พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ใจบุญ.
Advertisements

“ไม่มีความโศกเศร้าใดในโลก ที่สวรรค์รักษาไม่ได้”
ของการศึกษาด้านสมุทรศาสตร์
แนวคิด ทฤษฎีและวิธีการศึกษาพื้นฐานใน
สุนทรียศิลป์ (Aesthetics)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แรง (Forces)
วิธีพูดตลกของผมคือการเล่าความจริง มันเป็นตลกที่น่าขำที่สุดในโลก
Phonics ชมรมครูพ่อแม่
อะตอมและ โครงสร้างอะตอม (Atom and Structure of Atom) กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2 ว / 2550.
Operations as a Transformation Process
การเดินทางทางความคิดของมนุษย์ ที่มีต่อสถาปัตยกรรมตะวันตก
เข้าสู่ วิชา การงานอาชีพ จัดทำโดย ด. ญ. สุชัญญา เขียวสมอ ม.1/14 เลขที่ 38 ด. ญ. พรรณวษา ยาวะระ ม.1/14 เลขที่ 32 นำเสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวงเกตุ โรงเรียนวินิตศึกษา.
เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ประวัติการค้นพบทางดาราศาสตร์
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Engineering
วิชาหลักนิเทศศาสตร์ Communication Arts
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories)
แนวคิดทางภูมิศาสตร์ ผู้สอน: อาจารย์พรสมิทธิ์ ฉายสมิทธิกุล
ประวัติศาสตร์โลก สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินเก่า เร่ร่อนเก็บของป่า ล่าสัตว์ ใช้ไฟ ภาพวาดในถ้ำอัลตามิรา ยุคหินกลาง การดำรงชีพไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงแต่รู้จักสร้างที่พักแทนการอยู่ถ้ำ.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา
แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามสาขาวิชา
Nakhonsawan school create by rawat saiyud
ความหลากหลายทางชีวภาพ และ การอนุรักษ์
ศิลปะเรอเนซองส์ (RENAISSANCE ART)
Educational Technology & Instructional Technology
แก๊ส(Gas) สถานะของสสาร ของแข็ง ของเหลว (ผลึกเหลว) แก็ส
แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
การใช้งานฐานข้อมูล ACS Journals
พัฒนาการของการวัดและประเมินผลการศึกษา
อารยธรรมกรีก โดย วรพร พรหมใจรักษ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสงวนหญิง.
โครงสร้างอะตอม.
วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ (William Harvey)
พัฒนาการความคิดทางคณิตศาสตร์
จุดประสงค์การเรียนรู้
แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ปรัชญาทางการเมือง Political Philosophy
บทที่ 1 อยู่ดีมีสุข.
FAD2213 : การออกแบบแฟชั่นและการตัดเย็บ 3
learning theory ทฤษฎีการเรียนรู้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy
รายวิชาแหล่งสารสนเทศ หน่วยที่ 5 แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามสาขาวิชา
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์นี้...
แนวคิดเรื่องการรู้สารสนเทศ
ศิลปะกรีก (GREECE ART)
การบรรยาย การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการอำนวยความยุติธรรม
การออกแบบแฟชั่น.
การใช้งานฐานข้อมูล ACS Journals
วิลเลียม ฮาร์วีย์ (William Harvey) ด.ญ.กัณฐิกา จันแย้ ม.4.3 เลขที่ 1
แก๊ส (Gas) ปิติ ตรีสุกล โครงการจัดตั้งภาควิชาเคมี
ทอมัส แอลวา เอดิสัน Thomas Alva Edison)
หลุยส์ ปาสเตอร์  (Louis Pasteur).
วิชาวรรณกรรมปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์
ยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฎิรูปการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น
เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร
โรเบิร์ต บอยล์ Robert Boyle
ปรัชญา ของ เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy
พาลินโดรม (Palindrome)
น้ำตกคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
เซอร์ ไอแซค นิวตัน Isaac Newton
อาจารย์ปิยะพงษ์ ทวีพงษ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การเปลี่ยนแปลงธรณีภาค
ยุคกลาง : Medieval Age The Manor System.
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การปกครองท้องถิ่นไทย PPA 1103
ของรายงานการทำโครงงาน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1) วท 102 หัวข้อ 2 พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)

พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก ที่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจยุคต่าง ๆ ยุคสมัยของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกลาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปัจจุบัน

พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจยุคต่าง ๆ วิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่จนถึงสมัยปัจจุบัน ที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจในยุคต่าง ๆ ได้แก่ ยุคแห่งการเกษตร (Agriculture economy) ยุคอุตสาหกรรม (Industrial economy) ยุคสารสนเทศ (Information economy) ยุคแห่งโมเลกุล (Molecular economy)

พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจยุคต่าง ๆ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก 1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก 1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรีย

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก - ปรากฏเริ่มตั้งแต่ยุคหินใหม่เมื่อประมาณ 6,000 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ เป็นจุดเริ่มต้นยุคแห่งการเกษตร และการพัฒนารูปแบบการผลิต - มนุษย์เริ่มมีการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น มีการใช้โลหะหลอมซึ่งเรียกว่า ยุคสำริด (Bronze Age) โดยใช้ทองแดงผสมกับดีบุกเพื่อความแข็งแรง

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรกเริ่มมีการบันทึกเป็นภาษาเกิดขึ้นในอารยธรรมเริ่มแรกได้แก่ ก. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization) ข. อารยธรรมอียิปต์ (Egyptian Civilization) ค. อารยธรรมในอเมริกากลาง (Central American Civilization) ง. อารยธรรมในเอเซีย (Asian Civilization)

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ก. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization) - เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) - "เมโสโปเตเมีย" เป็นภาษากรีก หมายถึง ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำทั้งสอง ปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก - ชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากมาย แต่ละชนชาติเหล่านั้นได้นำความเจริญมาสู่เมโสโปเตเมีย เช่น ชาวสุเมเรียนได้ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) และเริ่มมีการคิดค้นปฏิทินขึ้นใช้โดยกำหนด 1 เดือน มี 29.5 วัน 1 ปี มี 12 เดือน และถือหน่วย 60 ในการนับวินาทีและชั่วโมง เป็นต้น

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ก. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization) - อักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ประดิษฐ์โดยชาวสุเมเรียน ซึ่งเกิดจาก การใช้กระดูกมีลักษณะเป็นรูปลิ่มกดบน ดินเหนียวในขณะอ่อนตัว เป็นรูปร่างต่างๆ เพื่อแสดงความหมายที่ต้องการนับเป็น อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

ชาวแคลเดียน (Chaldean) เป็นชนชาติหนึ่งที่เข้ามาอาศัยในเมโสโปเตเมีย และได้ทำให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์มีความเจริญและพัฒนามากขึ้น โดยมีความเชื่อว่าดาวเคราะห์มี 5 ดวง ประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ เมื่อรวมกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ก็คือ เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ 7 องค์ - อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เรื่องเวลา ที่ใช้ถึงทุกวันนี้ ได้แก่ 1 สัปดาห์มี 7 วัน การแบ่งหน้าปัดนาฬิกาเป็น 12 ช่อง ช่องละ 1 ชั่วโมง

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ข. อารยธรรมอียิปต์ (Egyptian Civilization) - ชนชาติอียิปต์โบราณตั้งถิ่นฐาน ในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ชาวอียิปต์คิดค้นการทำมัมมี่ศพ เพื่อรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยและสร้าง ที่บรรจุศพอย่างแข็งแรง คือ ปิระมิด ที่ต้องใช้กำลังคนจำนวนมากและ ใช้หลักการด้านกลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสถาปัตยกรรมที่ล้ำยุค

