บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

การบริหารการค้าปลีกและการค้าส่ง
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
ระบบขับถ่ายของเสีย.
คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ (Cell).
การรักษาดุลยภาพของเซลล์
ผัก.
โครเมี่ยม (Cr).
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ เนื้อหา 1.1 โครงสร้างร่างกายมนุษย์ 1.2 ระบบอวัยวะ.
แบบจำลองอะตอม ครูวนิดา อนันทสุข.
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
สื่อการเรียนรู้เพื่อเพื่อนนักเรียน
การปลูกผักอินทรีย์ดีต่อสุขภาพ กินผัก 5 สี ดีต่อสุขภาพ
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
ดิน สมบัติ ของดิน ลักษณะ ของดิน ประโยชน์ ของดิน ฐานความช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด สถานการณ์ปัญหาที่ 2.
บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
โรงเรียนธนรัตน์วิทยา
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : แบบจำลองเครือข่าย (Network Models) part1 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
เซลล์และองค์ประกอบสำคัญของเซลล์
สารอินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่
แนวทางการออกแบบโปสเตอร์
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
โครงสร้างและ หน้าที่ของราก
การรักษาดุลภาพของเซลล์
มาทำความรู้จักกับ เห็ดปลวกฟาน.
มาทำความรู้จักกับ มาทำความรู้จักกับ เห็ดหูหนูขาว.
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
บทที่ 1 อยู่ดีมีสุข.
Nutritional Biochemistry
ครูปฏิการ นาครอด.
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
เซลล์และองค์ประกอบสำคัญของเซลล์
ยีน และ โครโมโซม.
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)
แผ่นดินไหว.
โครงสรางพื้นฐานของเซลล
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Autosome
บทที่ 12 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
ชีววิทยา นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ได้กล่าวว่า..."ความเชื่อเปลี่ยนแปลงได้เสมอ   แต่ความจริงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้" 
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
โปรตีน กรดอะมิโนหลายโมเลกุล จะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเพปไทด์
สร้างภูมิคุ้มกัน (แสงหิ่งห้อย)
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
การแบ่งเซลล์ แบบไมโทซิส
ระบบย่อยอาหาร.
ขดลวดพยุงสายยาง.
Structure of Flowering Plant
การแบ่งเซลล์ (CELL DIVISION)
1 Pattern formation during mixing and segregation of flowing granular materials. รูปแบบการก่อตัวของการผสมและการแยกกันของวัสดุเม็ด Guy Metcalfe a,., Mark.
กราฟการเติบโตของสิ่งมีชีวิต
Polymer พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
BY POONYAPORN SIRIPANICHPONG
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต 4.1 เซลล์และทฤษฎีเซลล์(Cell theory) 4.1.1 การค้นพบเซลล์ Antony van Leeuwenhoek พ.ศ. 2174-2265 - ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เลนส์เดี่ยว(พ.ศ.2203) ส่อง เม็ดเลือดแดง กล้ามเนื้อ

4.1.1 การค้นพบเซลล์(ต่อ) เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้ เป็นต้น Robert Hooke พ.ศ. 2178-2246(พ.ศ.2208) - ส่องดูแผ่นไม้คอร์กบางๆ - เห็นช่องว่างคล้ายรังผึ้ง - จึงตั้งชื่อช่องว่างนั้นว่า เซลล์(Cell)

4.1.1 การค้นพบเซลล์(ต่อ) Rene J.H. Dutrochet พ.ศ. 2319-2390 (พ.ศ.2367) - ศึกษาเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ พบว่าประกอบไปด้วยเซลล์

4.1.1 การค้นพบเซลล์(ต่อ) Robert Brown พ.ศ. 2316-2401 (พ.ศ.2376) - เป็นคนแรกที่พบว่าภายในเซลล์มีนิวเคลียส(Nucleus)เป็นก้อนกลมๆ

4.1.1 การค้นพบเซลล์(ต่อ) Matthias Jacob Schleiden พ.ศ. 2347-2424 (พ.ศ.2381) - พบว่า เนื้อเยื่อพืชทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์

4.1.1 การค้นพบเซลล์(ต่อ) Theodor Schwann พ.ศ. 2353-2425 (พ.ศ.2382) - พบว่า เนื้อเยื่อสัตว์ทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์

4.1.1 การค้นพบเซลล์(ต่อ) Schwann and Schleiden - ร่วมกันตั้ง ทฤษฎีเซลล์(Cell Theory) “สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์”

