พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นวกมล จีราคม
กฎหมายคืออะไร กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของสังคม กฎหมายเกี่ยวข้องกับคนตั้งแต่เกิดจนตาย กฎหมายเกี่ยวข้องกับทุกกิจกรรมของคนในสังคม
กฎหมายมีอะไรบ้าง กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน กฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายแพ่ง กฎหมายแพ่ง ถือเป็นกฎหมายเอกชน (มีผลบังคับระหว่างคนที่ต้องการผูกพันซึ่ง กันและกัน) ที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่และความรับผิดของบุคคล เช่น กฎหมายซื้อขาย กฎหมายหนี้ กฎหมายครอบครัว บทลงโทษ เป็นการชดเชยการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
กฎหมายอาญา กฎหมายอาญา ถือเป็นกฎหมายมหาชน (กฎหมายที่บังคับกับบุคคล ทั่วไปทุกคน) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของศีลธรรม เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย ความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานแจ้งความเท็จ บทลงโทษ จะเป็นบทลงโทษเพื่อให้หลาบจำและเกรงกลัวในการกระทำความผิด
กฎหมายมหาชน กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม ของประชาชน หรือเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง
กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ เป็นการกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐต่างๆ ทั้งในเวลาสงบและเวลามีข้อ พิพาท แบ่งเป็น กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
กฎหมายเฉพาะหรือกฎหมายเทคนิค กฎหมายเฉพาะหรือกฎหมายเทคนิค เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องหนึ่งเรื่องใด โดยเฉพาะ หรืออาจหมายถึงกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่อง เช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายธุรกิจ กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
สิ่งที่ถือเป็นกฎหมาย กฎหมายรัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย หรือ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎหมายองค์การบัญญัติ ประกาศ คำสั่ง
กฎหมายเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร กฎหมายเกี่ยวข้องกับชีวิตแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่เกิด ทำงาน แต่งงาน ทำธุรกิจ จนกระทั่งตาย
ทำไมจึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
หลักการและเหตุผล เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบัน ระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการ ดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจาก คำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลาย ข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอัน ลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของ ประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำ ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วันใช้บังคับ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พรบ.ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550
บทนิยามศัพท์ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทาง ปฏิบัติงานให้ อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
บทนิยามศัพท์ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ใน สภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้ หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ด้วย
บทนิยามศัพท์ “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึง แหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของ บริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
บทนิยามศัพท์ “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อกันโดย ประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการใน นามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
บทนิยามศัพท์ “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ (2) สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าระดับปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สถิติศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ (3) ผ่านการอบรมทางด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ สืบสวน สอบสวน และการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (4) มีคุณสมบัติอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ ก. รับราชการหรือเคยรับราชการไม่น้อยกว่าสองปีในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือพยานหลักฐานทาง อิเล็กทรอนิกส์ ข. สำเร็จการศึกษาตามข้อ 2 (2) ในระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ที่ เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้นับแต่สำเร็จการศึกษา ดังกล่าวไม่น้อยกว่าสี่ปี ค. สำเร็จการศึกษาตามข้อ 2 (2) ในระดับปริญญาโท หรือสอบไล่ได้เป็นเนติ บัณฑิตตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และมี ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้นับแต่สำเร็จ การศึกษาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. สำเร็จการศึกษาตามข้อ 2 (2) ในระดับปริญญาเอก หรือมีประสบการณ์ที่ เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัตินี้นับแต่สำเร็จการศึกษา ดังกล่าวไม่น้อยกว่าสองปี จ. เป็นบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ หรือมีประสบการณ์ในการดำเนินคดี เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่าสองปี
วาระการดำรงตำแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ การแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แต่งตั้งจาก บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการ ประเมินความรู้ความสามารถหรือทดสอบตามหลักสูตรและ หลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่ ดำรงตำแหน่งในวาระคราวละ 4 ปี และการแต่งตั้งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ลักษณะต้องห้ามของพนักงานเจ้าหน้าที่ (1) เป็นบุคคลล้มละลาย บุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภา ท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหาร พรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (3) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ลักษณะต้องห้ามของพนักงานเจ้าหน้าที่ (4) ถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทำผิดวินัย หรือรัฐมนตรีให้ออกจากการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะมีความ ประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ (5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (6) ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ (1) อำนาจในการสืบสวนและสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการ กระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิดตามมาตรา 18 (2) อำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อดำเนินการตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8) ซึ่งมาตรา 19 กำหนดว่าจะต้อง ได้รับอนุญาตจากศาลก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ (3) อำนาจในการยื่นคำร้อง ต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้ แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่ง ราชอาณาจักรหรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน ตามมาตรา 20 (4) อำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือ เผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ ตามมาตรา 21
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ (5) อำนาจในการสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกิน เก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามมาตรา 26
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนตามมาตรา 18 โดยสามารถ กระทำการได้ ดังนี้ (1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือ หลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ (2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการ ติดต่อ สื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน 3. สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บรักษาตามมาตรา 26 หรือ ที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ 4. ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบ คอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าได้มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงาน เจ้าหน้าที่
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน (5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ (6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทาง คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็น หลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสอบสวน หาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทาง คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน (7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใดหรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ การเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับหรือให้ความร่วมมือกับ พนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว (8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีที่รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้คือใคร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คืออะไร อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์อัน ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย หรือผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน หรือ การกระทำผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการ สืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ ทางเทคโนโลยี