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ค. อารยธรรมในอเมริกากลาง (Central American Civilization) - แหล่งอารยธรรมสำคัญในทวีปอเมริกากลางบริเวณแหลมยูกาตัน (Yucatan) หรือบริเวณที่เป็นประเทศกัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว คอสตาริกา ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย ชิลี และอาร์เจนตินาในปัจจุบัน - ในสมัยโบราณบริเวณนี้มีชนเผ่าต่าง ๆ เข้าไปอยู่อาศัย ได้แก่ มายา (Mayas) แอสแทค (Aztecs) และอินคา (Incas)

- ชนเผ่าแอสเทคมีความรู้ด้านดาราศาสตร์มาก - ชนเผ่าอื่น ๆ ก็มีร่องรอยของอารยธรรมที่เจริญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง ปิรามิดของชาวมายัน

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ง. อารยธรรมในเอเชีย (Asian Civilization) - แหล่งสำคัญอยู่ในประเทศอินเดียและจีน - อารยธรรมในประเทศอินเดียมีความเจริญสูงสุดเมื่อ 3,000 - 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช แถบลุ่มแม่น้ำสินธุ - อารยธรรมในประเทศจีนมีความเจริญสูงสุดเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช แถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก - ในอาณาบริเวณรอบทะเลเอเจียน (Aegean Sea) มีกลุ่มชนเฮลเลียน (Hellenes) อาศัยอยู่และเรียกชื่อประเทศว่าเฮลลาส (Hellas) แต่คนส่วนใหญ่เรียกชนกลุ่มนี้ว่า กรีก (Greeks) - กลุ่มชนกรีกมีการปกครองเป็นแคว้นเล็ก ๆ และมีการพัฒนาด้านปรัชญา กฎหมาย และวิทยาศาสตร์ อย่างสูงสุดซึ่งหลายสาขาวิชายังมีการใช้จนถึงปัจจุบัน

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก แคว้นในจักรวรรดิกรีกที่ได้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ได้แก่ แคว้นไอโอเนีย (Ionia) เป็นสถานที่ ที่วิทยาศาสตร์สมัยกรีกได้เริ่มเจริญรุ่งเรืองเป็นแห่งแรก - ชาวกรีกมีอักษรฟีนิเชียน (Phaenician) ใช้เพื่อบันทึกความรู้ต่าง ๆ ต่อมาได้พัฒนาเป็นอักษรละตินและอังกฤษ - นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ที่สำคัญ ได้แก่ เทลิสแห่งไมเลตุส (Thales of Milletus) เอมเพโดคลีส (Empedocles ) ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) อริสโตเติล (Aristotle) เป็นต้น

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก - เทลิสแห่งไมเลตุส (Thales of Milletus) ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของกรีกและมนุษย์ชาติ ซึ่งให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และเรขาคณิต - เอมเพโดคลีส (Empedocles) ตั้งทฤษฎีธาตุสี่ (Theory of Four Humours) กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ - ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) บิดาแห่งการแพทย์ ลบล้างความเชื่อที่ว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากการกระทำของสิ่งเหนือธรรมชาติ - อริสโตเติล (Aristotle) บิดาแห่งวิชาสัตววิทยา ธรรมชาติวิทยาและศาสตร์ด้านอื่น ๆ อีกมาก เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่สำคัญ

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรีย - เมื่อ 334 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้ายึดครองอียิปต์ เปอร์เซีย กรีก และได้จัดตั้งชุมชนเป็นศูนย์การค้าและวิทยาการที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ที่บริเวณปากแม่น้ำไนล์ - มีการส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มีการทดลองและบันทึกข้อมูลในม้วนกระดาษปาปิรัส และรวบรวมไว้ที่หอสมุดอเล็กซานเดรีย และเป็นแหล่งสะสมวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสมัยนั้น

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรีย นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ - ยูคลิด (Euclid) บิดาแห่งเรขาคณิต - อาร์คีมิดีสแห่งไซราคิวส์ (Archimedes of Syracuse) นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของฟิสิกส์ด้านกลศาสตร์ และเป็นนักประดิษฐ์ที่ฉลาดล้ำยุคเป็นผู้ค้นพบ กฎของคานดีดคานงัด ค้นพบว่าน้ำหนักของวัตถุที่หายไปเมื่อชั่งในน้ำจะเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ (ยูเรกา!)

