(Introduction to Soil Science) ปฐพีศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Soil Science) (361212) โดย ดร. นิวัติ อนงค์รักษ์
บทที่ 5 ดินกรด ดินด่าง และดินเกลือ (Acid Soils, Alkaline Soils and Salt Affected Soils)
ดินกรดและดินด่าง ดินกรด ดินด่าง และดินเกลือ คือดินที่มีปัญหาสมบัติทางเคมี เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นปัญหาต่อการเพาะปลูก ดังนั้น การศึกษาเพื่อหาสาเหตุของปัญหา หาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงดิน จะสามารถทำให้สมบัติทางเคมีของดินดีขึ้นและใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ดีขึ้น
1. มาตรา (scale) ของ pH 1) สมบัติของน้ำบริสุทธิ์ - การแตกตัวน้อยมาก ทุกๆ 107 โมเลกุลจะมีการแตกตัวเพียง 1 โมเลกุล - มี [H+] = [OH-] หรือเท่ากับ 10-7 2) มาตราพีเอช (pH scale) คือ มาตราที่บ่งบอกเป็นตัวเลขและตัวเลขนั้นสัมพันธ์กับความเข้มข้นของ H+ ในสารละลายดิน ซึ่งได้จากสูตร pH = - log [H+] - [H+] = [OH-] ความเข้มข้นเท่ากับ 10-7 โมลาร์ ปฏิกิริยาดินเป็นกลาง - [H+] > [OH-] ความเข้มข้นมากกว่า 10-7 โมลาร์ ปฏิกิริยาดินเป็นกรด - [H+] < [OH-] ความเข้มข้นน้อยกว่า 10-7 โมลาร์ ปฏิกิริยาดินเป็นด่าง
2. ปฏิกิริยาดิน (soil reaction) 1) ปฏิกิริยาดิน คือ ระดับขั้นของสภาพกรด หรือสภาพด่างของดิน ซึ่งแสดงด้วยค่า pH ของดิน 2) ข้อสังเกตในการบอกค่าปฏิกิริยาดิน - หากไม่ทราบค่า pH ที่แน่นอน อาจบอกเพียงว่าดินเป็นกรด หรือด่างปานกลาง ก็เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกัน - ถ้ามีค่า pH 6.1-6.5 เป็นดินกรดเล็กน้อย แทนที่จะเรียกว่าดินกรด อ่อน เพราะดินกรดอ่อนและดินกรดแก่ มีความหมายเฉพาะตัว - กรดอ่อน เมื่อละลายน้ำจะปลดปล่อย H+ ออกมาเพียง บางส่วน - กรดแก่ เมื่อละลายน้ำจะปลดปล่อย H+ ออกมาทั้งหมด
ความสัมพันธ์ระหว่าง [H+], pH, [OH-] และ Kw 100 0 10-14 10-14 10-1 1 10-13 10-14 10-2 2 10-12 10-14 10-3 3 10-11 10-14 10-4 4 10-10 10-14 10-5 5 10-9 10-14 10-6 6 10-8 10-14 10-7 7 10-7 10-14 10-8 8 10-6 10-14 10-9 9 10-5 10-14 10-10 10 10-4 10-14 10-11 11 10-3 10-14 10-12 12 10-2 10-14 10-13 13 10-1 10-14 10-14 14 100 10-14
ระดับของปฏิกิริยาดินซึ่งแสดงด้วยค่า pH ของดิน < 3.5 กรดรุนแรงมากที่สุด (ultra acid) 3.5-4.5 กรดรุนแรงมาก (extremely acid) 4.6-5.0 กรดจัดมาก (very strongly acid) 5.1-5.5 กรดจัด (strongly acid) 5.6-6.0 กรดปานกลาง (moderately acid) 6.1-6.5 กรดเล็กน้อย (slightly acid) 6.6-7.3 กลาง (neutral) 7.4-7.8 ด่างเล็กน้อย (slightly alkaline) 7.9-8.4 ด่างปานกลาง (moderately alkaline) 8.5-9.0 ด่างจัด (strongly alkaline) > 9.0 ด่างจัดมาก (very strongly alkaline)
