บทที่ 6 การจัดการของเสียอันตราย (Hazardous waste management)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
หลักการจัดการขยะมูลฝอย ขยะติดเชื้อ และขยะอันตราย
Advertisements

Good Logistics Practices
เกณฑ์ กว เดิม นศ. ก่อนรุ่น 2546 เกณฑ์สภาวิศวกร นศ. รุ่น 2546 เป็นต้นไป
การกำหนดขนาดของรูปภาพ การใช้รูปภาพเป็น Background
รักษ์โลก กับวิศวกรรมเคมี ตอนที่ 1
JIRAWAT PROMPORN TRAINING Dept. BOOK PROMOTION & SERVICE CO., LTD. Update Latest 16/08/50 STATSnetBASE.
ในภาวะน้ำท่วมและหลังน้ำลด
MANAGEMENT BY P.PROPERTY MANAGEMENT.CO,LTD ชุมชนของเรา ชุมชนอบอุ่น จัดทำโดย : นายสุนันท์ เลิศชูทรัพย์ ผู้จัดการอาคาร นิติบุคคลอาคารชุด วันพลัส สวนดอก 3.
นิติบุคคลอาคารชุด วันพลัส มช.1 รายงานแจ้งซ่อม ประจำเดือน สิงหาคม 2557
KS Management Profile.
ตัวชี้วัดที่ 5 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดน้ำ
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System
วิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ.ชนกนันท์ บางเลี้ยง
บทที่ 2 กระบวนการและการวางแผนจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Planning ดร. อัญภัคร์ ประพันธ์เนติวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 โรงเรียนของเรา.
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เคมีอุตสาหกรรม พอลิเมอร์และผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน
การบำบัดน้ำเสีย อ.วีระศักดิ์ สืบเสาะ.
แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ
การจัดการองค์ความรู้
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
แนวทางและประสบการณ์ การฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่
หลักการเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey)
โครงการโรงเรียนคาร์บอนต่ำ (ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน)
สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (environmental and quality of life)
กากไขมันเหลือใช้ไม่ไร้ประโยชน์ : การใช้ประโยชน์จากของเสียเหลือทิ้ง
จังหวัดฟุกุโอกะ ศูนย์สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศญี่ปุ่น
System Requirement Collection (1)
ความตระหนักการจัดการคุณภาพ
กลุ่มสัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 8 พฤศจิกายน 2559
ความหมายของพลังงาน และความสำคัญของการประหยัดพลังงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย
การลำเลียงวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์
ทิศทางการบริหารงานกองทุนสิ่งแวดล้อม ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0
บทที่ 5 ระบบกำจัดขยะ (Solid Waste Disposal)
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย (Lab Safety)
กลุ่มงานเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด สำนักเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน
การจัดการผู้ป่วยรายกรณีเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ นางกรรณิการ์
ดีมาก Plus ดีมาก ดี พื้นฐาน
วาระที่ 3.1 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
ความสามัคคี คือ ..พลัง.....
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System
การพัฒนาประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
โครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) ด้านการประมง
การเก็บกลับและทำลาย Trivalent OPV
อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร
การจัดการศูนย์กำจัดขยะ เทศบาลนครพิษณุโลก
การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ
ระบบความรับผิดทางละเมิดและแพ่ง
พระพุทธศาสนา.
ขยะ/ของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste Management)
ความสามัคคี คือ ..พลัง.....
นางธนตวรรณ ขวัญแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย
รายวิชา IFM4401 โครงงานการจัดการสารสนเทศ 3 (ทฤษฎี2-ปฏิบัติ2-ศึกษาด้วยตนเอง5) หน่วยกิต
การควบคุม (Controlling)
วัฏจักรสารในระบบนิเวศ
Question & Answer จากการชี้แจงการบันทึกค่า SKF
พอลิเมอร์ (Polymer) โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
Chapter I Introduction to Law and Environment
Chapter 1 Test and Game Environmental Science Foundation
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
สรุปผลการตรวจสอบ รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2554มี ความครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดทุกประการ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 6 การจัดการของเสียอันตราย (Hazardous waste management) โดย.. อาจารย์ ดร.ภัทรลภา ฐานวิเศษ สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ความหมายของมูลฝอยอันตราย มูลฝอยอันตราย หมายถึง เศษสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือเสื่อมสภาพ รวมถึงภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ปนเปื้อนสารอันตราย มูลฝอยและภาชนะบรรจุเหลือใช้ของสารที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้ สารติดไฟง่าย สารทำปฏิกิริยาได้ง่าย สารกัดกร่อน มีความเป็นพิษ สารถูกชะล้างได้ง่าย มีเชื้อโรคปะปนอยู่ เป็นตัวกำเนิดรังสี