ทฤษฎีเซลล์(Cell Theory) 1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเพียงเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ซึ่งภายในมีสารพันธุกรรมและมีกระบวนการเมแทบอลิซึม ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้

ทฤษฎีเซลล์(Cell Theory)(ต่อ) 2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบการทำงานภายในโครงสร้างของเซลล์

ทฤษฎีเซลล์(Cell Theory)(ต่อ) 3. เซลล์มีกำเนิดจากเซลล์แรกเริ่ม เซลล์เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์เดิม แม้ว่าชีวิตแรกเริ่มจะมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งไม่มีชีวิตแต่นักชีววิทยายังคงถือว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์เป็นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์รุ่นก่อน

4.1.2 ขนาดของเซลล์ - มีความแตกต่างกันตั้งแต่ขนาดเล็กสุดจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น ไมโคพลาสมา แบคทีเรีย - เซลล์บางชนิดมีขนาดใหญ่ เช่น เซลล์ไข่ของสัตว์ปีก เซลล์ไข่นกกระจอกเทศ

ตารางเปรียบเทียบขนาดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ

4.1.3 รูปร่างของเซลล์ - เซลล์มีรูปร่างแตกต่างกัน ไม่ว่าเซลล์นั้นจะเป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเดียวกันหรือต่างชนิดกัน

รูปร่างของเซลล์ชนิดต่างๆ

4.1.3 รูปร่างของเซลล์ เซลล์แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มตามลักษณะของนิวเคลียสคือ 1. เซลล์โพรคาริโอต(Procaryotic cell) 2. เซลล์ยูคาริโอต(Eucaryotic cell)

เซลล์โพรคาริโอต(Procaryotic cell) - เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส(Nuclear- membrane) - มีแต่สารพันธุกรรม เช่น ริคเกตเซีย(แบคทีเรียขนาดเล็ก) แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน(ไซยาโนแบคทีเรีย)

Procaryotic cell

เซลล์ยูคาริโอต(Eucaryotic cell) - เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส - เช่น Yeast, ราชนิดต่างๆ, โพรโทซัว สาหร่าย, พืชและสัตว์ชนิดต่างๆ

Eucaryotic cell

4.2 โครงสร้างของเซลล์ที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

4.2.1 นิวเคลียส(Nucleus) - นิวเคลียสพบใน Eucaryotic cell - มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น - โดยทั่วไปมี 1 นิวเคลียสต่อเซลล์ ยกเว้นในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น Paramesium - เซลล์บางชนิดไม่มีนิวเคลียส เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่

หน้าที่ของ Nucleus - ควบคุมการทำงานของเซลล์เกี่ยวกับ การแบ่งเซลล์และการสืบพันธ์ของเซลล์ - ควบคุมการสร้างโปรตีน - ควบคุมการสร้าง RNA - ควบคุมการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง(Cell differentiation)

การทดลองศึกษาบทบาทของนิวเคลียสในเซลล์อะมีบา

การทดลองศึกษาบทบาทของนิวเคลียสโดยใช้สาหร่ายอะเซตาบูลาเรีย ไรซอยด์ (rhizoid )

ส่วนประกอบของ Nucleus 1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส(Nuclear membrane) - เป็นเยื่อยูนิตเมมเบรน 2 ชั้น - แต่ละชั้นหนา 75-90 อังสตรอม - ชั้นทั้งสองห่างกัน 20-40 นาโนเมตร - ชั้นนอกขรุขระเพราะมีไรโบโซมมาเกาะ

1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear membrane)(ต่อ) - เยื่อหุ้มนิวเคลียสมีรูเล็กๆเรียกว่า นิวเคลียร์พอร์(Nuclear pore)หรือ แอนนูลัส(Annulus) - Nuclear pore เกิดจากเยื่อหุ้มนิวเคลียส 2 ชั้นมาเชื่อมกันเป็นระยะๆ

1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear membrane)(ต่อ) - Nuclear pore มีหน้าที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารและเป็นทางผ่านของสารต่างๆระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึม

2. นิวคลีโอพลาสซึมหรือคาริโอลิมพ์(Nucleoplasm or Karyolymph) - เป็นของเหลวคล้ายโพรโทพลาซึม อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัส(Nucleolus) ประกอบด้วย โครมาทิน(Cromatin)และนิวคลีโอลัส(Nucleolus)