3. การจำแนกสภาพกรดในดิน 1) การจำแนกตามการแตกตัวของ H+ - สภาพกรดจริง (active acidity) คือ ส่วนของ H+ ที่ถูกปลดปล่อย ออกมาอยู่ในสารละลายดิน แสดงความเป็นกรดที่แท้จริง เนื่องจาก pH แสดงถึงความเข้มข้นของกรดส่วนนี้เท่านั้น - สภาพกรดแฝง (potential acidity) คือ H+ แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable H+) ซึ่งดูดซับอยู่ที่ผิวคอลลอยด์ดิน และเมื่อ เกิดปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange reaction) จะออกมาสู่สารละลายดิน H+ คอลลอยด์ดิน H+ H+ (กรดจริง) (กรดแฝง) H+
2) การจำแนกสภาพกรดแบบใหม่ (พ. ศ. 2530) 2) การจำแนกสภาพกรดแบบใหม่ (พ.ศ.2530) - สภาพกรดที่ตกค้าง (residual acidity) คือ สภาพกรดในดินซึ่งถูก สะเทินได้ด้วยปูนหรือวัสดุที่เป็นด่าง แต่เกลือที่ไม่มีสมบัติบัฟเฟอร์ (unbuffered salt solution) ไม่อาจทำปฏิกิริยาแลกเปลี่ยน ไอออนได้ - สภาพกรดซึ่งถูกแทนที่ได้ด้วยเกลือ (salt- replaceable acidity) คือ อะลูมินัม และไฮโดรเจนซึ่งดูดซับที่ผิวคอลลอยด์ดิน และถูกแทนที่ได้ ด้วยเกลือที่ไม่มีสมบัติบัฟเฟอร์ เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ หรือ โซเดียมคลอไรด์ - สภาพกรดทั้งหมด (total acidity) คือ กรดทั้งหมดที่มีอยู่ในดินนั้น สภาพกรดทั้งหมด = CEC ของดิน – เบส (base) ซึ่งแลกเปลี่ยนได้ หรือสภาพกรดทั้งหมด = สภาพกรดที่ตกค้าง + สภาพกรดซึ่งอาจถูก แทนที่ได้ด้วยเกลือ
3) การจำแนกสภาพกรดเปรียบเทียบข้อ 1 และ 2 - สภาพกรดที่ตกค้าง (residual acidity) คือ กรดแฝงส่วนใหญ่และรวม เอา Al3+ (แคตไอออน) ที่เปลี่ยนได้ด้วย - สภาพกรดซึ่งถูกแทนที่ได้ด้วยเกลือ (salt- replaceable acidity) คือ กรดจริงรวมกับกรดแฝงส่วนน้อย ซึ่งแทนที่ได้ด้วยเกลือที่ไม่มีสมบัติ บัฟเฟอร์
การจำแนกสภาพกรดในดิน
4. วิธีวัด pH ของดิน 1) วัดด้วยเครื่อง pH meter - เป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง - มีความถูกต้องและมีความละเอียดสูง - เหมาะสำหรับการวัดในห้องปฏิบัติการ 2) วัดด้วยน้ำยาเปลี่ยนสี (indicator) - เป็นเครื่องมือที่มีราคาถูก (เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง pH meter) - มีความถูกต้องในระดับน่าพอใจ และวัดได้รวดเร็ว (ประมาณ 2 นาที) - สะดวก สามารถนำติดตัวไปใช้ในภาคสนามได้ดี
การวัดปฏิกิริยาดินด้วยน้ำยาเปลี่ยนสี
