อาหารและการเกษตรไทย ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นางสาวลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการ สศช. วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เวลา 14.15-16.15 น. ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่นฮอล์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
สาระสำคัญ สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารของไทย ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ระบบอาหารชุมชน แนวทางการพัฒนาระบบอาหารชุมชน
สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารไทย ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง GDP ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร คิดเป็นร้อยละ 14.6 ของ GDP ทั้งประเทศ (มูลค่า 1.92 ล้านล้านบาท) โดยแบ่งเป็น GDP ภาคเกษตร ร้อย ละ 10.5 และ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ร้อยละ 4.1 มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารส่วนใหญ่มาจาก อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สัดส่วน GDP สาขาเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (ราคาประจำปี) ปี 2552 - 2557 2552 2553 2554 2555 2556 2557 เกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 14.5 15.3 16.8 15.9 15.4 14.6 เกษตร 9.8 10.5 11.6 11.3 อุตสาหกรรมอาหาร 4.5 4.6 4.9 4.2 4.0 อุตสาหกรรมเกษตรอื่นๆ 0.2 0.1 ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารไทย ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก ไทยส่งออกอาหารเป็นอันดับที่ 8 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของ ตลาดอาหารโลก ในปี 2557 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรรวม 1.3 ล้านล้านบาท ครอบคลุม ทั้งสินค้าเกษตรและอาหาร และสินค้าเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 18 ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด มูลค่าส่งออกของไทย ปี 2551 - 2557 สัดส่วนการส่งออกของไทย ปี 2557 ที่มา: สถาบันอาหาร, สศช., สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารไทย มูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญ รายการ 2555 2556 2557 มูลค่าการส่งออกทั้งหมด 7,082,333 6,907,494 7,306,533 มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ 1,341,826 1,268,217 1,308,905 - ยางธรรมชาติ 336,304 315,159 244,748 - ข้าวและผลิตภัณฑ์ 158,433 149,733 191,228 - น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ 132,129 94,262 95,437 - ปลาและผลิตภัณฑ์ 131,369 122,481 120,657 - กุ้งและผลิตภัณฑ์ 96,522 69,349 65,005 - มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ 84,322 95,692 113,726 - ผลไม้และผลิตภัณฑ์ 77,307 80,962 95,906 - ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ 67,751 66,800 73,963 - ผักและผลิตภัณฑ์ 21,035 20,919 23,421 - กากและเศษที่เหลือใช้ทำอาหารสัตว์ 16,772 16,795 17,905 - สินค้าเกษตรอื่นๆ 219,882 236,065 266,909 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารไทย ร้านอาหารไทยในต่างประเทศกระจายในต่างประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทั่วโลก ร้านอาหารไทยมีกระจายใน ต่างประเทศที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น การจัดอันดับอาหารไทยจากการโหวต ของ CNN 2015 พบว่า อาหาร ไทยเป็นที่นิยม ติดอันดับ 4 ใน 10 ประเทศ ที่อาหารอร่อยที่สุดในโลก รองจาก ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอิตาลี ขณะที่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง อินเดีย กรีซ และเวียดนาม เป็น อันดับที่ 5-10 ตามลำดับ ประเทศที่มีร้านอาหารไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ปี 2553 ประเทศ จำนวนร้านอาหาร (แห่ง) สหรัฐอเมริกา 5,342 ออสเตรเลีย 1,588 อังกฤษ 1,680 เยอรมนี 583 ญี่ปุ่น 691 ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารไทย ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารไทย ส่วนใหญ่เป็น SMEs ในปี 2554 แรงงานในอุตสาหกรรมอาหารกว่า 870,000 คน กระจาย อยู่ในกิจการขนาดใหญ่ และ SMEs ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 75 กลับได้มาจาก ผลผลิตของกิจการขนาดใหญ่ (LEs) SMEs (99.5%) 1,128,891 ลบ. 871,314 คน 116,146 แห่ง LEs (0.5%) Total Production Value Employment 51.1% 48.9% Note: LE = จำนวนแรงงาน > 200 คน SME = จำนวนแรงงาน < 200 คน ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารไทย ความสามารถในการแข่งขันการผลิตสินค้าเกษตรของไทยต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะสินค้าข้าว ที่มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 