แหล่งที่มาของมูลฝอยอันตราย บ้านเรือน เช่น ถ่านไฟฉาย ยาหมดอายุ หลอดไฟฟ้า ยาฆ่าแมลง สารเคมีอื่นๆ สถานบริการด้านสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา เขตอุตสาหกรรม เช่นกากของเสียอุตสาหกรรม เขตเกษตรกรรม เช่นยาปราบศัตรูพืชและสัตว์ ยารักษาโรคพืชและสัตว์ ปุ๋ย และสารเคมีอื่นๆ

ในบ้านมีขยะอันตรายอยู่ที่ไหนบ้าง ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอันตราย ดูฉลาก หรือ สัญญลักษณ์ สารเป็นพิษ พบบนภาชนะประเภท น้ำยาล้างห้องน้ำ สารฆ่าแมลง สารไวไฟ,ติดไฟง่าย พบเห็นบน ภาชนะ บรรจุแก๊สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง สารกัดกร่อน พบบนภาชนะประเภทน้ำยาทำความสะอาด ล้างห้องน้ำ น้ำกรด สังเกต คำเตือนที่ภาชนะบรรจุ เช่น อันตราย ห้ามรับประทาน ห้ามเผาไฟ ระวังติดไฟง่าย

ขยะอันตรายเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร ทางปากโดยการกิน ทางผิวหนังโดยการสัมผัส ทางจมูกโดยการหายใจ ทางการฉีดเข้าร่างกาย

อาการเมื่อได้รับสารพิษ 1)แบบเฉียบพลัน เกิดผดผื่น ผิวหนังไหม้ อักเสบ หายใจไม่ออก หน้ามืดวิงเวียน 2) แบบเรี้อรัง มะเร็ง อัมพาต มีผลต่อทารก ตาย

มูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือน และวิธีจัดการ

แบตเตอรี่ก้อน(ถ่านไฟฉาย) ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ปรอท ลิเธียม แคดเมี่ยม ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ถ่านชนิดชาร์ตใหม่ พลังงานแสงอาทิตย์ นาฬิกาไขลาน วิธีจัดการ รีไซเคิล แยกเก็บรอส่งกำจัด

น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ ฯลฯ ความเป็นอันตราย กัดกร่อน, เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้น้ำมะนาวผสมบอแร็กซ์ วิธีจัดการ ใช้ให้หมด แยกเก็บรอส่งกำจัด

น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย เมธิลีนไกลคอน, โซเดียมไฮโป คลอไรต์, ฟีนอล ความเป็นอันตราย เป็นพิษ,กัดกร่อน ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า บอแร็กซ์ 1/2 ถ้วยละลายใน น้ำเดือด 5 ลิตร วิธีจัดการ ใช้ให้หมด

น้ำยาล้างท่อ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย โซเดียมไฮโปครอไรต์,กรด ไฮโดรคลอริก ความเป็นอันตราย เป็นพิษ,กัดกร่อน วิธีจัดการ แยกเก็บรอส่งกำจัด ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า เกลือ 1/2 ถ้วยละลายในน้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วย ราดลงท่อ ปล่อยไว้ 5 นาที เทน้ำเดือดลงไป

น้ำยาขัดเครื่องเรือน ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ไดเอธิลีนไกลคอล ความเป็นอันตราย เป็นพิษ,ไวไฟ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้น้ำมันมะกอก 3 ส่วน ต่อ น้ำส้มสายชู 1 ส่วน วิธีจัดการ แยกเก็บรอส่งกำจัด

น้ำยาฟอกขาว ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย โซเดียมไฮดรอกไซด์,ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ ความเป็นอันตราย เป็นพิษ,กัดกร่อน ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า สำหรับการซักผ้าให้ใช้น้ำส้ม สายชูกลั่น 12 ถ้วย หรือเกลือ โซดา หรือบอแรกซ์ วิธีจัดการ ใช้ให้หมด แล้วทิ้งถังขยะ

