พวงวรรณ ไกรสินธุ์ กองแผนงาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พวงวรรณ ไกรสินธุ์ กองแผนงาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วย การตัดสินค้าขาดบัญชีของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546 พวงวรรณ ไกรสินธุ์ กองแผนงาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

เนื้อหาโดยสรุป มีดังนี้ เนื้อหาโดยสรุป มีดังนี้ การอ้างอิงกฎหมาย การมีผลบังคับใช้ นิยามคำศัพท์ การลดหย่อนสินค้าขาดบัญชี การตัดสินค้าขาดบัญชี

แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ 2542 การอ้างอิงกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 16 (2) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ 2542

ให้อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์รักษาการตาม ระเบียบนี้ รวมทั้งวินิจฉัย ให้คำแนะนำหรือ กำหนดวิธีปฏิบัติได้ตามความจำเป็น

คำศัพท์ที่เปลี่ยนจากเดิม สินค้าขาดบัญชีรอหาผู้รับผิดชอบ เปลี่ยนเป็น สินค้าขาดบัญชี

ค่าเผื่อสินค้าขาดบัญชี สำรองสินค้าขาดบัญชีรอหาผู้รับผิดชอบ เปลี่ยนเป็น ค่าเผื่อสินค้าขาดบัญชี

การลดหย่อนความรับผิดชอบ สินค้าขาดบัญชี พิจารณาดังนี้ ประเภทสินค้าที่ลดหย่อน การรับภาระค่าลดหย่อนเป็นค่าใช้จ่าย กรณีลดหย่อนเกินกว่าอัตราที่ นทส. กำหนด

ประเภทสินค้าที่ลดหย่อน แยกเป็น 1.1 สินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตร 1.2 สินค้าประเภทอุปโภคบริโภคและอื่น ๆ

1. สินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตร คณะกรรมการอาจพิจารณาลดหย่อน สำหรับสินค้าที่มีการยุบตัวหรือสูญเสีย น้ำหนักตามสภาพของสินค้า โดย

สินค้าประเภทอุปโภคบริโภคละอื่น ๆ คณะกรรมการอาจพิจารณาลดหย่อนได้ ไม่เกินอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดขายสินค้าหรือยอดขายเฉพาะแผนกนั้น ๆ แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า

สำหรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง ให้พิจารณาลดหย่อนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขาดหาย เนื่องจากการระเหยของน้ำมันตามสภาพปกติ ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมสรรพากร กำหนด

การรับภาระค่าลดหย่อนสินค้าขาดบัญชี เป็นค่าใช้จ่าย สก. / กลุ่มฯ ต้องรับภาระค่าใช้จ่าย สินค้าขาดบัญชีที่ลดหย่อนให้แทน ผู้สมควรรับผิดชอบ

สก. / กลุ่มฯ ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หากลดหย่อนเกินกว่าอัตราร้อยละที่ กรมสรรพากรกำหนด / ไม่มีการกำหนดอัตราไว้ สก. / กลุ่มฯ ต้องรับภาระค่าใช้จ่าย และ ภาษีขาย ( ถ้ามี )

กรณีลดหย่อนเกินกว่าอัตราที่ นทส.กำหนด ให้นำเสนอที่ประชุมใหญ่พิจารณาอนุมัติ ตัดสินค้าขาดบัญชีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข

สินค้าขาดบัญชีส่วนที่เกินจากการได้ลดหย่อน ให้ดำเนินการดังนี้ สินค้าขาดบัญชีส่วนที่เกินจากการได้ลดหย่อน ให้ดำเนินการดังนี้ ถ้ามีผู้รับผิดชอบ ให้ผู้รับผิดชอบชดใช้ด้วยราคาขายรวมภาษีขาย (ถ้ามี) หากไม่สามารถชำระคืนได้ให้ตั้งผู้รับผิดชอบ เป็น ลูกหนี้สินค้าขาดบัญชี

ถ้ายังไม่สามารถกำหนดตัวผู้รับผิดชอบ หรือ อยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณาหาผู้รับผิดชอบ ให้ถือเป็น สินค้าขาดบัญชี มีมูลค่าตามราคาขาย รวมภาษีขาย (ถ้ามี) และจะต้องตั้งค่าเผื่อสินค้า ขาดบัญชีและค่าเสียหายจากสินค้าขาดบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน

ถ้าสามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ในเวลาต่อมา สินค้าขาดบัญชี เปลี่ยนสภาพเป็น ลูกหนี้สินค้า ขาดบัญชี และค่าเผื่อสินค้าขาดบัญชี เปลี่ยนสภาพ เป็น สินค้าขาดบัญชีได้รับชดใช้ ถือเป็นรายได้

ถ้าสอบสวนแล้วไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ ได้แน่นอน ให้ดำเนินการ ตัดสินค้าขาดบัญชี และค่าเผื่อสินค้าขาดบัญชี เมื่อได้ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ที่กำหนด

การตัดสินค้าขาดบัญชีให้ทำตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้ ต้องเป็นสินค้าที่จัดหามาจำหน่าย ตามลักษณะการประกอบธุรกิจปกติ โดยต้อง มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ดำเนินหาผู้รับผิดชอบ ชดใช้จนถึงที่สุดแล้วแต่ไม่สามารถหาได้