459 กก./ไร่ ในปี 2555 อยู่ในลำดับที่ 22 เป็นรองคู่แข่ง ทั้งเวียดนาม เมียนมาร์ และลาว ที่มีผลผลิตต่อไร่ 836 กก./ไร่ 654 กก./ไร่ และ 576 กก./ไร่ ตามลำดับ (FAO,2012) นอกจากนี้ต้นทุนสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยต้นทุนการผลิตไทยปี 2555 อยู่ที่ 8,230 บาท/ตัน ขณะที่ประเทศเวียดนาม และเมียนมาร์ มีต้นทุน 5,615 บาท/ตัน และ4,353 บาท/ตัน ตามลำดับ ความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลดลง แม้ว่ารายได้ครัวเรือนเกษตรกรจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณา จากขนาดของหนี้สินของครัวเรือนเฉลี่ย 8 ปี ที่มีประมาณ 56,000 บาท/ครัวเรือน/ปี โดยเทียบกับเงินสดคงเหลือก่อนการชำระหนี้ พบว่า เงินสดคงเหลือก่อนการชำระหนี้มีจำนวนน้อยกว่าขนาดของหนี้สิน แสดงถึงครัวเรือนเกษตรจะมีหนี้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อสิ้นสุดปี แรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง และเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โดยแรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงจาก ร้อยละ 67.0 ของแรงงานทั้งหมด ในช่วงปี 2516-2520 เหลือร้อยละ 37 ของแรงงานทั้งหมด ในปี 2553 ขณะที่อายุเฉลี่ยของแรงงานภาคเกษตรในกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว จากร้อยละ 4.4 ในปี 2530 เป็นร้อยละ 12.8 ในปี 2554 การสูญเสียที่ดินทำกินและเปลี่ยนสถานะเป็นเกษตรกรรับจ้าง (ผู้เช่า) มากขึ้น โดยที่ดินที่เกษตรกรเช่าทำกินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 23.92 ล้านไร่ ในปี 2551 เป็น 29.26 ล้านไร่ในปี 2555 ขณะที่สัดส่วนของคนจนที่เป็นเจ้าของที่ดินทำการเกษตรต่อประชากรที่เป็นเจ้าของที่ดินทำกินนั้นลดลงจากร้อยละ 43.7 ในปี 2547 เหลือ ร้อยละ 17.8 ในปี 2554
สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารไทย ด้านการเข้าถึงอาหาร ข้อมูล FAO ปี 2552 แสดงให้เห็นถึงจำนวนผู้ขาด สารอาหารของไทยปี 2547-2549 มีถึง 17% หรือ 10.7 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมมาเป็น พึ่งพา พืชเศรษฐกิจที่ต้องซื้อขายมากขึ้น พึ่งพาตนเองน้อยลง ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน (Socio- economic survey) ทั่วประเทศ พบว่า ครัวเรือนในเขตชนบทและเมืองมี ความสามารถในการซื้ออาหารน้อยลง โดยดูได้จากเส้น ความยากจนด้านอาหารระดับครัวเรือนรอบ 10 ปี (2535-45) ข้อมูลมีการปนเปื้อนทั้งจากจุลินทรีย์ พิษจากโลหะหนัก และสารเคมีทางการเกษตร เช่น การเฝ้าระวังของ อย. พบว่า ปี 2550-2552 มีเนื้อไก่และสุกร 5.5% จาก 400 ตัวอย่าง ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะและสารเร่งเนื้อแดงเกิน มาตรฐาน และการเฝ้าระวังของ อย. ปี 2552 พบว่า มี การปนเปื้อนเชื้อรา (อัลฟาทอกซิน) เกินมาตรฐาน 11.36% จาก 3,872 ตัวอย่างทั่วประเทศ รวมทั้ง การปนเปื้อน โลหะหนัก (ตะกั่วและแคดเมี่ยม) ในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ คิดเป็น 5% จากตัวอย่าง 260 ชนิดที่มีการตรวจวิเคราะห์ ปี 2550-52 เป็นต้น ด้านความปลอดภัยอาหาร
สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารไทย ด้านการผลิต ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่เป็น ผู้ประกอบการ SMEs ที่เจ้าของกิจการ ส่วนใหญ่เป็นคนไทย สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่เน้นผลิต อาหารแปรรูปเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนของ ต่างชาติ ซึ่งเป็นการลงทุนผลิตสินค้าเกษตรขั้นต้นและ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรขั้นต้น เช่น การบรรจุ กระป๋องแช่แข็ง หรืออบแห้ง เป็นต้น ด้านการบริโภคและการส่งออก แนวโน้มตลาดอาหารและเครื่องดื่มของโลกกำลังเผชิญหน้า กับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย ซึ่ง เป็นผลจากพฤติกรรมการบริโภคในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลง ไป เช่น การมุ่งเน้นเรื่องสุขภาพ คุณภาพและความ ปลอดภัยของอาหาร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และวิถีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ เป็นต้น
สาระสำคัญ สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารของไทย ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ระบบอาหารชุมชน แนวทางการพัฒนาระบบอาหารชุมชน
ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ. ศ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยยึด ร่าง กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2564) เป็นแนวทางการพัฒนาในระยะ 5 ปี ร่าง กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) “มั่นคง” ความมั่นคง 1 2 3 4 5 6 การสร้าง ความสามา รถ ในการ แข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม การสร้าง การเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองตอบต่อการบรรลุ ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ “ยั่งยืน” “มั่งคั่ง”