5. การเกิดและการปรับปรุงดินกรด 1) สาเหตุของการเกิดดินกรด - เกิดจากปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนไอออน ระหว่าง H+ จากกรดคาร์บอนิกกับ เบสิกแคตไอออน (basic cation) แลกเปลี่ยนได้ในกระบวนการพัฒนา ของดิน - เกิดจากการทับถมของอินทรียสารในดิน เมื่ออินทรียสารเหล่านี้เน่า เปื่อยลง จะทำให้เกิดกรดอินทรีย์สะสมในดิน มีผลทำให้ดินเป็นกรด - เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างไม่ถูกต้อง (ยูเรียหรือ แอมโมเนียม) - เกิดจากการเกิดดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด เกิดจากการออกซิเดชัน ไฟไรต์ (FeS2) เป็นจาโรไซต์ (jarosite) เมื่อทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสจะ ได้ goethite (FeOOH) และกรดกำมะถัน ทำให้เกิดกรดในดินขึ้น
- การปรับปรุงดินกรดจัดเพื่อปลูกพืชไร่ หรือไม้ผลได้ เช่น การ 2) การปรับปรุงดินกรด คือ การปรับ pH ของดินให้สูงขึ้นจนมีสภาพใกล้เป็นกลาง โดยการใช้ปูนในอัตราที่เหมาะสม - ดินที่เป็นกรดจัดเพื่อปลูกข้าว ในสภาพน้ำขัง มีวิธีการปรับปรุงดินเพื่อ ลดกรดและความเป็นพิษของ Fe และ Al ดังนี้ - การชะละลายดิน ทำให้ pH สูงขึ้น เกลือของ Fe และ Al ลดลง - การใส่ปูน เป็นการเพิ่ม Ca และลดปริมาณ Al ที่เป็นพิษ - การขังน้ำ ดินกรดจัดเมื่ออยู่ในสภาพขังน้ำ pH จะสูงขึ้น - การใส่ MnO2 จะช่วยแก้ปัญหาความเป็นพิษของเหล็ก - การใส่ปุ๋ยฟอสเฟต - การปรับปรุงดินกรดจัดเพื่อปลูกพืชไร่ หรือไม้ผลได้ เช่น การ ปลูกไม้ผลโดยวิธียกร่อง หรือการใส่ปูนบริเวณที่ปลูก จะช่วยให้ ผลผลิตดีขึ้น
6. การเกิดด่างและการปลูกพืชในดินด่าง 1) การเกิดดินด่าง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นด่าง เช่น หินปูน ดินประเภทนี้จะมีเบสิกแคตไอออนแลกเปลี่ยนได้สูง เกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ - เกิดจากภาวะแห้งแล้ง ปริมาณฝนน้อย ไม่เพียงพอต่อการชะละลาย เกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมคาร์บอเนต ทำให้เกิดการสะสม หินปูนในดิน - เกิดจากระดับน้ำใต้ดินสูง โดยแคลเซียมไบคาร์บอเนตที่ละลายอยู่ ในน้ำใต้ดิน จะเคลื่อนย้ายมาสะสมที่ผิวดิน และตกตะกอนเป็น แคลเซียมคาร์บอเนต
2) การปลูกพืชในดินด่าง. - ปัญหาต่อการปลูกพืช 2) การปลูกพืชในดินด่าง - ปัญหาต่อการปลูกพืช - ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ เช่น ฟอสฟอรัสและ แมงกานีส - มีการแตกระแหงของดิน เมื่อดินแห้ง - การระบายน้ำไม่ดี ดินมีลักษณะเหนียวมาก - แนวทางการจัดการ - เลือกพืชที่ชอบสภาพที่มีปูนมาก เช่น ในพื้นที่ชลประทาน การปลูกข้าวโพด ถั่วลิสง หรือข้าว จะให้ผลผลิตดี - การใช้สารละลายเกลือ ของเหล็กหรือสังกะสี หรือจุลธาตุ อาหารพวกคีเลตฉีดพ่นไปที่ใบและลำต้น เมื่อพืชแสดงการ ขาดจุลธาตุอาหาร - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการไถพรวน
7. pH ของดินกับระดับธาตุอาหารพืชในดินและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน 1) ระดับ Ca, Mg และ K ดินที่เป็นกรดอย่างรุนแรง จะมีแคลเซียม แมกนีเซียมและโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ เพราะธาตุต่างๆ เหล่านี้จะถูกชะละลายออกไปจากดินได้ง่ายมาก 2) ระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ - ดินเป็นกรดมากๆ จะส่งเสริมการตรึงฟอสเฟตให้อยู่ในรูปเหล็ก และอะลูมินัมฟอสเฟต ซึ่งยากแก่การใช้ประโยชน์ของพืช - ระดับ pH 6-7 นับว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างเหมาะสมสำหรับฟอสเฟต ในดินที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์
3) ระดับจุลธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ ระดับความเป็นประโยชน์ของจุลธาตุจะขึ้นกับระดับของ pH เป็นอย่างมาก - เหล็ก (Fe) จะละลายน้ำได้ง่ายเมื่อมีระดับ pH < 5 แต่ถ้า pH สูงๆ จะ เกิดปัญหาขาดธาตุเหล็ก - แมงกานีส (Mn) เหมือนเหล็ก เมื่อ pH ต่ำมากๆ อาจเกิดความเป็น พิษต่อพืชได้ แต่ถ้า pH > 6.5 อาจเกิดการขาดได้ - สังกะสี (Zn) จะละลายน้ำดีที่ pH < 5.0 แต่เมื่อ pH > 7.0 สังกะสีจะ เปลี่ยนจากไอออนบวกไปเป็นลบ ในรูป zincate ซึ่งละลายได้ยาก - ทองแดง (Cu) เหมือนสังกะสี แต่ไม่มีผลรุนแรงเหมือนจุลธาตุอื่นๆ - โบรอน (B) เหมือนสังกะสี แต่เมื่อพืชดูดดึงแคลเซียมจะทำให้มี ความต้องการโบรอนเพิ่มขึ้นด้วย - โมลิบดินัม (Mo) ในดินอยู่ในรูปไอออนลบ จะละลายสูงขึ้นเมื่อดิน pH สูง ดินเป็นกรดพืชตระกูลถั่วแสดงอาการขาดได้
ความสัมพันธ์ระหว่าง pH ของดินและความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร
4) กิจกรรมจุลินทรีย์ในดิน - แบคทีเรีย จะมีกิจกรรมสูงหรือทำงานเต็มประสิทธิภาพเมื่อ ปฏิกิริยาดินใกล้ๆ เป็นกลาง - รา จะทำงานได้ดีกว่าแบคทีเรียเมื่อ pH ของดินเป็นกรด - กิจกรรมจุลินทรีย์ดิน จะควบคุมระดับความเป็นประโยชน์ของ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน ในอินทรียวัตถุ - การปลูกพืชตระกูลถั่ว ควรมีการใส่ปูนเพื่อยกระดับ pH ให้ เหมาะสมต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์
8. การเจริญเติบโตของพืชกับระดับ pH ของดิน
ดินเกลือ ดินเกลือ คือ ดินที่มีเกลือซึ่งละลายง่าย (soluble salt) หรือโซเดียมแลกเปลี่ยนได้ปริมาณมากจนทำให้พืชมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติอย่างเด่นชัด 1. การจำแนกดินเกลือ 1) ดินเค็ม คือ ดินที่ไม่ใช่ดินโซดิก ดินที่จัดว่าเป็นดินเค็มมีการนำไฟฟ้าของสารละลายซึ่งสกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำมีค่าตั้ง แต่ 0.4 (ซีเม็น/เมตร) ขึ้นไป
