Coaxial Cable (สายโคแอกเซียล) ชนิดที่มีความต้านทาน 50 โอห์ม (ohms) เรียกว่าเป็นแบบช่วงสัญญาณแคบ (baseband)ใช้สำหรับส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ชนิดที่มีความต้านทาน 75 โอมห์ ใช้ในการส่งข้อมูลแบบอะนาล็อก สายโคแอกซ์ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงแข็ง 1 เส้นเป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวน 1 ชั้น จากนั้นหุ้มด้วยลวดตัวนำไฟฟ้าที่ถักเป็นตาข่ายร่างแหรูปทรงกระบอกและหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ดังแสดงในรูป
Coaxial Cable (สายโคแอกเซียล) ต่อ broadband เป็นคำที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ หมายถึงสัญญาณที่มีความกว้างมากกว่า 4 กิโลเฮิรตซ์ ในเคเบิลทีวีมาใช้ในการส่งข้อมูล โดยส่งสัญญาณอะนาล็อกได้ในความถี่สูงถึง 300 เมกะเฮิตรซ์ บางครั้งอาจมากถึง 450 เมกะเฮิรตซ์ ได้เป็นระยะทางไกลประมาณ 100 กิโลเมตร
Fiber Optic (สายใยแก้วนำแสง) ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ อุปกรณ์กำเนิดแสง สายใยแก้วนำแสง และอุปกรณ์ตรวจจับแสง โดยปกติแล้วการส่งสัญญาณแสง (light pulse) ออกไป 1 ครั้งจะใช้แทนบิต “1” และการไม่ส่งสัญญาณแสงจะหมายถึงบิต “0” สายใยแก้วนำแสงที่ใช้ส่งสัญญาณจะเป็นสายใยแก้วขนาดเล็กมาก และอุปกรณ์ตรวจจับแสงก็จะสร้างสัญญาณไฟฟ้าในทุกครั้งที่จับสัญญาณแสงได้ ทางฝั่งผู้ส่งข้อมูลจะติดอุปกรณ์กำเนิดแสงไว้ ส่วนฝั่งผู้รับจะติดอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณการส่งข้อมูล แบบนี้จึงเป็นการส่งข้อมูลทางเดียวคือ ฝั่งผู้ส่งข้อมูลจะทำการเปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง ส่งไปตามสายใยแก้วนำแสง ฝั่งผู้รับก็จะเปลี่ยนสัญญาณแสงกลับมาให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้าตามเดิม
Fiber Optic (สายใยแก้วนำแสง) ต่อ สายใยแก้วที่มีคุณสมบัติในการส่งหลาย ๆ ลำแสงได้พร้อมกันจะเรียกว่า “multimode fiber” ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางของสายใยแก้วนำแสงถูกลดขนาดลงให้ โตกว่าความยาวคลื่นของแสงเพียงเล็กน้อยแล้ว สายใยแก้วเส้นนั้นก็จะหน้าทำหน้า ที่เสมือนตัวนำสัญญาณแสง (wave guide) ได้ลำแสงจึงเดินทางเป็นเส้นตรงได้โดย ไม่มีการหักเหของลำแสง ซึ่งเรียกว่า “single-mode fiber” สายชนิดนี้จะมีราคาค่อน ข้างแพงเพราะสามารถใช้ส่งสัญญาณได้ด้วยความเร็วสูงในระยะทางไกล ในปัจจุบัน สายประเภทนี้สามารถส่งข้อมูลได้ไกล 30 กิโลเมตรที่อัตราความเร็วหลายกิกะบิต ต่อวินาที การค้นคว้าวิจัยในห้องทดลองพบว่าจะสามารถส่งข้อมูลได้เป็นระยะถึง 100 กิโลเมตรโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ส่งสัญญาณซ้ำ(repeaters) เลย
Fiber Optic (สายใยแก้วนำแสง) ต่อ สายใยแก้วนำแสงมี 2 แบบ ตามวิธีการของ Mode 1. แบบซิงเกิลโหมด (Single Mode) เป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจาย แสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นสายใยแก้วนำแสงที่มีกำลัง สูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดิน สายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่าง เมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมด
Fiber Optic (สายใยแก้วนำแสง) ต่อ 2. แบบมัลติโหมด (MultiMode) เป็นสายใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีดัชนีหักเหของแสงกับอุปกรณ์ฉาบผิวที่สัมผัสกับเคล็ดดิงให้สะท้อนกลับหมด หากการให้ดัชนีหักเกของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อยเราเรียกว่า แบบเกรดอินเด็กซ์ หากให้แสงสะท้อนโดยไม่รับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่า แบบสเต็ปอินเด็กซ์ สายใยแก้วนำแสงที่ใช้ในเครือข่ายแลน ส่วนใหญ่ใช้แบบมัลติโหมด โดยเป็นขนาด 62.5/125 ไมโครเมตร หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อแก้ว 62.5 ไมโครเมตร และของแคล็ดดิงรวมท่อแก้ว 125 ไมโครเมตร คุณสมบัติของเสันใยแก้วนำแสงแบบสแต็ปอินเด็กซ์มีการสูญเสียสูงกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์