วิสัยทัศน์ : สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ความ มั่นคง ความมั่ง คั่ง ความ ยั่งยืน การมีความมั่นคงปลอดภัย จากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้ง ภายในประเทศและภายนอก ประเทศในทุกระดับทั้ง ระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล ความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง ประเทศมีความมั่นคงในเอก ราชและอธิปไตยมีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่ เข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองที่มั่นคงเป็น กลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศ ที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรร มาภิบาล สังคมมีความปรองดอง และความสามัคคี สามารถผนึก กำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมี ความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความ อบอุ่น ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ ประชาชน มีความมั่นคงในชีวิต มีงานและ รายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการ ดำรงชีวิต มีที่อยู่อาศัยและความ ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ประเทศไทยมีการขยายตัว ของเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่กลุ่ม ประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนา ลดลง ประชากรได้รับ ผลประโยชน์จากการพัฒนา อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น เศรษฐกิจมีความสามารถใน การแข่งขันสูง สามารถสร้าง รายได้ทั้งจากภายในและ ภายนอกประเทศ สร้าง ฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่ง อนาคต และเป็นจุดสำคัญของ การเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการ คมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำ ธุรกิจ มีบทบาทสำคัญในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก เกิดสาย สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า อย่างมีพลัง ความสมบูรณ์ในทุนที่จะ สามารถสร้าง การพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญาทุน ทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือ เครื่องจักร ทุนทางสังคม และ ทุนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่สามารถสร้าง ความเจริญ รายได้ และ คุณภาพชีวิตของประชาชนให้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการ เจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ไม่ สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจน เกินความสามารถในการรองรับ และเยียวยาของระบบนิเวศน์ การผลิตและการบริโภคเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม และ สอดคล้องกับกฎระเบียบของ ประชาคมโลกซึ่งเป็นที่ยอมรับ ร่วมกัน ความอุดมสมบูรณ์ขอ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมี ความรับผิดชอบต่อสังคม มีความ เอื้ออาทร เสียสละเพื่อ ผลประโยชน์ส่วนรวม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่าง ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการมี ส่วนร่วมของประชาชนทุกภาค ส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ การพัฒนาในระดับอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน
ร่าง ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) นโยบายรัฐบาล 11 ข้อ ปกป้องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาความมั่นคง/การต่างประเทศ ลดเหลื่อมล้ำ/โอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ศึกษาเรียนรู้/ทะนุบำรุงศาสนา/ศิลปวัฒนธรรม ยกระดับคุณภาพบริการสาธารณสุข เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมบทบาท/ใช้โอกาสใน AC พัฒนา/ใช้ประโยชน์วิทยาศาสตร์/วิจัย/นวัตกรรม รักษาความมั่นคง/สร้างสมดุลทรัพยากร ราชการแผ่นดินมีธรรมาภิบาล/ป้องกันทุจริต ปรับปรุงกฎหมาย/กระบวนการยุติธรรม ประเด็นปฏิรูป คสช. 11 ด้าน แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน การเข้าสู่อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ/บริหาร ใช้อำนาจ (รวมอำนาจ/กระจายอำนาจ) ควบคุมอำนาจ (ยุติธรรม/องค์กรอิสระ) แก้ปัญหาพลังงาน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา/การเรียนรู้/ภูมิปัญญา พัฒนาสื่อสารมวลชน พัฒนาคุณธรรม/จริยธรรม แก้ปัญหาเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ/สังคม จัดสรรทรัพยากรที่ดิน/น้ำ/ป่าไม้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นปฏิรูป สปช. 37 วาระปฏิรูป ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านความมั่นคง ด้านกฎหมาย งบประมาณ งานรัฐวิสาหกิจ จัดการภัยพิบัติธรรมชาติ/โลกร้อน