2.1 โครมาทิน(Cromatin) - เป็นเส้นใยเล็กๆขดกัน เห็นได้ชัดในขณะแบ่งเซลล์ - ในขณะแบ่งเซลล์โครมาทินจะขดกันหนาขึ้นเป็นเส้นหรือแถบเรียกว่า โครโมโซม(Chromosome)

องค์ประกอบของ Cromatin - DNA (Deoxyribonucleic acid) - RNA (Ribonucleic acid) - Protein (Histone and Non-histone )

2.2 นิวคลีโอลัส(Nucleolus) - มีลักษณะเป็นแกรนูล(Granule) หนา ขนาดใหญ่ - รูปร่างค่อนข้างกลมแต่ไม่มีเยื่อหุ้ม - อยู่ติดกับเยื่อหุ้มนิวเคลียส - มีจำนวนและขนาดแตกต่างกัน

นิวคลีโอลัส(Nucleolus)(ต่อ) - องค์ประกอบทางเคมีพบว่าประกอบด้วย RNA และ Protein - ทำหน้าที่สังเคราะห์ไรโบโซม - RNA + Protein = ไรโบนิวคลีโอโปรตีน(Ribonucleoproteincomplex)

นิวคลีโอลัส(Nucleolus)

ไซโทพลาซึม(Cytoplasm) - เป็นบริเวณที่มีของเหลว(Fluid) ที่มีสารประกอบหลายชนิดรวมกันอยู่ - ส่วนที่เป็นของเหลวในไซโทพลาซึม เรียกว่า ไซโทซอล(Cytosol) - มีออร์แกเนลล์(Organells)(มีชีวิต) ต่างๆอยู่ในไซโทพลาซึม

ออร์แกเนลล์ที่สำคัญในเซลล์ 1. เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมหรือร่างแห เอนโดพลาสซึม(Endoplasmicreticulum)ER) - มีเยื่อหุ้มเหมือนกับเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นUnit- membrane - แต่มีความหนาน้อยกว่าเยื่อหุ้มเซลล์

1. Endoplasmic reticulum(ER) - มีลักษณะเป็นท่อกลวงขดพับไปมา - เรียงขนานกันและซ้อนกันเป็นชั้นๆ - ภายในมีของเหลวเรียกว่า ไฮยาโลพลาสซึม(Hyaloplasm) มีทางติดต่อกับเยื่อหุ้มนิวเคลียส กอลจิบอดี และเยื่อหุ้มเซลล์

1. Endoplasmic reticulum(ต่อ) - ไม่มีช่องเปิดติดต่อกับไซโทพลาซึม - มีขนาดเล็กมากไม่สามารถส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ได้ - พบในเซลล์สัตว์มากกว่าเซลล์พืช - พบเฉพาะในพวก Ucaryotic cell เท่านั้น

1. Endoplasmic reticulum(ต่อ) ร่างแหเอนโดพลาสซึมมี 2 ชนิดคือ 1. ร่างแหเอนโดพลาสซึมชนิดหยาบหรือ ชนิดผิวขรุขระ(Rough Endoplasmic reticulum หรือ RER) เป็นร่างแหที่มีไรโบ-โซมมาเกาะที่ผิวภายนอกทำให้มีผิวขรุขระ

Rough Endoplasmic reticulum หรือ RER - เป็นทางลำเลียงสารอาหาร ไปยังส่วนต่างๆของเซลล์ - เป็นแหล่งสังเคราะห์โปรตีน(นำไปใช้นอกเซลล์) ลิพิด ลิโพโปรตีน

Rough Endoplasmic reticulum หรือ RER(ต่อ) - ในเซลล์ที่เกิดใหม่พบว่ามีร่างแหชนิดหยาบมากกว่าชนิดเรียบ - แต่เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นพบว่าร่างแหชนิดเรียบมีมากกว่าร่างแหชนิดหยาบ

Rough Endoplasmic reticulum หรือ RER

1. Endoplasmic reticulum(ต่อ) 2. ร่างแหเอนโดพลาสซึมชนิดเรียบ (Smooth Endoplasmic reticulum หรือ SER) เป็นร่างแหที่ไม่มีไรโบโซมมาเกาะ - พบมากในเซลล์ที่กำจัดสารพิษและสร้างสารไขมัน สเตอรอยด์ เช่น คลอเลสเทอรอล