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรีย นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ -โทเลอมี (Claudius Ptolemy) เขียนหนังสืออัลมาเจส (Almagest) ซึ่งกล่าวว่าโลกนี้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรรอบโลก หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาดาราศาสตร์ถึง 1,500 ปีต่อมา - เกเลน (Galen of Pergamum) แพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ศึกษา กายวิภาคและสรีระวิทยาของคน โดยการผ่าตัดลิงและหมู จึงทำให้ข้อมูลผิดพลาด และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านการแพทย์เกือบ 1,200 ปีต่อมา

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกลาง - วิทยาศาสตร์สมัยกลางเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 450-1700 วิทยาศาสตร์ในยุคนี้เกี่ยวข้องกับวิชาปรัชญา - วิชาการต่าง ๆ ชะงักไปประกอบกับความเชื่อทางศาสนาจะบังคับให้ผู้สนใจค้นคว้าวิทยาศาสตร์ต้องจำกัดความคิดและการค้นคว้าด้านต่าง ๆ - วิทยาศาสตร์สมัยกลางจึงแบ่งเป็นยุคมืด และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา - ยุคมืดนี้เกือบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเลย ส่วนมากเป็นการเก็บรวบรวมและแปลตำราที่มีอยู่เดิมจากอียิปต์โบราณและกรีกโบราณ โดยชนชาติอาหรับเป็นผู้แปลจากต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอาหรับ

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง - ดังนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาหรับจึงเป็นผู้นำด้านปรัชญา และวิทยาศาสตร์ ต่อมายุโรปจึงรับความรู้จากอาหรับในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแปลตำราจากอาหรับกลับเป็นภาษาละติน และมีการใช้แพร่หลายในยุโรปจนถึงกลางศตวรรษที่ 14 จึงเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหรือศิลปวัฒนธรรม - กลางศตวรรษที่ 14 เมื่อวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โดย โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน และทำให้มีการเผยแพร่วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง เมื่อวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้มีการเผยแพร่วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ได้แก่ - ลีโอนาโด ดาวินซี (Leonardo da Vinci) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจกายวิภาค กลศาสตร์ และจลศาสตร์ของไหล นับเป็นผู้ริเริ่มนำวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคใหม่

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 มีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่มีการค้นคว้าทดลองพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - นิโคลัส โคเพอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus) เป็นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายโปแลนด์ ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล นับเป็นการปฏิวัติทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ เพราะเป็นการอ้างทฤษฎีที่ค้านกับความเชื่อเดิมเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว ซึ่งเสนอโดยโทเลอมี

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - แอนเดรียส วีเซเลียส (Andreas Vesalius) นักกายวิภาคศาสตร์ผู้ศึกษาจากศพคนจริง ๆ และคัดค้านคำสอนของเกเลน ทำให้คำสั่งสอนของเกเลนซึ่งเชื่อกันมานานถึง 1,500 ปี ถูกล้มล้างไป การศึกษากายวิภาคของคนจากร่างกายของคนจึงทำให้การพัฒนาด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าเข้าสู่ยุคปัจจุบันมากขึ้น - โยฮัน เคปเลอร์ (Johannes Kcpler) เป็นคนแรกที่วางรากฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของจักรวาล และอธิบายวิถีการโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ปัจจุบันยังใช้กันอยู่เรียกว่ากฎของเคปเลอร์ เขาสรุปว่า ดวงดาวต่าง ๆ โคจรเป็นวงรีไม่ใช่วงกลม

