จากรูปที่ 13.3 ที่เวลา เมื่อไม่มีสัญญาณที่อินพุตทรานซิสเตอร์ จะไม่ทำงานและอยู่ในสภาวะ OFF คาปาซิเตอร์ C จะเก็บประจุเพื่อให้แรงดันตกคร่อมมีค่าสูง ทำให้มีกระแสไหลผ่าน ต่อมาที่เวลา สัญญาณอินพุตจะ ทำให้ทรานซิสเตอร์ ทำงานอยู่ในสภาวะอิ่มตัว (Saturation) อยู่ในสภาวะ ON คาปาซิเตอร์จะคายประจุผ่านทรานซิสเตอร์ ขนาดของแรงดันทางเอาต์พุตจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาซึ่งทรานซิสเตอร์หยุดทำงานอยู่ในสภาวะ OFF เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลาซึ่ง คาปาซิเตอร์ C ทำการเก็บประจุ ค่าของขนาดแรงดันนี้อาจหาได้โดยการคำนวณสมการเก็บประจุของตัวเก็บประจุ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 20
โดยทั่วไปแล้วการออกแบบวงจรจะต้องออกแบบเพื่อให้ค่ากระแสเบสมากพอที่จะทำให้ทรานซิสเตอร์ทำงานในสภาวะอิ่มตัว จะต้องมีค่าน้อยอาจจะมีค่าประมาณ 25 ซึ่งค่านี้จะมีผลต่อช่วงเวลา Retrace time ซึ่งโดยปกติจะต้องมีค่าต่ำ ๆ เพื่อให้คาปาซิเตอร์คายประจุได้เร็วขึ้น อาจจะปรับปรุงให้ มีค่าต่ำประมาณ 2 ซึ่งค่า ของทรานซิสเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับค่ากระแสเบส หมายถึง เมื่อทรานซิสเตอร์ทำงานและอยู่ในสภาวะ ON คาปาซิเตอร์จะคายประจุผ่านทรานซิสเตอร์ ขนาดกระแสคอลเลคเตอร์ () ขึ้นอยู่กับกระแสเบส แนวคิดก็จะได้ว่าหากกระแสคายประจุมีค่ามากกว่ากระแสเก็บประจุ 5 เท่าก็ถือว่าได้ค่า มีค่าต่ำ
(เนื่องจากอินพุตพัลส์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส)
นำค่าต่าง ๆ แทนในสมการเก็บประจุจะได้
วงจรสร้างสัญญาณไทม์เบสเป็นวงจรปรับแต่งรูปร่างสัญญาณอีกแบบ อาศัยหลักการเก็บประจุและการคายประจุของคาปาซิเตอร์ในวงจร RC การกำหนดค่าอุปกรณ์ที่ใช้กับวงจรถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะถ้าหากการกำหนดค่าอุปกรณ์ไม่เหมาะสมรูปร่างของสัญญาณ จะไม่เป็นไปตามต้องการ