พลาสติกกับการใช้งานบรรจุภัณฑ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
beauty shoes รองเท้าแตะ รองเท้าส้นสูง รองเท้าส้นเตี้ย รองเท้าบู๊ท
Advertisements

การยืดอายุการเก็บรักษามังคุดด้วยถุง LLDPE (Linear low density polyethylene) โดย นางสาวนิลวรรณ ลีอังกูรเสถียร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต
ภาษาคอมพิวเตอร์ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับคำศัพท์ ไวยากรณ์ และ หลักภาษาในการเขียนคำสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับเราได้ มีหลากหลายชนิดต่างๆ กัน.
PE Bag – large size (ถุงพลาสติกใหญ่ PE)
ความรู้เรื่องพลาสติกชนิดต่างๆ
Polymer พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
Eco VS Econ Bioplastics
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ถังบรรจุน้ำเย็น การใช้งานของผลิตภัณฑ์ วัสดุ เทคโนโลยีการขึ้นรูป
สมบัติพื้นฐานและการเลือกใช้ประโยชน์ของเทอร์โมพลาสติก
ถาดรองขนมโมจิ-บรรจุภัณฑ์
ตัวชี้วัดที่ 11. ระดับความสำเร็จของ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ (PMQA) หมวด 7 RM 6.
Part II: Classification of polymer
การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างการสอนแบบร่วมมือ กับแบบทดลอง เรื่อง การทำงานของ หม้อแปลงไฟฟ้า รายวิชา หม้อ แปลงไฟฟ้า นักเรียนระดับปวช. 1 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง.
ผังการบริหารจัดการน้ำ
PITH ANALYSIS THAILAND PLASTICS ANALYSIS REPORT
วิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ.ชนกนันท์ บางเลี้ยง
หน่วยที่ 3 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
การสูญเสียน้ำ.
การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ โดย ดนัย บุณยเกียรติ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
การส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ ผู้อำนวยการส่วนปลูกป่าภาคเอกชน
วิธีปฏิบัติทางบัญชี 1. การรับบริจาคเงินสด
แนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงาน
พอลิเมอร์ (Polymer).
เสนอ อาจารย์ สุพิน ดิษฐสกุล
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 เห็นชอบให้สำนักงาน กพร
เครือข่ายบริการ Referral system High level Mid level First level รพศ.
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
Teaching Learning Community. Teaching Learning Community.
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน (Elasticity of Demand and Supply) ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์ SSC 281 เศรษฐศาสตร์ (Economics)
การพิจารณากลุ่มเลข และเอกสาร หลักฐานที่ใช้ประกอบการ ลงทะเบียนในกองทุน
แผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
นำแผนพัฒนากำลังคนรายจังหวัด มาทบทวน
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
แนวทางการปฏิบัติงานสอบบัญชี ปี 2561
การกำหนดและการใช้คุณลักษณะเฉพาะสิ่งอุปกรณ์ หลักสูตร นายทหารฝ่ายการส่งกำลังบำรุง (ฝอ.๔) ณ รร.กบ.ทบ. ๕ มิ.ย. ๖๐.
การประเมินส่วนราชการ
โรงพยาบาลวังน้ำเย็น ประชากรรวม ๖๔,๓๘๐ คน UC ๔๗,๘๕๘ คน.
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม,การจัดงาน
จรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์.
ทบทวน พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ส่งสัญญาณเตือนระยะต้น
ส่งสัญญาณเตือนระยะต้น
HAND BAG 1 HM-01034B 42x31x16 น้ำตาล HM x36x6 แทน HL-01043B
พอลิเมอร์ (Polymer) พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
ระบบจำนวนจริง ข้อสอบ O-net
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 28 ธันวาคม 2560
วันที่ 29 สิงหาคม 2562 นายบรรเจิด เดชาศิลปชัยกุล เภสัชกรเชี่ยวชาญ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในการเขียน แบบ ก.พ.อ 03 ปรับปรุง / 2
ส่งสัญญาณเตือนระยะต้น
ส่งสัญญาณเตือนระยะต้น
ตัวอย่างที่ 2.11 วิธีทำ.
บทที่ 2 การเริ่มต้นกิจการใหม่และการซื้อกิจการ
เทคนิคการตรวจสอบกิจการ
ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะต่อการ พัฒนาตัวชี้วัด
ผังทางเดินเอกสาร – ระบบส่งคืนสินค้า
อภิญญา เวชยชัย ประธานคณะกรรมการติดตามและประเมินผล
บทที่ 10 รายงานการเงินสำหรับกิจการที่ไม่หวังผลกำไร
Polymer พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
การส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน
พอลิเมอร์ (Polymer) โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
อันตราย! อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจ “โฟม”
Credit Management ผศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
ส่งสัญญาณเตือนระยะต้น
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พลาสติกกับการใช้งานบรรจุภัณฑ์

