งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Factors influencing selection of marine merchant in coastal transport

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Factors influencing selection of marine merchant in coastal transport"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Factors influencing selection of marine merchant in coastal transport
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ ประเภทเรือชายฝั่ง วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2 ประวัติผู้วิจัย อาจารย์ธนะสาร พานิชยากรณ์
ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต Computer Science มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การจัดการการขนส่ง และโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา กำลังศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต Ph.D. Candidate การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตำแหน่ง หัวหน้าสาขาธุรกิจพาณิชยนาวี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

3 ความสำคัญของปัญหา ในระยะเริ่มแรก การขนส่งชายฝั่ง ยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่หลังจากที่ราคาค่าน้ำมันเริ่มแพงขึ้นถึงลิตรละ 30 บาท ส่งผลให้ลูกค้าเริ่มตัดสินใจเลือกใช้การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ใช้บริการเริ่มมองเห็นประโยชน์จากการใช้บริการดังกล่าว ในอนาคตจากภาวะที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และจากภาวะการจราจรที่แออัด หรือการขนส่งทางรถไฟที่ยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร เชื่อว่าการขนส่งทางเรือจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการทั้งหลายจะหันมาให้ความสำคัญ สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ลูกค้ามาใช้บริการคือ ต้องทำให้ลูกค้าเห็นว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบมาใช้การขนส่งทางเรือแล้วลูกค้าจะได้อะไร? ซึ่งถึงแม้ว่าลูกค้าจะไม่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ แต่สิ่งที่ได้รับคือทำให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวกมากยิ่งขึ้น “การขนส่งทางเรือยังไม่สามารถแข่งขันกับการขนส่งโดยรถบรรทุกได้ เนื่องจากการขนส่งทางเรือมีต้นทุนแฝงจากการขนส่ง ทำให้ต้นทุนการขนส่งโดยรวมเท่ากับการขนส่งรถบรรทุก เพราะฉะนั้นเมื่อการขนส่งทางเรือแข่งการขนส่งทางรถบรรทุกไม่ได้ จึงไม่มีใครใช้เรือขนส่ง เพราะทุกคนไม่ได้มองว่าจะประหยัดน้ำมันเพื่อประเทศชาติ แต่ทุกคนมองว่าจะทำอย่างไรให้ต้นทุนประกอบการถูกลง ทำให้ธุรกิจขนส่งเรือชายฝั่งตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สิ่งที่ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำร้องขอมาเป็นระยะเวลาหลายปี คือต้องการเห็นภาพการพัฒนาของภาครัฐที่เด่นชัด เป็นรูปธรรม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากรัฐบาลยังเพิกเฉยไม่ให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เชื่อว่าการพัฒนาของวงการขนส่งทางน้ำ และรวมถึงการพัฒนาของวงการโลจิสติกส์ไทยก็จะยังไม่เกิดอย่างแน่นอน

4 นิยามศัพท์เฉพาะ การค้าชายฝั่ง (Coasting Trade) หมายถึง การค้าทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในราชอาณาจักร รวมถึงการขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของ หรือการลากจูง เพื่อหากำไรจากเมืองท่าหรือถิ่นที่แห่งหนึ่งภายในน่านน้ำประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงการทำการประมง ซึ่งจับสัตว์น้ำอย่างเดียว หากทำการรับซื้อสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากภาคหนึ่งเพื่อนำเข้ามาขายยังอีกภาคหนึ่งนั้น ไม่ว่าจะกระทำเป็นการค้าแล้ว ย่อมถือว่าขณะนั้นเรือลำนั้นได้ทำการค้าชายฝั่ง เรือที่จะทำการค้าชายฝั่งและผู้ที่จะทำการค้าชายฝั่งได้นั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 ท่าเรือชายฝั่ง (Coasting Port) ในประเทศไทย หมายถึง ท่าเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยา หรือแม่น้ำต่าง ๆ รวมทั้งบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทยที่ทำการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า รวมถึงผู้โดยสารด้วย และเป็นการให้บริการเฉพาะสินค้าภายในประเทศ หรือคนโดยสารในประเทศไทยเท่านั้น การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของการขนส่ง จะถูกควบคุมดูแลด้วย พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ โดยกรมเจ้าท่า (Marine Department) เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและบริหารงานเกี่ยวกับทางน้ำ ซึ่งได้แก่การเดินเรือ การลำเลียง การขนส่งทางน้ำ การนำร่อง การจดทะเบียนเรือ การใช้พาหนะทางน้ำ การปรับปรุงดูแลรักษาร่องน้ำ หรือการใช้เส้นทางน้ำโดยทั่วไป ให้สามารถใช้เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่ง หรือใช้สัญจรไปมาร่วมกันเป็นทางสาธารณะ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเดินเรือและการขนส่งทางน้ำตามเส้นทางต่าง ๆ

5 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ ประเภทเรือชายฝั่ง เพื่อศึกษากระบวนการในการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำประเภทเรือชายฝั่ง

6 กรอบแนวคิดในการวิจัย
กลุ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องในงานวิจัย แบบจำลองการคัดเลือกผู้ประกอบการฯ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคัดเลือกผู้ประกอบการฯ หาลำดับความสำคัญของปัจจัย

7 ขอบเขตในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้ใช้บริการการขนส่งสินค้าทางน้ำ ด้วยการใช้บริการเรือชายฝั่ง ในการขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ในลักษณะสินค้าเทกอง (Bulk cargo) หรือสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ (Container cargo) ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ใช้วิธีการคำนวณหาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรสำหรับกรณีที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน (กัลยา วาณิชยบัญชา. 2545: 26) และกำหนดค่าความผิดพลาดไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ที่ความเชื่อมั่น 95% ขอบเขตของพื้นที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ เขตจังหวัดกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล

8 ระเบียบวิธีวิจัย ทบทวนวรรณกรรมเพื่อหาว่าในงานวิจัยที่ผ่านมา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย อะไรบ้าง? นำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาออกแบบสอบถามครั้งที่ 1 แจกแบบสอบถาม, เก็บรวบรวม วิเคราะห์แบบสอบถามครั้งที่ 1 โดยใช้เทคนิค Factor Analysis เพื่อทำการค่าลำดับความสำคัญของแต่ละตัวแปร และจัดกลุ่มของตัวแปรให้น้อยลง ใช้เทคนิค Conjoint Analysis ในการออกแบบสอบถามครั้งที่ 2 แจกแบบสอบถาม,เก็บรวบรวม นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามครั้งที่ 2 มาสร้างแบบจำลองในการเลือกรูปแบบผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ ประเภทเรือชายฝั่ง

9 เครื่องมือในการวิจัย
2 3 4 1 Factor Analysis Conjoint Analysis Questionair Logit Model

10 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย
1. ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ ในกรณีที่ต้องใช้การขนส่ง ประเภทเรือชายฝั่ง 2. ทราบถึงกระบวนการในการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำประเภทเรือชายฝั่ง 3. ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำประเภทเรือชายฝั่ง สามารถนำปัจจัยที่ได้จากการศึกษาไปใช้เป็นตัวชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicator : KPI) เพื่อใช้วัดและประเมินประสิทธิภาพ การให้บริการของตน ต่อไป 4. ได้แบบจำลองในการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งประเภทเรือชายฝั่ง

11 Thank you Q & A


ดาวน์โหลด ppt Factors influencing selection of marine merchant in coastal transport

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google