3. สินค้าขาดบัญชีที่คณะกรรมการพิจารณา ว่าตามสภาพและสถานการณ์มีความจำเป็น สมควรต้องลดหย่อนเกินกว่าอัตราที่กำหนด

คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ พ.ศ. 2547

วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ความหมาย ส่วนที่ 2 วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ส่วนที่ 3 การแสดงรายการในงบการเงิน และการเปิดเผย ข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ส่วนที่ 4 ตัวอย่างการปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ส่วนที่ 5 การถือปฏิบัติ

ส่วนที่ 1 ความหมาย

สินค้าคงเหลือ หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งมีไว้เพื่อขาย หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือมีไว้เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ อาจแยกตามสภาพได้ดังนี้ สินค้าคงเหลือสภาพปกติ สินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุด

สินค้าเสื่อมสภาพเสียหายตัดบัญชี หมายถึง สินค้าเสื่อมสภาพชำรุด เสียหาย จนไม่สามารถขายได้ต้องของอนุมัติ ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี จึงไม่นับ เป็นสินค้าคงเหลือ

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติ หักด้วยต้นทุนส่วนเพิ่มที่จะผลิต ให้เสร็จ และบวกด้วยค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ขายสินค้าได้

วิธีราคาทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก หมายถึง วิธีการคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือ โดยใช้ราคาของสินค้าที่มีเพื่อขายหารด้วย จำนวนหน่วยสินค้าที่มีเพื่อขาย ซึ่งอาจจะ คำนวณแบบต่อเนื่องเป็นระยะๆ ไป หรือ คำนวณทุกครั้งที่ได้รับสินค้า หรือคำนวณ ณ วันสิ้นปีทางบัญชี

สินค้าขาดบัญชี หมายถึง (1) สินค้าที่ตรวจนับ ณ วันสิ้นปีทางบัญชีหรือวันตรวจนับ มีจำนวนน้อยกว่าสินค้าคงเหลือตามบัญชี หรือ (2) มูลค่าของสินค้าอาจได้รับการหักลดหย่อนความรับผิดชอบ ซึ่งส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงถือเป็น ยอดสินค้าขาดบัญชี

ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง หมายถึง ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง มูลค่าสินค้าคงเหลือสภาพปกติ หรือ สภาพเสื่อมชำรุด ระหว่างราคาทุน กับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ

ค่าลดหย่อนสินค้าขาดบัญชี หมายถึง มูลค่าสินค้าขาดบัญชีที่ได้รับการลดหย่อน โดยมิต้องหาผู้รับผิดชอบถือเป็นค่าใช้จ่าย ในงบกำไรขาดทุน

ส่วนที่ 2 วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ส่วนที่ 2 วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

การตีราคาสินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือสภาพต่างๆ ที่ยังสามารถขายได้ ให้ตีราคาตามราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ ราคาใดจะต่ำกว่า การคำนวณราคาทุนอาจเลือกวิธีการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง สำหรับสินค้าประเภทใด และควรใช้วิธีนั้นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ วัตถุดิบคงเหลือสิ้นปีที่ใช้ในการผลิตไม่ควร ตีราคาให้ต่ำกว่าราคาทุนถ้าคาดว่าสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตจาก วัตถุดิบจะขายได้ในราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคาทุน

การประมาณมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ เป็นการประมาณราคาสินค้าคงเหลือ ที่คาดว่าจะขายได้ ณ วันสิ้นปีทางบัญชี และควรถือตามหลักฐานที่เชื่อถือได้มากที่สุด

การคำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือ ให้ใช้วิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือจากการ เปรียบเทียบราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ที่ต่ำกว่าของสินค้าแต่ละรายการ

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ สภาพปกติ ณ วันสิ้นปีทางบัญชี กรณีสินค้าคงเหลือสภาพปกติมีราคาทุน ต่ำกว่ามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีสินค้าคงเหลือ เครดิต บัญชีต้นทุนขาย

กรณีสินค้าคงเหลือสภาพปกติมีมูลค่าสุทธิที่ จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน บันทึกบัญชีโดย บันทึกสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุน โดย เดบิต บัญชีสินค้าคงเหลือ เครดิต บัญชีต้นทุนขาย บันทึกผลต่างระหว่างราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่า โดย เดบิต บัญชีขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง เครดิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง

ทุกวันสิ้นปีทางบัญชีต้องคำนวณค่าเผื่อมูลค่าสินค้า ลดลงของสินค้าคงเหลือแล้วเปรียบเทียบกับยอดคงเหลือ ตามบัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง ถ้ามีจำนวนน้อยกว่า ให้ปรับปรุงบัญชีโดย เดบิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง เครดิต บัญชีกำไรจากการตีราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ถ้ามีจำนวนมากกกว่า ให้ปรับปรุงบัญชี โดย เดบิต บัญชีขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง เครดิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง

การตีราคาสินค้าคงเหลือตามราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่า ตัวอย่างที่ 2 การตีราคาสินค้าคงเหลือตามราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่า รายละเอียด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545 มีดังนี้ ชนิดสินค้า ปุ๋ย สูตร... จำนวนกระสอบ ราคาทุน มูลค่าสุทธิ ที่จะได้รับ ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่า ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 16-20-0 1 200 220 - 15-15-15 10 3,000 2,800 3,200 3,020 สินค้าคงเหลือเปรียบเทียบจากราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของ สินค้าแต่ละรายการ มูลค่าสินค้าคงเหลือจะเท่ากับ 3.000 บาท

