สารควบคุมการเจริญเติบโต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

การตอบสนองของพืช.
การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
สรุปสถานการณ์การ ระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2554.
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
สถานการณ์การผลิตผลไม้จังหวัดระนอง
การวิเคราะห์และปรับปรุงสภาพการทำงานตามหลักการยศาสตร์
การรักษาดุลยภาพของเซลล์
ผัก.
โครเมี่ยม (Cr).
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. การผสมใดต่อไปนี้ที่แยกออก จากกันได้ด้วยการระเหยแห้ง 1. เกลือป่นกับ น้ำ 2. น้ำมันพืชกับ น้ำ 3. ข้าวเปลือก กับแกลบ 4. ผงตะไบ เหล็กกับทราย.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ดิน สมบัติ ของดิน ลักษณะ ของดิน ประโยชน์ ของดิน ฐานความช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด สถานการณ์ปัญหาที่ 2.
บทที่ 14 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า
บทที่ 15 การตอบสนองของพืช
โครงสร้างและ หน้าที่ของราก
การรักษาดุลภาพของเซลล์
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชการและ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
ขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยว
พฤติกรรม (Behavior) สิ่งเร้า ภายนอก ภายใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
บทที่ 12 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
Nikola Tesla . . อัจฉริยะโลกลืม
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
การทำน้ำส้มควันไม้ แหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้พัฒนาที่ดินตามแนว
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การเติบโตของพืช 1. เส้นโค้งของการเติบโต (Growth curve)
ขดลวดพยุงสายยาง.
Structure of Flowering Plant
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
กราฟการเติบโตของสิ่งมีชีวิต
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
การตอบสนองของพืช.
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
สื่อการเรียนรู้เรื่อง ความงามของศิลปะด้าน จิตรกรรม โดย นายกิตติพงษ์ คงโต โรงเรียนหนองกรดพิทยาคม.
เครื่องขุดหลุมปลูกยาสูบ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สารควบคุมการเจริญเติบโต และการตอบสนองของพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม

ฮอร์โมนพืช (Plant Hormones หรือ Phytohormones) ฮอร์โมนพืช หมายถึง สารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นในปริมาณเล็กน้อย โดยสารสามารถเคลื่อนย้ายจากแหล่งที่สร้างไปยังอวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่น และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาต่ออวัยวะหรือเนื้อเยื่อนั้น หรือสารที่พืชสร้างขึ้นโดยอวัยวะหรือเนื้อเยื่อนั้น และมีผลโดยตรงต่ออวัยวะหรือเนื้อเยื่อนั้น ๆ สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Regulators, PGRs) สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช หมายถึง สารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นหรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อใช้ในปริมาณเล็กน้อย (ความเข้มข้นประมาณ 1 มิลลิโมลต่อลิตร หรือน้อยกว่า) ทำให้เกิดผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยอาจเกิดผลในการเร่งหรือชะลอการเจริญเติบโตของพืช

คุณสมบัติของสารที่จัดเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช 1. เป็นสารอินทรีย์ (Organic Compound) เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น หรือสกัดได้มาจากพืช หรือเป็นสารสังเคราะห์โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช 2. ใช้ในปริมาณเล็กน้อยหรือความเข้มข้นต่ำ (Low Concentration) เป็นสารที่พืชสร้างขึ้นในปริมาณเล็กน้อย หรือเป็นสารสังเคราะห์แต่นำมาใช้ในปริมาณเล็กน้อย (ประมาณ 1 มิลลิโมลต่อลิตร หรือน้อยกว่า) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของพืชได้ 3. มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพืช (Physiological Response) เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ การเจริญเติบโตของพืช การออกดอก การติดผลและการพัฒนาของผล การแก่ชรา และการพักตัวของตาและเมล็ด เป็นต้น 4. ไม่เป็นธาตุอาหารพืชหรืออาหารพืช (Not Plant Nutrients หรือ Organic Materials) ธาตุอาหารที่พบในพืชหรือให้แก่พืช หรือธาตุอาหารในรูปต่างๆ ที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมา และพืชเก็บสะสมเอาไว้ เช่น แป้ง น้ำตาล กรดอะมิโน ไม่จัดเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

Charles Darwin และ Francis Darwin

การเบนเข้าหาแสงของยอดโคลีออพไทล์ (Coleoptile) ของหญ้าคานารี (Canary Grass, Phalaris canariensis)