การจำแนกประเภทของดินเกลือ Sodium adsorption ratio (SAR) การนำไฟฟ้า (ซีเม็น/เมตร) Sodium adsorption ratio (SAR) ดินธรรมดา < 0.4 < 13 ดินเค็ม ≥ 0.4 ดินโซดิก ≥ 13 ดินเค็มโซดิก
2) ดินโซดิก คือ ดินที่มิใช่ดินเค็มดิน ดินที่จัดว่าเป็นดินโซดิกเมื่อสารละลายซึ่งสกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ sodium adsorption ratio (SAR) ตั้งแต่ 13 ขึ้นไป มีปริมาณของโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้สูงมีผลทำให้ - การเจริญเติบโตของพืชลดลง - โครงสร้างดินมีสภาพเลวลง 3) ดินเค็มโซดิก คือ ดินซึ่งมีทั้งเกลือที่ละลายง่ายและโซเดียมแลกเปลี่ยนได้สูงจนทำให้การเจริญเติบโตของพืชทั่วไปลดลงมาก มีค่าการนำไฟฟ้าตั้งแต่ 0.4 ซีเม็น/เมตร และ SAR ตั้งแต่ 13 ขึ้นไป
2. ดินเค็ม 1) ระดับความเค็มของดิน พืชทั่วไปจะเจริญเติบโตได้น้อยลง เมื่อความเค็มของดินเพิ่มขึ้น เฉพาะพืชทนเค็มเท่านั้นที่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินเค็ม 2) สาเหตุของการเกิดดินเค็ม ดินธรรมดาได้รับเกลือที่ละลายง่าย มากกว่าอัตราการชะละลายออกไป เกิดการสะสมของเกลือมากขึ้นเรื่อยๆ และค่าการนำไฟฟ้าสูงจนถึง 4 เดซิซีเม็น/เมตร หรือมากกว่า โดยเกลือที่สะสมในดินมาจาก - เกลือทะเล เมื่อน้ำทะเลท่วมถึงหรือถูกลมพัดมาสะสม - เกลือจากการสลายของหินและแร่
ระดับความเค็มของดินและอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช การนำไฟฟ้า (เดซิซีเม็น/เมตร) ระดับความเค็ม อิทธิพลต่อพืช 0 - 2 ไม่เค็ม ไม่กระทบกระเทือนต่อพืช 2 - < 4 พืชที่ไวต่อความเค็มมีการเจริญเติบโตลดลงบ้าง ≥ 4 เค็ม - 4 - 8 เค็มปานกลาง จำกัดการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด > 8 - 16 เค็มมาก พืชทนเค็มเท่านั้นที่เจริญเติบโตได้ดี > 16 เค็มมากที่สุด พืชทนเค็มบางชนิดเท่านั้นที่เจริญเติบโตได้ดี
- ดินเค็ม จัดในหน้าแล้งจะมีคราบเกลือสีขาวปรากฏที่ผิวดิน - การเคลื่อนย้ายเกลือ จากดินชั้นล่างมาสะสมบนผิวดินในดินที่มีระดับน้ำ ใต้ดินสูง - เกลือจากน้ำชลประทาน คือ น้ำชลประทานคุณภาพต่ำที่มีค่าการนำไฟฟ้า สูง และค่า SAR สูง 3) ลักษณะสำคัญของดินเค็ม - ดินเค็ม มีลักษณะทั่วไปเหมือนดินธรรมดา แต่มีเกลือที่ละลายง่ายอยู่ สูงกว่าปกติเท่านั้น โดยการวัดค่าการนำไฟฟ้าจะช่วยให้ทราบว่าเป็น ดินเค็มหรือไม่ - ดินเค็ม จัดในหน้าแล้งจะมีคราบเกลือสีขาวปรากฏที่ผิวดิน - บริเวณที่ไม่มีพืชขึ้นอยู่เลย หรือขึ้นอยู่เป็นหย่อมๆ หรือมีคราบเกลือ ปรากฏ
