กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02) รองศาสตราจารย์ดิเรก ควรสมาคม ครั้งที่ 8 หลักการสำคัญๆ ในกฎหมายมหาชน
หลักการ / กฎหมายมหาชน 2.ในกฎหมายมหาชน 1.หลักการ [ N ] principle [ Syn ] หลัก, แนว, วิถีทาง, แนวทาง [ Def ] หลักสาระสำคัญในการดำเนินการ 2.ในกฎหมายมหาชน กม.มหาชน = กฎหมายว่าด้วยสิทธิและความเกี่ยวข้องระหว่างรัฐกับประชาชน การเรียนโดยไม่มีหลักการ/ ฐานความคิดที่ถูกต้อง เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการไปใช้ไปตีความกฎหมาย
หลักการสำคัญๆในกฎหมายมหาชน หมายถึง “หลักสาระสำคัญใน กฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิและความเกี่ยวข้องระหว่างรัฐกับประชาชน” เพื่อ 1.ทำให้รู้และเข้าใจถึงหลักการในกฎหมายมหาชนได้ลึกซึ้งถ่องแท้... 2.ทราบถึงเบื้องหลังของหลักการกฎหมายมหาชน 3.ปรับใช้กฎหมายได้ถูกต้อง
หลักการสำคัญๆได้แก่ ธรรมาธิปไตย
หลักการสำคัญๆ 1. หลักอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) 2. หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Seperation of Power) 3. หลักนิติรัฐ (Legal State) 4. หลักประชาธิปไตย (Democrazy) 5. หลักความชอบด้วยกฎหมาย (Principle of Legality) 6. หลักบริการสาธารณะ (Public Service) 7.หลักความเป็นกลาง (Impartiality)
1.หลักอำนาจอธิปไตย 1. อำนาจ (Power) หมายถึง อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม 2.อธิปไตย Sovereignty หมายความว่า ความเป็นใหญ่ , ภาวะที่ถือเอาเป็นใหญ่ อำนาจอธิปไตย = อำนาจสูงสุดของรัฐเอกราชที่ใช้ในการปกครอง ใช้ในทางการเมืองการปกครอง บริหารจัดการบ้านเมือง
แนวคิดที่มา อำนาจอธิปไตย 1.อำนาจอธิปไตยเป็นของพระผู้เป็นเจ้า God 2.อำนาจอธิปไตยเป็นของพระสันตปาปา Pope 3. อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ 4. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน 5. อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
1.อำนาจอธิปไตยเป็นของพระผู้เป็นเจ้า เกี่ยวกับผู้ปกครอง อำนาจสูงสุดเป็นของพระผู้เป็นเจ้า ส่งผลให้ไปสู่การปกครองแบบ เทวสิทธิ (Divine Right) ผู้ปกครองสืบทอดมาจากเทพฯ ที่ส่งผลให้อำนาจกษัตริย์ในฐานะผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดนั้น เพราะถือว่าได้รับมอบและรับรองมาจากพระเจ้า อำนาจสมบูรณ์นั้นจึงมีความชอบธรรม
2.อำนาจอธิปไตยเป็นของพระสันตปาปา God to Pope คริสต์ศาสนจักรได้รวมพลังกษัตริย์ขุนพล และพลเมืองของประเทศทั้งหลายทั่วยุโรป ทำสงครามศักดิ์สิทธิ์หรือสงครามเพื่อพระผู้เป็นเจ้า (holy war) เพื่อปลดปล่อยดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land คือ เมืองเยรูซาเลม) จากการยึดครองของพวกมุสลิมเตอร์กส์ อันมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สงครามครูเสด” (Crusades) ซึ่งเป็นสงครามกับมุสลิม ศาล Inquisition (ศาลไต่สวนศรัทธา)
3. อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ Bodin : ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์” (The Supremacy of the King) ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตย (Theory of Sovereignty) โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ยืนยันอำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐ แต่แสดงออกทางรัฐาธิปัตย์หรือกษัตริย์ โองการของกษัตริย์หรือรัฐาธิปัตย์ย่อมเป็นกฎหมายและอยู่เหนือทั้งปวง ทั้งไม่อาจถูกจำกัดด้วยอำนาจใดๆ ไม่ว่าอำนาจทางการเมืองหรืออำนาจทางศีลธรรม ในยุคนี้อำนาจกษัตริย์ในยุโรป จึงมีอำนาจสูงสุดสมบูรณ์เด็ดขาด เรียกกันว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy)
4. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน สัญญาประชาคม (Social Contract )ของรุสโซ (Jean Jacques Reusseau ประชาชนตกลงกันมอบให้แก่รัฐบาล(รัฐาธิปัตย์) รัฐบาลจึงเป็นตัวแทนของเจตจำนงทั่วไป หากรัฐบาลไม่ทำตามสัญญาประชาคม ประชาชนมีสิทธิถอนอำนาจที่มอบผู้ปกครองนั้น
4. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แนวคิดสัญญาประชาคมของรุสโซ การปฏิวัติอเมริกาและฝรั่งเศส ทำให้การเลือกผู้ปกครอง/การเลือกตั้งเป็นสิทธิ และตัวแทนประชาชนสามารถถูกถอดถอนจากตำแหน่ง รธน.2550 มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
1.5 อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส คือ Sieyes หรือซีเอเยส์ -ชาติมีอยู่ก่อนสิ่งอื่นใดและเป็นที่มาของทุกสิ่ง -ผู้แทนของชาติ ไม่ใช่ผู้แทนของราษฎรที่เลือก -ส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ไทย มีการกำหนดหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2517และฉบับ 2540 รวมทั้งฉบับ 2550 ซึ่งจะบัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย..” (มาตรา 3) ทำให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ มิใช่สิทธิ
ลักษณะสำคัญอำนาจอธิปไตย 1.-มีความสมบูรณ์เด็ดขาด 2.-มีความยืนยงถาวร 3.-มีลักษณะครอบคลุม 4. -ไม่อาจถูกแบ่งแยกได้
รธน.2550 มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
2. หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Seperation of Power) ผู้มี/ใช้อำนาจปกครอง (อำนาจอธิปไตย) มักจะมีแนวโน้มใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบ มองเตสกิเออ Montesquieu แนวคิดเรื่องการแบ่งและคานอำนาจระหว่าง ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ
2. หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Seperation of Power)
2. หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Seperation of Power) 1. อำนาจนิติบัญญัติ = อำนาจการออกกฎหมาย สส/สว 2. อำนาจบริหาร = อำนาจในการใช้หรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย รัฐบาล 3. อำนาจตุลาการ = อำนาจในการวินิจฉัยอรรถคดีศาล
หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาล หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาล การแบ่งแยกอำนาจ ระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี
หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาล หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาล ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) พระเจ้าจอห์นในปี ค.ศ.1215 (พ.ศ.๑๗๕๘) ลงพระนามในมหากฎบัตร(Magna Carta) หลักการที่สำคัญของระบบรัฐสภา ๑.๑ ประมุขของรัฐกับหัวหน้ารัฐบาลเป็นคนละคนกัน ๑.๒ สภามาจากการเลือกของประชาชนและรัฐบาลอยู่ได้จากความไว้วางใจของสภา ๑.๓ สภามีบทบาทในการควบคุมการทำงานของรัฐบาล ๑.๔ รัฐบาลมีอำนาจในการยุบสภา
แง่ดี-เสียของระบบรัฐสภา รัฐบาลเสียงข้างมากกับการมีประสิทธิภาพเสถียรภาพ ฝ่ายบริหารเป็นคณะบุคคล(รัฐบาล)ทำให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันเพราะถือว่าเป็นการทำงานเป็นร่วมกัน แง่เสีย พรรคการเมืองมีมากเกินไปและพรรคการเมืองไม่มีความเข้มแข็ง การได้ผู้บริหารหรือรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก การครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร
หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาล หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาล ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) ประมุขของรัฐกับหัวหน้ารัฐบาลเป็นคนเดียวกัน สภามาจากการเลือกของประชาชนและรัฐบาลมาจากการเลือกโดยอ้อมของประชาชน สภาไม่มีบทบาทในการควบคุมการทำงานของรัฐบาล ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา
แง่ดี-เสียของระบบประธานาธิบดี ความต่อเนื่องของการทำงาน ประธานาธิบดีหรือฝ่ายบริหารสามารถเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาดำรงตำแหน่งสำคัญ ประธานาธิบดีที่ได้มานั้น ผ่านขั้นตอนการได้ตัวบุคคลอย่างมีความสามารถและเหมาะสม เสีย การตราหรือออกกฎหมายในระบบแบ่งแยกอำนาจแบบเด็ดขาดนี้ โดยหลักถือว่าเป็นหน้าที่ของสภาแต่ผู้เดียว ให้อำนาจบริหารแยกอิสระจากอำนาจนิติบัญญัติหรือไม่อยู่ในความควบคุมของสภา
หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาล หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาล ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน เป็นประมุขของรัฐ รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภา สภามีอำนาจจำกัดในการออกกฎหมาย
แง่ดี-เสียของระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี เสถียรภาพความต่อเนื่องของรัฐบาลมีมากขึ้น เนื่องจากให้ประธานาธิบดีมีบทบาทมากขึ้น มีอำนาจสูงสุดและมีอิสระ ประธานาธิบดีมีสามารถปฏิบัติหน้าที่ทางด้านการวางแผนนโยบายทั้งภายในและนอกประเทศได้มากขึ้น เสีย หากมีพรรคการเมืองมากเกินไป รัฐสภาก็อาจไม่มีเสถียรภาพ คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อประธานาธิบดี การปฏิบัติงานมีความยากลำบากมากขึ้น หากประธานาธิบดีไม่มีบารมีและอำนาจจริงก็อาจควบคุมสภาและรัฐบาลไม่ได้
3. หลักนิติรัฐ ความหมายเชิงรูปแบบ = รัฐที่ปกครองภายใต้กฎหมาย/ปกครองด้วยกฎหมาย / ถือกฎหมายเป็นใหญ่ ความหมายเชิงเนื้อหา = รัฐ ที่ปกครองโดยมุ่งประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และกำหนดให้รัฐก้าวล่วงแดนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจไว้
นิติรัฐ 1.ในแง่ผู้ปกครอง แม้จะมีอำนาจสูงสุด แต่หากจะกระทำการใดๆอันเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพประชาชน นิติรัฐเรียกร้องว่า จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจ 2. ในแง่ ผู้ใต้ปกครอง/ประชาชน มีหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ที่รัฐต้องให้การคุ้มครองไว้ในกฎหมายสูงสุด คือ ในรัฐธรรมนูญ 3.มีการแบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อำนาจ 4.มีการตรวจสอบควบคุมซึ่งกันและกัน หรือการดุลและคานอำนาจ 5. ผู้พิพากษา/ตุลาการจะต้องมีความเป็นอิสระ กล่าวคือ ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ
รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม” -พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มีหลักเรื่องความยุติธรรมตามธรรมชาติหรือ Natural Justice ในส่วนเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง ได้แก่ หลักการไม่มีส่วนได้เสีย (ม.13,16) หลักการรับฟังข้อเท็จจริง สิทธิโต้แย้งชี้แจงแสดงเหตุผล (ม.30) หลักการมีเหตุผลประกอบ (ม.37) เป็นต้น
พุทธนิติศาสตร์ หลักธรรมาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรม -กฎหมายเป็นใหญ่ บุคคลยึดถือความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผล หลักการกฎกติกาที่ชอบธรรมเป็นบรรทัดฐาน เคารพธรรม เชิดชูธรรม นิยมธรรม ตั้งตนอยู่ในธรรม ประพฤติธรรมด้วยตนเอง หรืออาจกล่าวง่ายๆได้ว่า ถือความถูกต้องชอบธรรมเป็นเกณฑ์ เป็นใหญ่ ในการตัดสินใจ นิติรัฐ นิติธรรม -กฎหมายเป็นใหญ่ -รัฐที่เคารพกฎหมาย
อำนาจตัดสินใจVSรูปแบบ/ระบอบการปกครอง 1. อำนาจการตัดสินใจสูงสุดอยู่กับบุคคลผู้เดียว เรียกว่าเป็น ระบอบเผด็จการ 2. อำนาจการตัดสินใจสูงสุดอยู่กับคณะบุคคล เรียกว่าเป็น ระบอบคณาธิปไตย 3. อำนาจการตัดสินใจสูงสุดอยู่กับประชาชน เรียกว่าเป็น ระบอบประชาธิปไตย
บุคคลใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจ 1.ถ้าเอาตนเอง เอาความยิ่งใหญ่ของตน เอาความทะนง เอาทิฐิความเห็นความเชื่อยึดถือส่วนตัว เอาผลประโยชน์ของตนเป็นเกณฑ์ตัดสิน เป็น อัตตาธิปไตย 2.ถ้าเอากระแสความนิยม เสียงเล่าลือ คอยฟังว่าใครจะว่าอย่างไร ตนก็จะว่าไปอย่างนั้น ตัดสินใจไปตามกระแสเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นเรื่องแบบพวกมากลากไป ตามแรงกดดันจะเอาใจเขาหาคะแนนหรือตอบแทนการเอื้อประโยชน์ ก็จะเรียกว่าเป็น โลกาธิปไตย 3.ถ้าเอา ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม หลักการ กฎกติกาประโยชน์ที่แท้จริงที่ชอบธรรมของชีวิตและสังคมเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน โดยใช้ปัญญาหาข้อมูลตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างกว้างขวางให้ถ่องแท้ ชัดเจน อย่างดีที่สุด เต็มขีดแห่งสติปัญญา ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็จะเป็นธรรมาธิปไตย
เป็นแก่นและเป็นแกนของการปกครองทั้งหมด ธรรมาธิปไตย เป็นแก่นและเป็นแกนของการปกครองทั้งหมด เผด็จการ เป็นได้ทั้ง อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตยและธรรมาธิปไตย คณาธิปไตย เป็นได้ทั้ง อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตยและธรรมาธิปไตย ประชาธิปไตย เป็นได้ทั้ง อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตยและธรรมาธิปไตย
ปัญหาด้านลบของหลัก Rule of Law ใน USA ๑.ปัญหาการแบ่งแยกผิว หนังสือ Two Nations หนังสือ The Death of Common Sense ๒. ปัญหาการทารุณเด็ก หนังสือ The Day America Told the Truth ๓.ปัญหาการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ใช้กฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น ๔.ปัญหาการใช้สิทธิเสรีภาพการพูด (Freedom of Speech) Political Correctness Hate Speech พุทธศาสนาให้ทางแก้ไขโดยใช้หลัก “วาจาจริง เป็นประโยชน์” หรือวจีสุจริต
4. หลักประชาธิปไตย ประชาธิปไตย แปลว่า ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ , การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ “ประโยชน์ (ที่ถูกต้อง) ของประชาชนเป็นใหญ่
การพิจารณาความเป็นประชาธิปไตย 1.ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง หรือที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน 2.ประชาชนได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพไว้ในกฎหมายสูงสุด(รัฐธรรมนูญ) 3. การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอาศัยหลักเรื่องเสียงข้างมาก เสียงส่วนใหญ่ที่ผ่านการคัดเลือก (เลือกตั้ง) จากประชาชน
หลักประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ในรัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ) มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 142 และมาตรา 163 บัญญัติให้ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (พระราชบัญญัติ) ได้
หลักประชาธิปไตย อำนาจบริหาร ในแง่ที่มารัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มาจากการเสนอชื่อและการเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 172) ซึ่งก็เท่ากับมาจากการเลือกของประชาชนโดยทางอ้อม ในแง่การควบคุมรัฐบาลถูกควบคุมตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (สส.) ได้แก่ การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ (มาตรา158) การตั้งกระทู้ถาม (มาตรา156,157) และการทำหนังสือสัญญาใดกับต่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (มาตรา190)
หลักประชาธิปไตย อำนาจตุลาการ (ศาล) ในแง่ที่มาของศาล จะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ (มาตรา198) เท่ากับตัวแทนประชาชนเป็นผู้จัดตั้งศาลต่างๆขึ้นมา
หลักประชาธิปไตย :สิทธิ เสรีภาพของประชาชน ได้รับการคุ้มครอง โดยกฎหมายสูงสุด ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 หมวด 3 สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 26 -29 เช่น -การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ -สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง -บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น -การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ รับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย....