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - กาลิเลโอ (Galileo Galilei) เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีความคิดเห็นก้าวหน้าล้ำยุคมาก และไม่เห็นด้วยกับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์โบราณของอริสโตเติล โทเลอมี และเกเลน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ยาวนานกว่าพันปีทั้งสิ้น ดังนั้น กาลิเลโอจึงประสบปัญหาในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก เพราะขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนาอีกด้วยเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า บิดาแห่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์เขาค้นพบของแรงดึงดูดของวัตถุของโลกในชั้นแรก และเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดูดาว ที่สามารถส่องดูการเคลื่อนไหวของดาวได้เป็นคนแรก

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) บิดาแห่งวิชาเคมีและเป็นคนแรกที่ผลักดันให้เกิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีการศึกษาทดลองประกอบกับการตั้งทฤษฎีโดยโจมตีแนวคิดของอริสโตเติลที่กล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุ 4 ชนิด แต่บอยล์กลับกล่าวว่าสสารประดอบด้วยธาตุมากกว่านั้นมากมาย - จอห์น เรย์ (John Ray) เป็นผู้เริ่มงานด้านชีววิทยา จำแนกพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่และตั้งชื่อไว้ด้วย เขาจำแนกพืชต่าง ๆ กว่า 1,186,000 ชนิด ไว้เป็นหมวดหมู่ จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งวิชาพฤษศาสตร์

2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - เอนตัน แวน เลเวนฮุก (Anton Van Leuwenhoek) ได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ นำไปส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆ แล้วสามารถได้รายละเอียดของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นั้นได้ กล้องจุลทรรศน์ของเขาสามารถขยายได้ถึง 270 เท่า จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งโลกจุลชีวัน - เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) พบกฎแห่งความโน้มถ่วงซึ่งเป็นกฎสากลอันดับแรก จึงได้รับสมญานามว่า บิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และเป็นผู้ศึกษาเรื่องแสง โดยเจาะช่องเล็ก ๆ ให้แสงส่องเข้าไปในห้องมืด เมื่อเอาแท่งแก้วปริซึมวางไว้ให้แสงแดดส่งผ่าน แสงสีขาวจะกระจายเป็น 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดรุ้งกินน้ำ และ สรุปแรงดึงดูดของโลก จากการสังเกตลูกแอปเปิ้ลตกลงพื้นดิน ไม่ลอยไปในอากาศ โดยเรียกกฎนี้ว่า " กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน "

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ - เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 เป็นต้นมา ได้เข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม - มีการค้นพบทฤษฎีการสันดาปโดยลาวัวซิเอ ความก้าวหน้าด้านเคมีสาขาต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับความก้าวหน้าด้านฟิสิกส์และกลศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม - มีการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ทุกสาขาเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยมีการพัฒนาใน 3 ช่วง สำคัญได้แก่ 1.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม 2.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก วิทยาศาสตร์ และ 3. เทคโนโลยีหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ตามลำดับ

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - เริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ แนวความคิดปรัชญาวิทยาศาสตร์โบราณมาเชื่อถือปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ และได้นำวิธีการวิทยาศาสตร์มาใช้ทำให้ประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว - มีการใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์มาจำลองศึกษาธรรมชาติ ทำให้เกิดการค้นพบ และการตั้งทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ประสาทความรู้ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสมัยนี้ได้แก่ - เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ค้นพบว่าไฟฟ้าเป็นของไหล ซึ่งเป็นรากฐานทำให้ค้นพบอิเล็กตรอนในเวลาต่อมา เขาค้นพบไฟฟ้าในอากาศ ทำให้เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า และแนะนำวิธีการป้องกันฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะว่าอาการเกิดสารพิษจากตะกั่ว มักจะเกิดกับบุคคลที่ทำงานในโรงพิมพ์

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - เจมส์ วัตต์ (James Watt) เป็นผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำของนิวโคเมน และประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำแบบใหม่ โดยแก้ไขจุดบกพร่องจากแบบของนิวโคเมน และได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำที่ทำงานระบบ "ดับเบิลแอกชัน" ทำให้ลูกล้อหมุนไปได้ซึ่งเป็นแนวทางในการประดิษฐ์รถยนต์และรถไฟในเวลาต่อมา และเป็นผู้กำหนดกำลังเครื่องจักรเป็น "แรงม้า"

