พืชตระกูลหญ้าและพืชที่มีลักษณะคล้ายหญ้า 3. สัณฐานวิทยาของพืชตระกูลหญ้าและตระกูลถั่ว พืชตระกูลหญ้าและพืชที่มีลักษณะคล้ายหญ้า Gramineae (หรือ Poaceae) มีข้อและปล้อง ลำต้นกลวง Cyperaceae เป็นตระกูลพวกกกหรือผือ ลำต้นเป็นแบบสามเหลี่ยม ไม่มีข้อหรือปล้อง ลำต้นตัน Juncaceae ลำต้นกลม ตัน ไม่มีข้อและปล้อง
Gramineae
Cyperaceae ลำต้นเป็นแบบ
Juncaceae ลำต้น
Family Gramineae (Poaceae) หญ้าเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocotyledon) อายุฤดูเดียว (annual) และหลายปี (perennial) หญ้าตีนตุ๊กแก หญ้ารูซี่ หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าขน และหญ้าเนเปียร์ เป็นต้น
ราก (Roots) ระบบรากแบบรากฝอย (fibrous root system) ใบ (Leaves) ใบมีส่วนประกอบ คือ กาบใบ (leaf-sheath), ตัวใบ (leaf-blade) และส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกาบใบและตัวใบที่ส่วนในเรียกว่า ligule (ลิ้นใบหรือเยื่อกั้นน้ำ) ด้านนอกเรียกว่า leaf collar ด้านข้าง 2 ด้าน มีระยางยื่นออกเรียกว่า หูใบ หรือ auricles
ลำต้น (Stems) ลำต้นของหญ้าแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ Culm คือลำต้นหลักของหญ้า มีหลายแบบ คือ - แบบตั้งตรง (erect) - แบบมีข้อโค้งงอ (geniculate and ascending) - แบบลำต้นส่วนล่างเลื้อยบนผิวดินยอดตั้งขึ้น (decumbent) - แบบลำต้นแผ่ราบบนผิวดิน (prostrate/procumbent) Rhizome คือลำต้นใต้ดิน Stolon คือลำต้นเลื้อยบนผิวดิน
ส่วนของดอก (The flowering parts) ช่อดอก (Inflorescence) มี 3 แบบ - Panicle เช่นกินนี - Spike เช่น เนเปียร์ - Raceme เช่น รูซี่
เมล็ดหญ้า (seed) ผล (fruit) ของหญ้าคือ (seed) ประกอบด้วย - endosperm - embryo
Family Leguminosae หรือ Fabaceae -เช่นถั่วเวอราโน (ฮามาต้า), ถั่วท่าพระสไตโล ถั่วเซนโตร และถั่วคาวาลเคด 1) ราก (Roots) เป็นระบบรากแก้ว (tap root system) มีปมราก (nodules), Rhizobium spp. symbiosis
2) ลำต้น (Stems) - ลำต้นตั้งตรง(erect) - เป็นแบบทรงพุ่ม (semi-erect) - ลำต้นตั้งและแผ่ออกทางด้านข้าง (postrate) - ลำต้นแบบเถาเลื้อยและเลื้อยพัน (climbing and twining) - บางชนิดมีลำต้นแบบ stolons และ rhizomes 3) ใบ (Leaves) ส่วนใหญ่เป็นแบบ Trifoliate leaf
4) ดอก (The flowering parts) ช่อดอก (Inflorescences) แบ่งเป็น 3 ประเภท 1) raceme เช่น ถั่วซีราโตร 2) spike เช่น จามจุรี 3) head เช่น กระถิน, ไมยราบ
ลำต้นแบบทรงพุ่ม (semi-erect)
ลำต้นตั้งและแผ่ออกทางด้านข้าง (postrate)
ลำต้นแบบเถาเลื้อย (climbing and twining)
ใบแบบ Trifoliate leaf
ใช้ลักษณะของดอกเป็นตัวชี้ แบ่งพืชตระกูลถั่วเป็น 3 Sub-family คือ Sub-family Mimosaceae เมื่อผ่าดอกตามยาวซีกทั้ง 2 ข้างจะเหมือนกัน ดอกรวมกันเป็นกลุ่มรูปร่างกลม เรียกว่า head หรือ spike เช่น ดอกไมยราบ กระถิน มะขามเทศ และก้ามปู เป็นต้น Sub-family Ceasalpiniaceae เมื่อผ่าครึ่ง 2 ข้างจะไม่เหมือนกัน เช่น ขี้เหล็ก และคูณ เป็นต้น Sub-family Papilionaceae เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายผีเสื้อ เช่น แค, ถั่วฮามาต้า
Sub-family Mimosaceae เมื่อผ่าครึ่งดอก 2 ข้างจะเหมือนกัน
Sub-fam Ceasalpiniaceae เมื่อผ่าครึ่งดอก 2 ข้างจะไม่เหมือนกัน
Sub-family Papilionaceae เมื่อบานจะคล้ายผีเสื้อ
ดอกถั่วพืชอาหารสัตว์ ประกอบด้วยส่วน ต่าง ๆ คือ Calyx มีกลีบเลี้ยง (sepals) 5 กลีบ Corolla มีกลีบดอก 5 กลีบ (petals) กลีบดอกของ Sub-family Papilionaceae ประกอบด้วย Standard 1 อัน, Wing 2 อัน และ Keel 2 อัน
ผล หรือ ฝัก (Fruit) เมื่อดอกบานและผสมเกสร รังไข่จะพัฒนาไปเป็น ผล (fruit) หรือฝัก (pod) เมล็ด (Seed) เมล็ดถั่วไม่มี endosperm อาหารจะสะสมในใบเลี้ยง (cotyledons)เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของคัพภะ (embryo),ใบเลี้ยงถูกหุ้มด้วยเปลือกหุ้มเมล็ด (testa หรือ seed coat) ที่หนา, มีรอย hilum ซึ่งเป็นส่วนที่ติดกับฝัก, ถัด hilum ลงมามีรู micropyle เกิดจาก pollen tube แทงเข้าไปผสมกับไข่