ลูกเหม็น ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แนพธาลีน, ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แนพธาลีน, ความเป็นอันตราย เป็นพิษ,กัดกร่อน ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้หีบหรือแผ่นไม้ซีดาห์ ซักผ้า ให้สะอาดเก็บไว้ในที่ปิดสนิท วิธีจัดการ ใช้ให้หมด กำจัดตามวิธีแนะนำ แยกเก็บรอส่งกำจัด

สารเคมีที่ใช้ในสระว่ายน้ำ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย คลอรีน,โซเดียมไฮโปคลอไรต์ ความเป็นอันตราย เป็นพิษ,กัดกร่อน ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โอโซน วิธีจัดการ ใช้ให้หมด ปฏิบัติตามข้อ แนะนำ,แยกเก็บรอส่งศูนย์กำจัด

น้ำยาล้างท่อ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แอมโมเนีย,เอธานอล ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แอมโมเนีย,เอธานอล ความเป็นอันตราย เป็นพิษ,กัดกร่อน,ระคายเคือง ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้น้ำส้มสายชูกลั่น วิธีจัดการ ใช้ให้หมด ปฏิบัติตามคำแนะนำ

น้ำยาขัดผิวโลหะ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แอมโมเนีย,เอธานอล ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แอมโมเนีย,เอธานอล ความเป็นอันตราย เป็นพิษ,กัดกร่อน,ระคายเคือง ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้น้ำมะนาวผสมบอแรกซ์ 1:1 วิธีจัดการ ใช้ให้หมด แล้วปฏิบัติตามฉลาก ข้างขวด

สารฆ่าเชื้อรา ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แคปแทน, โฟลเพท ฯลฯ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย แคปแทน, โฟลเพท ฯลฯ ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า อย่าให้มีความชื้น, ทำให้พื้นที่ แห้งและไม่มีสิ่งปกคลุม วิธีจัดการ กระป๋องล้างน้ำหลายๆครั้ง นำ ไปกำจัดเชื้อรา ไม่เทลงแหล่งน้ำ

สารกำจัดแมลงศัตรูพืช ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย มาลาไธออน, คาร์บารีล ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ผสมน้ำยาล้างจาน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ถ้วย ฉีดพ่นใบไม้ วิธีจัดการ กระป๋องล้างน้ำหลายๆครั้ง นำ ไปฉีดพ่นพืช ไม่เทลงแหล่งน้ำ

สารหนู ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย สารประกอบอาร์เซนิก ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย สารประกอบอาร์เซนิก ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า สำหรับมดให้เทกรดบอริกลง ปากทางเข้ารูมด วิธีจัดการ กระป๋องล้างน้ำหลายๆครั้ง นำ ไปกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ ไม่เท ลงแหล่งน้ำ

สารฆ่าแมลงที่สกัดจากพืช ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ไพลีทริน, โรดโนน,นิโคติน ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้สบู่กำจัดแมลง หรือใช้ตัวห้ำ วิธีจัดการ กระป๋องล้างน้ำหลายๆครั้ง ฝัง ลงดิน นำน้ำไปกำจัดแมลง ไม่เท ลงแหล่งน้ำ

คาร์บาเมต ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย คาร์บาริล,อัลดิคาร์บ ฯลฯ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย คาร์บาริล,อัลดิคาร์บ ฯลฯ ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้สบู่กำจัดแมลง หรือใช้ตัวห้ำ วิธีจัดการ กระป๋องล้างน้ำหลายๆครั้ง ฝัง ลงดิน นำน้ำไปกำจัดแมลง ไม่เท ลงแหล่งน้ำ

ปลอกคอกำจัดหมัด ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ไพลีทริน,ออร์กาโนฟอสเฟต ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ไพลีทริน,ออร์กาโนฟอสเฟต ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้ปลอกคอที่มีสารผลิตจากพืช วิธีจัดการ กระป๋องล้างน้ำหลายๆครั้ง ฝัง ลงดิน นำน้ำไปกำจัดแมลง ไม่เท ลงแหล่งน้ำ