โครงสร้างภาษี การเงินฐานราก/สหกรณ์ พลังงาน ผูกขาด/แข่งขันที่เป็นธรรม ภาคเกษตร สร้างสังคมผู้ประกอบการ บริหารจัดการทรัพยากร จัดการที่ดิน ส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง จัดการศึกษา การคลังด้านการศึกษา การเรียนรู้ การกีฬา วิจัย/วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/นวัตกรรมเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา บริการสาธารณสุข ส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรค การคลังด้านสุขภาพ สวัสดิการสังคม สังคมสูงวัย ศิลปวัฒนธรรมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ/สังคม สถาบันศาสนาเป็นหลักของสังคม ป้องกันการทุจริต เตรียมรับมือวิกฤตการณ์ น้ำท่วม กทม. แรงงาน การเข้าสู่อำนาจและระบบพรรคการเมือง กิจการตำรวจ ปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง/ภูมิภาค/ท้องถิ่น ประสิทธิภาพงานภาครัฐ กำกับดูแล/ป้องกันการแทรกแซง/ สิทธิเสรีภาพสื่อบนความรับผิดชอบ คุ้มครองผู้บริโภค
อนาคตประเทศไทย ปี 2579 : ร่วมมือกันขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปสู่.......... เศรษฐกิจและสังคมไทย มีการพัฒนาอย่างมั่นคง และยั่งยืน เศรษฐกิจและสังคมพัฒนา อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำน้อย ระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพ ทันสมัย รับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้และประชาชนมีส่วนร่วม ระบบเศรษฐกิจมีความเป็นชาติการค้า บนฐานการขยายตัวของการค้าส่งค้าปลีกและเศรษฐกิจดิจิทัลที่เข้มข้น คนไทยในอนาคต มีศักยภาพในการร่วมกันพัฒนาประเทศ สามารถปรับตัวรองรับบริบทการพัฒนาในอนาคต
ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี กับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ครม. มีมติเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2558 เห็นชอบทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ตามที่สำนักงานฯ เสนอ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องมี ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และมีการแปลงยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวเป็นแผนงาน/โครงการ ในช่วง 5 ปี โดยระบุแผนปฏิบัติการ และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งให้มีการ ประเมินผลของการดำเนินงานทุกรอบ 1 ปี และ 5 ปี ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ ด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ยุทธศาสตร์ด้าน การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและ เท่าเทียมกันทางสังคม ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ด้าน การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2579 2558 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 14 15 2560 2561 2562 2563 2564 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะสอดรับกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี ในลักษณะของการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ ระยะยาวลงสู่การปฏิบัติในช่วงเวลา 5 ปี
กรอบหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ชุมชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและภาครัฐร่วมกันพัฒนาประเทศบนหลักการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์จากการพัฒนา มีการพัฒนาเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่ยึดพื้นที่เป็นหลัก ปรับปรุงกฎหมายและกฎ ระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกระดับ คนไทยให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยมีลักษณะสำคัญ 5 ประการได้แก่ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีทักษะในการคิดเชิงสังเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเคารพในความแตกต่าง และมีจุดยืนทางจริยธรรม ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” อย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9-11 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การมีส่วนร่วมในการพัฒนา มุ่งเสริมสร้างกลไกการพัฒนาประเทศ ปรับรากฐานเพื่อเป็นคานงัดสู่การต่อยอดการพัฒนา ที่มาภาพ: http://www.kmart.com.au/
(ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ในภาครัฐและธรรมาภิบาลในสังคมไทย 1 6 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม 2 7 ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ ระบบโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 8 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม 3 8 ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน 4 9 ยุทธศาสตร์ที่ 10 การต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค ยุทธศาสตร์ที่ 5 ความมั่นคง 10 5 18
