งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แสงสีและทัศนูปกรณ์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แสงสีและทัศนูปกรณ์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แสงสีและทัศนูปกรณ์

2 สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

3 แสงสี แสงคืออะไรยังเป็นปัญหาที่หาข้อยุติยาก
แสงอาจจะเป็นอนุภาคตามทฤษฎีอนุภาคของนิวตัน หรือแสงอาจะเป็นคลื่นตามทฤษฎีของฮอยเกนส์ เราจะกล่าวถึงแสงเมื่อแสดงสมบัติเป็นคลื่น   แสงช่วงที่ตาสามารถ มองเห็นมีค่าอยู่ระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตร มีความถี่อยู่ในช่วง 10*3 -10*5 เฮิรตซ์

4 สมบัติของแสง 1.1 การสะท้อนแสง (Reflection) 1.2 การหักเห (Refraction)
1.3 การแทรกสอด ( Interference) 1.4 การเลี้ยวเบน (Diffraction)

5 สมบัติของแสง 1.1การสะท้อนแสง(Reflection) กฎการสะท้อน 2 ข้อ คือ
กฎข้อ 1 คลื่นตกกระทบ (Incident ray)และคลื่นสะท้อน (Reflect ray) จะอยู่บนระนาบเดียวกัน กฎข้อ 2 มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน

6 n = c/v สมบัติของแสง สมบัติของแสง 1.2 การหักเห (Refraction)
การที่คลื่นแสงเปลี่ยนทิศทางเดินเมื่อเข้าสู่อีกตัวกลางหนึ่งที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน ดัชนีหักเห (Refractive Index) ของตัวกลางใด ๆ n = c/v เมื่อ c แทนอัตราเร็วแสงในสุญญากาศหรืออากาศ (m/s) v แทนอัตราเร็วแสงในตัวกลางใด ๆ (m/s)

7 สมบัติของแสง สมบัติของแสง การสะท้อนกลับหมด(Total Reflection)
แสดงการหักเหและการสะท้อนกลับหมดของแสง

8 การประยุกต์เกี่ยวกับการหักเหของแสงและการสะท้อนกลับหมด
a) เส้นใยแก้วนำแสง b) โครงสร้างของใยแก้วนำแสง

9 หลักการทำงานของเส้นใยแก้วนำแสง
ลำแสงที่ผ่านเส้นใยแก้วนี้อาจทำหน้าส่งข่าวสาร โดยอาศัยหลักการแปรผันของแอมพลิจูดของแสงภายในเส้นใย ในทางทฤษฎีลำแสงแต่ละลำสามารถรับส่งข่าวสารทางโทรศัพท์ รายการสถานีวิทยุ และรายการโทรทัศน์

10 ประโยชน์ของเส้นใยแก้วนำแสง
อุปกรณ์ตรวจภายในร่างกาย ที่สามารถสอดเข้าไปยังจุดที่ต้องการ และส่งสัญญาณภาพออกมา เพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัย

11 ประโยชน์ของเส้นใยแก้วนำแสง
ใช้ทำสายสัญญาณของโทรศัพท์ อินเตอร์เนต โทรทัศน์ เวลาใช้งานจะนำมารวมกันหลาย ๆ เส้นใย เรียกว่า สายเคเบิล

12 ข้อดีของการใช้ใยแก้วนำแสง
1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก 2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ 3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น 4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา

13 สมบัติของแสง 1.3 การแทรกสอด (interference)
เกิดขึ้นได้เมื่อคลื่นแสงสองชุดเป็นแสงเอกพันธ์ (coherent light) คือ เป็นแสงที่มีความถี่เท่ากัน และมีผลต่างเฟส ณ เวลาใดๆ เป็นค่าคงตัว ถ้าคลื่นแสงทั้งสองชุด ไม่เป็นแสงเอกพันธ์ เมื่อมาซ้อนทับกัน พบว่า คลื่นลัพธ์จะไม่เป็นคลื่นสถิต แต่จะเป็นคลื่นเคลื่อนที่ (travelling waves) ทำให้ไม่เกิดการแทรกสอด

14 สมบัติของแสง 1.3 การแทรกสอด (interference)

15 สมบัติของแสง 1.4 การเลี้ยวเบน (Diffraction)
แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แต่ถ้าถูกกีดขวางด้วยวัตถุ หรือช่องแคบเล็ก ๆ แสงจะเกิดการเลี้ยวเบนขึ้นได้ ผลของการเลี้ยวเบนจะปรากฏเป็นริ้วของการเลี้ยวเบนขึ้นบนฉาก ซึ่งมีทั้งแถบสว่างและแถบมืดคล้าย ๆ กับ ริ้วการแทรกสอด

16 สมบัติของแสง 1.4 การเลี้ยวเบน (Diffraction)

17 โพลาไรเซชั่น (polarization)
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเกี่ยวกับแสงบางอย่างที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งตรงกันข้ามกับการเห็นรุ้ง พระอาทิตย์หรือพระจันทร์ทรงกลด ภาพลวงตา หรือสีของท้องฟ้า แสงที่มองไม่เห็นนี้ เรียกว่า แสงโพลาไรซ์