วิธีปฏิบัติทางบัญชี เปรียบเทียบราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้า แต่ละรายการ มูลค่าสินค้าคงเหลือ = 3,000 บาท บันทึกสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุน โดย เดบิต บัญชีสินค้าคงเหลือ 3,200 เครดิต บัญชีต้นทุนขาย 3,200 บันทึกผลต่างระหว่างราคาทุนกับราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่า โดย เดบิต บัญชีขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง 200 เครดิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 200

การแสดงรายการในงบการเงิน งบต้นทุนขาย สินค้าคงเหลือต้นปี 1,000 บวก ซื้อ 5,000 6,000 หัก สินค้าคงเหลือสิ้นปี 3,200 ต้นทุนขาย 2,800

งบกำไรขาดทุน ขาย 5,000 หัก ต้นทุนขาย 2,800 กำไรขั้นต้น 2,200 ขาย 5,000 หัก ต้นทุนขาย 2,800 กำไรขั้นต้น 2,200 หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง 200 กำไรสุทธิ 2,000

งบดุล สินทรัพย์หมุนเวียน ..................... สินค้าคงเหลือ 3,000

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สินค้าคงเหลือประกอบด้วย ปุ๋ยคงเหลือ 3,200 หัก ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 200 สินค้าคงเหลือ 3,000

การตีราคาสินค้าคงเหลือแล้วไม่มีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง ตัวอย่างที่ 3 การตีราคาสินค้าคงเหลือแล้วไม่มีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง รายละเอียด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 มีดังนี้ ชนิดสินค้า ปุ๋ย สูตร... จำนวนกระสอบ ราคาทุน มูลค่าสุทธิ ที่จะได้รับ ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่า ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 16-20-0 10 2,000 2,300 - 15-15-15 5 1,500 1,600 16-8-8 3 450 600 3,950 4,500 สินค้าคงเหลือเปรียบเทียบจากราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของ สินค้าแต่ละรายการ มูลค่าสินค้าคงเหลือจะเท่ากับ 3.950 บาท

ให้พิจารณาบัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลงมียอดคงเหลือสิ้นปี 200 บาท (จากตย.ที่ 2)สิ้นปี 2546 ไม่มียอดค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง วิธีปฏิบัติทางบัญชี บันทึกสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุน โดย เดบิต บัญชีสินค้าคงเหลือ 3,950 เครดิต บัญชีต้นทุนขาย 3,950 ปรับปรุงบัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง เนื่องจากวันที่ 31 ธ.ค. 2546 คำนวณราคาสินค้าคงเหลือแล้วไม่มียอดค่าเผื่อมูลค่า สินค้าลดลง ดังนั้น จึงต้องปรับปรุงบัญชีค่าเผื่อมูลค่า สินค้าลดลง โดย เดบิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 200 เครดิต บัญชีกำไรจากการตีราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 200

การแสดงรายการในงบการเงิน งบต้นทุนขาย สินค้าคงเหลือต้นปี 3,200 บวก ซื้อ 8,500 11,700 หัก สินค้าคงเหลือสิ้นปี 3,950 ต้นทุนขาย 7,750

งบกำไรขาดทุน ขาย 8,320 หัก ต้นทุนขาย 7,750 กำไรขั้นต้น 570 ขาย 8,320 หัก ต้นทุนขาย 7,750 กำไรขั้นต้น 570 หัก รายได้เฉพาะธุรกิจ กำไรจากการตีราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 200 กำไรสุทธิ 770

หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบดุล สินทรัพย์หมุนเวียน ..................... สินค้าคงเหลือ 3,950 หมายเหตุประกอบงบการเงิน สินค้าคงเหลือประกอบด้วย ปุ๋ยคงเหลือ 3,950

สินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุด สินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุดแต่ยังสามารถ ขายได้ บันทึกค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง โดย บันทึกสินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุดด้วย ราคาทุนโดย เดบิต บัญชีสินค้าคงเหลือ เครดิต บัญชีต้นทุนขาย

เดบิต บัญชีขาดทุนจาการตีราคาสินค้าเสื่อมชำรุดลดลง บันทึกผลต่างระหว่างราคาทุนกับมูลค่าสุทธิ ที่จะได้รับโดย เดบิต บัญชีขาดทุนจาการตีราคาสินค้าเสื่อมชำรุดลดลง เครดิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง

ตัวอย่างที่ 4 การบันทึกสินค้าคงเหลือเสื่อมชำรุด กรณีตีราคาลดลงต่ำกว่าทุน รายละเอียดสินค้าคงเหลือและสินค้าเสื่อมชำรุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2546 มีดังนี้ ชนิดสินค้า ปุ๋ย สูตร... จำนวนกระสอบ ราคาทุนต่อหน่วย รวมราคาทุน มูลค่าสุทธิ ที่จะได้รับต่อหน่วย ที่จะได้รับ ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่า ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 15-15-15 180 360 50 100 260 16-20-0 5 200 1,000 220 1,100 - 1,360 1,200 2 (เสื่อมชำรุด)