ร่างเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคเกษตร ภายใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาภาคเกษตร ภาคเกษตรขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี เกษตรกรมีรายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 59,460 บาทต่อครัวเรือน ในปี 2564 พื้นที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืนเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านไร่ ในปี 2564 19
ร่างเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคเกษตร ภายใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาภาคเกษตร การเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน 1 2 การสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรแบบมีส่วนร่วม พัฒนาและบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งจัดระบบการปลูกพืชให้สอดคล้องปริมาณน้ำที่หาได้ คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพและขยายโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่ทำกินของเกษตรกรให้มากขึ้น ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในการรวบรวม คัดเลือก และปรับปรุงพันธุกรรมพืช สัตว์ สัตว์น้ำ และจุลินทรีย์ของท้องถิ่น ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิต วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความหลากหลายของสินค้า พัฒนารูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อปรับระบบการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 20
ร่างเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคเกษตร ภายใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาภาคเกษตร 4 การเสริมสร้างขีดความสามารถการผลิตในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร 3 การยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เสริมสร้างศักยภาพของสถาบันเกษตรกรและการรวมกลุ่ม ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืช ปศุสัตว์ และการทำประมงให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด วิจัยพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรสมัยใหม่ในกระบวนการผลิต สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง บริหารจัดการผลผลิตอย่างเป็นระบบครบวงจร พัฒนากลไกจัดการความเสี่ยงที่กระทบต่อสินค้าเกษตร สร้างความร่วมมือด้านการเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้คุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย ขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง 21
ร่างเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคเกษตร ภายใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาภาคเกษตร 5 การส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6 การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการบริหารจัดการภาคเกษตรและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการเกษตร ส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด พัฒนาฐานข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานด้านการเกษตร สร้างบุคลากรด้านการเกษตร ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้ทันสมัย 22
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน แผนงานและโครงการสำคัญ กรอบระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร โครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ธนาคารพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ 23
สาระสำคัญ สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารของไทย ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ระบบอาหารชุมชน แนวทางการพัฒนาระบบอาหารชุมชน
เป็นเรื่องสำคัญของชุมชน ระบบอาหารชุมชน ความมั่งคงอาหาร เป็นเรื่องสำคัญของชุมชน องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ แบ่งความมั่นคงอาหารออกเป็น 4 มิติ 1. ความพอเพียง ความพอเพียง ของปริมาณอาหารในคุณภาพที่เหมาะสม ซึ่งอาจได้มาจากการผลิตภายในประเทศหรือการนำเข้า การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการ ตามวัยเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร (ที่มา: พรบ. คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551) 2. การเข้าถึง การเข้าถึงทรัพยากรที่พอเพียงของบุคคลเพื่อได้มาซึ่งอาหารที่เหมาะสมและมีโภชนาการ ทรัพยากรที่ว่าหมายความถึงความสามารถของบุคคลที่จะกำหนดควบคุมกลุ่มสินค้าหนึ่งๆได้ภายใต้บริบททางกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนที่บุคคลอาศัยอยู่ 3. การใช้ประโยชน์ 4. เสถียรภาพ การใช้ประโยชน์ด้านอาหารผ่านอาหารที่เพียงพอ น้ำสะอาดและการรักษาสุขภาพและสุขอนามัยเพื่อที่จะเข้าถึงภาวะความเป็นอยู่ที่ดีทางโภชนาการซึ่งความต้องการทางกายภาพทั้งหมดได้รับการตอบสนอง เสถียรภาพทางอาหาร ประชาชน ครัวเรือนและบุคคลจะต้องเข้าถึงอาหารที่เพียงพอตลอดเวลา