18 โพลาไรเซชั่น (polarization)
แสงไม่โพลาไรส์ผ่านแผ่นโพลารอยด์จะได้แสงโพลาไรส์ แสงไม่โพลาไรส์ไม่สามารถผ่านแผ่นโพลารอยด์สองแผ่นที่มีทิศของโพราไรส์ตั้งฉากกัน

19 ประโยชน์ของแสงโพลาไรซ์
แผ่นโพลารอยด์มีสมบัติที่ยอมให้แสงธรรมดาที่มีระนาบขนานกับแกนของแผ่นโพลารอยด์ผ่านไปได้ โดยดูดกลืนแสงที่มีระนาบตั้งฉากกับแกนไว้ แสงที่ผ่านแผ่นโพลารอยด์จึงมีความสว่างหรือความเข้มของแสงลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง - ใช้กรองแสง - ใช้ทำแว่นตากันแดด - ใช้ทำแผ่นกรองแสง - เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องโพลาริมิเตอร์(polarimeter)

20 ประโยชน์ของแสงโพลาไรซ์
เสารับสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุ ตัวเลขดิจิทัลของนาฬิกาข้อมือ จอแบนชนิดผลึกเหลว (Liquid Crystal Display) หรือเรียกย่อๆ ว่า LCD การตรวจสอบความหนา ชนิดของวัสดุ และ ความเสียหายที่เกิดบนชิ้นงาน อย่างพลาสติก และ แก้ว

21 สเปกตรัมของแสง - แสงมีสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง - แสงเดินทางด้วยอัตราเร็วคงที่ ประมาณ 3108 เมตรต่อวินาที - แหล่งกำเนิดของแสงก็คือดวงอาทิตย์ แสงอาทิตย์เป็นแสงขาว เมื่อให้แสงส่องผ่านปริซึมจะเกิดการหักเห 2 ตอน คือหักเหภายใน และหักเห ออกนอกปริซึม

22 สเปกตรัมของแสง แสงส่วนที่หักเหออกจากปริซึมจะแยกออกเป็นแสงสีหลาย ๆ สี ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า การกระจายแสง เป็นแถบแสงสีต่อเนื่องกันทั้ง 7 สี เส้นแสงสี แต่ละแสงสีจะอยู่ห่างกัน

23 การผสมแสงสี แสงสีปฐมภูมิ (Primary Color) เป็นแสงสีที่ไม่สามารถจะนำแสงสีอื่นใดมาผสมกันให้เหมือนได้ ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีน้ำเงิน และแสงสีเขียว แสงสีทุติยภูมิ (Secondary Color) เป็นแสงสีที่เกิดจากการนำเอาแสงสีปฐมภูมิมาผสมกัน ได้แก่ แสงสีเหลือง (แสงสีแดง+แสงสีน้ำเงิน) แสงสีแดงม่วงหรือแสงสีม่วง (แสงสีแดง+แสงสีน้ำเงิน) และแสงสีน้ำเงินเขียวหรือแสงสีฟ้า (แสงสีน้ำเงิน+แสงสีเขียว) แสงสีเติมเต็ม (Complementary Color) เป็นแสงสีที่คู่ใดผสมกันแล้วเป็นแสงขาว ได้แก่ แสงสีเหลือง+แสงสีน้ำเงินได้แสงสีขาว แสงสีน้ำเงินเขียว+แสงสีแดงได้แสงสีขาว แสงสีแดงม่วง+แสงสีเขียวได้แสงสีขาว แสงสีแดง+แสงสีเขียว+แสงสีน้ำเงินได้แสงสีขาว

24 สีของวัตถุ การที่เรามองเห็นวัตถุได้เนื่องจากมีแสงเดินทางจากวัตถุนั้นเข้าตาเรา วัตถุที่มีผิวเป็นสีใด ๆ ก็จะมีสมบัติในการสะท้อนแสงสีนั้นได้ดี จึงทำให้เราเห็นสีของวัตถุได้ การเห็นสีของวัตถุขึ้นอยู่กับสิ่งดังต่อไปนี้ คือ - แสงสีที่มาตกกระทบกับวัตถุและสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตา - ตัวสีของวัตถุที่ดูดกลืนแสงสี -นัยน์ตาที่ปกติ

25 สีที่สังเกตเห็นในแสงสี
การเห็นแสงสีของวัตถุเมื่อฉายแสงสีอื่นๆ ไปยังวัตถุ สีของวัตถุ ในแสงขาว สีที่สังเกตเห็นในแสงสี แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง ขาว ดำ ส้ม แดงทึบ เขียวทึบ เขียวเหลือง แดงม่วง ม่วง

