาจสูญหายไปในที่สุด

วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1 เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2 เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3 เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย กรอบแนวคิดการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา การศึกษาคุณสมบัติของแหล่งดิน การออกแบบผลิตภัณฑ์ กรอบแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ QFD ศึกษากระบวนการใช้มโนทัศน์ กรอบแนวคิดกาความพึงพอใจของผู้บริโภค แนวความคิดส่วนประสม ทางการตลาด (4P’s)

ขอบเขตการวิจัย คุณสมบัติทางกายภาพของเนื้อดิน เนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุณหภูมิที่ใช้ในการเผา 900 องศาเซลเซียส ตัวแปรต้น ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวแปรตาม

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วัตถุประสงค์ที่ 1 ด้านการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นใน ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากร กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นใน ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 3 ท่าน กลุ่มตัวอย่าง สุ่มแบบเจาะจง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องปั้นดินเผา กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวน 3 ท่าน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 3 ท่าน สุ่มแบบเจาะจง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วัตถุประสงค์ที่ 3 ด้านความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากร นักท่องเที่ยว และคนในท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นที่เดินทางท่องเที่ยวที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 155 คน กลุ่มตัวอย่าง สุ่มแบบบังเอิญ

วัตถุประสงค์ที่ 1 ด้านการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา วัตถุประสงค์ที่ 1 ด้านการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น การรวบรวมข้อมูล หนังสือ ตำรา เอกสาร สถิติ ขอหนังสือราชการเพื่อขอความร่วมมือ ในการตอบแบบสัมภาษณ์ การทดสอบคุณสมบัติของดิน การทดสอบน้ำเคลือบ การวิเคราะห์ข้อมูล

วัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา วัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิเคราะห์การออกแบบ กรอบแนวความคิดการวิเคราะห์เพื่อการออกแบบ กรอบแนวความคิดการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ขอหนังสือราชการเพื่อขอความร่วมมือ ในการตอบแบบประเมิน แบบประเมินความคิดเห็นด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา สเก็ตดีไซน์ 30 แบบ ตัดทอนเหลือ 5 แบบ โดยหลักการวิศวกรรมย้อนรอย ประเมินแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เหลือ 3 แบบ ผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

วัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา วัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสร้างเครื่องมือ ในการวิจัย การสร้างข้อคำถาม หาค่าดัชนีสอดคล้อง ข้อคำถามกับคำนิยามศัพท์ ด้านการการออกแบบ พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.5 สามารถนำไปประเมินได้ ด้านวัสดุ ด้านการผลิต

วัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา วัตถุประสงค์ที่ 2 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเมินความคิดเห็นด้าน การออกแบบเครื่องปั้นดินเผา การรวบรวมข้อมูล ประเมินแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน ประเมินแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 3 ท่าน ใช้ตารางประเมินผล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล

วัตถุประสงค์ที่ 3 ด้านความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา วัตถุประสงค์ที่ 3 ด้านความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือในการวิจัย กรอบแนวความคิดด้านส่วนผสมทางการตลาด ขอหนังสือราชการเพื่อขอความร่วมมือ ในการตอบแบบประเมิน แบบประเมินความคิดเห็นด้านความพึงพอใจของผู้บริโภค ประเมินแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน

วัตถุประสงค์ที่ 3 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา วัตถุประสงค์ที่ 3 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสร้างเครื่องมือ ในการวิจัย การสร้างข้อคำถาม หาค่าดัชนีสอดคล้อง ข้อคำถามกับคำนิยามศัพท์ ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.5 สามารถนำไปประเมินได้ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย

วัตถุประสงค์ที่ 3 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา วัตถุประสงค์ที่ 3 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การรวบรวมข้อมูล ประเมินแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลอง สระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 155 คน ใช้ตารางประเมินผล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล

แผนที่กายภาพของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนที่กายภาพของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลักษณะทางกายภาพของเนื้อดิน ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การลงพื้นที่ ลักษณะทางกายภาพของเนื้อดิน

ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบก่อนเผา ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบก่อนเผา การทดสอบความเหนียวของเนื้อดิน ผลการทดสอบความเหนียวของเนื้อดิน ตัวอย่างที่ หมู่ที่ ความเหนียวของเนื้อดิน นำมาขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ 1 2 เหนียว ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ 4 3 6 เหนียวที่สุด ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ดี

ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบก่อนเผา ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบก่อนเผา ตัวอย่างที่ สีของเนื้อดิน การหดตัว (%) ก่อนเผา ก่อนเผา (%) 1 สีแดง 6.00 2 3 7.00 ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพก่อนเผา อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ตัวอย่างที่ สีของเนื้อดิน การหดตัว (%) ก่อนเผา ก่อนเผา (%) 1 สีแดง 5.00 2 7.00 3 8.00 ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพก่อนเผา อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส

ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบก่อนเผา ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบก่อนเผา ตัวอย่างที่ สีของเนื้อดิน การหดตัว (%) ก่อนเผา ก่อนเผา (%) 1 สีแดง 8.00 2 11.00 3 12.00 ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพก่อนเผา อุณหภูมิ 1100 องศาเซลเซียส ตัวอย่างที่ สีของเนื้อดิน การหดตัว (%) ก่อนเผา ก่อนเผา (%) 1 สีแดง 10.00 2 3 ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพก่อนเผา อุณหภูมิ 1150 องศาเซลเซียส

ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบก่อนเผา ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบก่อนเผา ตัวอย่างที่ สีของเนื้อดิน การหดตัว (%) ก่อนเผา ก่อนเผา (%) 1 สีแดง 12.00 2 11.00 3 13.00 ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพก่อนเผา อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ตัวอย่างที่ สีของเนื้อดิน การหดตัว (%) ก่อนเผา ก่อนเผา (%) 1 สีแดง 12.00 2 3 11.00 ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพก่อนเผา อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส

ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบหลังเผา ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบหลังเผา ตัวอย่างที่   ความทนไฟ สีหลังเผา (900°C) การหดตัว การดูดซึมน้ำ (%) 1 ทนไฟได้ สีน้ำตาลอิฐ 1.05 18.56 2 2.08 18.42 3 2.11 18.76 ผลการทดสอบคุณสมบัติ ทางกายภาพหลังเผา อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ตัวอย่างที่   ความทนไฟ สีหลังเผา (1000°C) การหดตัว การดูดซึมน้ำ (%) 1 ทนไฟได้ สีส้ม 1.04 17.74 2 1.06 17.68 3 1.08 17.99 ผลการทดสอบคุณสมบัติ ทางกายภาพหลังเผา อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส

ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบหลังเผา ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบหลังเผา ตัวอย่างที่   ความทนไฟ สีหลังเผา (1100°C) การหดตัว การดูดซึมน้ำ (%) 1 ทนไฟได้ สีน้ำตาล 3.16 4.90 2 3.26 4.75 3 4.35 4.70 ผลการทดสอบคุณสมบัติ ทางกายภาพหลังเผา อุณหภูมิ 1100 องศาเซลเซียส ตัวอย่างที่   ความทนไฟ สีหลังเผา (1150°C) การหดตัว การดูดซึมน้ำ (%) 1 ทนไฟได้ สีน้ำตาลไหม้ 5.26 4.64 2 2.64 3 5.76 2.62 ผลการทดสอบคุณสมบัติ ทางกายภาพหลังเผา อุณหภูมิ 1150 องศาเซลเซียส

ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบหลังเผา ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การทดสอบวัตถุดิบหลังเผา ตัวอย่างที่   ความทนไฟ สีหลังเผา (1200°C) การหดตัว การดูดซึมน้ำ (%) 1 ทนไฟได้   สีน้ำตาลไหม้ 6.32 2.33 2 สีน้ำตาลไหม้ 6.81 1.76 3 1.93 ผลการทดสอบคุณสมบัติ ทางกายภาพหลังเผา อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ตัวอย่างที่   ความทนไฟ สีหลังเผา (1230°C) การหดตัว การดูดซึมน้ำ (%) 1 ชิ้นงานมีลักษณะบวม สีน้ำตาลดำ 7.37 0.65 2 0.80 3 8.25 0.95 ผลการทดสอบคุณสมบัติ ทางกายภาพหลังเผา อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส

ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางสมจิตต์ การฤกษ์ (สัมภาษณ์วันที่ 11 กรกฎาคม 2558) อาชีพปั้นหม้อได้ปั้นหม้อมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาเกิดมาก็เห็นชุมชนแถบนี้ปั้นหม้อกันทุกบ้าน การปั้นหม้อมีขั้นตอนดังนี้ 1.การหาดินปั้นหม้อหรือดินแก้วแกลบ 2.การหาดินสีเหลืองหรือดินขุยปู 3.การฉะดิน 4.การร่อนทราย 5.การเหยียบดิน 6.การทุ่มดิน 7.การโพกช่อ หรือโพนดิน 8.การขึ้นรูปและทำปากหม้อ 9.การทำหม้อหุ่น 10.การทำฝาหม้อ 11.การตากหม้อ 12.การตกแต่งปิดก้นหม้อ 13.การตีหม้อละ 14.การตีหม้อเล้ม 15.การทาสีหม้อด้วยดินสี 16.การขัดหม้อด้วยหิน 17.การผึ่งหม้อรอเข้าเตาเผา 18.การเรียงหม้อใส่เตา 19.การเผาหม้อดิน การเผาหม้อจะต้องนำหม้อมาผึ่งแดดก่อน เพื่อให้หม้อได้รับความร้อนจากแสงแดดอ่อน ช่วยให้หม้อรู้สึกตัวก่อนเข้าเตาเผาและเป็นการไล่ความชื้นออกจากหม้อ การใส่ไฟจากเบาไปหาไฟแรง เพื่อให้เนื้อดินที่หม้อรู้สึกตัว ถ้าเร่งไฟแรงหม้อจะแตก อาชีพปั้นหม้อเป็นอาชีพที่มีมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย มีการสืบทอดไปยังลูกหลาน บริเวณแถบนี้มีดินเหนียวมากมายตามริมหนองน้ำและทุ่งนา

ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางนงนุช เจริญพร (สัมภาษณ์วันที่ 11 กรกฎาคม 2558) ประวัติเครื่องปั้นดินเผาและกระบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : ปั้นหม้อมานานแล้ว มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สืบทอดกันมาไม่ขาดสาย และทำการปั้นหม้อกันทุกบ้าน 1.การหาดินปั้นหม้อหรือดินแก้วแกลบ 2.การหาดินสีเหลืองหรือดินขุยปู 3.การฉะดิน 4.การร่อนทราย 5.การเหยียบดิน 6.การทุ่มดิน 7.การโพกช่อ หรือโพนดิน 8.การขึ้นรูปและทำปากหม้อ 9.การทำหม้อหุ่น 10.การทำฝาหม้อ 11.การตากหม้อ 12.การตกแต่งปิดก้นหม้อ 13.การตีหม้อละ 14.การตีหม้อเล้ม 15.การทาสีหม้อด้วยดินสี 16.การขัดหม้อด้วยหิน 17.การผึ่งหม้อรอเข้าเตาเผา 18.การเรียงหม้อใส่เตา 19.การเผาหม้อดิน การเลือกดินเหลืองโดย ดูดินที่ปูขุดเป็นขุยขึ้นมาจากรูปู ว่าขุยดินเป็นสีเหลืองหรือไม่ ถ้าเป็นสีเหลืองจึงขุดลงไปประมาณ 1 เมตร การปั้นหม้อจะต้องมีการไหว้ครูก่อนขึ้นรูป เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปั้น และเอามือจุ่มน้ำ เพื่อไม่ให้ดินติดมือทำให้ดินจะเรียบ มีการใช้ผ้าถุงเก่าประกอบการปั้น เพราะผ้าเก่ามีความนิ่มและซับน้ำได้ดีกว่าผ้าถุงใหม่ มีการบีบน้ำใส่ไปในหม้อ เพื่อให้ดินด้านในไม่แห้ง และการใช้นิ้วโป้งกรีดขอบหม้อให้เป็นรอย เพราะผู้ปั้นสามารถกะน้ำหนักมือในการกรีดให้รอยลึกหรือตื้น อาชีพปั้นหม้อของคนในชุมชนแถบนี้ ทำกันทุกบ้าน หาดินเหนียวได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก และอยู่ใกล้ริมคลองจะมีคนพายเรือมารับซื้อถึงบ้าน ไม่ต้องไปเร่ขาย

ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางกิ่งแก้ว ชินะกุล (สัมภาษณ์วันที่ 17 กรกฎาคม 2558) ประวัติเครื่องปั้นดินเผาและกระบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : โดยมีอาชีพปั้นหม้อนานแล้ว และได้สืบทอดอาชีพนี้มาจากบรรพบุรุษ ชุมชนคลองสระบัวเดิมเป็นสระบัวอยู่มาก และมีลำคลองไหลผ่าน และมีดินเหนียวเป็นวัตถุดิบในการทำหม้อดินเผา การปั้นหม้อมีตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายและมีตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว ไม่มีผู้สืบทอด เพราะคนส่วนใหญ่นิยมไปทำอาชีพอื่น ที่มีรายได้ที่แน่นอน จึงทำอาชีพปั้นหม้อไม่มีผู้สืบทอดต่อ ในอนาคตอาชีพนี้อาจจะสุญหายไปในที่สุด การทำหม้อมีวิธีการดังนี้ 1.การหาดินปั้นหม้อหรือดินแก้วแกลบ 2.การหาดินสีเหลืองหรือดินขุยปู 3.การฉะดิน 4.การร่อนทราย 5.การเหยียบดิน 6.การทุ่มดิน 7.การโพกช่อ หรือโพนดิน 8.การขึ้นรูปและทำปากหม้อ 9.การทำหม้อหุ่น 10.การทำฝาหม้อ 11.การตากหม้อ 12.การตกแต่งปิดก้นหม้อ 13.การตีหม้อละ 14.การตีหม้อเล้ม 15.การทาสีหม้อด้วยดินสี 16.การขัดหม้อด้วยหิน 17.การผึ่งหม้อรอเข้าเตาเผา 18.การเรียงหม้อใส่เตา 19.การเผาหม้อดิน อาชีพปั้นหม้อ สามารถหาดินได้ง่ายจากชุมชน ทำให้ประหยัดต้นทุน เพราะในหมู่บ้านจะมีแหล่งดินเหนียว ที่สามารถนำไปทำหม้อดินเผา การทำหม้อดินเผาในปัจจุบันเหลือไม่กี่บ้าน เพราะไม่มีคนสืบทอด อีกไม่นานอาจจะหลายไปจากชุมชน วัสดุที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา:ดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม้ตีหม้อ หินดุ หินขัด เตาเผา

ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์การหาปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของดิน XRD (X-ray Diffractometer) ทดสอบคุณสมบัติทางด้านเคมีด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรคโตมิเตอร์ ยี่ห้อBruker AXS รุ่น Diffraktometer D8 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวอย่างดินหมู่บ้านที่ 2 มีองค์ประกอบของ (Quartz –SIO2) 50.903% (Grossite)14.793% (Kaolinite (BISH) 34.304 %

ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์การหาปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของดิน XRD (X-ray Diffractometer) ทดสอบคุณสมบัติทางด้านเคมีด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรคโตมิเตอร์ ยี่ห้อBruker AXS รุ่น Diffraktometer D8 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวอย่างดินหมู่บ้านที่ 4 มีองค์ประกอบของ (Quartz –SIO2) 50.298% (Grossite) 14.187% (Kaolinite (BISH) 35.516%

ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์การหาปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของดิน XRD (X-ray Diffractometer) ทดสอบคุณสมบัติทางด้านเคมีด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรคโตมิเตอร์ ยี่ห้อBruker AXS รุ่น Diffraktometer D8 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวอย่างดินหมู่บ้านที่ 6 มีองค์ประกอบของ (Quartz –SIO2) 45.680% (Grossite) 17.362% (Kaolinite (BISH) 36.958%

ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์การหาปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของดิน XRD (X-ray Diffractometer) ทดสอบคุณสมบัติทางด้านเคมีด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรคโตมิเตอร์ ยี่ห้อBruker AXS รุ่น Diffraktometer D8 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวอย่างดินหมู่บ้านที่ 6 มีองค์ประกอบของ (Quartz –SIO2) 45.680% (Grossite) 17.362% (Kaolinite (BISH) 36.958%

ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์การหาปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของดิน XRD (X-ray Diffractometer) ทดสอบคุณสมบัติทางด้านเคมีด้วย เครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรคโตมิเตอร์ ยี่ห้อBruker AXS รุ่น Diffraktometer D8 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อดินทั้ง 3 ตัวอย่างของเนื้อดินชุมชน คลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้วิจัยได้เลือกตัวอย่างดินจากแหล่งที่ 3 (ซึ่งอยู่ที่หมู่บ้านที่ 6) นำมาขึ้นรูปและ ออกแบบผลการวิเคราะห์ พบว่า เนื้อดินมีความเหมาะสมกับการขึ้นรูป มากที่สุด และสามารถนำไปขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินได้ดี

ผลการวิเคราะห์การศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์การทดสอบคุณสมบัติของน้ำเคลือบเผาที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส การทดสอบน้ำเคลือบ 36 จุด พบว่าน้ำเคลือบจุดที่ 14 เคลือบมีสีเทา ลักษณะผิวมัน เรียบเนียนสม่ำเสมอ ไม่แตกราน มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์จึงนำไปเคลือบผิวผลิตภัณฑ์