ระบบอาหารชุมชนที่มีประสิทธิภาพ ระบบอาหารชุมชนที่มีประสิทธิภาพ คือ การที่ชุมชนจะมีอาหารเพียงพอและทุกคนในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัย และมีโภชนาการที่สมบูรณ์ ในปริมาณที่เพียงพอ และตลอดเวลานั้น จะต้องพิจารณาถึงสิทธิและการเข้าถึงระบบอาหาร ซึ่งประกอบด้วย การเข้าถึงฐานทรัพยากร โดยเฉพาะฐานทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชายฝั่งและทะเล การเข้าถึงปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ทั้งที่ดินแหล่งน้ำ และ พันธุกรรมพืชและสัตว์ สิทธิในทางเศรษฐกิจ ที่ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเอง และมีกระจาย ผลผลิตอาหารของชุมชน และระบบการกระจายอาหารของสังคมเพื่อ ไม่ให้เกิดการผูกขาดอาหาร รายได้ของครัวเรือนที่หลากหลาย นอกจากรายได้จากภาคเกษตร การเข้าถึงคุณภาพอาหาร ที่มีมิติทั้งด้านความปลอดภัยด้านอาหาร คุณภาพทางโภชนาการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดนโยบายด้านการตลาด และ มาตรฐานอาหารของสินค้าที่ขายในท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างความรู้ใน ระบบอาหารท้องถิ่นของชุมชน และภาวะสุขภาพของคนในครัวเรือน และชุมชน สิทธิในทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่จะดำรงระบบอาหารของชุมชน การสำรองอาหาร และการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน อาหารของครัวเรือนและชุมชน
ต้นทาง กลางทางและปลายทาง การใช้ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นแนวทางที่นำไปสู่การสร้างระบบอาหารชุมชนที่ยั่งยืน ต้นทาง กลางทางและปลายทาง การผลิต มาตรฐาน การใช้ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นกลไกขับเคลื่อนและถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา ตลอดจนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาระบบการศึกษาเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจแนวคิดของเกษตรกรรมยั่งยืน การพัฒนาระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guaranteed System) เน้นการรับรองสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า การตลาด การขยายตลาดให้มีความหลากหลายทุกระดับ เพื่อให้เกษตรกรนำผลผลิจมาจำหน่าย และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย การวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อเป็นฐานการผลิตให้กับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้ง การปรับปรุงพันธุ์ เทคโนโลยีเครื่องจักรกล การจัดการน้ำในไร่นา การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การสนับสนุนสินเชื่อสีเขีว (Green Credit) เพื่อส่งเสริมรูแบบการผลิตที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยสนับสนุน
ปัญหาของระบบอาหารชุมชนของประเทศไทย 1. ปัจจัยการผลิตอาหาร 2. การผลิตอาหาร ด้านที่ดิน การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทำการเกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์นำไปใช้ในด้านอื่นๆ เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย รีสอร์ท สนามกอล์ฟ เป็นต้น การกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน โดยผู้ถือครองที่ดินขนาดใหญ่เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ และผู้ทำการเกษตรจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ด้านสัดส่วนการปลูกพืชอาหารและพืช พลังงานที่ไม่สมดุล พืชอาหารหลายชนิด เช่น มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เป็นต้น ถูกนำมาผลิตเป็นพืชพลังงาน ส่งผลให้เกิดการขยายพืชที่ปลูกพืชพลังงานและลดพื้นที่ปลูกพืชอาหาร จนทำให้บางช่วงเวลาเกิดการขาดแคลนพืชอาหารหรือทำให้พืชอาหารมาราคาสูงมาก ด้านคุณภาพของฐานทรัพยากรธรรมชาติ สภาพดินสำหรับการเพาะปลูกมีความเสื่อมโทรม เกษตรกรไม่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง และประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งและแล้งซ้ำซาก นำไปสู่การระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช คุณภาพของแหล่งน้ำตามธรรมชาติต่ำกว่ามาตรฐาน การมุ่งการทำเกษตรเชิงเดี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตปริมาณมากและมีคุณสมบัติตามรสนิยมของผู้บริโภค นำไปสู่การลดความหลากหลายของสายพันธุ์พืช เช่น จำนวนชนิดผักที่มีขายในท้องตลาดลดลง พันธุ์ข้าวที่สูญหายไปเหลือเพียง 10 สายพันธุ์หลักเท่านั้น เป็นต้น การใช้ปุ๋ยและสารเคมี นำไปสู่การนำเข้าคิดเป็นต้นทุนหนึ่งในสามของต้นทุนการผลิต การนำเข้าอาหารสัตว์ปีละไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท 3. การกระจายอาหาร การขาดการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ประกอบกับการขาดการบริหารจัดการในการกระจายสินค้าที่เป็นระบบ เป็นผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางด้านอาหารในการกระจายอาหารสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