หลักประชาธิปไตย หลักเรื่องเสียงข้างมาก ในระบอบประชาธิปไตยนั้น มักจะเป็นเรื่องการตัดสินใจโดยตัวแทนประชาชน ได้แก่ มติ สส.ในการเลือกบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี (มาตรา 172 วรรคสาม) การออกกฎหมาย (มาตรา 140(1),143 วรรคห้า) เป็นต้น ส่วนมติอภิปรายไม่ไว้วางใจใช้คะแนนเสียงผู้แทนราษฎรมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่มีอยู่ (มาตรา158 วรรคสี่)
ประชาธิปไตยกับเสียงข้างมาก ในระบอบประชาธิปไตยอาศัยเสียงข้างมาก ? แต่เสียงข้างมากตัดสินความต้องการ ไม่อาจตัดสินความถูกต้องได้
คติสำคัญของประชาธิปไตย 1. เสรีภาพ (Liberty) 2. ความเสมอภาค/สมภาพ/สมานภาพ/ (Equality) 3.ภราดรภาพ (Fraternity)
เสรีภาพ (Liberty) 1.ความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนา โดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง 2. ภาวะของบุคคลที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น หรือ เป็นภาวะที่ปราศจากการถูกหน่วงเหนี่ยวขัดขวาง 3.เสรีภาพที่แท้ หมายถึง การที่บุคคลมีโอกาสนำเอาศักยภาพของตน (ความรู้ความสามารถ สติปัญญา) มารวมกันแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคม กล่าวคือ เป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตน เพื่อไปเป็นประโยชน์ของส่วนรวม จึงเป็นเสรีภาพที่ลึกลงไปในระดับภายในจิตใจ
พุทธศาสนาได้เปรียบเทียบเรื่อง เสรีภาพ ไว้เป็นขั้นๆตามลำดับ ขั้นพื้นฐานต่ำสุด : เสรีภาพ หมายความว่า ความสามารถที่จะกระทำการใดๆได้ตามที่ตนปรารถนา โดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ขั้นที่สอง : เสรีภาพหมายความต่อไปว่า คือ การที่บุคคลทำสิ่งใดๆได้ตามใจตนเองหรือมีอิสระที่จะกระทำการต่างๆได้ตามชอบใจ แต่อยู่ภายใต้ขอบเขตหรือมีขอบเขต ขั้นที่สาม : อธิบายเสรีภาพแบบมีดุลยภาพ เสรีภาพคือ การพร้อมที่จะยอมให้โอกาสแก่ผู้อื่นด้วย ขั้นที่สี่ : เสรีภาพในการได้และเสรีภาพในการให้ ขั้นที่ห้า ขั้นสูงสุด : เสรีภาพในด้านจิตใจหรือใจที่มีเสรี
รัฐธรรมนูญ/ เสรีภาพของบุคคล จะกำหนดเพื่อรับรองคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลไว้ ได้แก่ -เสรีภาพในชีวิตร่างกาย ในเคหสถาน ในการเดินทาง เลือกถิ่นที่อยู่ เสรีภาพในการสื่อสาร เสรีภาพในการนับถือศาสนา (มาตรา 32-37) เสรีภาพในการประกอบอาชีพ(มาตรา 43) -เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (มาตรา 45-46) -เสรีภาพทางวิชาการในการศึกษา (มาตรา 50) -เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม (มาตรา 63 -65)
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การ จำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การ จำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
เสรีภาพในทางวิชาการ มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เสรีภาพในการชุมนุม มาตรา ๖๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การ จำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือ ในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
มีเสรีภาพในการรวมกัน มาตรา ๖๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๖๕ บุคคล ย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการ เมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ นั้นตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
2.ความเสมอภาค / สมภาพ/สมานภาพ (Equality) ความเสมอภาค มีความหมายทั่วไปว่า หมายถึง ความเท่าเทียมกัน, ความเท่ากัน เช่น ในการปกครองแบบประชาธิปไตยประชาชนทุกคนย่อมมีความเสมอภาค (พจนานุกรม) ในกฎหมายมหาชนโดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ได้บัญญัติไว้ ใน มาตรา 5 “ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน” ทั้งนี้พิจารณาจากคำว่า .... “ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน”
2.ความเสมอภาค / สมภาพ/สมานภาพ (Equality) มาตรา 30“บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความ แตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้”
2.ความเสมอภาค / สมภาพ/สมานภาพ (Equality) ความเสมอภาค หมายถึง การมีโอกาสเท่าๆ กัน โดยเฉพาะความเสมอกันในสุขและทุกข์ ร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน ซึ่งเป็นเชิงสามัคคีและเชิงให้ คือเสรีภาพที่จะให้แก่สังคม และความเสมอภาคที่จะมาประสานอยู่ร่วมกัน เรียกว่า “สมานสุขทุกขตา” แปลว่า มีสุขทุกข์เสมอกัน คือร่วมสุขร่วมทุกข์ ไม่ดูถูกดูหมิ่นกัน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง และไม่เอาเปรียบกัน (สมานัตตา)