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ มี 2 ลักษณะ ลักษณะแรก คือ อาชญากรรมที่กระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ ลักษณะที่สอง คือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรม
อาชญากรทางคอมพิวเตอร์คือใคร อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ คือ ผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายอาชญากรรมทาง คอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งผู้กระทำความผิดทางกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั่นอาจะเป็น ประชาชนทั่วไป หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ก็อาจ
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 5 การเข้าถึง “ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การเข้าถึงโดยมิชอบ เช่น การเจาะระบบ (Hacking , cracking) การบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ (computer trespass) ซึ่งการทำเช่นว่านี้เป็นการขัดขวางการใช้ระบบคอมพิวเตอร์โดยชอบของบุคคลอื่น อันอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ได้ ปกติความผิดฐานนี้มักเป็นที่มาของการกระทำความผิดฐานอื่น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประกอบอาชญากรรมอื่น
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการ เฉพาะโดยมิชอบ มาตรา 6 “ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิ ชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา 7 “ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการ เข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มาตรา 8 “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ ดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคล ทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่น บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิ ชอบ มาตรา 9 “ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงาน ตามปกติได้ มาตรา 10 “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบเพื่อให้การทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จน ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติ สุข มาตรา 11 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดย ปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวน การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บทลงโทษที่หนักขึ้น สำหรับการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือการรักษาความมั่นคงของประเทศ มาตรา 12 “ถ้าการกระทำตามมาตรา 9 หรือ 10 (1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้น ในทันทีหรือภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทลงโทษที่หนักขึ้น สำหรับการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือการรักษาความมั่นคงของประเทศ (2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความ ปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการ สาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้ง แต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษตั้งแต่ สิบปีถึงยี่สิบปี”
บทลงโทษที่หนักขึ้น สำหรับการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือการรักษาความมั่นคงของประเทศ ลักษณะของการกระทำที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองเป็นพิเศษ ระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ การบริการสาธารณะ ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด มาตรา 13 “ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้ เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น มาตรา 14 “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้า ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย ผู้อื่นหรือประชาชน (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนก แก่ประชาชน
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิด เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตาม ประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอัน ลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็น ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 มาตรา 15 “ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด ตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษ เช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล มาตรา 16 “ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการ สร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่น บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่ มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่ สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่า เป็นผู้เสียหาย”
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรที่ต้องรับโทษ ในราชอาณาจักร มาตรา 17 “ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร และ (1) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือ ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (2) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายได้ร้อง ขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร”
ข้อห้ามของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 22 “ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา 18 ให้แก่บุคคลใด ความตามวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการ ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการ ดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็น การกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ข้อห้ามของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 23 “พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ ได้มาตามมาตรา 18 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่น บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
หน้าที่ของผู้ให้บริการ การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์กรณีพิเศษ มาตรา 26 “ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้า สิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
หน้าที่ของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อ ให้สามารถระบุตัวผู้ใช้นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้า แสนบาท”
ความรับผิดของบุคคลทั่วไป มาตรา 24 ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา 18 และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความรับผิดของบุคคลทั่วไป มาตรา 27 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งตามมาตรา 18 หรือมาตรา 20 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา 21 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะ ปฏิบัติให้ถูกต้อง
การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ม. 28 การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวตอร์และมีคุณสมบัติตามที่ รัฐมนตรีกำหนด ข้อสังเกตุ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่จากข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ เพียงแต่มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น อาจมี การฝึกอบรมเจ้าพนักงานตำรวจให้มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้วแต่งตั้งเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้
สถานะและอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 29 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติ นี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดี ผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
สถานะและอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ต่อ) ให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมี อำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตาม วรรคสอง ทางปฏิบัติ จะมีการร่วมมือกัน ระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจับ ควบคุม ค้น ทำสำนวน และ ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นี้
การแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 30 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่ เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราช กิจจานุเบกษา เป็นมาตราที่ระบุหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคล ทั่วไปในการที่มีการปฏิบัติหน้าที่หรือกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลเพื่อป้องกัน ปัญหาและป้องกันการแอบอ้างและใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