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม - บรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่เอื้ออำนวยให้มีการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนในทุกวิถีทางที่จะทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ - อังกฤษเชื่อว่าจะทำให้ชาติเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมืองได้โดยการให้ผลประโยชน์แก่ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และหลักประกันสิ่งประดิษฐ์ ดำเนินการจัดหาแหล่งทรัพยากรและตลาดการค้าการ สนับสนุนการลงทุน รวมทั้งเผยแพร่ความคิดเห็นในทางอุตสาหกรรม

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลของยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - มีการตื่นตัวขึ้นในสังคม และแผ่ขยายอิทธิพลความคิดไปสู่นานาประเทศ ดังนั้นกระบวนการผลิตสินค้าจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนจากการทำในครัวเรือนไปเป็นโรงงานขนาดใหญ่ - มีการทำงานโดยใช้ระบบแบ่งแรงงานให้แต่ละคนทำงานเฉพาะส่วน - มีการใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยในกระบวนการประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมด้านต่างๆ เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลของยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - คนอพยพเข้ามารวมกันทำงานในเมืองอุตสาหกรรมเกิดความแออัด ชนชั้นกรรมกรถูกกดขี่ และทารุณจนเกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้นขึ้น - นายทุนเริ่มมีอำนาจ ก็แสวงหาอาณานิคมเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากร หรือเป็นตลาด

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก - มนุษย์ได้พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนกลวิธีทำลายข้าศึก ตัวอย่างเช่น วิวัฒนาการของเครื่องบินรบ ทั้งในแง่ของความเร็วและสมรรถนะที่ใช้ในสงครามโลก - สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจัดได้ว่าเป็นสงครามเคมี เพราะมีการทำลายล้างด้วยระเบิดชนิดต่าง ๆ และแก๊ส - สงครามโลกครั้งที่สองนำระเบิดปรมาณูทำลายล้างชีวิตมนุษย์ - สร้างอาวุธร้ายแรงขึ้นหลายชนิดเช่น ระเบิดไฮโดรเจน ระเบิดนิวตรอน สารพิษ และเชื้อโรค เป็นต้น

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก ผลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสมัยสงครามโลก - ผลจากสงครามทำให้เกิด การกระตุ้นเตือนนักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์คิดค้นให้เพิ่มความรับ- ผิดชอบและระมัดระวังในผลงานของ ตนยิ่งขึ้น มีการผนึกตัวขึ้นต่อต้าน การทำสงครามด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเรียกร้องให้ลดกำลังอาวุธ

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากที่สุดในสมัยนี้คือ - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็น ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพอันนำ ไปสู่การสร้างระเบิดปรมาณู และ คิดค้นทฤษฎีใหม่ ซึ่งนำไปสู่การ สำรวจอวกาศ

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม - ช่วงต่อจากสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม - มีผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมายเกิดขึ้น ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์สุขสบายความเป็นอยู่ดีขึ้นและปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - ลาวัวซิเอ (Antoine Laurent Lavoisier) เป็นผู้สนใจทางด้านเคมี ได้ตั้งทฤษฎีการสันดาป เขาได้ตั้งชื่อก๊าซที่ทำให้ลุกไหม้ว่า "ก๊าซออกซิเจน" และตั้งกฎทรงแห่งมวลสาร ซึ่งมีใจความว่า "มวลของสารก่อนทำปฏิกิริยาย่อมเท่ากับมวลของสารหลังการทำ ปฏิกิริยา"

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - วอลตา (Alessandro A. Volta) ได้ทดลองใช้แผ่นสังกะสีและทองแดงตัดให้กลมคล้ายเหรียญบาทประกบสลับกัน แล้วนำปลายข้างหนึ่งจุ่มลงในอ่างน้ำที่มีเกลือและชิ้นส่วนของหนังสัตว์ปนอยู่ด้วย ปรากฏว่าเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า "โวลทาอิกไฟล์" และเมื่อเชื่อมโวลทาอิกไฟล์หลายอันเข้าด้วยกันพบว่าเกิดประแสมากขึ้นซึ่งเป็นหลักของแบตเตอรี่ในปัจจุบัน