26 ปรากฏการณ์ธรรมชาติของแสง
รุ้งกินน้ำ (Rainbow) เกิดจากการกระจายของแสงเมื่อผ่านหยดน้ำมักเกิดหลังฝนตก เมื่อมีแสงอาทิตย์ฉายมาทางด้านหลังของผู้สังเกต เมื่อรังสีจากแสงอาทิตย์ผ่านเข้าไปในหยดน้ำฝนจะเกิดการหักเห สะท้อนที่ผิวหลังแล้วหักเหอีกครั้งก่อนออกสู่อากาศ การกระจายแสงสีต่าง ๆ จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการหักเห รุ้งปฐมภูมิ สีแดงอยู่ด้านนอก ด้านในเป็นแสงสีม่วง ระหว่างแสงสีทั้งสองเป็นแสงสีต่าง ๆ ในสเปกตรัม คือ สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีคราม

27 รุ้งกินน้ำ (Rainbow)

28 ภาพลวงตา (Mirage) เป็นปรากฏการณ์หักเหของแสงผ่านชั้นบรรยากาศที่มีความหนาแน่นต่างกัน 1) แบบซูพีเรียร์ (Superior) จะเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศที่อยู่ใกล้ผิวโลกเย็นกว่า ยิ่งสูงขึ้นไปอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ภาพมิราจแบบนี้จะเหมือนวัตถุแต่อยู่สูงกว่าตำแหน่งของวัตถุจริง มักจะเกิดในฤดูหนาว มิราจแบบนี้ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นUFOได้ง่าย อาจเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Looming

29 ภาพลวงตา (Mirage) ภาพลวงตา (Mirage)
เป็นปรากฏการณ์หักเหของแสงผ่านชั้นบรรยากาศที่มีความหนาแน่นต่างกัน 2) แบบอินพีเรียร์ (Inferior) เกิดขึ้นเมื่ออากาศที่อยู่ใกล้ผิวโลกร้อนกว่าบรรยากาศที่อยู่สูงขึ้นไป ภาพที่เกิดจากมิราจแบบนี้อยู่ต่ำกว่าตำแหน่งของวัตถุจริงและบนผิวที่เกิดภาพจะเห็นคล้ายผิวน้ำ มักจะพบมากบริเวณทะเลทราย

30 ภาพลวงตา (Mirage) ภาพลวงตา (Mirage)
เป็นปรากฏการณ์หักเหของแสงผ่านชั้นบรรยากาศที่มีความหนาแน่นต่างกัน การเกิดถาพลวงตาแบบซูพีเรียร์ การเกิดถาพลวงตาแบบอินพีเรียร์

31 สีของท้องฟ้า เป็นปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องมาตกกระทบอนุภาคในอากาศ ทำให้แสงมีการสะท้อนออกไปทุกทิศทาง กระจัดกระจายไปรอบ ๆ อนุภาคนั้น เรียกว่า “การกระเจิงของแสง” การกระเจิงของแสงเมื่อผ่านหมอกควัน หลักการกระเจิงของแสง

32 สีของท้องฟ้า สีน้ำเงินและสีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นจะกระเจิงได้มากกว่าแสงสีแดงและสีอื่น ๆ ซึ่งมีความยาวคลื่นยาวกว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งเป็นทฤษฎีของแสงไว้ว่า ’’แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นเมื่อมากระทบกับอนุภาคขนาดเล็กในชั้นบรรยากาศจะเกิดการกระเจิงได้มากกว่าแสงสีที่มีความยาวคลื่นยาวมากกว่า“ ในชั้นบรรยากาศเป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีอนุภาคใด ๆ อยู่เลยจึงไม่มีอนุภาคที่ทำให้เกิดการกระเจิงของแสงมายังตาเรา ดังนั้นนักบินที่อยู่ในยานอวกาศจึงมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีดำ

33 กันงมงายในสมัยโบราณกาล
พระอาทิตย์ทรงกลด หลักการเกิดพระอาทิตย์ทรงกลด พระอาทิตย์ทรงกลด ในทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า คอโรนา (Coronas) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการเชื่อถือผีสางและโชคลางต่าง ๆ กันงมงายในสมัยโบราณกาล

34 คำถาม 1. จงอธิบายหลักการสะท้อนกลับหมด
1. จงอธิบายหลักการสะท้อนกลับหมด 2. ค่าดัชนีหักเหของสารใด ๆ จะเป็นตัวบอกสมบัติใดของสารนั้น 3. แผ่นโพลารอยด์คืออะไร มีสมบัติอย่างไร 4. แสงสีปฐมภูมิหมายถึงอะไร ได้แก่อะไรบ้าง 5. การที่เรามองเห็นสีของวัตถุโปร่งใสเกิดจากอะไร 6. การที่เรามองเห็นสีของวัตถุทึบแสงเกิดจากอะไร 7. ถ้าวางดอกกุหลาบสีแดงบนผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเราจะมองเห็นดอกกุหลาบเป็นสีอะไร เพราะเหตุใด 8. โพลาไรเซชั่นคืออะไร 9. จงยกตัวอย่างปรากฏการณ์ การแทรกสอดของแสง 10. การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีขาวเพราะอะไร


ดาวน์โหลด ppt แสงสีและทัศนูปกรณ์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google