สารฆ่าแมลงสาบและมด ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ไพลีทริน,ออการ์โนฟอสเฟต ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ไพลีทริน,ออการ์โนฟอสเฟต ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้กรดบอริก วิธีจัดการ กระป๋องล้างน้ำหลายๆครั้ง ฝัง ลงดิน นำน้ำไปกำจัดแมลง ไม่เท ลงแหล่งน้ำ

สารเบื่อหนู ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย สตริกนิน,วาร์ฟาริน ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย สตริกนิน,วาร์ฟาริน ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ใช้กับดักหนู,คลื่นอุลตร้าโซนิก วิธีจัดการ กระป๋องล้างน้ำหลายๆครั้ง ฝัง ลงดิน

หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ปรอท ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย ปรอท ความเป็นอันตราย เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ไม่มี วิธีจัดการ ใช้พลาสติกหุ้มหลอด ระวังอย่า ให้แตก รอส่งกำจัด

แบตเตอรี่รถยนต์ ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย กรดซัลฟูริก,ตะกั่ว ส่วนประกอบที่เป็นอันตราย กรดซัลฟูริก,ตะกั่ว ความเป็นอันตราย กัดกร่อน,เป็นพิษ ทางเลือกที่เกิดพิษน้อยกว่า ไม่มี วิธีจัดการ รีไซเคิล

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการของเสียอันตราย มี 3 กลุ่มใหญ่ คือ ผู้ก่อกำเนิด (Waste Generator) ผู้ขนส่ง (Waste Transporter) ผู้รับบำบัดกำจัด (Waste Processor)

การจัดการของเสียอันตรายโดยใช้หลักการ 3Rs การจัดการของเสียอันตรายโดยเริ่มจากการใช้หลักการ 3Rs ได้แก่ Reduce, Reuse และ Recycle โดยให้ความสำคัญต่อการป้องกันและลดปริมาณกาก ณ จุดกำเนิด ซึ่งผู้ก่อกำเนิดสามารถดำเนินการได้โดยอาศัยการวิเคราะห์จุดกำเนิด ปริมาณ และความเป็นอันตรายของกาก เพื่อหามาตรการรวมถึงการลดความเป็นอันตรายด้วย

การจัดการของเสียอันตรายโดยใช้หลักการ 3Rs

การจัดการของเสียอันตราย (Hazardous waste management) การเก็บรวบรวมที่แหล่งกำเนิด (site collection) การขนย้าย (transportation) การบำบัด (treatment) และการกำจัด (disposal)

การเก็บรวบรวมที่แหล่งกำเนิด (site collection) เพื่อให้มีปริมาณของเสียอันตรายมากพอที่จะนำไปบำบัด และกำจัด หรือเก็บรวบรวมไว้ เพื่อรอการขนย้าย และกำจัดภายนอกโรงงาน การเก็บรวบรวมของเสียอันตราย มีแนวทางดังนี้ - ควรเก็บของเสียแต่ละชนิดให้อยู่ในภาชนะที่เหมาะสม ทนทานต่อการกัดกร่อนมีฝาปิดมิดชิด - ควรแยกเก็บของเสียที่อาจทำปฏิกิริยากันไว้ในภาชนะที่แยกออกจากกัน - ด้านข้างภาชนะควรมีเครื่องหมายแสดงชนิดของของเสียอันตรายที่บรรจุอยู่ - ควรเก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศดี

การขนย้าย (transportation) ขนย้ายด้วยพาหนะที่ปลอดภัย มีการป้องกันการรั่วไหลได้เป็นอย่างดี ด้านข้างพาหนะจะต้องแสดงเครื่องหมายแสดงชนิดของของเสียอันตรายที่กำลังทำการขนย้ายด้วย

การบำบัด (treatment) และ การกำจัด (disposal) การบำบัดด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมี การบำบัดด้วยกระบวนทางชีวภาพ การปรับเสถียร (stabilization/solidification) การเผา การฝังกลบ

การบำบัดด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมี เพื่อทำให้ของเสียอันตรายลดความอันตรายลง มีความสามรถในการละลายต่ำลง มีความคงตัวมากขึ้น ้ได้แก่            - การทำให้สารละลายกรดและด่างมีสภาพเป็นกลาง            - การแยกโลหะหนักออกจากน้ำด้วยการตกตะกอนทางเคมี (chemical precipitation) แล้วนำตะกอนไปทำการฝังกลบ            - การทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เพื่อให้ของเสียอันตรายอยู่ในรูปที่มีความเป็นพิษน้อยลง            - การดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ (activated carbon) - การผสมของเสียอันตรายกับปูนซีเมนต์ เพื่อให้ของเสียอันตรายนั้น ละลายน้ำได้น้อยลง เพื่อจะได้ถูกชะล้างน้อยลง