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - ลามาร์ก (Jean Baptise - Chevalier de Lamark) เขาได้สนใจเรื่องความแตกต่างและความเหมือนกันของสิ่งมีชีวิต จึงได้จัดแบ่งสัตว์เป็นหมวดหมู่และได้ตั้งกฎการใช้และไม่ใช้ ที่อธิบายว่าลักษณะด้อยจะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน และลักษณะที่ไม่จำเป็นจะค่อยๆ เสื่อมสลายไป

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์ (Edmund Halley) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษศึกษาค้นคว้าหาตำแหน่งดาวฤกษ์ต่าง ๆ เขาได้บันทึกการเคลื่อนที่ของดาวหางดาวหนึ่งและได้พยากรณ์ว่าดาวหางดวงนั้นจะปรากฏให้เห็นในทุก 76 ปี และก็เป็นดังที่เขาทำนาย เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาดาวหางดวงนั้นจึงชื่อว่า "ดาวหางฮัลลีย์" - เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ ( Edward Jenner) เป็นผู้ค้นพบวิธีปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษ

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี (Sir Humphry Davy) ได้ค้นพบก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นยาสลบได้ - แอมแปร์ (Andre- Marie Ampere) เป็นผู้ค้นพบกระแสไฟฟ้าสลับ ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าว่า "แอมแปร์"เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา - ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) เป็นผู้ค้นพบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พบหลักการของหม้อแปลง พบกฎการแยกสลายด้วยไฟฟ้าซึ่งยังใช้กันในปัจจุบัน

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edisson) เป็นนักประดิษฐ์ที่สำคัญคนหนึ่งของโลกได้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกของโลก หลอดไฟฟ้าเครื่องฉายภาพยนตร์ มีสิ่งประดิษฐ์ที่จดลิขสิทธิ์ 1,328 ชิ้น และที่ไม่ได้จดลิขสิทธิ์อีกมากมาย - ชาร์ลส โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Dawin) เป็นผู้ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregoe Johann Mendel) เขาได้ศึกษาทดลองเกี่ยวกับการผสมพันธุ์พืช และได้สรุปเป็นกฎเรียกว่า "กฎทางพันธุ์กรรมของเมนเดล" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งพันธุกรรม - ลูเธอร์ เบอร์แบงค์ (Luther Burbank) เขาได้ทดลองผสมพันธุ์ไม้ดอกและไม้ผล และทดลองผสมข้ามพันธุ์และเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดไว้ จนได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีมากมายเขาได้สมญานามว่า "ผู้วิเศษแห่งต้นไม้"

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่ 3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) เป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์ และวางรากฐานทฤษฎีแบคทีเรีย ใช้วิธีการพาสเจอร์ไรเซชั่น (Pasteurization) ในการกำจัดแบคทีเรียในอาหาร โดยการทำให้อาหารอุ่น แล้วทำให้เย็นลงโดยเร็ว และยังค้นพบวิธีการทำเซรุ่มแก้พิษสนัขบ้า และผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า - ลอร์ด โจเซฟ ลิสเตอร์ (Lord Joseph Lister) เป็นศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ เขาคิดว่าการเกิดหนองหลังจากการผ่าตัด อาจจะเกิดจากเชื้อโรคในจึงทดลองใช้กรดคาร์บอลิกเจือจาง ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการผ่าตัด และทำความสะอาดเครื่องมือ ใช้ผ้าเช็ดมือที่สะอาดขณะที่มีการผ่าตัด และได้ทดลองผ่าตัดคนไข้คนหนึ่ง ปรากฏว่าไม่มีหนอง และการอักเสบเกิดขึ้นอีกเลย