ภราดรภาพ (Fraternity) แปลตามรูปศัพท์ว่า ความเป็นฉันพี่น้องกัน (Brotherhood) แต่ในทางพุทธศาสนาใช้คำว่า เอกีภาพ หรือ เอกภาพ ตามความหมายนี้คำว่า ภารดรภาพ จะนำไปสู่ความสามัคคี พร้อมเพรียง ร่วมแรงร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นฐานรองรับประชาธิปไตย ความเป็นพี่เป็นน้องกัน เป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์ โดยการไม่เน้นไม่ถือผิวพรรณหรือถือเผ่าพันธุ์ต่างกัน
รัฐธรรมนูญของไทย 2550 ภราดรภาพ รัฐธรรมนูญของไทย 2550 ภราดรภาพ คำว่า ภราดรภาพ แฝงอยู่ในมาตราต่างๆ เช่น มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง , มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน, มาตรา 30 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน”
5. หลักความชอบด้วยกฎหมาย ในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง หลักการที่ว่าการกระทำทุกอย่างขององค์กรรัฐต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
หลักความชอบด้วยกฎหมาย 1.ในแง่กระบวนการนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 6 ที่ว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้” และจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นตามมาตรา 204 -217
2. ในแง่กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย อำนาจฝ่ายปกครอง ------- ขอบเขตการใช้อำนาจ หลักความชอบด้วยกฎหมายจะเรียกร้องให้ฝ่ายปกครองที่ใช้อำนาจ(ทางปกครอง) จะต้องถูกควบคุมและตรวจสอบรวมทั้งแก้ไขการกระทำนั้นๆ หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง จะถูกควบคุมโดยองค์กรตุลาการเฉพาะทางได้แก่ ศาลปกครอง รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดไว้ ในมาตรา 223 -227 และในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ.2542 มาตรา 9 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
2. ในแง่กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ศาลปกครองมีอำนาจ มาตรา ๙ (๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ศาลปกครองมีอำนาจ (๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (๕) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด (๖) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
3. ในแง่กระบวนการตัดสินคดีของฝ่ายตุลาการ ฝ่ายตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ ในแง่การคุ้มครองหลักความชอบด้วยกฎหมาย ก็โดยการตัดสินคดีหรือวินิจฉัยการกระทำทางปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งการเพิกถอนการกระทำเหล่านั้นได้ด้วย ตลอดจนการเยียวยาชดเชยค่าเสียหาย ฝ่ายตุลาการจึงต้องมีอิสระในการวินิจฉัยคดี ตัวอย่างในเรื่องนี้ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2550 หมวด10มาตรา 197 - 228,พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ.2542 ,พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่ง ,วิธีพิจารณาคดีอาญา เป็นต้น
6. หลักบริการสาธารณะ บริการสาธารณะ = กิจการที่รัฐจะต้องจัดทำเพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของคนในชาติและอยู่ในความอำนวยการหรือในความควบคุมของฝ่ายปกครอง
ลักษณะสำคัญของ บริการสาธารณะ 1. มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองประโยชน์สังคมส่วนรวม (วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม) 2. จะต้องให้เอกชนมีสิทธิได้รับประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน (หลักความเสมอภาค) 3. จะต้องดำเนินอยู่เป็นนิจและด้วยความสม่ำเสมอ (หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะ) 4. รัฐสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ (หลักปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ) 5. เป็นกิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง/ (หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองและในขณะเดียวกันมีหลักการควบคุมตรวจสอบได้อีกด้วย เช่น การฟ้องศาล เป็นต้น)
ประเภทของบริการสาธารณะ 1.บริการสาธารณะทางปกครอง หมายถึง กิจการที่โดยสภาพเป็นงานในหน้าที่ของรัฐ (ฝ่ายปกครอง) อันเป็นภารกิจพื้นฐาน (Primary Function) กิจการทหาร กิจการตำรวจ กิจการด้านการต่างประเทศการฑูต กิจการด้านสถาบันการเงินแห่งชาติ 2 บริการสาธารณะที่มิใช่ทางปกครอง ทางด้านสังคม ได้แก่ การศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ การบริการด้านเจ็บป่วย เป็นต้น ทางด้านเศรษฐกิจและสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา โทรเลข โทรศัพท์ การขนส่ง เป็นต้น นอกจากนี้ทางด้านวัฒนธรรม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป โรงละคร การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