วิธีปฏิบัติทางบัญชี บันทึกสินค้าคงเหลือ โดย เดบิต บัญชีสินค้าคงเหลือ 1,360 เครดิต บัญชีต้นทุนขาย 1,360 บันทึกผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือเสื่อม ชำรุดลดลง โดย เดบิต บัญชีขาดทุนจากการตีราคาสินค้า เสื่อมชำรุดลดลง 260 เครดิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 260

การแสดงรายการในงบการเงิน งบต้นทุนขาย ปี2546 ปี2545 สินค้าคงเหลือต้นปี 2,000 1,000 บวก ซื้อ 5,000 3,000 7,000 4,000 หัก สินค้าคงเหลือสิ้นปี -สภาพปกติ 1,000 2,000 -สภาพเสื่อมชำรุด 360 - ต้นทุนขาย 5,640 2,000

งบกำไรขาดทุน ปี2546 ปี2545 ขาย 7,500 4,500 หัก ต้นทุนขาย 5,640 2,000 งบกำไรขาดทุน ปี2546 ปี2545 ขาย 7,500 4,500 หัก ต้นทุนขาย 5,640 2,000 กำไรขั้นต้น 1,860 2,500 หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ - ขาดทุนจากการตีราคา สินค้าเสื่อมชำรุดลดลง 260 - กำไรสุทธิ 1,600 2,500

งบดุล หมายเหตุ ปี2546 ปี2545 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน หมายเหตุ ปี2546 ปี2545 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน .................... สินค้าคงเหลือ 3 1,100 3,950

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ปี2546 ปี2545 (บาท) (บาท) 3. สินค้าคงเหลือประกอบด้วย สินค้าสภาพปกติ 1,000 2,000 สินค้าสภาพเสื่อมชำรุด 360 - รวม 1,360 2,000 หัก ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 260 - 1,100 2,000

สินค้าเสื่อมชำรุดจำนวน 100 บาท เป็นสินค้า ประเภทปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 2 กระสอบ ซื้อมา ระหว่างปีมีราคาทุนรวม 360 บาท ราคาที่คาดว่าจะขายได้ รวม 100 บาท สาเหตุที่ชำรุดเกิดจากการถูกน้ำฝน เนื่องจากหลังคารั่ว จึงตีราคาลดลงต่ำกว่าทุนตามมติที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการ ครั้งที่............. วันที่.................

สินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุดเสียหายจนไม่ สามารถขายได้ เมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการให้ตัดจำหน่ายออกจาก บัญชี ให้บันทึกดังนี้ เดบิต บัญชีค่าเสียหายจากสินค้าเสื่อมสภาพตัดบัญชี เครดิต บัญชีต้นทุนขาย

สินค้าเสื่อมสภาพจนไม่สามารถขายได้ ตัวอย่างที่ 6 สินค้าเสื่อมสภาพจนไม่สามารถขายได้ ณ วันต้นปีทางบัญชีวันที่ 1 มกราคม 2546 มีปุ๋ย สูตร 16-20-0 ยกมาจำนวน 10 กระสอบราคาทุน กระสอบละ 100 บาท ระหว่างปีซื้อปุ๋ยสูตร 16-20-0 จำนวน 30 กระสอบ ราคากระสอบละ 100 บาท และ ขายปุ๋ยสูตร 16-20-0 จำนวน 35 กระสอบ ราคา กระสอบละ 150 บาท รวมเงิน 5,250 บาท และระหว่าง ปี (ณ วันที่ 1 ก.ย. 2546) คณะกรรมการได้มีมติ

ตัดสินค้าเสื่อมสภาพเสียหายจนไม่สามารถขายได้ คือ ปุ๋ยสูตร 16-20-0 จำนวน 1 กระสอบและ ณ วัน สิ้นปีทางบัญชี 31 ธ.ค. 2546 ตรวจนับปุ๋ยคงเหลือ ได้จำนวน 4 กระสอบ ถูกต้องตรงตามยอดคงเหลือใน บัญชีแต่ปรากฏว่าในจำนวนปุ๋ยคงเหลือมีปุ๋ยสภาพชำรุด จำนวน 2 กระสอบ ซึ่งคณะกรรมการประเมินราคา มูลค่าสุทธิที่จะได้รับในราคากระสอบละ 80 บาทและ อีก 2 กระสอบ มีมูลค่าสุทธิที่จะได้รับกระสอบละ 150 บาท

วิธีปฏิบัติทางบัญชี บันทึกการตัดสินค้าเสื่อมสภาพเสียหายจนไม่สามารถ ขายได้ตามมติคณะกรรมการ ดำเนินการ โดย เดบิต บัญชีค่าเสียหายจากสินค้า- เสื่อมสภาพตัดบัญชี 100 เครดิต บัญชีต้นทุนขาย 100

บันทึกสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปีทางบัญชีและ ผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้าเสื่อมชำรุด เดบิต บัญชีสินค้าคงเหลือ 400 เครดิต บัญชีต้นทุนขาย 400 เดบิต บัญชีขาดทุนจากการตีราคา- สินค้าเสื่อมชำรุดลดลง 40 เครดิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 40

การแสดงรายการในงบการเงิน งบต้นทุนขาย ปี2546 ปี2545 สินค้าคงเหลือต้นปี 1,000 2,000 บวก ซื้อ 3,000 4,000 สินค้าที่มีเพื่อขาย 4,000 6,000 หัก สินค้าเสื่อมสภาพ- เสียหายตัดบัญชี 100 - ต้นทุนขาย 3,900 6,000

