สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรการการดำเนินตาม พระราชบัญญัตติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ.2551 ช่วงสงกรานต์ 2560 สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5 มาตรการ เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย ปลอดเหล้า ช่วงสงกรานต์” ห้ามดื่มบนทาง ในขณะขับขี่หรือโดยสาร ห้ามขายให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ห้ามขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนด มุ่งเน้นเฝ้าระวัง ตรวจเตือน ประชาสัมพันธ์กฎหมาย เฝ้าระวังรายงานผลการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากพิษภัยแอลกอฮอล์
มาตรการ เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย ปลอดเหล้า ช่วงสงกรานต์” ก่อนเทศกาล ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ระหว่างเทศกาล โดยที่มาการคัดเลือกจังหวัดจากการสำรวจตามเวลาที่เกิดอุบัติเหตุในช่วงวันในเทศกาลสงกรานต์มากที่สุด โดยอ้างอิงสถิติจากสำนักโรคไม่ติดต่อ ดังนี้
วันที่ 31 มีนาคม 2560 ออกตรวจเฝ้าระวัง ณ บริเวณมหาวิทยาลัยรังสิต นำทีมโดย นายแพทย์นิพนธ์ ชินานนทเวช และนายแพทย์พงษ์ธร ชาติพิทักษ์ ร่วมด้วย สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โดยจะร่วมในการประสานข้อมูลให้แก่นักข่าวและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ การดำเนินการดังกล่าวเป็นการแจ้งเบาะแสเพื่อให้ทำการตรวจสอบจากภาคีเครือข่ายระวังภัยแอลกอฮอล์
วันที่ 5 เมษายน 2560 เวลา 16.30 น. จัดนิทรรศการบริเวณที่จำหน่ายตั๋ว จาก สำนักโรคไม่ ติดต่อ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สำนักงาน เครือข่ายลดอุบัติเหตุ และมูลนิธิเมาไม่ขับ เวลา 17.00 น. นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค มอบป้ายรณรงค์ให้แก่ พลตำรวจเอกอำนาจ อันอาตม์งาม กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทขนส่ง จำกัด
วันที่ 5 เมษายน 2560 (ต่อ) เวลา 17.30 น. พบปะให้กำลังใจผู้ขับและเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการพร้อม มอบของที่ระลึก รวมถึงมอบของขวัญสุขสันต์วัน สงกรานต์ กลับบ้านปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์ เวลา 17.50 น. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เวลา 18.00 น. เดินทางกลับ
วันที่ 6 - 11 เมษายน 2560 การจัดทีมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยแบ่งเป็น 3 ทีม ทีมที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ออกเดินทางวันที่ 6 1. เชียงใหม่ วันที่ 7 เมษายน 2. เพชรบูรณ์ วันที่ 8 เมษายน 3. นครสวรรค์ วันที่ 10 กลับ 11 เมษายน 2560 ทีมที่ 2 จังหวัดราชบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา ออกเดินทางวันที่ 6 กลับ 11 เมษายน 2560 1. ราชบุรี วันที่ 6 เมษายน 2. สงขลา วันที่ 8 เมษายน 3. สุราษฏร์ธานีวันที่ 10 กลับ 11 เมษายน 2560
วันที่ 6 - 11 เมษายน 2560 (ต่อ) ทีมที่ 3 สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และยโสธร(เครือข่ายประสานมาล่วงหน้า) ออกเดินทางวันที่ 6 กลับ 14 เมษายน 2560 1. สระบุรี วันที่ 7 เมษายน 2. นครราชสีมา วันที่ 8 เมษายน 3. ขอนแก่น วันที่ 9 เมษายน 4. อุดรธานี วันที่ 11 เมษายน 5. ยโสธร วันที่ 13 -15 เมษายน กลับ 16 เมษายน 2560 เป็นการประชาสัมพันธ์ร่วมกับ กลุ่มงานสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าประจำพื้นที่ และสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ (ในการประสานเพื่อทำข่าวประชาสัมพันธ์)
ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี พลเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย กิจกรรมเฝ้าระวังและการบังคับใช้กฏหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เพื่อลดอุบัติเหตุในช่วงสงกรานต์ ปี 2560 ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี พลเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
5 นโยบายนายกรัฐมนตรี พลเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย มาตรการเฝ้าระวังบังคับใช้กฎหมายปลอดเหล้า และลดอุบัติเหตุในเทศกาลสงกรานตร์ ปี 2560 ห้ามดื่มบนทางในขณะขับขี่หรือโดยสาร (มาตรา 31 (7) ) ห้ามขายให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี (มาตรา 29) ห้ามขายนอกเวลาตามที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 28 ) เฝ้าระวังประชาสัมพันธ์กฎหมาย เฝ้าระวังรายงานผลการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากภัยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ดำเนินการจัดเตรียมทีมเพื่อออกตรวจเตือน เฝ้าระวัง และบังคับใช้กฎหมายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในวันที่ 13 -14 เมษายน 2560 ในพื้นที่ที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงสุดในปี 2559 เพื่อให้การดำเนินงานเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบการจากบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงขอความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานควบคุมโรค สถานีตำรวจภูธร สำนักงานสรรพสามิตร ประชาสัมพันธ์จังหวัด จัดเตรียมคณะทำงานเพื่อลงตรวจเฝ้าระวังและบังคับใช้กฏหมายในช่วงเทศกาลสงกรานต์
สำนักคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ดำเนินการจัดทีมเป็นจำนวน 9 ทีม โดยลงตามพื้นที่ล่วงหน้าก่อนเวลา 3 ชั่วโมง ตามเวลาที่สถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงวันในเทศกาลสงกรานต์มากที่สุด โดยอ้างอิงสถิติจากสำนักโรคไม่ติดต่อ ดังนี้