การดำเนินงานบริการสาธารณะ 1.ในรูปของสัญญา = สัญญาสัมปทาน 2.ในรูป การอนุญาตตามคำขอ = -สำนักงานช่างรังวัดเอกชน -สถานตรวจสภาพรถ - สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (มหาวิทยาลัยเอกชน)
7.หลักความเป็นกลาง (Impartiality) ความเป็นกลาง / เป็นกลาง ใน กฎหมายต่างๆ -รัฐธรรมนูญ - พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ -พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ -พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
รัฐธรรมนูญ ความเป็นกลาง มาตรา ๗๔ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วย ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และผู้ทำหน้าที่แทน ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ มาตรา ๒๒๙ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
รัฐธรรมนูญ ความเป็นกลาง มาตรา ๒๕๒ การตรวจเงินแผ่นดินให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง มาตรา ๒๕๓ วรรคสอง........ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ มาตรา ๑๓ เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ (๑) เป็นคู่กรณีเอง (๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี (๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น (๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี (๕) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง...... คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตามมาตรา ๑๔ ให้มีจำนวนจังหวัดละห้าคน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งจากผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง มีความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๖ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ และได้รับการสรรหาตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๙ อนุญาโตตุลาการต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระ รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการ หรือในกรณีที่คู่สัญญาตกลงกันให้หน่วยงานซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการ ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ดำเนินการต้องมีคุณสมบัติตามที่ หน่วยงานดังกล่าวกำหนด
ความเป็นกลาง , เป็นกลาง ความหมายทั่วๆไป หมายถึง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น วางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร Impartiality
การออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ ๑) ความไม่เป็นกลางจากสภาพภายนอก ๒) ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน
Kpi ชี้วัดความไม่เป็นกลาง สภาพภายนอก Kpi ชี้วัดความไม่เป็นกลาง (๑) เจ้าหน้าที่เป็นคู่กรณีเสียเอง (๒) เจ้าหน้าที่เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี (๓) เจ้าหน้าที่เป็นญาติของคู่กรณี(ญาติสนิท) (๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือตัวแทนของคู่กรณี (๕) เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือนายจ้างของคู่กรณี (๖) อื่นๆ เช่น เคยแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังนอกหน้าที่การงานมาก่อน หรือเป็นผู้จะรับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากการมีคำสั่งทางปกครอง
สภาพภายใน อคติสี่ประการ ได้แก่ -ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก/ชอบ -โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง -ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว -โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง
ความเป็นกลางหรือเป็นกลาง (แท้) เอาความถูกต้องเป็นเกณฑ์/อยู่กับความถูกต้อง ทางสายกลางก็คือทางที่ตรงตามธรรม ทางที่ดำเนินไปตามธรรม กลางมีจุดเดียว คือ จุดที่ถูก
เป็นกลางที่แท้ คือ การอยู่กับความถูกต้อง(อยู่กับธรรม) ถือเอาความถูกต้อง(ถือธรรม) เป็นหลัก เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยใช้หลักเรื่อง มัชฌิมาปฏิปทา มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน เป็นกลาง คือ ไม่เอียง ไม่ติด ไม่ตกไปข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ตกไปข้างซ้าย ไม่ตกไปข้างขวา
คำพิพากษาเกี่ยวข้อง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๒๙/๒๕๔๗ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๖๖๓/๒๕๔๓ คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๔๖/๒๕๕๐