งบต้นทุนขายต่อ ปี2546 ปี2545 หัก สินค้าคงเหลือสิ้นปี -สภาพปกติ 200 1,000 -สภาพเสื่อมชำรุด 200 - ต้นทุนขาย 3,500 5,000

งบกำไรขาดทุน ปี2546 ปี2545 ขาย 5,250 7,500 หัก ต้นทุนขาย 3,500 5,000 กำไรขั้นต้น 1,750 2,500 หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ -ขาดทุนจากการตีราคา สินค้าเสื่อมชำรุดลดลง 40 - -ค่าเสียหายสินค้า เสื่อมสภาพตัดบัญชี 100 - กำไรสุทธิ 1,610 2,500

งบดุล หมายเหตุ ปี2546 ปี2545 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน หมายเหตุ ปี2546 ปี2545 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน .................... สินค้าคงเหลือ 3 360 1,000

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ปี2546 ปี2545 (บาท) (บาท) 3. สินค้าคงเหลือประกอบด้วย สินค้าคงเหลือ -สภาพปกติ 200 1,000 -สภาพชำรุด 200 - 400 1,000 หัก ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง 40 - สินค้าคงเหลือ 360 1,000

สินค้าคงเหลือสภาพเสื่อมชำรุด เป็นปุ๋ยสูตร 16- 20-0 จำนวน 2 กระสอบราคาทุนกระสอบละ 100 บาท เนื่องจากเปียกชื้น คณะกรรมการจึงมีมติประเมิน ราคาที่คาดว่าจะขายได้ในราคากระสอบละ 80 บาท ตาม มติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการครั้งที่ 12 วันที่ 31 ธ.ค. 2546 และในระหว่างปีคณะกรรมการดำเนินการมี มติให้ตัดบัญชีสินค้าเสื่อมสภาพเสียหายคือ ปุ๋ยสูตร 16- 20-0 จำนวน 1 กระสอบมีราคาทุนกระสอบละ 100 บาทตามมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ครั้งที่ 10 วันที่1 ก.ย. 2546

สินค้าขาดบัญชี กรณีสินค้าขาดบัญชีที่ไม่มีการลดหย่อน ความรับผิดชอบ กรณีสินค้าขาดบัญชีมีการลดหย่อนความรับผิดชอบ การตัดสินค้าขาดบัญชี

กรณีสินค้าขาดบัญชีที่ไม่มีการลดหย่อน ความรับผิดชอบ ให้ถือยอดสินค้าขาดบัญชีที่เกิดขึ้นและไม่มี การลดหย่อนนั้นเป็นสินค้าขาดบัญชีโดยพิจารณา แยกเป็น 2 กรณี คือ มีผู้รับผิดชอบ ไม่มีหรืออยู่ระหว่างดำเนินการหาผู้รับผิดชอบ

เมื่อมีการปรับปรุงสินค้าขาดบัญชี ทะเบียนคุมสินค้าคงเหลือจะต้องปรับลดให้มีจำนวนเท่ากับ สินค้าคงเหลือที่ตรวจนับได้ สำหรับสินค้าขาดบัญชีให้จัดทำรายละเอียดสินค้าขาดบัญชี โดยระบุชนิด ปริมาณและจำนวนเงินของสินค้าขาดบัญชี ตามราคาขายที่บันทึกบัญชีไว้

กรณีสินค้าขาดบัญชีมีการลดหย่อน ความรับผิดชอบ ให้พิจารณาการลดหย่อนความรับผิดชอบเป็น 2 กรณี คือ การลดหย่อนอยู่ในเกณฑ์ การลดหย่อนเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

การลดหย่อนอยู่ในเกณฑ์ ไม่ถือว่าเป็นสินค้าขาด บัญชีรวมทั้งไม่ถือว่าเป็นสินค้าคงเหลือ แต่ให้ถือเป็น การขายและบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย โดยบันทึกบัญชี ดังนี้ เดบิต บัญชีค่าลดหย่อนสินค้าขาดบัญชี (รวมภาษีขายถ้ามี) เครดิต บัญชีขายสินค้า บัญชีภาษีขาย (ถ้ามี)

การลดหย่อนน้ำมันเชื้อเพลิง บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีค่าลดหย่อนน้ำมันเชื้อเพลิงสูญระเหย เครดิต บัญชีขายน้ำมันเชื้อเพลิง

การยื่นแบบ ภพ. 30 ประจำเดือน ให้แสดงรายการขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดจากการลดหย่อนน้ำมันเชื้อเพลิงสูญระเหย ไว้เป็นยอดขายที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ถือเป็นสินค้าขาดบัญชีให้บันทึกบัญชีเป็น 2 ส่วน โดย การลดหย่อนเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือเป็นสินค้าขาดบัญชีให้บันทึกบัญชีเป็น 2 ส่วน โดย บันทึกสินค้าขาดบัญชีที่ได้รับการลดหย่อนตามเกณฑ์ที่ กำหนด และภาษีขาย(ถ้ามี) โดย เดบิต บัญชีค่าลดหย่อนสินค้าขาดบัญชี (รวมภาษีขายถ้ามี) เครดิต บัญชีขายสินค้า บัญชีภาษีขาย (ถ้ามี)