การบำบัดด้วยกระบวนทางชีวภาพ ใช้ในการกำจัดของเสียที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ วิธีนี้มีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากของเสียอันตรายส่วนมากยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กระบวนการบำบัดทางชีวภาพ ที่นำมาใช้มีทั้งกระบวนการแบบใช้และไม่ใช้ออกซิเจน

การปรับเสถียร (stabilization/solidification) เป็นการผสมสารเคมีที่เหมาะสมเข้ากับของเสีย เพื่อให้เกิดโครงสร้างที่ของเสียถูกจับไว้ ทำให้ของเสียถูกชะล้างละลายออกมาได้น้อยลง เป็นการเตรียมของเสียเพื่อนำไปฝังกลบอย่างปลอดภัย ตัวอย่างการปรับเสถียร ได้แก่ การผสมปูนซีเมนต์กับตะกอนโลหะหนักแล้วนำมาหล่อเป็นก้อน ตะกอนที่ผ่านการปรับเสถียรแล้วต้องนำมาทดสอบสมบัติการถูกชะล้าง (leaching test) ภายไต้สภาวะมาตรฐานก่อนนำไปฝังกลบ สารละลายที่ผ่านการชะล้างของเสียแล้ว จะต้องมีสารปนเปื้อนต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดไว้

Polymer stabilization http://www.beyondthemine.com/2008/cms/uploads/mercury_figure1.jpg http://www.marcor.com/i/svc/stabilization.jpg

การเผาด้วยเตาเผาอุณหภูมิสูง (incineration) การบำบัดด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมี ไม่สามารถทำลายของเสียอันตรายบางชนิดได้ เช่น น้ำมัน สารปราบศัตรูพืชบางชนิด ตัวทำละลายอินทรีย์ สารเคมีที่เสื่อมคุณภาพ จึงจำเป็นต้องทำการกำจัดโดยการนำมาเผาที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้ของเสียเปลี่ยนสภาพเป็นเถ้า แล้วนำเถ้านี้ไปฝังกลบต่อไป การเผาของเสียอันตราย ต้องทำการเผาที่อุณหภูมิสูงถึง 1000-1200 องศาเซลเซียส และต้องมีส่วนเผาไอก๊าซซ้ำ เพื่อให้มีมลสารเหลือน้อยที่สุด เตาเผาจะต้องมีการปรับอัตราส่วนเชื้อเพลิงและอากาศที่เหมาะสม นอกจากนี้ จะต้องมีเครื่องฟอกอากาศซ้ำ เช่น เครื่องดักฝุ่น เครื่องกำจัดไอกรดด่าง ก่อนปล่อยอากาศออกสู่สิ่งแวดล้อม

การเผาด้วยเตาเผาอุณหภูมิสูง (incineration) http://www.gec.jp/WASTE/data/img/wstfig_G-5-3.gif

การเผาด้วยเตาเผาอุณหภูมิสูง (incineration) http://www.gec.jp/WASTE/data/img/wstfig_K-4-2.gif

http://www. cleanergreenerchina. com/images/Shanghai-incineration-2 http://www.cleanergreenerchina.com/images/Shanghai-incineration-2.JPG

การฝังกลบแบบปลอดภัย (Secured Landfill) ต้องมีการป้องกันการรั่วซึมของน้ำและสารอันตรายอย่างรัดกุมมาก ที่ก้นหลุม และด้านข้างหลุม มีการบดอัดด้วยดินเหนียวซึ่งมีอัตราการไหลซึมของน้ำต่ำ กรณีหลุมฝังของ GENCO มีอัตราการไหลซึมของน้ำชั้นดินเหนียวต่ำกว่า 10-7 ซม./วินาที จากนั้น จึงปูด้วยแผ่นยางหรือแผ่นพลาสติก เช่น แผ่น HDPE จำนวน 2 ชั้น เหนือชั้นแผ่นยางแต่ละชั้นเป็นชั้นระบายน้ำ ซึ่งอาจเกิดการรั่วไหลลงมา น้ำเหล่านี้จะไหลลงท่อ เพื่อรวบรวมนำมาบำบัดภายนอกต่อไป