มีความโดดเด่นด้านเอกลักษณ์ของชุมชน INSPIRATION วิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้าน นำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ในการสร้างแรงบันดาลใจ โดยใช้รูปแบบเครื่องจักสาน ในภาคกลาง ซึ่งได้แก่ กระบุง กระจาด เป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบบรูปทรง เนื้อดินมีความเหมาะสมเน้นความเป็นงานฝีมือ ที่มีความสวยงาม และคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยผสมผสานเพื่อให้เกิดความเรียบง่าย และคงความเป็นเอกลักษณ์แบบพื้นบ้านท้องถิ่น มีความโดดเด่นด้านเอกลักษณ์ของชุมชน

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) แยกความต้องการเป็นหมวดหมู่ วัสดุ (Material) การใช้งาน (Usability) ราคา (Price) เนื้อดินสามารถหาได้ในท้องถิ่น รูปทรงและลวดลายมีความแปลกใหม่ เคลื่อนย้ายสะดวก ทำความสะอาดง่าย ต้นทุนในการผลิตราคาถูกเนื่องจากดินสามารถหาได้ในชุมชน

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) แยกความต้องการเป็นหมวดหมู่ กำหนดค่า

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) กำหนดค่า

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) กำหนดค่าความพึงพอใจ จากผู้บริโภค 5 สำคัญมาก, 1 ไม่สำคัญเลย คำนวณค่า improvement {(Planing Ratting – Our Product) x 0.2}+1 จะได้ค่าที่ควรปรับปรุง กำหนดจุดขาย (Sale Point) 1.0 ไม่ใช่จุขาย, 1.5 เป็นจุดขายมาก

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) หาค่าที่ควรปรับปรุง (Overall Weighting) โดยใช้ Customer Importance x Improvement Factor x Sale Point = Overall Weighting

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) แทนค่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการกับเทคนิคที่นำมาใช้

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) วิเคราะห์คะแนนใน เชิงเทคนิคและเปรียบเทียบคู่แข่งในเชิงเทคนิค เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) สรุปเป้าหมายการออกแบบ (Design Targets) พบว่า 1. ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ต้องได้มาตรฐาน และมีคุณภาพของเนื้อดินที่ดี (Y) 2. น้ำหนักโดยรวมไม่ควรเกิน 1.2 กิโลกรัม 3. ความละเอียดของเนื้อดิน (3 แหล่ง) 4. ขนาดของเครื่องปั้นดินเผามี 2 ขนาด และสีมี 2 สี 5. ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามีวิธีการผลิตที่ง่ายต่อ การขึ้นรูปทรง (Y) 6. ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาควรมีเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่น (Y) 7. เนื้อดินสามารถหาได้ในท้องถิ่น เพื่อลดต้นทุนใน การผลิต (3 แหล่ง)

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศึกษาและรวบรวมข้อมูลตามองค์ประกอบที่กำหนด เชื่อมโยงนามธรรมสู่รูปธรรม ประมวลและสร้างมโนทัศน์ Sketch Design

Sketch Design จำนวน 20 แบบ ระยะที่ 1 ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Sketch Design จำนวน 20 แบบ ระยะที่ 1

ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์รูปแบบโดยหลักการวิศวกรรมย้อนรอย จำนวน 20 แบบ ระยะที่ 1 รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ รูปแบบที่ 5,6,12,4,2 ตามลำดับมีความเหมาะสมจากมาก ไปหาน้อย โดยรูปแบบที่ได้ อันดับที่ 1 ได้แก่ รูปแบบที่ 5 อันดับที่ 2 ได้แก่ รูปแบบที่ 6 อันดันที่ 3 ได้แก่ รูปแบบที่ 12 อันดับที่ 4 ได้แก่ รูปแบบที่ 4 และอันดับที่ 5 ได้แก่ รูปแบบที่ 2

Sketch Design จำนวน 20 แบบ ระยะที่ 2 ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Sketch Design จำนวน 20 แบบ ระยะที่ 2

ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์รูปแบบโดยหลักการวิศวกรรมย้อนรอย จำนวน 20 แบบ ระยะที่ 2 รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสม ได้แก่รูปแบบที่ 3,5,2,8,19 ตามลำดับมีความเหมาสมจาก มากไปหาน้อย โดยรูปแบบที่ได้ อันดับที่ 1 ได้แก่ รูปแบบที่ 3 อันดับที่ 2 ได้แก่ รูปแบบที่ 5 อันดันที่ 3 ได้แก่ รูปแบบที่ 2 อันดับที่ 4 ได้แก่ รูปแบบที่ 8 และอันดับที่ 5 ได้แก่ รูปทรงที่ 19