2. สินค้าที่ลดหย่อนเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แยกเป็น มีผู้รับผิดชอบ ไม่มีผู้รับผิดชอบ วิธีการบันทึกบัญชีเช่นเดียวกันกับสินค้าขาดบัญชีที่ ไม่มีการลดหย่อนความรับผิดชอบ

สินค้าขาดบัญชีได้รับการลดหย่อน ตัวอย่างที่ 9 สินค้าขาดบัญชีได้รับการลดหย่อน สหกรณ์มีปีทางบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. โดยใน ระหว่างปีสหกรณ์ได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 30 ก.ย. มีน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือในราคาทุนจำนวนเงิน 20,000 บาท แต่คงเหลือตามบัญชีหรือตามทะเบียนใน ราคาทุนจำนวนเงิน 25,000 บาท สหกรณ์ลดหย่อนน้ำมัน เชื้อเพลิงสูญระเหยตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ คือ อัตราร้อยละ 0.5 ของปริมาณที่ขายได้

ในแต่ละเดือน คือ 100 ลิตร ราคาทุนลิตรละ 10 บาท คิดเป็นจำนวนเงินราคาทุน 1,000 บาท คิดเป็นราคาขาย 1,200 บาท ดังนั้น น้ำมันเชื้อเพลิงส่วนที่ ขาดหายอีก 4,000 บาท ยังไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ซึ่งถ้าคำนวณในราคาขายรวมภาษีขายอัตรา 7% เป็นจำนวนเงิน 5,136 บาท ณ วันสิ้นปีทางบัญชี 31 ธันวาคม 2546 สหกรณ์ ต้องตรวจนับสินค้าคงเหลือ มีสินค้าคงเหลือ ดังนี้

น้ำมันเชื้อเพลิง 20,000 บาท (2,000 ลิตรราคาทุนลิตรละ 10 บาทราคาขายลิตรละ 12 บาท) น้ำมันหล่อลื่น 2,880 บาท (18 แกลลอน ราคาทุนแกลลอนละ 160 บาท ราคา ขายแกลลอนละ 214 บาท)

ปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงมียอดคงเหลือถูกต้อง ตรงตามบัญชี แต่น้ำมันหล่อลื่นมียอดคงเหลือตาม บัญชีจำนวน 20 แกลลอนจึงขาดหาย 2 แกลลอน คณะกรรมการมีมติอนุมัติให้ลดหย่อนได้ซึ่งเป็นไป ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบ นทส.

วิธีปฏิบัติทางบัญชี 30 กันยายน 2546 บันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิงขาดบัญชี ได้รับการลดหย่อน ซึ่งอยู่ในอัตราที่กรมสรรพากร กำหนดไว้โดย เดบิต บัญชีค่าลดหย่อนน้ำมัน- เชื้อเพลิงสูญระเหย 1,200 เครดิต บัญชีขายน้ำมันเชื้อเพลิง 1,200

30 กันยายน 2546 บันทึกสินค้าขาดบัญชีที่ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ เดบิต บัญชีน้ำมันเชื้อเพลิงขาดบัญชี 5,136 เครดิต บัญชีขายน้ำมันเชื้อเพลิง 4,800 บัญชีภาษีขาย 336

31 ธันวาคม 2546 บันทึกสินค้าคงเหลือสินปี โดย เดบิต บัญชีน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ 20,000 บัญชีน้ำมันหล่อลื่นคงเหลือ 2,880 เครดิต บัญชีต้นทุนขาย 22,880

31 ธันวาคม 2546 บันทึกน้ำมันหล่อลื่นขาดบัญชีที่ได้รับการลดหย่อน โดย เดบิต บัญชีค่าลดหย่อนน้ำมัน- หล่อลื่นขาดบัญชี 428 เครดิต บัญชีขายน้ำมันหล่อลื่น 400 บัญชีภาษีขาย 28

31 ธันวาคม 2546 บันทึกค่าเสียหายน้ำมันเชื้อเพลิงขาดบัญชีที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เนื่องจากยังไม่สามารถ หาผู้รับผิดชอบได้ โดย เดบิต บัญชีค่าเสียหายน้ำมัน- เชื้อเพลิงขาดบัญชี 5,136 เครดิต บัญชีค่าเผื่อน้ำมัน- เชื้อเพลิงขาดบัญชี 5,136

หมายเหตุ ในกรณีเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการยื่นแบบ ภพ.30 ประจำเดือนกันยายน ให้แสดงรายการขาย น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับการยกเว้นเนื่องจากน้ำมัน เชื้อเพลิงสูญระเหย 1,200 บาท ทั้งนี้ เป็นไปตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

การแสดงรายการในงบการเงิน งบต้นทุนขาย ปี2546 ปี2545 น้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือต้นปี 90,000 85,000 น้ำมันหล่อลื่นคงเหลือต้นปี 10,000 5,000 บวก ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างปี 70,000 80,000 ซื้อน้ำมันหล่อลื่นระหว่างปี 10,000 20,000 สินค้าที่มีเพื่อขาย 180,000 190,000

งบต้นทุนขาย (ต่อ) ปี2546 ปี2545 หัก - น้ำมันหล่อลื่นเสื่อม- สภาพตัดบัญชี - 160 - น้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสิ้นปี 20,000 90,000 - น้ำมันหล่อลื่นคงเหลือสิ้นปี 2,880 10,000 ต้นทุนขาย 157,120 89,840

