ประชุมการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 17 กรกฎาคม 2558 สพม.29
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 22 มกราคม 2558 มีผลใช้บังคับพ้นกำหนด 180 วัน 21 กรกฎาคม 2558
ขอบเขตการบังคับใช้พรบ. ต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนทุกงานบริการ หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกิจการอื่นใดของรัฐ ที่มีภารกิจในการออกใบอนุญาต การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทานบัตร และการให้อาชญาบัตร ตามกฎหมาย หรือกฎ หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนทุกงานบริการ
หน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ในบังคับ พรบ. 1. รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี 2. การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล และการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจาณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ 3. การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 4. การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.การอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารด้านยุทธการ รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยุทธภัณฑ์ และกฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน 6. การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดที่ได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ประโยชน์ ของพรบ.อำนวยความสะดวก 1. การดำเนินงานมีความโปร่งใส่ ชัดเจน 2. การให้บริการมีมาตรฐาน มีความรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย 3. มีความถูกต้อง และตรงเวลา
เจตนาหลักของ พรบ. 1. ต้องการให้หน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการให้บริการประชาชน 2.ผู้อนุญาต มีหน้าที่จัดทำคู่มือประชาชน สพฐ. ผู้อนุญาต เลขาธิการ กพฐ. สพป./สพม.,ศูนย์การศึกษาพิเศษ ผู้อนุญาต ผู้อำนวยการสพป./สพม. สถานศึกษา,โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ผู้อนุญาต ผู้อำนวยการสถานศึกษา 3. คู่มือประชาชน อย่างน้อยต้องประกอบไปด้วย เอกสาร/หลักฐาน ที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นพร้อมคำขอ ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต 4. ทุก 5 ปี สามารถพิจารณาปรับปรุงได้
ส่วนประกอบคู่มือประชาชนฯ 1. ระยะเวลาต้องกำหนด ชัดเจน แน่นอน 2. จำนวนเอกสารประกอบพิจารณาชัดเจน 3. ส่วนราชการจัดทำคู่มือออนไลน์และปิดประกาศ เผยแพร่ให้ผู้รับบริการทราบ 4. ประชาสัมพันธ์คู่มือ ไปยังกลุ่มเป้าหมาย
การดำเนินการให้บริการตามคู่มือฯ คู่มือสำหรับประชาชน ประกาศ ณ จุด บริการ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ยื่นคำขอรับบริการ ณ จุดให้บริการของ หน่วยงานราชการ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยงานรับคำขอ ตรวจสอบคำขอ เอกสารถูกต้อง/ จำนวนเอกสารครบถ้วน หากเอกสารไม่ถูกหรือ ไม่ครบถ้วน จนท. ต้องแจ้งทันที หรือ บันทึกความบกพร่อง ยืนยันไว้เป็นหลักฐาน ถูกต้อง ครบถ้วน เรื่องแล้วเสร็จ ตามคำขอ - หากไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบทุก 7 วัน จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ พร้อมส่งสำเนาแจ้งผ่านระบบให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ
บทลงโทษ หากไม่ปฏิบัติตามพรบ. - มีมาตรการทางปกครอง - อาจถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัย - อาจจะส่งเรื่องไปถึงศาลปกครอง - ถูกพิจารณาเรียกค่าเสียหายกรณีที่เกี่ยวข้องทางการเงิน
เข้าสู่ระบบคู่มือประชาชน