การฝังกลบแบบปลอดภัย (Secured Landfill) เมื่อฝังกลบกากของเสียจนเต็มหลุมแล้วต้องทำการปิดหลุมด้วยดินอัดแน่น ต่อจากนั้น ปูแผ่นยางหรือแผ่นพลาสติกสังเคราะห์ ปูทับด้วยดินอีกชั้น แล้วปลูกพืชคลุมดินไว้ เพื่อลดการชะล้างพังทลายหน้าดินไป ด้านบนของหลุมฝังกลบ จะต้องมีท่อระบายอากาศ เพื่อระบายก็าซที่เกิดขึ้นภายในออกสู่ภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอัดตัวของก๊าซจนดันหลุมฝังกลบให้มีรอยแตกได้ ด้านข้างของหลุมฝังกลบทั้ง 2 ด้าน ต้องมีบ่อบาดาลเป็นบ่อสังเกตการณ์ (man hole) การรั่วไหลออกสู่ภายนอก โดยต้องทำการเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อทั้งสองมาตรวจสอบปริมาณสารปนเปื้อนอยู่เสมอ

http://www.ppli-indo.com/images/eps.jpg

http://www.reichler.net/images/ElfCON2.JPG

http://www.golder.com/cn/uploads/projects/image-80.jpg

การจัดการของเสียอันตราย ในประเทศไทย

การจัดการของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป มีทั้งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ กระทรวงอุตสาหกรรม และ การนิคมอุตสาหกรรม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานซึ่งสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีจำนวนมากถึง 103,751 โรงงาน ในปี พ.ศ. 2538 ตั้งกระจายอยู่ทั่วไป โรงงานขนาดใหญ่มักจะมีระบบบำบัดของเสียที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่สำหรับโรงงานขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนมาก มักแอบปล่อยทิ้งของเสียโดยมิได้ผ่านการบำบัดใดๆ กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงเห็นความจำเป็นที่จะก่อตั้งศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม เช่น ของเสียที่มีสารโลหะหนัก บริเวณที่มีความจำเป็นต้องจัดสร้างศูนย์บริการกำจัดกาก ได้แก่ แขวงแสมดำ อ. บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จ.ราชบุรี จ.ชลบุรี จ.สระบุรี จ.ระยอง

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบัน ศูนย์บริการกำจัดกากที่เปิดดำเนินการแล้วมี 2 แห่ง คือ ศูนย์บริการกำจัดกากแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน พื้นที่ฝังกลบ จ.ราชบุรี ศูนย์บริการกำจัดกาก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัจจุบัน บริษัทผู้รับสัมปทานในการดำเนินการศูนย์ก่อสร้างทั้ง 2 แห่งคือ บริษัท บริหารและพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (General Environmental Conversation Co., Ltd.,) หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม GENCO ซึ่งมีการก่อตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2537 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมถือหุ้นในบริษัทนี้ร้อยละ 25

ศูนย์บริการกำจัดกาก แขวงแสมดำ http://www.genco.co.th/TH-Contact.htm

ศูนย์บริการกำจัดกาก แขวงแสมดำ เป็นศูนย์แห่งแรก โดยเริ่มจากการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ลงทุนจัดสร้างศูนย์บำบัดนี้ขึ้น และสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 ต่อจากนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการให้มีการเช่าดำเนินการโดยบริษัทเอกชน โดยบริษัท GENCO เข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์นี้สามารถรองรับของเสียประเภท กรด ด่าง และโลหะหนัก มีความสามารถในการรับ น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม 800 ลบ.ม./วัน น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ 200 ลบ.ม./วัน และ กากตะกอนและของแข็งที่ปนเปื้อนด้วยโลหะหนัก 100 ตัน/วัน