การตัดสินค้าขาดบัญชี สามารถตัดสินค้าขาดบัญชีออกจากบัญชีได้ เมื่อได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์และบันทึกบัญชีได้ ดังนี้ เดบิต บัญชีค่าเผื่อสินค้าขาดบัญชี เครดิต บัญชีสินค้าขาดบัญชี

สินค้าเบิกใช้ กรณีสหกรณ์ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสหกรณ์อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีสหกรณ์ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเบิกสินค้าไปใช้ เป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็น ทรัพย์สินในการดำเนินงาน กรณีเบิกสินค้าที่มีเพื่อขายไปใช้ในการผลิตสินค้า กรณีเบิกวัตถุดิบที่มีไว้ใช้ในการผลิตไปเพื่อขาย

บันทึกบัญชี โดย เดบิต บัญชี.............(ระบุประเภทค่าใช้จ่าย) บัญชีประเภทสินทรัพย์ บัญชีเบิกวัตถุดิบใช้ไป เครดิต บัญชีสินค้าเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน บัญชีวัตถุดิบเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน

ณ วันสิ้นปีทางบัญชีให้โอนปิดบัญชีสินค้าเบิกใช้ หรือ บัญชีวัตถุดิบเบิกใช้ไปยังบัญชีต้นทุนขาย หรือต้นทุนการผลิต ดังนี้ เดบิต บัญชีสินค้าเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน เครดิต บัญชีต้นทุนขาย หรือ เดบิต บัญชีวัตถุดิบเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน เครดิต บัญชีต้นทุนการผลิต

กรณีสหกรณ์อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าที่เบิกไปใช้ นำไปใช้ในการประกอบกิจการ ที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สหกรณ์ต้องรับผิดชอบภาระภาษีขายตามมูลค่าของ สินค้าที่เบิกใช้และนำส่งภาษีขาย บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชี.......(ระบุประเภทค่าใช้จ่าย) บัญชี......(ระบุประเภทสินทรัพย์) เครดิต บัญชีขายสินค้า บัญชีภาษีขาย

สินค้าที่เบิกใช้นำไปใช้ในการประกอบกิจการที่อยู่ใน ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถือเป็นการขาย บันทึกบัญชี โดย เดบิต บัญชี.......(ระบุประเภทค่าใช้จ่าย) บัญชี.......(ระบุประเภทสินทรัพย์) เครดิต บัญชีสินค้าเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน

ณ วันสิ้นปีทางบัญชีให้โอนปิดบัญชีสินค้าเบิกใช้เพื่อการดำเนินงานไปยังบัญชีต้นทุนขาย บันทึกบัญชี ดังนี้ เดบิต บัญชีสินค้าเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน เครดิต บัญชีต้นทุนขาย

ของแถม แจกและตัวอย่าง สหกรณ์ที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม สหกรณ์นำสินค้าที่มีเพื่อขายให้แถม แจกฟรีหรือเป็น ตัวอย่างให้แก่ลูกค้า บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย เครดิต บัญชีสินค้าเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน

กรณีสหกรณ์ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเบิกสินค้าที่มีเพื่อขายมาแจก/แถมตามเงื่อนไขของ กรมสรรพากร บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย เครดิต บัญชีสินค้าเบิกใช้เพื่อดำเนินงาน

กรณีเบิกสินค้ามาเพื่อแถม/แจก ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ของกรมสรรพากร บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย(รวมภาษีขาย) เครดิต บัญชีขายสินค้า บัญชีภาษีขาย

สหกรณ์นำสินค้าที่มีเพื่อขายให้แถม แจกฟรี หรือเป็นตัวอย่างให้แก่ลูกค้า ณ วันสิ้นปีทาง บัญชี ให้บันทึกบัญชี ดังนี้ เดบิต บัญชีสินค้าเบิกใช้เพื่อการดำเนินงาน เครดิต บัญชีต้นทุนขาย

ของแถม แจกหรือให้เป็นตัวอย่าง เป็นสินค้าที่ สหกรณ์จัดซื้อมา ไม่ถือเป็นสินค้าคงเหลือ แต่ให้ เป็นวัสดุคงเหลือ ณ วันสิ้นปีทางบัญชีให้ตรวจนับ สินค้าที่ซื้อมาเพื่อแถม แจกหรือให้เป็นตัวอย่าง คงเหลือ และให้ตีราคาตามราคาทุนไม่รวมภาษี ซื้อ ให้บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีของแถม/แจก/ตัวอย่างคงเหลือ เครดิต บัญชีค่าของแถม/แจก/ตัวอย่าง

สหกรณ์ได้รับของแถมแล้วนำไปจำหน่าย กรณีของแถมเป็นสินค้าชนิดเดียวกับสินค้าที่ซื้อ ให้คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่ซื้อโดยนำมูลค่า ที่จ่ายทั้งหมด หารด้วย จำนวนหน่วยสินค้าที่ได้รับ ทั้งหมด กรณีของแถมเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าที่ซื้อ แต่คนละขนาด หรือเป็นสินค้าต่างชนิดกัน ให้คำนวณ ต้นทุนสินค้าต่อหน่วย แล้วเฉลี่ยราคาทุนให้สินค้าทุกชิ้น ที่ซื้อมาทั้งหมด