Smooth Endoplasmic reticulum หรือ SER - พบในเซลล์พวกต่อมหมวกไต เซลล์รังไข่ และในเซลล์ตับ เป็นต้น - ทำหน้าที่ขนส่งไกลโคเจนและกลูโคส - เกี่ยวข้องกับการสลายไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสและลำเลียงสารต่างๆออกไปนอกเซลล์

Smooth Endoplasmic reticulum หรือ SER

กอลจิบอดี หรือกอลจิคอมเพล็กซ์ หรือกอลจิแอพพาราตัส หรือดิคไทโอโซม (Golgi body or Golgi complex or Golgi- apparatus or Dictyosome) - เป็นแหล่งรวบรวมบรรจุสาร(Packaging) ทำให้สารผ่านกระบวนการ(Processing) แยกประเภทสาร(Sorting) และขนส่งสาร(Shipping)

Golgi body or Golgi apparatus - ตั้งชื่อตาม คามิลโล กอลจิ(Camillo Golgi) - นักชีววิทยาชาวอิตาลี ซึ่งพบออร์แกเนลล์นี้ในปี พ.ศ. 2441(ค.ศ.1898)

ลักษณะของ Golgi body - ส่วนตรงกลางจะเป็นถุงแบนๆ รูปร่างลักษณะคล้ายชาม เรียกว่า ซิสเทอร์นา(Cisterna or flattened sac) ซ้อนเรียงกันหลายชั้น ประมาณ 5-10 ชั้น ตรงขอบจะสานกันเป็นตาข่าย(Tubule) ปลายถุงจะโป่งออกเป็นเวซิเคิล(Vesicle)

หน้าที่ของ Golgi body - ทำให้สารผ่านกระบวนการ(Processing) เช่น การเติมหมู่ฟอสเฟต (Phosphorylation) ให้กับโปรตีนที่ไรโบโซมบน ER สังเคราะห์ขึ้นมาซึ่งเคลื่อนที่มาตามท่อของ ER เข้าสู่ Golgi body กลายเป็นไกลโคโปรตีน

หน้าที่ของ Golgi body(ต่อ) - เป็นแหล่งรวบรวมบรรจุสาร(Packaging) เช่น ลิพิด ฮอร์โมน เอนไซม์ เพื่อส่งออกนอกเซลล์ โดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยสร้างเป็นถุงที่เรียกว่า ทรานสปอร์ตเวซิเคิล(transport vesicle) แล้วเลื่อนไปยังขอบเซลล์เพื่อปล่อยสารออกจากเซลล์

หน้าที่ของ Golgi body(ต่อ) - สร้างอะโครโซม(Acrosome) ที่อยู่ส่วนหัวของอสุจิของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม - ในพืชทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างผนังเซลล์

หน้าที่ของ Golgi body(ต่อ) - ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเมือกทั้งในพืชและสัตว์ - เกี่ยวกับการสังเคราะห์ไลโซโซม

ไรโบโซม(Ribosome) - ไม่มีเยื่อหุ้ม - พบในProcaryotic cell และEucaryotic cell - มีลักษณะกลม ขนาดเล็ก - เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.015-0.025 ไมโครเมตร

ไรโบโซม(Ribosome)(ต่อ) - ไม่สามารถส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงได้ - ประกอบด้วย Protein 40% และ rRNA 60%

หน้าที่ของRibosome - Ribosome ที่เกาะติดกับผิวนอกของ RER ทำหน้าที่สร้าง Protein ที่ใช้เป็นองค์ประกอบของ Cell membrane อีกทั้งยังส่ง Protein ไปใช้นอกเซลล์อีกด้วย

หน้าที่ของRibosome - Ribosome ที่ไม่ได้เกาะที่ ER จะกระจายอยู่ใน Cytoplasm - สร้าง Protein ใช้ภายในเซลล์ - พบมากในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีอายุน้อย สร้าง Hemoglobin

พลาสติด(Plastids) - พบในเซลล์พืชและสาหร่ายเท่านั้น - มีขนาดใหญ่ - เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ไมครอน - มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน

ลักษณะของ(Plastids) - มีเยื่อ 2 ชั้น แบบยูนิตเมมเบรน - มี DNA อยู่ภายใน - สามารถเพิ่มจำนวนได้ - สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

ลักษณะของ(Plastids)(ต่อ) 1. พลาสติดที่มีสี เรียกว่า โครโมพลาสต์(Chromoplast) - พลาสติดที่มีสีเหลือง แดง ส้ม เพราะมีสารพวกแคโรทีนอยด์(Carotenoid) - พลาสติดที่มีสีเขียว เพราะมีสารคลอโรฟิลล์อยู่ เรียกว่า คลอโรพลาสต์