สาระสำคัญ สถานการณ์ภาคเกษตรและอาหารของไทย ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ระบบอาหารชุมชน แนวทางการพัฒนาระบบอาหารชุมชน
แนวทางการพัฒนาระบบอาหารชุมชน (ต่อ) เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตและการ บริโภคที่ยั่งยืนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เน้นให้เกิดจิตสำนึกและตระ หนึกถึงความสำคัญของเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลดีต่อ สุขภาพ และผลกระทบจากการใช้สารเคมีที่ไม่เหมาะสม ส่งเสริมการวิจัยระบบอาหารในท้องถิ่น เพื่อเป็นเครื่องมือในการ ฟื้นฟูและพัฒนาการสร้างความมั่นคงของระบบอาหารชุมชน ซึ่งจะ ช่วยให้ชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง สร้างความรู้ความเข้าใจและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตลาดและ มาตรฐาน กฎระเบียบของประเทศ ผู้นำเข้า แก่ผู้ผลิต ผู้รวบรวม ผู้แปรรูป ผู้ส่งออก สร้างงานวิจัยและพัฒนาที่เอื้อต่อการพัฒนาสินค้าเกษตรที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เน้นการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เทคนิคการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง พัฒนา พันธุ์/ดิน/น้ำ การนำปัจจัย การผลิต/วัสดุเหลือใช้และของเสียในฟาร์มมาใช้ เทคโนโลยีหลัง การเก็บเกี่ยว เก็บรักษา และแปรรูป จัดทำระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการพัฒนา เข้าถึงได้ง่าย และ ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และ ขยายผลร่วมกับชุมชน ผลักดัน การจัดตั้ง Knowledge Center สร้างความ ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและจัดการองค์ความรู้ ส่งเสริมการรวม กลุ่มและ สร้างความเข้มแข็งกับสถาบัน/เครือข่ายเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างสมดุล
แนวทางการพัฒนาระบบอาหารชุมชน (ต่อ) เสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองและ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ รวมทั้งสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ สนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน พัฒนาฐานทรัพยากรการผลิตภาค เกษตรให้เพียงพอ เข้าถึงได้ โดยเฉพาะแหล่งน้ำ การจัดสรร ที่ดินให้เกษตรกรรายย่อย และแหล่งเงินทุน พัฒนาผู้นำกลุ่มและเครือข่ายการผลิตให้มีความเข้มแข็ง โดย อาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายและกลุ่มเกษตรกรที่ เข้มแข็งแล้วกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน สนับสนุนการทำงานร่วมกับเครือข่ายและกลุ่มเกษตรกร ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีการดำเนินงานอยู่แล้วในปัจจุบัน เป็น กลไกในการขยายผลในวงกว้าง เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและตลาด ระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการการตลาด ผู้ส่งออก และดูแลให้มีการแบ่งปัน ผลประโยชน์ที่เป็นธรรม สร้างความ ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและจัดการองค์ความรู้ ส่งเสริมการรวม กลุ่มและ สร้างความเข้มแข็งกับสถาบัน/เครือข่ายเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างสมดุล
แนวทางการพัฒนาระบบอาหารชุมชน (ต่อ) วางแผนทั้งระบบตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด โดยส่งเสริมการจัดทำโซนนิ่งให้มีการผลิตสอดคล้องกับศักยภาพ ของพื้นที่และความต้องการของตลาด ควบคุมและกำกับดูแลให้มีการนำเข้าและใช้สารเคมีทาง การเกษตรที่ได้มาตรฐาน ปรับปรุงระบบการขึ้นทะเบียนสารเคมี กำจัดศัตรูพืช ไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่ หลายประเทศห้ามใช้แล้ว ควบคุมการโฆษณาส่งเสริมการขาย ที่ขัดจริยธรรม สนับสนุนการใช้สารชีวภาพให้มากขึ้น สนับสนุนการนำวัตถุดิบทางการเกษตรที่ผลิตได้ในชุมชนและที่ เหลือใช้มาผลิตพลังงานทดแทนใช้ในระดับครัวเรือนและชุมชน ส่งเสริมการผลิตพืชพลังงานทดแทนที่ไม่ใช่อาหารและมีความ เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เช่น สบู่ดำ รวมทั้ง การดูแล รักษา/ซ่อมบำรุงให้แก่ชุมชน สนับสนุนการผลิตอาหารที่หลากหลายในระบบเกษตรกรรม ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบต่าง เช่น เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตร ผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น สร้างความ ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและจัดการองค์ความรู้ ส่งเสริมการรวม กลุ่มและ สร้างความเข้มแข็งกับสถาบัน/เครือข่ายเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างสมดุล
www.nesdb.go.th