ศูนย์บริการกำจัดกาก แขวงแสมดำ กากตะกอน จากระบบบำบัดน้ำเสียภายในศูนย์รวมทั้งกากตะกอนและของแข็งที่รับจากภายนอก จะถูกทำให้คงตัวแล้วจะถูกส่งไปทำการฝังกลบ (secure landfill) ยังศูนย์ราชบุรี ในปี พ.ศ. 2537 มีผู้ใช้บริการศูนย์แสมดำจำนวนทั้งสิ้น 549 ราย โดยมีปริมาณของเสียที่จะถูกส่งเข้าระบบดังนี้ น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อม 4,800 ลบ.ม./เดือน น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ 7,700 ลบ.ม./เดือน กากตะกอนของแข็งและอันตรายอื่นๆ 1,540 ตัน/เดือน จากตัวเลขเหล่านี้จะเห็นได้ว่า ของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้องยังมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์บริการกำจัดกาก นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จ. ระยอง http://www.genco.co.th/TH-Contact.htm

ศูนย์บริการกำจัดกาก นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จ. ระยอง ให้บริการการเก็บรวบรวม การขนส่ง การบำบัดและกำจัด รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำด้านการจัดการกับวัสดุเหลือใช้หรือของเสียทุกประเภท มีศักภาพในการจัดการกากของเสียได้ 500-1,000 ตันต่อวัน ตัวอย่างของอุตสาหกรรมที่ส่งของเสียมาบำบัดในศูนย์นี้ ได้แก่ ของเสียจากอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรมน้ำมันและปริโตรเคมี ตัวอย่างชนิดของเสีย ได้แก่ กระดาษห่อวัตถุดิบที่ใช้ทำยา ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ แผ่นวงจรอิเลคโทรนิกส์ กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานชุบโลหะตะกอนจากโรงงานทำสี

การให้บริการของทั้ง 2 ศูนย์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การขนส่งกากของเสีย การศึกษาวิเคราะห์ของเสียก่อนการบำบัด การบำบัดน้ำเสีย การปรับเสถียรกากของเสีย การฝังกลบอย่างปลอดภัย และ การผสมกากเป็นเชื้อเพลิง

นิคมอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จำนวน 23 นิคม ซึ่งมีโรงงานในสังกัดทั้งสิ้นประมาณ 2,200 โรงงาน นิคมอุตสาหกรรมจัดสร้างโรงพักกากชั่วคราว เพื่อพักรอการส่งไปกำจัดที่ศูนย์บริการกำจัดกากโรงงานอุสาหกรรมต่อไป โรงพักกากชั่วคราวสามารถเก็บกักกากอย่างน้อยได้ 5 ปี การนิคมอุตสาหกรรมมีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเก็บวบรวมกาก เพื่อส่งให้กับศูนย์บริการกำจัดกากของกรมโรงงานอุตสาหกรรมมาเป็นการรวบรวมกำจัด และบำบัดกาก อุตสาหกรรมอย่างครบวงจร

การจัดการของเสียอันตรายจากแหล่งชุมชน 1) ของเสียจากที่พักอาศัยและแหล่งพาณิชยกรรม และ 2) ของเสียจากโรงพยาบาล

การจัดการของเสียอันตรายจากที่พักอาศัยและแหล่งพาณิชยกรรม ในประเทศไทยการวางแผนจัดการของเสียอันตรายที่เป็นรูปธรรมมีเพียงที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ส่วนเทศบาลอื่นๆ ยังมิได้มีการจัดการ ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง คือ ยังมิได้มีมาตรการชัดเจนในการบังคับให้แยกทิ้งขยะอันตรายในชุมชน ทำให้ของเสียอันตรายเหล่านี้มีการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมอย่างมาก

คิดดี ทำดี พูดดี... แล้วชีวิตจะดี... สวัสดี... คิดดี ทำดี พูดดี... แล้วชีวิตจะดี... สวัสดี...

เอกสารอ้างอิง กรมควบคุมมลพิษ. การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร (คู่มือสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น). [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 6 กรกฎาคม 2553 จาก http://infofile.pcd.go.th/haz/haz_separate_manual.pdf?CFID=2289353&CFTOKEN=39837704 ระบบเครือข่ายสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย. การจัดการของเสียอันตราย. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 6 กรกฎาคม 2553 จาก http://teenet.tei.or.th/DatabaseGIS/hazard_manage.html ธเรศ ศรีสถิตย์. (2553). วิศวกรรมการจัดการมูลฝอยชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุษา วิเศษสุมนา. (2537)”เทคโนโลยีการจัดการด้านขยะและกากเป็นพิษ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.