4) การใช้ประโยชน์จากดินเค็มเพื่อการเพาะปลูก - ในดินที่มีความเค็มต่ำ ควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ทนเค็ม หา มาตราการมิให้ความเค็มเพิ่มขึ้น - ในดินที่มีความเค็มปานกลางขึ้นไป ต้องหามาตราการดำเนินการ ปรับปรุงดินเค็มให้มีความเหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ในระยะยาว - วิธีการให้น้ำที่เหมาะสม เพื่อลดความเข้มข้นของเกลือบริเวณเขตราก พืชให้ต่ำลง - ควรให้น้ำครั้งละไม่มาก แต่บ่อยครั้งขึ้น - การให้น้ำแบบหยด (drip หรือ trickle irrigation) จะทำให้ ความเข้มข้นของเกลือต่ำในขอบเขตที่กว้างและลึกมากกว่า การให้น้ำแบบฉีดฝอย (sprinklers)
- การให้น้ำตามร่องข้างสันร่อง ควรปลูกพืชบริเวณข้างร่องไม่ - การให้น้ำตามร่องข้างสันร่อง ควรปลูกพืชบริเวณข้างร่องไม่ ควรปลูกกลางร่องเพราะเกลือในดินจะถูกละลายแล้ว เคลื่อนย้ายมาสะสมกลางร่อง 5) วิธีปรับปรุงดินเค็ม คือ การชะละลายเกลือส่วนเกินออกไป เพื่อให้ดินมีการนำไฟฟ้าต่ำลงจนสู่ภาวะปกติ การล้างดินด้วยการขังน้ำ เป็นวิธีที่ใช้ได้ดี ลงทุนต่ำ โดยมีขั้นตอนดังนี้ - ปรับปรุงดินให้มีการแทรกซึม และซาบซึมน้ำดีขึ้น เช่นการใส่อินทรีย สาร ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ร่วมกับการไถพรวน - วางแผนปรับพื้นที่ และคูระบายน้ำ - จัดหาแหล่งน้ำขนาดพอเหมาะ ไว้ในพื้นที่เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี - ขังน้ำ โดยใช้น้ำที่มีคุณภาพดี - ปลูกข้าว พันธุ์ทนเค็ม - ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น โสนคางคก โสนอินเดีย เป็นต้น
6) วิธีป้องกันมิให้ดินกลายมาเป็นดินเค็มอีก - ใช้น้ำชลประทานที่มีคุณภาพดี เพิ่มน้ำสำหรับการชะเกลือให้ระบาย ออกไป - บำรุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เพื่อให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น - ควรปลูกพืชหมุนเวียน บำรุงดิน
3. ดินเค็มโซดิกและดินโซดิก 1) สาเหตุของการเกิดดินเค็มโซดิกและดินโซดิก - การเพิ่มเกลือที่ละลายง่ายในดิน - การเพิ่มโซเดียมแลกเปลี่ยนได้ในดิน - เมื่อปริมาณน้ำในดินลดลง แต่ปริมาณเกลือยังเท่าเดิม ความ เข้มข้นของเกลือในสารละลายดินก็เพิ่มสูงขึ้น - เกลือในดินที่ละลายยาก เช่น เกลือแคลเซียมซัลเฟต และ แมกนีซีเซียมคาร์บอเนต ไม่อาจคงอยู่ในสารละลายได้ จึง ตกตะกอน - เมื่อแคลเซียมและแมกนีเซียมตกตะกอน ลงไป ใน สารละลายดิน จึงมีสัดส่วนของโซเดียมไอออนสูงกว่า ไอออนอื่นๆ