Fiber Optic (สายใยแก้วนำแสง) ต่อ
Fiber Optic (สายใยแก้วนำแสง) ต่อ ตัวส่งแสงและรับแสง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณแสงอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณ แสงหรือเป็นแหล่งกำเนิดแสงคือ LED หรือเลเซอร์ไดโอด อุปกรณ์ส่งแสงนี้ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่น ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง ส่วนอุปกรณ์รับแสงและเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า คือโฟโต้ไดโอด
รูปแบบไดอะแกรมการเดินสายทั่วไปประกอบด้วยโครงสร้าง โครงสร้างการเดินสายสัญญาณตามมาตรฐาน EIA 568
โครงสร้างการเดินสายสัญญาณเพื่อใช้กับสายใยแก้วนำแสง FDDI เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วของสัญญาณที่ 100 เมกะบิต และใช้สายสัญญาณเป็นสาย ใยแก้วนำแสง มีโครงสร้างเป็นวงแหวนสองชั้นและแตกกระจายออก การเดินสายสัญญาณตาม มาตรฐาน EIA 568 ก็จัดให้เข้ากับ FDDI ได้ง่าย FDDI มีข้อดีคือสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายระยะ ไกลได้ มีจำนวนโหนดบน FDDI ได้ถึง 1,000 โหนด การจัดโครงสร้างต่าง ๆ ของ FDDI สามารถ ทำผ่านทางแพตช์ที่เชื่อมต่อให้ได้รูปตามที่ FDDI ต้องการ
โครงสร้างการเดินสายสัญญาณเพื่อใช้กับสายใยแก้วนำแสง ATM เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อรองรับการใช้งานที่ความเร็วสูงมาก เอทีเอ็มสามารถใช้ ได้กับความเร็ว 155 เมกะบิต 622 เมกะบิต และสูงเกินกว่ากิกะบิตในอนาคต โครงสร้างการเดิน สายเอทีเอ็มมีลักษณะแบบดาว เป็นโครงสร้างการกระจายสายสัญญาณซึ่งตรงกับสภาพการใช้ สายใยแก้วนำแสงอยู่แล้ว
การส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Transmission) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ใน สุญญากาศได้ สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 3x108m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง เป็นคลื่นตามขวาง ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสาร ไม่มีประจุไฟฟ้า คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้
การส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Transmission) ต่อ การส่งคลื่นสัญญาณวิทยุ คุณสมบัติที่เด่นชัดของสัญญาณวิทยุ (Radio Transmission) คือ เป็นช่วงคลื่นที่สามารถสร้างขึ้นใช้งานได้ง่าย, ส่งออกไปได้ระยะทางไกล, สามารถเดินทางผ่านวัตถุกีดขวางต่าง ๆ ได้ดี, และยังเดินทางออกจากแหล่งกำเนิดไปทุกทางทิศทาง ด้วยเหตุนี้สัญญาณวิทยุจึงเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย คลื่นวิทยุก็มีข้อเสียในตัวเอง ที่คลื่นความถี่ต่ำ สัญญาณคลื่นจะสามารถเดินทางผ่านวัตถุกีดขวางได้เป็นอย่างดีแต่กำลังสัญญาณจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเดินทางไกลออกไป ที่ความถี่สูงคลื่นจะเดินทางในแนวเกือบตรง แต่จะเกิดการสะท้อนเมื่อถูกขวางกั้น และจะถูกดูดซึมเมื่อเดินทางผ่านสายฝน เช่น คลื่นในช่วง VLE, LF, และ MF วิทยุคลื่น AM (Amplitude Modulation) ในช่วง VHF (ประมาณ 30 เมกะเฮิร์ทซ์ ถึง 300 เมกะเฮิร์ทซ์) ใช้หลักการแบ่งความถี่ และการเข้ารหัสที่เรียกว่า CDMA - Code Division Multiple Access อีกทั้งการลดระดับขนาดสัญญาณให้ส่งในระยะใกล้ ทำให้ช่วงความถี่หนึ่งมีผู้ใช้ได้มากมายมหาศาล มีความเป็นไปได้ที่ระบบแลนในอนาคตจะก้าวมาใช้ระบบคลื่นวิทยุ
ระบบแลนแบบ IEEE 802.11a,802.11b เป็นแลนที่ใช้คลื่นวิทยุได้รับการกำหนดให้ใช้คลื่นวิทยุในย่านความถี่ไมโครเวฟ IEEE 802.11a เป็นแบบฟูลดูเพล็กซ์ด้วยความเร็วขาส่ง 11 เมกะบิตต่อวินาที และขารับก็เต็มความเร็ว 11 เมกะบิตต่อวินาที แต่ในปัจจุบันใช้คลื่นความถี่ในช่วง 2.4 จิกะเฮิร์ทซ์ ตามมาตรฐานที่กำลังกำหนดขึ้นมาใหม่คือ IEEE 802.11b เน้นให้ใช้ที่คลื่น 5.1 จิกะเฮิร์ทซ์ และขยายความเร็วการเข้าถึงเป็น 54 เมกะบิตต่อวินาทีซึ่งเร็วกว่าเดิม