พลาสติก โพลิเมอร์ ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นสารอินทรีย์และมีน้ำหนักโมเลกุลสูง คำว่า โพลิเมอร์ มาจากรากศัพท์กรีก 2 คำได้แก่ poly ซึ่งแปลว่า หลายๆกับคำว่า meros แปลว่าส่วน ดังนั้นโพลิเมอร์จึงหมายถึง วัสดุที่มีโมเลกุลใหญ่ เกิดจากปฏิกริยา โพลิเมอร์ไรเซชั่น ซึ่งเป็นการรวมหน่วยเล็กๆที่เรียกว่าโพลิเมอร์เข้าด้วยกัน โดยอาจเชื่อมติดกันเป็นโซ่ยาว โพลิเมอร์นี้ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็นโฮโมโพลิเมอร์และโคโพลิเมอร์ หากใช้โมโนเมอร์ชนิดเดียวล้วนๆจะเป็น โฮโมโพลิเมอร์ หากใช้โมโนเมอร์มากกว่า 1 ชนิด มาทำปฏิกิริยากันจะได้ โคโพลิเมอร์ ตัวอย่างเช่น หากนำเอาไวนิลอะซิเทต มารวมกับ เอทิลีน จะได้ เอทิลีน/ไวนิลอะซิเทต ที่มีชื่อย่อว่า EVA จะมีคุณสมบัติปิดผนึกด้วยความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่าโฮโมโพลิเอทิลีน ทนต่อแรงกระแทกได้มากขึ้น และการพิมพ์จะติดแน่นได้ดีขึ้น

องค์ประกอบกับคุณสมบัติของพลาสติก 1 โครงสร้างทางเคมี 2 รูปร่างโมเลกุล 3 ความเป็นผลึกของพลาสติก มักกำหนดเป็นค่าความหนาแน่น 4 ขนาดหรือน้ำหนักของโมเลกุล ไหล ถ้าดัชนีการไหลของเม็ดพลาสติกมีค่าต่ำย่อมแสดงว่า พลาสติกดังกล่าวมีขนาดของโมเลกุลใหญ่ ทำให้สามารถทนแรงกระแทกและสภาวะแวดล้อมได้ดี และป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำและก๊าซได้ดีด้วย แต่สามารถถขึ้นรูปในการผลิตได้ยาก

ประเภทของพลาสติก 1. เทอร์โมพลาสติก( Thermoplastics) เป็นพลาสติกซึ่งอ่อนตัวได้เมื่อรับความร้อนและกลับตัวเป็นสภาพเดิมได้ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 2. เทอร์โมพลาสติก( Thermosetting plastics) เป็นพลาสติกซึ่งเมื่อขึ้นรูปโดยการใช้ความร้อน และความดันแล้วจะไม่อ่อนตัวลงอีก ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้