ลักษณะของ(Plastids)(ต่อ) 2. พลาสติดที่ไม่มีสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์(Leucoplast) - มีลักษณะเป็นรูปท่อนหรือกลมรี - เกิดจากการสะสมของเม็ดแป้ง - พบในเซลล์พืชที่ไม่ถูกแสง

คลอโรพลาสต์(Cloroplast) - มีคลอโรฟิลล์(Chlorophyll)อยู่ภายใน - มีของเหลวเรียกว่า สโตรมา(Stroma) - ในของเหลวมีโครงสร้างคล้ายเหรียญ เรียกว่า ไทลาคอยด์(thylakoid)

คลอโรพลาสต์(Cloroplast)(ต่อ) - Thylakoid เรียงซ้อนกันเป็นตั้ง เรียกว่า กรานุม(Granum) - Granum หลายอันเชื่อมต่อกันเป็น กรานา(Grana)

คลอโรพลาสต์(Cloroplast)(ต่อ) - Granum แต่ละ Granum เชื่อมต่อกันด้วย สโตรมาไทลาคอยด์(Stroma thylakoid) - ภายใน thylakoid มี Chlorophyll บรรจุอยู่ - Grana และ Stroma เป็นแหล่งสังเคราะห์ด้วยแสง

ไลโซโซม(Lysosome) - มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.15-0.8 ไมครอน - มีลักษณะเป็นถุงกลม ภายในบรรจุ เอนไซม์หลายชนิด - มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว ไม่ยอมให้ เอนไซม์ ผ่านออก

ไลโซโซม(Lysosome)(ต่อ) - เป็นเยื่อที่สลายตัวหรือรั่วได้ง่าย - มีความทนทานต่อการย่อยของเอนไซม์ที่อยู่ภายใน

ไลโซโซม(Lysosome)(ต่อ) - เอนไซม์ที่อยู่ใน ไลโซโซม ถูกสร้างจาก ไรโบโซมที่อยู่บน RER - ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยสลาย

ไซโทสเกเลตอน(Cytoskeleton) - เป็นร่างแหกระจายอยู่ทั่วไซโทพลาสซึม - ทำหน้าที่จัดเรียงตัวของโครงสร้างต่างๆ - ทำให้เซลล์แข็งแรง คงรูปร่างของเซลล์

Cytoskeleton(ต่อ) - ไซโทสเกเลตอน สามารถเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม ไปยังตำแหน่งใหม่ได้ ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง - Cytoskeleton ประกอบด้วยเส้นใย 3 ชนิดคือ 1. Microtubule 2. Microfilament 3. Intermediate filament

ไมโครทิวบูล(Microtubule) - เป็นโครงสร้างที่พบในไซโทพลาสซึมของยูคาริโอต - เป็นองค์ประกอบของ เซนทริโอล ซิเลีย แฟลเจลลา - เป็นเส้นยาว ไม่แตกแขนง

ไมโครทิวบูล(Microtubule)(ต่อ) - เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 นาโนเมตร - ผนังหนา 6 นาโนเมตร

หน้าที่ของMicrotubule - เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ - ควบคุมการเคลื่อนไหวของไซโทพลาสซึม - เป็นองค์ประกอบของ เซนทริโอล ซิเลีย แฟลเจลลา

ไมโครฟิลาเมนต์(Microfilament) - มีลักษณะเป็นท่อยาวๆแต่บาง - เส้นผ่านศูนย์กลาง 70 อังสตรอม - ประกอบด้วยโปรตีนแอกทิน(Actin) 2 สาย พันกันเป็นเกลียว - ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ

อินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต์ Intermediate filament - เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 นาโนเมตร - มีขนาดใหญ่กว่าไมโครฟิลาเมนต์แต่เล็กกว่าไมโครทิวบูล - ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโปรตีน - ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ ยึดออร์แกเนลล์ให้อยู่กับที่

เซนทริโอล(Centrioles) - ทรงกระบอก ไม่มีเยื่อหุ้ม - ยาว 300-2,000 นาโนเมตร - เส้นผ่านศูนย์กลาง 150-250 นาโนเมตร - ไม่พบในเซลล์พืช - พบในโพรทิสต์บางชนิดและในเซลล์สัตว์