ทีมที่ 1. ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 16.00 น – 21.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 18.00 น ) ลงตรวจในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในวันที่ 14 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 18.00 น – 23.00 น (เวลา ที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 20.00 น)
ทีมที่ 2. ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอเมืองสระบุรีในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 18.00 น – 23.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 20.00 น ) ลงตรวจในอำเภอเมืองบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 14 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 17.00 น – 22.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 19.00 น)
ทีมที่ 3. ลงพื้นที่ในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอเมืองนครราชสีมาในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 16.00 น – 21.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 18.00 น) ลงตรวจในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 14 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 17.00 น – 22.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 19.00 น)
ทีมที่ 4. ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอเมืองนครสวรรค์ในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 17.00 น – 22.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 19.00 น)
ทีมที่ 5 ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอเมืองขอนแก่นในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 17.00 น – 22.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 19.00 น)
ทีมที่ 6 ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอเมืองอุดรธานีในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 17.00 น – 22.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 19.00 น )
ทีมที่ 7 ลงพื้นที่ในอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 16.00 น – 21.00 (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 18.00 น)
ทีมที่ 8 ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 17.00 น – 22.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 19.00 น)
ทีมที่ 9 ลงพื้นที่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน 2560 ลงตรวจในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 13 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 17.00 น – 22.00 น (เวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดตามสถิติประมาณ 19.00 น)
การปฏิบัติงานเฝ้าระวังและบังคับใช้กฏหมายสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขอความร่วมมือสำนักงานควบคุมโรคและทีมจังหวัดดำเนินการก่อนลงพื้นที่ ดังนี้ ขอให้วิเคราะห์ว่าพื้นที่ใดควรจะเข้าลงตรวจเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย โดยขอให้ทำแผนสำหรับในการลงพื้นทั้งหมดเป็น เวลา 6 ชั่วโมง ใช่เวลาประมาณ 30 นาทีในการตรวจพื้นที่แต่ละร้าน ขอให้เตรียมเจ้าหน้าที่บูรณาการร่วมกับสำนักงานควบคุมโรคจังหวัดให้ได้อย่างน้อย 4 คน เพื่อเข้าร่วมตรวจกับทีม สำนักคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบทบาท หัวหน้าทีม คนเขียนบันทึกการตรวจ คนสำรวจร้าน คนถ่ายรูป/วีดีโอ (คนถ่ายวีดีโอ ถ้ามี) หากคดีอยู่ในขั้นตอนในกระบวนการของศาลยุติธรรม ขอความร่วมมือทางสำนักงานควบคุมโรคจังหวัดที่อยู่ในพื่นที่ที่เป็นมูลเหตุเข้าร่วมในชั้นกระบวนการพิจารณาของศาลด้วย
การประสานงาน สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอลจะกำหนดหัวหน้าทีมแต่ละทีม ซึ่งหัวหน้าทีมจะทำหน้าที่ประสานงานกับทีมบูรณาการ (ทีมจังหวัดและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคพื้นที่) โดยหัวหน้าทีมของสำนักคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะประสานไปยังสำนักงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ที่ลงตรวจก่อนวันลงตรวจล่วงหน้าหนึ่งวัน เพื่อประชุมร่วมกันและวางแผนในการออกตรวจเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ที่กำหนด
ค่าตอบแทนในการลงตรวจ เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการลงตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่เข้าร่วมทั้งหมด แต่ให้ได้ไม่เกิน 20 คน โดยใช้งบประมาณของโครงการ สสส. โดยค่าตอบแทนจำนวน 300 บาท ต่อคน
ตามนโยบายการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ในข้อ 5 การเฝ้าระวังรายงานผลของโรงพยาบาลแจ้งการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากภัยแอลกอฮอล์ของบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ขอความร่วมมือสำนักงานควบคุมโรคส่วนภูมิภาคประสานงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการสืบสวนหาร้านที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ซึ่งจะได้รับข้อมูลจากโรงพยาบาลที่จะแจ้งให้สาธารณสุขจังหวัดทราบ
วิธีการปฏิบัติตามนโยบายเฝ้าระวังในข้อ 5 เมื่อได้รับทราบข้อมูลร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้สำนักงานควบคุมโรคในพื้นที่ที่เกิดเหตุดำเนินการเข้าตรวจเตือนร้านค้า จากการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี หากในขณะนั้นพบการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ขอให้บังคับใช้กฎหมายทันที
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานคระกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 02-5903342 ขอบคุณค่ะ