ชื่อ และชนิดของพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ 1. โพลิเอทิลีน ( Polyethylene – PE ) เป็นพลาสติกที่มีการใช้มากที่สุด และในขอบเขตที่กว้างขวาง ทั้งยังมีราคาถูกเพราะพลาสติกชนิดนี้มีจุดหลอมเหลวต่ำเมื่อเทียบกับพลาสติกชนิดอื่นๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ พลาสติกชนิดนี้ผลิตจากก๊าซเอธิลิน ภายใต้ความกดดันและอุณหภูมิสูง ในสภาวะปราศจากตัวเร่งปฏิกริยาโลหะ การจับตัวของรูปร่างดมเลกุล มีลักษณะโซ่สั้นและโซ่ยาว ทำให้พลาสติกมีความหนาแน่นแตกต่างกัน 3 ประเภทใหญ่ๆ 1.1 โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ ( Low density polyethylene -LDPE) มีความหนาแน่นประมาณ 0.910-0.925 กรัม ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร ป้องกันความชื้นได้ดี ราคาถูก หาได้ง่าย มีความใส ดูดซึมน้ำต่ำ ป้องกันการซึมผ่านก๊าซและน้ำมันได้ต่ำ ใช้กับอุณหภูมิไม่สูงนัก นิยมใช้ทำถุงเย็น 1.2 โพลิเอทิลีนความหนาแน่นปานกลาง ( Medium density polyethylene -MDPE) มีความหนาประมาณ 0.926-0.940 กรัม ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร มีคุณสมบัติกึ่งกลางระหว่างโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ และโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง 1.3 โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ( High density polyethylene -HDPE) มีมีความหนาแน่นประมาณ 0.941-0.965 กรัม ต่อ ลูกบาศก์เซนติเมตร มีความใสน้อยกว่า LDPE ถ้าทำเป็นถุงจะเป็นถุงร้อนที่มีสีขาวขุ่น ทนต่อความร้อนได้ดีประมาณ 120 องศาเซลเซียส ป้องกันการซึมผ่านของความชื้น ก๊าซ และน้ำมันดีกว่า PE แบบอื่นๆ ดูดซึมน้ำต่ำมาก มีความเหนียวสู. มีความปลอดภัยใช้กับอาหารและยาได้ ราคาถูกหาได้ง่าย 1 ใน 5 ของพลาสติก PE จะเป็นพลาสติกชนิดนี้ พลาสติกชนิดนี้จะเป่าเป็นขวดเพราะความหนาแน่นสูง มีความเหนียวและทนต่อการซึมผ่านความชื้นได้ดีกว่า PE ชนิดอื่นๆ แต่ยังไม่สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีนัก น้ำหนักน้อยลงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับ LDPE พลาสติกโพลิเอทิลีนต่างๆไม่นิยมบรรจุอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนย ถั่วทอด ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น

2. โพลิโพรพิลีน ( Polypropylene – PP ) เป็นพลาสติกที่ป้องกันความชื้นได้ดีกว่า มีความใส มีความทนทานมากกว่าพลาสติกโพลิเอทิลีน แต่ก็มีราคาแพงกว่าพลาสติกโพลิเอทิลีนด้วย มีจุดหลอมเหลวสูง สามารถทำบรรจุภัณฑ์อาหารร้อนได้ เป็นถุงร้อนที่มีลักษณะเป็นถุงใส เนื่องจากช่วงอุณหภูมิในการหลอมตัวมีช่วงอุณหภูมิสั้นทำให้ พลาสติกชนิดนี้เชื่อมติดได้ยาก การป้องกันการซึมผ่านของอากาศยังไม่ดีนัก ทนต่อสารเคมี การใช้งานของพลาสติกชนิดนี้สามารถใช้บรรจุอาหารที่ต้องผ่านความร้อนในการฆ่าเชื้อได้ โพลิโพรพิลีนนั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัสดุที่ใช้ผลิตซองที่สามารถอาหารที่ต้องผ่านความร้อนในการฆ่าเชื้อ ที่เรียกว่าRetort pouch สามารถใช้แทนกระป๋องโลหะได้ รวมทั้งถุงบรรจุผัก ผลไม้ อาหารแห้ง อาหารและของขบเคี้ยว ที่มีไขมัน โดยมีอายุการเก็บรักษาไม่มากนัก เช่น คุกกี้ ถั่วทอด ฯลฯ ใช้ทำกล่อง ถาด ภาชนะที่สามารถเข้าเตาอบไมโครเวฟได้

3. โพลิไวนิลคลอไรด์ ( Polyvinylchloride – PVC ) เป็นพลาสติกที่สามารถแปรเปลี่ยนคุณสมบัติ โดยการเติมสารเคมีลงไป พลาสติกชนิดนี้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอื่นมากกว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เพราะเคยมีการรายงานว่ามีสารตกค้างของโพลิไวนิลคลอไรด์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งในตับได้ แม้ว่าปัจจุบันสามารถทำให้พลาสติกชนิดนี้มีความปลอดภัยโดยมีไวนิลคลอไรด์ตกค้างน้อยกว่า 1 ใน ล้านส่วนก็ตาม PVC นิยมใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ ปรเภทขวด ฟิล์ม แม้ว่าแผ่นฟิล์ม PVC จะผลิตยากกว่าฟิล์ม PE หรือ PP แต่ก็มีจุดเด่นที่กันกลิ่นและทนต่อน้ำมันได้ดี ใส แข็งแรงทนทานต่อการเสียดสี การซึมผ่านของความชื้นอยู่ในระดับปานกลาง อุณหภูมิที่ใช้ไม่ควรเกิน 90 องศาเซลเซียส PVC สามารถทำขวดได้ดี น้ำหนักเบา ตกไม่แตก สามารถทำขวดบรรจุน้ำมัน น้ำมันหล่อลื่น สามารถใช้ทำฟิล์มยืดสำหรับห่อเนื้อสด ผักและผลไม้สด อัตราการซึมผ่านของก๊าซและความชื้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสม นิยมใช้ทำถาดอาหารแห้ง เช่น คุกกี้ ขนมปังกรอบ ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ประเภทลิสเตอร์แพ็ค

4. โพลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต ( Polyethylene terephthalate – PET ) เป็นพลาสติก ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อทำบรรจุภํณฑ์น้ำอัดลม มีคุณสมบัติเด่น ในด้านความใสที่เป็นประกายแวววาว ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดี น้ำหนักเบา สามารถทนอุณหภูมิได้สูง สามารถทำเป็นถาดบรรจุอาหารในเตาไมรโครเวฟ ทนต่อแรงยืดและแรงกระแทกเสียดสีได้ดี ด้วยคุณสมบัติเด่นดังกล่าว ปัจจุบันขวด PET จึงเข้ามาแทนที่ขวดแก้วเพิ่มขึ้น เช่น ขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดบรรจุน้ำอัดลม ขวดบรรจุน้ำมันพืช เป็นต้น พลาสติก PET สามารถทำเป็นแผ่นฟิล์มเคลือบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับแผ่นฟิล์มอื่นๆ ทำเป็นซองบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีความไวต่อการซึมผ่านของก๊าซ เช่น ขนมขบคี้ยว เป็นต้น

5. โพลิสไตรีน ( Polystyrene – PS ) เป็นพลาสติกในกลุ่มสไตรีน มีลักษณะเด่นในด้านความใสแวววาว มีความเหนียวอยู่ในเกณฑ์ดี มีความทนทานต่อสารเคมีดี แต่ไม่ทนต่อสารระเหย ป้องกันการซึมน้ำได้ต่ำ ป้องกันการซึมผ่านของน้ำมันพืชได้ดี มีความคงรูป สามารถเข้าเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูง มีความต้านทานต่อรอยพับต่ำ ในภาวะปกติของพลาสติกโพลิสไตรีนจะเปราะ แตกง่าย พลาสติกชนิดนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ ชนิดธรรมดาที่ใช้งานทั่วๆไป เรียกว่า General purpose polystyrene หรือ GPPS และชนิดที่ทนการกระแทกได้สูง ซึ่งเรียกว่า High impact polystyrene หรือ HIPS การใช้งานของพลาสติกชนิดนี้ มักใช้ทำ ถ้วย แก้ว ถาด ภาชนะที่ใช้งานชั่วคราว ราคาถูก ทำถาดหลุมสำหรับรองรับ ขนมปัง คุกกี้ ช็อคโกแลต ก่อนบรรจุลงกล่องบรรจุภัณฑ์อีกทีหนึ่ง ในกรณีที่เป็นแผ่นฟิล์มนิยม ห่อ ผัก ผลไม้สด และดอกไม้สด เพราะความใสและยอมให้ก๊าซซึมผ่านได้ง่าย นอกจากนี้ยังนิยมใช้กับช่องเปิด/ หน้าต่างของบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เห็นสินค้า เป็นต้น