- โซเดียมไอออนจะเข้าแทนที่ แคลเซียมและแมกนีเซียมที่ผิวของคอลลอยด์ดิน ปริมาณของโซเดียมแลกเปลี่ยนได้ในดิน จึงสูงขึ้นทีละน้อยจนกลายเป็นดินโซดิก - การลดความเค็มของดิน เกิดจากการชะเกลือที่ละลายง่ายในดินออกไป เช่น จากฝน หรือการกระทำของมนุษย์ โดยที่น้ำที่ชะดินนี้ มีแคลเซียมและ/หรือแมกนีเซียมต่ำ จะมีผลเพียงลดความเค็มของดินเท่านั้น โซเดียมที่แลกเปลี่ยนที่ได้ยังคงมีปริมาณสูง ถ้าไม่มีการชะเกลือที่ละลายได้ออกไป ดินจะยังมีเกลือที่ละลายง่ายอยู่มาก ซึ่งเรียกว่าดินเค็มโซดิก - การเพิ่ม pH ของดิน เป็นกระบวนการทางเคมีของดินโซดิกที่ทำให้ pH ของดินนั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้น การที่ดินมี NaOH และ Na2CO3 เพิ่มขึ้นเช่นนี้จึงมีปฏิกิริยาดินเป็นด่าง pH ของดินบนอาจสูงถึง 8.5 ได้ ดินโซดิกจึงเป็นดินที่มี pH สูงหรือเป็นด่างจัด
2) ลักษณะที่สำคัญของดินโซดิก 2) ลักษณะที่สำคัญของดินโซดิก - ดินโซดิก เป็นดินที่มี nitric horizon ซึ่งหมายถึงดินชั้น B ที่มีการ สะสมแร่ดินเหนียวซิลิเกตซึ่งถูกชะลงมาจากดินชั้นบน (A) โดยมี ลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ - โครงสร้างแบบแท่งหัวตัด (prismatic structure) หรือ แท่งหัวมน (columnar structure) - โซเดียมแลกเปลี่ยนได้สูง จึงมีค่า SAR สูง - สรุปลักษณะของดินโซดิก - มี SAR สูง - ปฏิกิริยาดินเป็นด่าง - มี nitric horizon - ดินมีสมบัติทางกายภาพเลว
3) การใช้ประโยชน์จากดินโซดิก หรือดินเค็มโซดิกเพื่อการเพาะปลูก - ถ้าดินมีปัญหาไม่มาก ควรเลือกปลูกพืชที่ทนเค็ม หรือทนต่อ โซเดียม - ถ้าดินมีปัญหาอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ขึ้นไป ควรปรับปรุงดินนั้นให้ เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ระยะยาว 4) วิธีปรับปรุงดินโซดิกและดินเค็มโซดิก - การปรับปรุงดินโซดิก คือ การลดโซเดียมแลกเปลี่ยนได้ให้ต่ำลงสู่ ระดับปกติ - การปรับปรุงดินเค็มโซดิก คือ การลดทั้งเกลือที่ละลายง่ายและ โซเดียมแลกเปลี่ยนได้ทั้งสองอย่าง หลังจากนั้นก็ปรับปรุงสมบัติ ทางกายภาพของดินด้วย
- วิธีการปรับปรุง. - แทนที่โซเดียมแลกเปลี่ยนได้ ด้วยแคลเซียม - วิธีการปรับปรุง - แทนที่โซเดียมแลกเปลี่ยนได้ ด้วยแคลเซียม - ชะเกลือโซเดียม ออกไปจากบริเวณนั้น - ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน
5) การป้องกันมิให้เป็นดินโซดิก คือ การละเว้นการปฏิบัติใดๆ ซึ่งจะเพิ่มโซเดียมแลกเปลี่ยนได้ในดินโดยมีวิธีการดังนี้ - ใช้น้ำชลประทาน ที่มีคุณภาพดี - หากน้ำชลประทานมีโซเดียมสูง แคลเซียมต่ำ ต้องเติมยิปซัมเพื่อ ปรับให้มีสัดส่วนของแคลเซียมในน้ำสูงขึ้น - ปลูกพืชหมุนเวียน และมีพืชบำรุงดินในระบบ - ปลูกไม้ยืนต้น ไว้สองข้างคูคลองระบายน้ำ เพื่อลดระดับน้ำใต้ดิน
จบการสอนบทที่ 5 ดอยอินทนนท์