Sketch Design จำนวน 31 แบบ ระยะที่ 3 ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Sketch Design จำนวน 31 แบบ ระยะที่ 3

ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงผลการวิเคราะห์รูปแบบโดยหลักการวิศวกรรมย้อนรอย จำนวน 31 แบบ ระยะที่ 3 รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสม ได้แก่รูปแบบที่ 17,18,19,20,22 ตามลำดับมีความเหมาสมจาก มากไปหาน้อย โดยรูปแบบที่ได้อันดับที่ 1 ได้แก่ รูปแบบที่ 17 อันดับที่ 2 ได้แก่ รูปแบบที่ 18 อันดันที่ 3 ได้แก่ รูปแบบที่ 19 อันดับที่ 4 ได้แก่ รูปแบบที่ 20 และอันดับที่ 5 ได้แก่ รูปทรงที่ 22

Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 1 (รูปแบบที่ 17) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 1 (รูปแบบที่ 17)

Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 2 (รูปแบบที่ 18) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 2 (รูปแบบที่ 18)

Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 3 (รูปแบบที่ 19) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 3 (รูปแบบที่ 19)

Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 4 (รูปแบบที่ 20) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 4 (รูปแบบที่ 20)

Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 5 (รูปแบบที่ 22) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Sketch design ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบที่ 5 (รูปแบบที่ 22)

ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบที่ 1 รูปแบบที่ 2 รูปแบบที่ 3 รูปแบบที่ 4 รูปแบบที่ 5

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านกรรมวิธีการผลิต

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านขนาดและสัดส่วน

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านความสวยงาม

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์

ผลการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิเคราะห์แบบประเมินการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้ง 5 รูปแบบ

ผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา รูปแบบที่ 5 รูปแบบที่ 4 รูปแบบที่ 1

ผลการประเมินการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร คนทน อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร 2. อาจารย์วราวุธ ยอดจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีเซรามิกส์ 3. อาจารย์สมทรง ซิมาภรณ์ อาจารย์ประจำสาขาเซรามิกส์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ผลการประเมินการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤดี นิยมรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปาริชาติ รัตนพล อาจารย์ประจำสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชานนท์ ตันประวัติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านเพศ

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านอายุ

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านการศึกษา

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านรายได้

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมส่วนประสมทางการตลาด

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านราคา

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านส่งเสริมการขาย

ผลการประเมินความพึงพอใจผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สรุปผลการวิจัย 1. สรุปผลการวิเคราะห์ขั้นตอนการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1.1 ศึกษาข้อมูลและลงพื้นที่เพื่อสำรวจดิน พบว่าเนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีความเหนียวค่อนข้างสูง สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ดีมีทรายป่นอยู่ในเนื้อดิน เนื้อดินมีความละเอียดมีความเหมาะสมกับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผา การนำเนื้อดินจำนวน 3 ตัวอย่าง มาทดสอบเนื้อดินสามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ โดยผู้วิจัยได้เลือกตัวอย่างเนื้อดินที่ 3 เพราะเนื้อดินมีความเหนียวดีที่สุด 1.2 การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ของตัวอย่างที่ 3 ก่อนเผาที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส สีของเนื้อดินมีลักษณะเป็นสีแดงการหดตัวของเนื้อดินอยู่ที่ 7.00% และหลังเผาอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เนื้อดินสามารถทนไฟได้ สีหลังเผาของเนื้อดิน สีน้ำตาลอิฐ เนื้อดินหดตัวที่ 2.08% การดูดซึมน้ำอยู่ที่ 18.76% 1.3 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าเป็นบุคคลที่เกิดและเติบโตในชุมชนคลองสระบัว มาโดยตลอดและมีอาชีพปั้นหม้อ บริเวณแถบนี้มีดินเหนียวมากมายตามริมหนองน้ำ ทุ่งนา ไม่ต้องลงทุนมาก และอยู่ใกล้ริมคลองจะมีคนพายเรือมารับซื้อถึงบ้านแต่ในปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว ไม่มีผู้สืบทอดเพราะ คนส่วนใหญ่นิยมไปทำ อาชีพอื่นที่มีรายได้ที่แน่นอน จึงทำอาชีพปั้นหม้อไม่มีผู้สืบทอดต่อในอนาคตอาชีพนี้อาจจะสูญหายไปในที่สุด 1.4 การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติของน้ำเคลือบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า การวิเคราะห์ใช้เครื่องมือหาปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของดิน ด้วยเครื่อง XRD (X-ray Diffractometer) ทดสอบคุณสมบัติทางด้านเคมีด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรคโตมิเตอร์ ยี่ห้อBruker AXS รุ่น Diffraktometer D 8 พบว่า เนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีองค์ประกอบของ (Quartz –SIO2) 45.680%, (Grossite) 17.362%, (Kaolinite (BISH) 36.958% และได้ทำการทดสอบสูตรน้ำเคลือบจำนวน 36 จุด พบว่าน้ำเคลือบจุดที่ 14 มีความเหมาะสมที่สุดในการเคลือบผิว เคลือบมี สีเทา ลักษณะผิวมัน เรียบเนียนสม่ำเสมอ ไม่แตกราน มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