รูปแบบและการใช้งานของพลาสติก 1. ฟิล์มพลาสติก หมายถึง วัสดุอ่อนตัวพับได้ที่ทำด้วยพลาสติก ซึ่งอาจเป็นพลาสติกชนิดเดียว หรือ หลายชนิดจากการประกบ หรือ การรีดร่วม หรือ การเคลือบ ซึ่งฟิล์มพลาสติกอาจปรากฏในรูปของถุงพลาสติก ( Bag and pouch ) และการห่อ ( Wrapping) เป็นต้น 1.1 ถุงพลาสติก ในบรรดาบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากฟิล์มพลาสติก ถุงเป็นรูปแบบที่นับว่ามีการใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด สำหรับถุงพลาสติกนั้นยังสามารถจำแนกได้หลายอย่างเช่น ถุงที่มีการปิดผนึกที่ด้านปลาย ( Bag ) ถุงที่ปิดผนึกทั้งสี่ด้าน ( Pouch ) ถุงที่มีขนาดใหญ่ ( Sack ) เป็นต้น วัสดุที่ใช้ทำถุงพลาสติก อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆได้แก่ 1. ฟิล์มพลาสติกเดี่ยว มักใช้ทำถุงอเนกประสงค์ทั่วไป เช่น ถุงเย็น ที่ทำจากฟิล์ม LDPE ถุงร้อน ทำจากฟิล์มพลาสติก PP นอกจากนี้ยังใช้เป็นถุงชั้นในของกล่องกระดาษแข็งบรรจุอาหารสำเร็จรูป ฯลฯ โดยถุง LDPE และ LLDPE เหมาะกับการบรรจุของเย็น อาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง บรรจุเนื้อสด ถุง PP สามารถบรรจุอาหารร้อน อาหารแห้ง และถุง PS เหมาะกับการบรรจุไม้ตัดดอก เป็นต้น 2. ฟิล์มพลาสติกประกบ เป็นฟิล์มพลาสติกต่างชนิดกันที่ประกบเข้าด้วยกันกับวัสดุอื่น เช่น กระดาษ แผ่นอลูมิเนียม โดยโครงสร้างของฟิล์มประกอบด้วยวัสดุตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป การใช้ถุงพลาสติกประเภทนี้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ต่างชนิดกันอาทิเช่น กระดาษเคลือบไขและแผ่นอลูมิเนียม เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์เนย แผ่นฟิล์มกระดาษ- LDPE-Al-LDPE เหมาะกับอาหารแห้ง และเครื่องดื่มผงสำเร็จรูป แผ่นฟิล์มกระดาษแก้ว-LDPE- Al- LDPE เหมาะกับผลิตภัณฑ์ยา ยาสูบ และอาหารว่าง แผ่นฟิล์ม PET-Al-PP เหมาะกับอาหารที่ต้องฆ่าเชื้อด้วยความร้อน แผ่นฟิล์ม PET-LDPE-Al-EVA เหมาะกับอาหารเหลว แผ่นฟิล์ม PET-HDPE , PA-HDPE , PA-PP เหมาะกับอาหารที่ต้มได้ในน้ำเดือด แผ่นฟิล์ม PP-LDPE เหมาะกับบะหมี่สำเร็จรูป / ขนมขบเคี้ยว แผ่นฟิล์ม PP-LDPE เหมาะกับอาหารแช่แข็ง เป็นต้น 3. ฟิล์มพลาสติกรีดร่วม เป็นฟิล์มหลายชั้นซึ่งประกอบด้วยพลาสติกชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดก็ได้ มีทั้งโครงสร้าง 2 ชั้น 3 ชั้น และ 5 ชั้น ตัวอย่างเช่น LDPE/ LDPE เหมาะสมสำหรับบรรจุนมสดพาสเจอร์ไรซ์ LDPE/HDPE/LDPE เหมาะสมกับ คอร์นเฟลก อาหารแป้งปรุงรส LDPE/ EVA/ PP เหมาะสมกับขนมปัง อาหารแป้งปรุงรส MDPE/ HV/ PA/ HV/ ไอโอโนเมอร์ เหมาะกับอาหารที่มีไขมันสูง ไส้กรอก แฮม และเนย LDPE/ HV/EVOH/ LDPE เหมาะกับน้ำผลไม้ และ ไวน์ เป็นต้น