ปลายโคลีออพไทล์ (coleoptile) โค้งเข้าหาแสงได้ เพราะยอดแรกเกิดหรือพลูมูล (plumule) สร้างสาร เมื่อได้รับแสง สารจะแพร่จากด้านที่มีแสงมากไปยังด้านที่มีแสงน้อย กระตุ้นให้เซลล์บริเวณนั้นขยายตัวได้ Frits Went

คำถาม ฮอร์โมนพืชเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างไร ฮอร์โมนพืชแตกต่างจากสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่ อย่างไร สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต้องมีสมบัติใด ความเข้มของสารออกซิน ผลต่อการโค้งงอของโคลีออพไทล์พืชหรือไม่ อย่างไร แสงมีความสัมพันธ์กับการโค้งงอของโคลีออพไทล์พืชอย่างไร

ออกซิน (Auxins) Auxin ออกซิน (Auxins) เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ มีการสร้างมากที่สุดบริเวณเนื้อเยื่อปลายยอด และใบอ่อน มีผลต่อการขยายขนาดของเซลล์ การเบนเข้าหาแสงของพืช ส่งเสริมการแบ่งเซลล์ของต้นอ่อน ยับยั้งการเจริญเติบโตตาข้าง ส่งเสริมการเกิดดอก การพัฒนาของผล เร่งการเกิดราก Indoleacetic acid : IAA

การยืดยาวของเซลล์จะเกิดขึ้นเมื่ออ็อกซินมาต่อเข้ากับตัวรับ มีผลทำให้ไฮโดรเจนอิออนถูกขับออกจาก ไซโทพลาซึม ด้วยกระบวนการ Active transport ทำให้มีสภาพเป็นกรด และทำให้ผนังเซลล์อ่อนนุ่มลง น้ำสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์ได้

ปรากฏการณ์ที่ auxin ตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม (The response of auxin to the environmental stimuli) 1. Phototropism เป็นการตอบสนองที่มีแสงเป็นตัวกระตุ้นโดยพืชจะโค้งเข้าหาแสงเสมอ เมื่อพืชได้รับความ เข้มของแสงไม่เท่ากันทุกด้าน การที่พืชโค้งไปหาด้านที่มีแสงมากกว่าเนื่องจาก auxin จะหนีแสงไปอยู่อีก ด้านหนึ่ง ทำให้เซลล์ด้านที่มี auxin มากเจริญขยายตัวตามยาวมากกว่าเซลล์ด้านที่โดนแสง จึงทำให้พืช โค้งเข้าหาแสง 2. Geotropism (หรือ gravitropism) การตอบสนองที่มีแรงดึงดูดของโลกเป็นตัวกระตุ้น พืชตอบสนองต่อ แรงดึงดูดของโลกโดย รากจะเจริญไปในทิศทางเดียวกับ แรงดึงดูดของโลก (positive geotropism) ลำต้นจะเจริญไปในทิศทางตรงกันข้าม กับแรงดึงดูดของโลก (negative geotropism)

ไซโทไคนิน (Cytokinins) ไซโทไคนิน (Cytokinins) เป็นฮอร์โมนที่มีแหล่งสร้างหลักอยู่ที่เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายราก แล้วลำเลียงไปยังเนื้อเยื่ออื่นๆ ของพืชทางไซเล็ม พบครั้งแรกในเอนโดสเปริ์มของข้าวโพด เรียกว่าซิเอทิน (zeatin) มีผลต่อการแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโตของพืช ช่วยในการเจริญเติบโตของกิ่งแขนง การพัฒนาของผล การแก่ชราของพืช Cytokinins Zeatin

จิบเบอเรลลิน (Gibberellins) อับเรณู และผล เช่น GA3, GA4, GA7, มีผลต่อการยืดตัวของเซลล์ * การเจริญเติบโตของยอด การออกดอกของพืชบางชนิด * การเปลี่ยนแปลงของเพศดอก การพัฒนาของผล * การงอกของเมล็ด Gibberellic acid

เอทิลีน (Ethylene) เอทิลีน (Ethylene) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสมบัติเป็นแก๊สและเกิดขึ้นในกระบวนการ metabolism ของพืช พบมากในช่วงที่ผลไม้ใกล้สุก ช่วยให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น กระตุ้นการร่วงของใบ กระตุ้นการเกิดรากฝอยและรากแขนง กระตุ้นให้ปากใบปิดเพื่อลดการคายน้ำ กดการยืดขยายตัวของเซลล์

