ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สาระการเรียนรู้ ความหมายของสถิติ ประเภทของสถิติ ระดับของการวัด ตัวแปร ประโยชน์ของสถิติ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แนวทางการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ จุดประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะประจำหน่วย แสดงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ แสดงความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และแนวทางการเลือกใช้โปร-แกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับสถิติและโปรแกรมสำเร็จรูป ทางสถิติ บอกความหมายของสถิติได้ แยกแยะประเภทของสถิติได้ อธิบายระดับการวัดได้ บอกความหมายและชนิดของตัวแปรได้ บอกประโยชน์ของสถิติได้ อธิบายโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติได้ เลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติอย่างเหมาะสมได้ กิจกรรมเตรียมความพร้อม สู่ประชาคมอาเซียน ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการนำสถิติมาใช้ในการพัฒนาประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่เห็นได้ชัดเจน 6
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1. ความหมายของสถิติ สถิติ หมายถึง การเก็บข้อมูลในด้านต่างๆ และนำเอาข้อมูลมาประมวลผลและอ่านค่าเพื่อแปลความหมายออกมาให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงมากขึ้น 7
1 2. ประเภทของสถิติ 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่สามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นๆได้ 2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการ 10
1 2.1 สถิติแบบใช้พารามิเตอร์ คือ สถิติที่ต้องเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น 3 ประการ 1) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในระดับช่วง (Interval Scale) 2) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่าง ต้องมีการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) 3) กลุ่มประชากรแต่ละกลุ่มที่ศึกษาต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน สถิติ ประเภทนี้ ได้แก่ T-test, F-test, ANOVA และ Regression Analysis 2.2 สถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ คือ สถิติที่ไม่อยู่ในข้อตกลงเบื้องต้นทั้ง 3 ประการ สถิติประเภทนี้ ได้แก่ Chi-square, Goodness of Fit Test, Median Test และ Sign Test 11
1 3. ระดับของการวัด 1. ระดับที่ 1 ระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นระดับที่ใช้แยก ความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม 2. ระดับที่ 2 ระดับอันดับ (Ordinal Scale) เป็นระดับที่ใช้สำหรับจัด อันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งของที่ต้องการวัด 3. ระดับที่ 3 ระดับอันตรภาค (Interval Scale) เป็นระดับที่สามารถ กำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่าๆ กัน แต่ไม่มี 0 (ศูนย์) แท้ มีแต่ 0 (ศูนย์) สมมติ 4. ระดับที่ 4 ระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับที่สามารถ กำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มี 0 (ศูนย์) แท้ 11
1 4. ตัวแปร ตัวแปร (Variables) หมายถึง คุณสมบัติ คุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆ ที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาหาความจริง ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ชนิดของตัวแปร 1) ตัวแปรเชิงคุณภาพ เป็นตัวแปรที่ข้อมูลไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็นข้อมูลที่มี ลักษณะเป็นการแบ่งประเภทให้เห็นถึงความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม 2) ตัวแปรเชิงปริมาณ เป็นตัวแปรที่ถูกวัดค่าเป็นตัวเลข 10
1 ประเภทของตัวแปร 1) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นสาเหตุทำให้ เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา ซึ่งเรียกว่า ตัวแปรตาม 2) ตัวแปรตาม (Dependent Variables) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นผลหรือขึ้นอยู่ กับอิทธิพลของตัวแปรอิสระ 3) ตัวแปรควบคุม (Control Variables) หมายถึง ตัวแปรที่ตั้งไว้เพื่อเป็นตัว ควบคุมความแตกต่างของกลุ่มที่กำลังศึกษากับกลุ่มควบคุม เพื่อลดความแตกต่างของ ผลที่ได้จากสองกลุ่มนี้ 13
6. โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1 6. โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1. โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) 2. โปรแกรมสำเร็จรูป SAS (Statistical Analysis System) 3. โปรแกรมสำเร็จรูป STATA 4. โปรแกรมสำเร็จรูป Minitab 5. โปรแกรมสำเร็จรูป Excel (Microsoft Office Excel) 14
7. แนวทางการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1 7. แนวทางการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1. ขนาดของข้อมูลที่จะเอื้ออำนวยให้ประมวลผลได้ 2. สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ 3. ลิขสิทธิ์ของโปรแกรม 4. จำนวนผู้ใช้ 5. ความเป็นมาตรฐานของโปรแกรม 6. งบประมาณ 7. ความสามารถของโปรแกรม 15