2. ภาชนะพลาสติก เกิดจากการนำพลาสติกมาขึ้นรูปเป็นรูปทรง 3 มิติในลักษระ บรรจุภัณฑ์คงรูป อาทิเช่นขวด ถาด ถ้วย กระป๋อง กล่อง บรรจุภัณฑ์ขึ้นรูปแบบบริสเตอร์แพค และภาชนะโฟม เป็นต้น ด้วยความหลากหลายมากมายของรูปทรง ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงรายละเอียดพอสังเขปเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายมากที่สุด ได้แก่ ขวด ถ้วย และถาดพลาสติก เป็นต้น 2.1 ขวดพลาสติก ในบรรดารูปแบบประเภทภาชนะพลาสติก ขวดพลาสติกเป็นรูปแบบที่นับว่ามีการใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด ขวดพลาสติกทำจากวัสดุพลาสติกหลายประเภทอาทิเช่น HDPE LDPE PVC PP PS PC และ PET ขวดพลาสติกสามารถขึ้นรูปได้ทั้งการฉีดและการเป่า มีน้ำหนักเบา สามารถออกแบบให้เกิดรูปทรงได้หลากหลาย ขวดพลาสติกที่ขึ้นรูปจากวัสดุที่แตกต่างกันย่อมเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นการเลือกใช้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ดังเช่น ขวด PET มีความเหมาะสมกับการใช้บรรจุน้ำอัดลม น้ำมันพืช น้ำดื่ม น้ำปลา และยังสามารถบรรจุ น้ำมันและเบียร์ ได้ด้วย ในขณะที่หากใช้ขวดสำหรับการบรรจุน้ำตาลทราย ควรใช้ขวดที่ผลิตจากPE และ PS ก็เพียงพอ ดูรายละเอียดได้จากตารางที่ 5.5 จากการใช้วัสดุที่แตกต่างจึงมีผลทำให้ลักษณะของขวดมีความแตกต่างกัน อาทิเช่น ขวด PET PS PC และ PVC จะมีความใส ในขณะที่ ขวด PE จะมีลักษณะที่ขุ่นกว่า ในขณะที่ขวด PET PVC และ PVDC จะมีการซึมผ่านของออกซิเจนน้อยกว่า ขวด PS และPE ที่ยอมให้มีการซึมผ่านของออกซิเจนได้มาก จึงควรหลีกเลี่ยงการนำมาใช้ในการบรรจุอาหารเพราะจะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารสูญเสียรสชาด และ คุณภาพอาหารได้ เป็นต้น

สัญลักษณ์ที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์พลาสติก หมายเลข 1. หมายถึง พลาสติก PET หรือ PETE หมายเลข 2. หมายถึง พลาสติก HDPE หรือ PE-HD หมายเลข 3. หมายถึง พลาสติก PVC หมายเลข 4. หมายถึง พลาสติก LDPE หรือ PE-LD หมายเลข 5. หมายถึง พลาสติก PP หมายเลข 6. หมายถึง พลาสติก PS หมายเลข 7. หมายถึง พลาสติกอื่นๆ การใช้พลาสติกหลายชั้น ถ้าส่วนผสมหลักเป็นพลาสติกที่สามารถนำไปย่อยสลายได้โดยไม่ต้องแยกชั้นให้ใส่ หมายเลขพลาสติกหลักนั้นๆ ตัวอย่างเช่น พลาสติกที่มีโครงสร้าง PP/ EVOH/PP โดยมี PP เป็นพลาสติกหลักอยู่ร้อยละ 95 จะใช้สัญลักษณ์ หมายเลข 5 ซึ่งหมายถึงพลาสติก PP แทนการใช้สัญลักษณ์ หมายเลข 7 เป็นต้น

การทดสอบชนิดของพลาสติก 1. การทดสอบชนิดของพลาสติกด้วยวิธีการลนไฟ เป็นเป็นการทดสอบที่ง่าย ไม่ต้องเตรียมสารเคมีหรือเครื่องมือที่สลับซับซ้อน สามารถทำการทดสอบได้ทุกสถานที่ เป็นวิธีการพื้นฐานที่นิยมนำมาใช้ โดยมีลำดับขั้นตอนเริ่มจาก การนำพลาสติกที่ต้องการทราบชนิดหรือประเภทของพลาสติกมาเผา หรือ ลนไฟ แล้วสังเกตสิ่งต่างๆ

1. สังเกตสีของเปลวไฟที่พลาสติกติดไฟ 2. ลักษณะการไหม้และการหลอมละลายของพลาสติก 3. ลักษณะของควัน และ สี 4. ลักษณะของกลิ่นหลังจากการเผาไหม้ 5. ลักษณะการไหม้เป็นไปอย่างไร ขณะที่กำลังเผาไหม้และเมื่อเปลวไฟดับแล้ว