กรดแอบซิสิค (Abscisic acid) กรดแอบซิสิค (Abscisic acid) หรือฮอร์โมน ABS เป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชทนต่อสภาวะเครียดต่างๆ ได้ดี Abscisic acid * กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่จัด * ยับยั้งการเจริญเติบโตของตาและยอดพืชที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้พืชมีปล้องสั้น เซลล์หยุดการแบ่งตัว * ยับยั้งการงอกของเมล็ด * กระตุ้นการแก่ของใบ * กระตุ้นการปิดของปากใบ เมื่อพืชขาดน้ำพืชจะสร้างกรด แอบไซซิกมากขึ้น เกิดการเคลื่อนของน้ำออกจากเซลล์คุมปากใบจึงปิด เป็นการสงวนรักษาน้ำไว้ในต้นพืช เมื่อได้รับน้ำเต็มที่ปริมาณกรดแอบไซซิก จะลดลงทำให้ปากใบเปิดพืชจึงคายน้ำ

หน้าที่ของฮอร์โมนพืชและบริเวณที่พบ บริเวณที่พบในพืช ออกซิน - กำหนดและควบคุมส่วนของปลายยอด เกี่ยวข้องกับ Phototropism และ Gravitropism เร่งการเจริญของรากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ป้องกันการหลุดร่วงของใบ เนื้อเยื่อบริเวณส่วนปลายยอดและ ใบอ่อน จิบเบอเรลลิน - กระตุ้นการยืดยาวของปล้อง ทำให้เมล็ดและหน่อออกจากระยะพักตัว - กระตุ้นให้เกิดการงอกของเมล็ด เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายยอด ใบอ่อน และเมล็ด ไซโตไคนิน กระตุ้นการแบ่งเซลล์ ป้องกันการหลุดร่วงของใบและผล ทำงานร่วมกับออกซินในกระบวนการพัฒนาของราก ยอด ใบ และดอก เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายราก กรดแอบไซซิก - กระตุ้นให้เมล็ดและตาหน่อเข้าสู่ภาวะพักตัวและรักษาภาวะพักตัวนั้น ควบคุมการปิดของปากใบ เอ็นโดสเปริ์ม ราก และเนื้อเยื่อ คลอโรพลาสต์ เอทิลีน กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ ดอก และผล กระตุ้นการสุกของผล พบในทุกส่วนที่มีการแก่หรือสุก และเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายและข้อลำต้น

คำถาม ปัจจุบันมีสารเคมีสังเคราะห์ที่มีสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนพืช ซึ่งจะมีผลดีและผลเสียต่อตัวเกษตรกรอย่างไร เพราะเหตุใดในการส่งออกผลไม้ที่ต้องใช้ระยะเวลานานจึงต้องหาทางป้องกันการสร้าง เอทิลีนของผลไม้นั้น 3. ฮอร์โมนพืชชนิดใดควบคุมการเปิด-ปิดของปากใบพืช ในการเตรียมอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ต้องใส่ทั้งออกซินและไซโทไคนินเพราะเหตุใด

การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม กลไกการตอบสนองของพืช 1. การรับสัญญาณ (reception) การที่พืชหรือส่วนของพืชรับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้น 2. การส่งสัญญาณ (transduction) การที่พืชส่งสัญญาณที่ได้รับไปให้เซลล์ในส่วนของพืชที่ตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นนั้น 3. การตอบสนอง (response) การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของพืช ทำให้พืชตอบสนองต่อปัจจัยที่มากระตุ้น

การตอบสนองของพืชที่แสดงให้เห็นในลักษณะการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเจริญเติบโต (growth movement) 1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากสิ่งเร้าภายนอก (stimulus movement)     -  การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของ สิ่งเร้า (tropic movement) ถ้าเคลื่อนไหวเข้าหาสิ่งเร้า จัดเป็น positive tropism ถ้าเคลื่อนไหวหนีออกจากสิ่งเร้า จัดเป็น negative tropism ได้แก่     * การเคลื่อนไหวโดยมีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า (gravitropism หรือ geotropism) แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ      - positive gravitropism เช่น รากพืชจะเจริญเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก      - negative gravitropism เช่น ยอดพืชจะเจริญในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก

การเคลื่อนไหวโดยมีแสงเป็นสิ่งเร้า (phototropism) แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ      - positive phototropism เช่น ยอดพืชเอนเข้าหาแสงสว่าง     - negative phototropism เช่น รากพืชเจริญหนีแสงสว่าง การเคลื่อนไหวโดยมีสารเคมีเป็นสิ่งเร้า (chemotropism) เช่น การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชมีดอก * การเคลื่อนไหวโดยตอบสนองต่อการสัมผัส (thigmotropism) เช่น มือเกาะ (tendril) ของพืชบางชนิดยื่นออกไปจากลำต้น ไปยึด สิ่งที่สัมผัสหรือต้นไม้อื่นหรือหลัก เพื่อเป็นการพยุงลำต้น เช่น ตำลึง กระทกรก องุ่น พืชตระกูลแตง * การเคลื่อนไหวโดยมีน้ำเป็นสิ่งเร้า (hydrotropism) เช่น รากของพืชจะเจริญเข้าหาน้ำหรือความชื้นเสมอ

- การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (nasty หรือ nastic movement) ได้แก่    * การตอบสนองที่เกิดจากการกระตุ้นของแสง (photonasty) เช่น       - การหุบและบานของดอกไม้ เกิดจากการกระตุ้นของแสง หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป       * การตอบสนองที่เกิดจากการกระตุ้นของอุณหภูมิ (thermonasty) - การบานของดอกบัวสวรรค์ หัวบัวจีน ทิวลิป เมื่อได้รับอุณหภูมิสูง 2. การเคลื่อนไหวเนื่องจากสิ่งเร้าภายในของพืช (autonomic movement)  - การเคลื่อนไหวที่เกิดเฉพาะที่ยอดของพืช (nutation movement) เช่น ถั่ว ทำให้ปลายยอดเอนหรือแกว่งไปมา ในขณะที่พืชเจริญเติบโตทีละน้อย เนื่องจากกลุ่มเซลล์ 2 ด้านของลำต้นเจริญเติบโตไม่เท่ากัน   -  การเคลื่อนไหวที่ปลายยอดบิดเป็นเกลียว (spiral movement) เมื่อพืชเจริญเติบโตขึ้นทำให้ลำต้นบิดเป็นเกลียวพันรอบแกน หรือพันอ้อมหลักขึ้นไปเป็นการพยุงลำต้นไว้ เช่น การพันหลักของต้นมะลิวัลย์ ต้นลัดดาวัลย์ ต้นพริกไทย ต้นพลู

การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับแรงดันเต่ง (turgor movement) 1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการสัมผัส (contact movement)    - การหุบและกางของใบไมยราบ การหุบของใบที่เกิดอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่โคนก้านใบและโคนก้านใบย่อย มีกลุ่มเซลล์ พัลไวนัส (pulvinus) ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดใหญ่และผนังบาง มีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ทำให้แรงดันเต่งในเซลล์พัลไวนัสลดลงอย่างรวดเร็ว เซลล์จะสูญเสียน้ำให้แก่เซลล์ข้างเคียง ทำให้ใบหุบลงทันที หลังจากทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจะแพร่เข้ามาในเซลล์พัลไวนัสใหม่ ทำให้แรงดันเต่งเพิ่มขึ้นและกางใบออกตามเดิม

2. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสง (sleep movement)   - การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสง เช่น กระถิน มะขาม จามจุรี ไมยราบ และ ผักกระเฉด ใบจะหุบในตอนเย็นหรือพลบค่ำ และจะกางใบออกตอนรุ่งเช้าเมื่อมีแสงสว่าง 3. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์คุม (guard cell movement)     - การเปิด-ปิดของปากใบ เนื่องจากน้ำแพร่เข้าไปในเซลล์คุม (guard cell) ทำให้แรงดันเต่งในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น ดันให้เซลล์คุมพองออก หรือในทางตรงกันข้าม ถ้าเซลล์คุมสูญเสียน้ำไป แรงดันเต่งลดลง เซลล์คุมจะหดตัวทำให้ปากใบปิด การเคลื่อนไหวของเซลล์คุมจึงมีผลทำให้ปากใบของพืชปิดหรือเปิดได้