สรุปผลการวิจัย 2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2.1 ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ใช้แนวความคิดจาก วิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้าน เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยใช้รูปแบบเครื่องจักสานในภาคกลาง ซึ่งได้แก่ กระบุง กระจาด เป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องปั้นดินเผา แบบรูปทรง เนื้อดินมีความเหมาะสม เน้นความเป็นงานฝีมือที่มีความสวยงามและคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยผสมผสานเพื่อให้เกิดความเรียบง่ายและคงความเป็นเอกลักษณ์แบบพื้นบ้านท้องถิ่น 2.2 ผลการออกแบบร่างผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 31 รูปแบบ คัดเลือกโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ประเมินผลทางความคิดเชิงมโนทัศน์กรอบแนวคิดของ (ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา.2557:145) ในการประเมินแบบร่างให้เหลือ 5 รูปแบบ พบว่ารูปแบบร่างแจกันเครื่องปั้นดินเผาอันดับที่ 1 ได้แก่ รูปแบบที่ 3 อันดับที่ 2 ได้แก่ รูปแบบที่ 5 อันดันที่ 3 ได้แก่ รูปแบบที่ 2 อันดับที่ 4 ได้แก่ รูปแบบที่ 8 และอันดับที่ 5 ได้แก่ รูปทรงที่ 19 มีความสอดคล้องกับปัจจัยแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2.3 การวิเคราะห์แบบประเมินผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวน 3 ท่าน ทั้ง 5 รูปแบบ พบว่ารูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย ( 𝑥 =4.27) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.62) รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย ( 𝑥 =4.17) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.70) รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย ( 𝑥 =4.23) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.71) รูปแบบที่ 4 มีความเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย ( 𝑥 =4.39) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.67) และรูปแบบที่ 5 มีความเหมาะสมมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( 𝑥 =4.55 ) ค่าเบี่ยงเบนตราฐาน (S.D.=0.54) ผู้วิจัยจึงสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบที่ 5, 4 และ1 มีความเหมาะสมจะนำไปผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโดยอันดับที่ 1 ได้แก่ รูปแบบที่ 5, อันดับที่ 2 ได้แก่ รูปแบบที่ 4 และอันดับที่ 3 ได้แก่ รูปแบบที่ 1 โดยนำไปผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

สรุปผลการวิจัย 3. สรุปผลการวิเคราะห์การประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค ตามกรอบแนวความคิดของด้านการตลาด คือแนวกลยุทธ์ 4Ps (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.2541:80) สามารถแบ่งเป็นประเด็น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 155 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า คนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 91 คน มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มากที่สุดจำนวน 45 คน ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 89 คน และมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท จำนวน 71 คน ผู้บริโภคมีความพึงพอใจด้านการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( x =4.49) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.52)