2. การทดสอบชนิดของพลาสติกด้วยการหาความถ่วงจำเพาะ เป็นที่ทราบกันแล้วว่าวัสดุแต่ละชนิดจะมีความถ่วงจำเพาะที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งก็รวมถึงพลาสติกด้วยดังนั้นพลาสติกแต่ละชนิดจึงมีความแตกต่างกัน เช่นโพลีไวนิลคลอไรด์จะมีความหนาแน่นที่มากกว่า โพลีสไตรีน และโพลีโพรพิลีน ฯลฯ ลักษณะดังกล่าวย่อมส่งผลให้โพลีไวนิลคลอไรด์มีความถ่วงจำเพาะสูงกว่า โพลีสไตรีน และโพลีโพรพิลีนด้วย จากนั้นน้ำหนักที่วัดได้ มาหาความถ่วงจำเพาะจากสูตรดังต่อไปนี้ ความถ่วงจำเพาะ = ( 0.7917 )X น้ำหนักพลาสติกในอากาศ (น้ำหนักพลาสติกใน อากาศ- น้ำหนักพลาสติกในเมทิลแอลกอฮอล์ )

3. การทดสอบชนิดของพลาสติกในสารตัวทำละลาย เป็นที่ทราบกันดีว่าพลาสติกแต่ละชนิดมีโครงสร้างและองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทำให้พลาสติกดังกล่าวมีผลต่อสารหรือ ตัวทำละลายที่แตกต่างกันด้วย การทดสอบวิธีนี้จึงต้องเตรียมตัวทำละลายที่มีผลต่อพลาสติกแต่ละชนิด เริ่มจากการนำแผ่นพลาสติกที่ต้องการทดสอบมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆประมาณ 1X1X10 เซนติเมตร และนำชิ้นพลาสติกดังกล่าวมาแช่ในขวดโหลแก้วที่บรรจุสารตัวทำละลาย โดยให้ระดับสารหรือตัวทำละลายมีความสูงไม่น้อยกว่า 12 เซนติเมตร และสังเกตการละลายของพลาสติกแต่ละชนิด หากพลาสติกชนิดนั้นมีผลต่อสารตัวทำละลายดังกล่าวพลาสติกก็จะละลายในตัวทำละลายนั้นๆ หากพลาสติกไม่มีผลต่อสารตัวทำละลาย พลาสติกก็จะอยู่คงเดิม แล้วนำพลาสติกที่ทำการทดสอบมาเปรียบเทียบกับตารางที่ 5.11 แสดงชนิดพลาสติกที่ละลายในสารตัวทำละลาย ก็จะทราบว่าพลาสติกที่ทำการทดสอบเป็นพลาสติกชนิดใดบ้าง การทดสอบดังกล่าวนี้ควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยปกติแล้วสารตัวทำละลายส่วนใหญ่มักมีอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อควรคำนึงในการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เนื่องจากลักษณะที่โดดเด่นของพลาสติกมีหลายประการ รวมทั้งความหลากหลายชนิดของพลาสติก ดังนั้นจึงทำให้เกิดเป็นข้อได้เปรียบของวัสดุชนิดนี้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้วัสดุพลาสติกเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์อาหาร ต้องมีความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการบรรจุอาหารร้อน หรือ การบรรจุอาหารที่ต้องผ่านกระบวนการให้ความร้อนเพื่อการถนอมอาหาร หรือ ปรุงอาหารพร้อมบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจเกิดอันตรายจากการแพร่กระจายของสารต่างๆจากภาชนะบรรจุไปสู่อาหารได้มาก ดังนั้นการเลือกใช้ชนิดของพลาสติกให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ควรคำนึงถึงพลาสติกชนิดใดที่ไม่มีผลต่อการทำปฏิกิริยากับอาหาร ทนต่ออุณหภูมิได้ดี เหมาะกับการใช้งาน อาทิเช่น การนึ่ง การอบ หรือการอุ่นหรือปรุงอาหารในเตาอบไมโครเวฟ โดยปกติสารต่างๆจะแพร่กระจายลงสู่ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุได้ดีและรวดเร็วในอุณหภูมิที่สูง การทดลองง่ายๆหากนำอาหารดังกล่าวที่บรรจุพร้อมบรรจุภัณฑ์ไปอุ่น หรือทำให้สุกแล้ว ถ้าตัวบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวเกิดการอ่อนตัวหรือเสียรูปทรง หรือพลาสติกเกิดการหลอมตัว ควรหลีกเลี่ยงนำมาใช้บรรจุอาหารเพราะสารปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์อาจแพร่กระจายลงสู่อาหารเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ หากไม่แน่ใจก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องก่อนนำวัสดุวัสดุดังกล่าวมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม เวชภัณฑ์ต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพเป็นต้น