สินค้ายึดคืน สินค้าที่สหกรณ์ยึดคืนมาจากลูกค้าเพื่อนำไป ขายต่อ การปฏิบัติทางบัญชีแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีสหกรณ์ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสหกรณ์อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ณ วันยึดสินค้าคืน ให้ปรับปรุงบัญชีโดย เดบิต บัญชีดอกผลจากการขายผ่อนชำระ/- เช่าซื้อรอตัดบัญชี บัญชีกำไรขั้นต้นจากการขายผ่อนชำระ/- บัญชีภาษีขายผ่อนชำระ/เช่าซื้อที่ยัง- ไม่ถึงกำหนดชำระ (ถ้ามี) เครดิต บัญชีลูกหนี้จากการขายผ่อนชำระ/- เช่าซื้อ บัญชีภาษีขายรอเรียกคืน

บันทึกสินค้ายึดคืนรอการขาย บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีสินค้ายึดคืนรอการขาย เครดิต บัญชีลูกหนี้จากการขายผ่อนชำระ/- เช่าซื้อ

อนึ่ง ณ วันสิ้นปีทางบัญชี สินค้ายึดคืนรอการขาย ถือเป็นสินค้าคงเหลือ ดังนั้น จึงต้องมีการตีราคาสินค้า ตามราคาทุนโดยมี วิธีบันทึกบัญชี ดังนี้ 1. โอนปิดบัญชีสินค้ายึดคืนรอการขาย ไปยังบัญชี ต้นทุนขาย โดย เดบิต บัญชีต้นทุนขาย เครดิต บัญชีสินค้ายึดคืนรอการขาย

กรณีราคาทุนต่ำกว่ามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ 2. ให้ตรวจนับสินค้ายึดคืนรอการขาย เป็นสินค้า คงเหลือโดยการตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนหรือ มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ณ วันสิ้นปีทางบัญชี โดยบันทึก บัญชี ดังนี้ กรณีราคาทุนต่ำกว่ามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ เดบิต บัญชีสินค้ายึดคืนรอการขายคงเหลือ เครดิต บัญชีต้นทุนขาย

กรณีมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน บันทึกสินค้ายึดคืนรอการขายคงเหลือด้วย ราคาทุน เดบิต บัญชีสินค้ายึดคืนรอการขายคงเหลือ เครดิต บัญชีต้นทุนขาย บันทึกผลต่างระหว่างราคาทุนกับมูลค่าสุทธิ ที่จะได้รับ เดบิต บัญชีขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง เครดิต บัญชีค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง

สินค้าเสียหายจากภัยพิบัติต่างๆ 1. กรณีที่ไม่ได้ทำประกันภัย ให้รับรู้ผลเสียหายจากภัยพิบัตินั้นๆ โดยถือเป็น ค่าใช้จ่ายของสหกรณ์ โดยบันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีค่าเสียหายจากสินค้าภัยพิบัติ(ระบุประเภท) เครดิต บัญชีต้นทุนขาย

2. กรณีทำประกันภัย บันทึกค่าเสียหายจากสินค้าคงเหลือ ณ วัน เกิดภัยพิบัติ ดังนี้ เดบิต บัญชีค่าเสียหายจากภัยพิบัติ (ระบุภัยพิบัติ) เครดิต บัญชีต้นทุนขาย บันทึกจำนวนเงินที่ได้รับชดเชยจากบริษัทประกัน เดบิต บัญชีเงินสด บัญชีลูกหนี้-บริษัทประกันภัย เครดิต บัญชีรายได้ชดใช้สินค้าภัยพิบัติ

เมื่อได้รับเงินจากบริษัทประกันภัย บันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีเงินสด เครดิต บัญชีลูกหนี้-บริษัทประกันภัย สินค้าที่ถูกภัยพิบัติที่คงเหลือหากยังมีจำนวนที่คาดว่า จะขายได้ให้บันทึกขายสินค้าตามปกติ และ ณ วันสิ้นปี ทางบัญชี สินค้าที่ถูกภัยพิบัติที่ยังขายได้ยังคงเหลืออยู่ให้บันทึกสินค้าคงเหลือตามปกติ

ส่วนที่ 3 การแสดงรายการในงบการเงิน และการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน 1. ข้อมูลภายใต้หัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ 2. ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ - ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าขาดบัญชี ว่าเกิดขึ้น ในปีใด และได้ปรับปรุงกันไว้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว - ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการลดหย่อนสินค้าขาด บัญชี

- การตัดสินค้าขาดบัญชีเป็นการปฏิบัติตามระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้อนุมัติแล้ว เมื่อวันที่......................... 3. ข้อมูลเหตุการณ์ภายหลังวันสิ้นปีทางบัญชีเกี่ยวกับ สินค้าคงเหลือ เช่น มูลค่าสุทธิที่จะได้รับภายหลัง วันสิ้นปีทางบัญชี ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากมูลค่าสุทธิที่ จะได้รับ ณ วันสิ้นปีทางบัญชี มีผลกระทบต่อการ ดำเนินงานสหกรณ์อย่างไร

ส่วนที่ 5 การถือปฏิบัติ

ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป และให้ใช้คำแนะนำนี้กับกลุ่มเกษตรกร โดยอนุโลม

สวัสดี