อภิปรายผล 1. อภิปรายผลการศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาศึกษาเนื้อดิน เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามกรอบแนวความคิดการศึกษาคุณสมบัติของดินจากแหล่งที่ขุดพบใหม่ตามแนวคิดของ (ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. 2541 : 243) พบว่า เนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความเหนียว ค่อนข้างสูง สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ดีมีทรายป่นอยู่ในเนื้อดิน เนื้อดินมีความละเอียด มีความเหมาะสมกับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของการนำเนื้อดิน จำนวน 3 ตัวอย่าง มาทดสอบเนื้อดินสามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ โดยผู้วิจัยได้เลือกตัวอย่างเนื้อดินที่ 3 เพราะเนื้อดินมีความเหนียวดีที่สุด ตามกรอบแนวความคิดการศึกษาคุณสมบัติของดินทางด้านการทดสอบวัตถุดิบ (ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. 2541 : 250 - 257) พบว่า การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ของตัวอย่างที่ 3 ก่อนเผาที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส สีของเนื้อดินมีลักษณะเป็นสีแดงการหดตัวของเนื้อดินอยู่ที่ 7.00% และหลังเผาอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เนื้อดินสามารถทนไฟได้ สีหลังเผาของเนื้อดิน สีน้ำตาลอิฐ เนื้อดินหดตัวที่ 2.08% การดูดซึมน้ำอยู่ที่ 18.76% การวิเคราะห์ใช้เครื่องมือหาปริมาณของส่วนประกอบทางเคมีของดิน ด้วยเครื่อง XRD (X-ray Diffractometer) พบว่า เนื้อดินชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีองค์ประกอบของ (Quartz –SIO2) 45.680%, (Grossite) 17.362%, (Kaolinite (BISH) 36.958% และน้ำเคลือบจุดที่ 14 มีความเหมาะสมที่สุดในการเคลือบผิว เคลือบมีสีเทา ลักษณะผิวมัน เรียบเนียนสม่ำเสมอ ไม่แตกราน มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อภิปรายผล 2. อภิปรายผลการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความเหมาะสมจะนำไปผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโดยอันดับที่ 1 ได้แก่ รูปแบบที่ 5 มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด, อันดับที่ 2 ได้แก่ รูปแบบที่ 4 มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และอันดับที่ 3 ได้แก่ รูปแบบที่ 1 มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยนำไปผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา สอดคล้องกับ(กรองทิพย์ ชัยชาญ.2551) ที่กล่าวถึงการผลิตตรงตามแบบลวดลายได้อย่างสวยงาม มีการตั้งราคาที่เหมาะสมตรงตามคุณภาพสินค้าและมีการพัฒนารูปแบบสินค้าให้ทันสมัย สอดคล้องกับ (ชาติชาย ดวงสุดา, 2547) การสร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผาจากรูปทรงเครื่องจักสาน เป็นการนำเอาเอกลักษณะเฉพาะรูปทรงเครื่องจักสาน ในภาคอีสานประเภทของใช้ในครัวเรือน ได้แก่ กระพาหรือกระบุง และเครื่องใช้ในการตักปลาประเภทตุ้ม 3. อภิปรายผลการวิเคราะห์การประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามกรอบแนวคิดด้านการตลาด คือแนวกลยุทธ์ 4Ps (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.2541) พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภคชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 คน มีความพึงพอใจด้านการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( x =4.49) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.52) โดยให้คะแนนระดับความพึงพอใจด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์มากที่สุด คือ รูปทรงของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมในการใช้งาน โดยสอดคล้องกับ (ลลิตา ตั้งอดุลย์รัตน์.2548) การตลาดเป็นรายข้อที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีกว่า เช่นทนทานกว่า และสอดคล้องกับ (อุไรวรรณ ล้อมวงศ์พานิช.2546) การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพราะมีรูปแบบที่สวยงาม มีคุณภาพดี และราคา ปานกลาง

ข้อเสนอแนะ 1. การเพิ่มลวดลายเครื่องปั้นดินเผา สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ควรคำนึงถึงกรรมวิธีการผลิต ซึ่งหากการวางลวดลายเยอะเกินไปจะใช้เวลาในการผลิตนาน อาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้วิธีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนควรคำนึงถึงเรื่องรูปทรงและขนาดของผลิตภัณฑ์ หากมีขนาดใหญ่ ควรออกแบบโดยแบ่งชิ้นส่วน เพื่อความสะดวกในการผลิตทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน 3. ควรพัฒนารูปแบบให้มีความเหมาะสมกับสถานที่และการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ขนาด สัดส่วน ของแจกัน สามารถเพิ่มขนาดให้เล็กหรือใหญ่ตามความเหมาะสมกับการไปใช้งาน หรือออกแบบผลิตภัณฑ์โดยดึงเอาเอกลักษณ์ของสถานที่มาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดความสอดคล้อง กลมกลืนกับสถานที่ โดยเอกลักษณ์เดิมของผลิตภัณฑ์ยังคงอยู่ 4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควรส่งเสริมการสร้างจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ชุมชนและความเป็นมาเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากที่สุดเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ 5. การพัฒนาในส่วนของน้ำเคลือบให้มีความเหมาะสมกับเนื้อดิน

จบการนำเสนอ ขอบคุณคะ