เซนทริโอล(Centrioles)(ต่อ) - แต่ละเซลล์มีเซนทริโอล 2 อัน - เซนทริโอลประกอบด้วยหลอดเล็กๆ เรียกว่า Microtubule - เรียงเป็นกลุ่มวงกลม 9 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วย Microtubule 3 อัน

เซนทริโอล(Centrioles)(ต่อ) - ตรงกลางกลุ่มไม่มี Microtubule - เขียนสูตรโครงสร้างเป็น 9+0

หน้าที่ของCentrioles - สร้างสายสปินเดิล(Spindle fiber) ซึ่งควบคุมการเคลื่อนที่ของโครโมโซมในขณะเซลล์แบ่งตัว

หน้าที่ของCentrioles(ต่อ) ทำหน้าที่เป็นเบซัลบอดี(Basal body) คือส่วนที่เป็นฐานของซิเลีย และ แฟลเจลลา ควบคุมการเคลื่อนไหวของซิเลียและ แฟลเจลลา

ซิเลียและแฟลเจลลา (Cilia and Flagella) - เป็นรยางค์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ - ยื่นออกจากส่วนที่เป็น Basal body - แฟลเจลลามีจำนวนน้อยกว่าซิเลีย แต่มีความยาวมากกว่า

Cilia and Flagella(ต่อ) - แฟลเจลลา ยาวตั้งแต่ 150 ไมครอนหรือมากกว่า ซิเลียยาว 5-10 ไมครอน - แฟลเจลลา จะมีการพัดโบกเป็นอิสระแต่ ซิเลีย จะพัดโบกพร้อมกันเป็นจังหวะ - มี Microtubule เรียงกันเป็น 9+2 - Basal body มี Microtubule เรียงกันเป็น 9+0

ไมโทคอนเดรีย(Mitochondria) - พบในเซลล์ของยูคาริโอตที่ใช้ออกซิเจนในการหายใจเท่านั้น - รูปร่างเป็นก้อนกลม รี หรือเป็นท่อน - เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.0 ไมครอน - ยาว 5-10 ไมครอน

Mitochondria(ต่อ) - มีเยื่อ 2 ชั้น เป็นยูนิตเมมเบรน - เยื่อชั้นในมีลักษณะเป็นท่อที่พับซ้อนกัน เรียกว่า คริสตี(Cristae) - ภายใน Mitochondria มีของเหลวเรียกว่า เมทริกซ์

Mitochondria(ต่อ) - เซลล์แต่ละเซลล์มีจำนวน Mitochondria ไม่เท่ากัน เช่นในเซลล์ตับมี Mitochondria 1,000-1,600 อันต่อเซลล์ - เซลล์ไข่ของสัตว์บางชนิดอาจมีจำนวนถึง 300,000 อันต่อเซลล์

Mitochondria(ต่อ) ส่วนใหญ่พบในเซลล์ที่มีอัตราเมแทบอ- ริซึมสูง เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ต่อม เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโต เป็นต้น

หน้าที่ของMitochondria - สร้างสารที่ให้พลังงานสูง ATP (Adenosine triphosphate) - สังเคราะห์โปรตีนขึ้นมาใช้เอง

แวคิวโอล(Vacuole) - เห็นได้ชัดในเซลล์พืชที่เกิดมานานแล้ว - นอกจากนั้นยังพบในพวก โพรทิสต์ - Vacuole สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

1. แซปแวคิวโอล(Sap vacuole) - พบในเซลล์พืช - มีขนาดใหญ่ อยู่กลางเซลล์ - ซึ่งกินพื้นที่เกือบ 80% ของเซลล์ - ทำหน้าที่สะสมสารต่างๆ เช่น รงควัตถุ น้ำตาล แอลคาลอยด์ สารอนินทรีย์ น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น

2. คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile vacuole) - พบในโพรโทซัวน้ำจืด - ทำหน้าที่ขับถ่ายของเหลวที่เกินความต้องการออกจากเซลล์ - ขนาดของ Contractile vacuole เปลี่ยนแปลงตามปริมาณของเหลวที่อยู่ภายใน

3. ฟูดแวคิวโอล(Food vacuole) - พบในโพรโทซัวบางพวกและในเซลล์สัตว์ชั้นสูงที่กินสิ่งแปลกปลอม เช่น เม็ด-เลือดขาว) - ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร - ย่อยอาหารที่นำเข้าเซลล์