การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ Learning Measurement and Evaluation ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
บทที่ 7 การประเมินจิตพิสัย (การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ ดร.อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 7 การประเมินจิตพิสัย (การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือวัดจิตพิสัย)
การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดจิตพิสัยจาก.... 1) การสังเกตและการสัมภาษณ์ 2) การวัดด้วยแบบวัดหรือมาตรประมาณค่า ที่มา: โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการวัด และนิยามคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้ เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน หรือสัมภาษณ์เพื่อหา ข้อมูลจากตัวนักเรียนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้สอน เพื่อนนักเรียน) ซึ่งอาจจะเรียกว่า ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ ได้ ตัวอย่างเช่น คุณลักษณะที่ต้องการวัด 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ
ขั้นตอนที่ 1 ตัวอย่างเช่น นิยามคุณลักษณะที่ต้องการวัด นิยามความมีวินัย จากเอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้เสนอนิยามของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อที่ 3 มีวินัย ดังนี้ นิยาม มีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียนและสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียนและสังคม เป็นปกติวิสัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ตัวอย่างตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ ข้อ 3. มีวินัย ขั้นตอนที่ 1 ตัวอย่างตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ ข้อ 3. มีวินัย ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ 3.1 ปฏิบัติตาม ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียน และ สังคม 3.1.1 ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียนและสังคม ไม่ละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น 3.1.2 ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม ต่าง ๆ ในชีวิตประจําวัน และ รับผิดชอบในการทํางาน
ตัวอย่าง พฤติกรรมสําคัญ ข้อ 3. มีวินัย ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์พฤติกรรมสําคัญจากพฤติกรรมบ่งชี้ เมื่อทําความเข้าใจกับนิยาม ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งชี้แล้ว ครูผู้สอนควร วิเคราะห์พฤติกรรมสําคัญจากพฤติกรรมบ่งชี้ เพื่อให้เห็นพฤติกรรมที่จะสามารถวัด และประเมินได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่าง พฤติกรรมสําคัญ ข้อ 3. มีวินัย ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ พฤติกรรมสำคัญ 3.1 ปฏิบัติตาม ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียน และสังคม 3.1.1 ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียนและสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 3.1.2 ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจําวัน และรับผิดชอบในการทํางาน - ช่วยทำงานบ้าน - แต่งกายถูกระเบียบ - เคารพกฎจราจร - ไม่หยิบของผู้อื่นโดยไม่ขออนุญาต - ส่งงานตามกำหนด - เข้าร่วมกิจกรรมตามเวลา
ขั้นตอนที่ 2 ตัวอย่าง พฤติกรรมสําคัญเพิ่มเติมเกี่ยวกับความมีวินัย ที่ครูสามารถสังเกตและวัดได้ 1) จัดเก็บสิ่งของเป็นที่เป็นทาง 2) แต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน 3) มีมารยาทในการเข้าประชุม 4) เข้าแถวซื้ออาหารตามลําดับ 5) ทิ้งขยะในที่ที่จัดเตรียมไว้ 6) ทํากิจวัตรของตนตามเวลา 7) ไปโรงเรียนทันเวลา 8) เมื่อถึงชั่วโมงเรียน เข้าเรียนตามเวลา 9) ทํางานเสร็จตามเวลาที่กําหนด 10) เข้าร่วมกิจกรรมตามเวลาที่นัดหมาย
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน โดยการกำหนด 1) ระดับการให้คะแนน และ 2) คำอธิบายพฤติกรรมในแต่ละระดับการให้คะแนน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2551) ได้กำหนดเกณฑ์การให้ คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4 ระดับ ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ระดับดีเยี่ยม ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง ระดับดี ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ระดับผ่าน ระดับคุณภาพ 0 หมายถึง ระดับไม่ผ่าน จำแนกตามระดับการศึกษา 4 ระดับ คือ ประถมศึกษา (ป. 1-3) ประถมศึกษา (ป. 4-6) มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
ขั้นตอนที่ 3 1. เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม (holistic rubrics) เกณฑ์การประเมินมี 2 ลักษณะ คือ 1. เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม (holistic rubrics) คือ แนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมการปฏิบัติ โดยจะมีคําอธิบายลักษณะของการปฏิบัติในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน เช่น การวัดและประเมินความมีวินัยของนักเรียน ระดับ 3 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน ปฏิบัติกิจกรรม หรือทํางานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาได้ด้วยตนเอง ระดับ 2 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียนโดยต้องมีการเตือนเป็นบางครั้ง ระดับ 1 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน โดยต้องมีการเตือนเป็นส่วนใหญ่
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นตอนที่ 3 ตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนน ข้อ 3. มีวินัย ตัวชี้วัดที่ 3.1 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียนและสังคม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พฤติกรรมบ่งชี้ ไม่ผ่าน (0) ผ่าน (1) ดี (2) ดีเยี่ยม (3) 3.1.1 ปฏิบัติตนตาม ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ของครอบครัว โรงเรียนและสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของ ผู้อื่น 3.1.2 ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ประจําวัน และ รับผิดชอบในการทํางาน ไม่ปฏิบัติตนตาม ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของ ครอบครัวและ โรงเรียน ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ใน ชีวิตประจําวัน โรงเรียน ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติ กิจกรรมต่างๆ ใน ชีวิตประจําวัน และ รับผิดชอบในการ ทํางาน ครอบครัว โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิด สิทธิของผู้อื่น ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจําวัน และรับผิดชอบใน การทํางาน
ขั้นตอนที่ 3 2. เกณฑ์การประเมินแบบแยกประเด็น (analytic rubrics) คือแนวทางการให้คะแนน โดยพิจารณาแต่ละส่วนของการปฏิบัติ ซึ่งแต่ละส่วน จะต้องกําหนดคําอธิบายลักษณะของการปฏิบัติในส่วนนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน เช่น การวัดและประเมินความมีวินัยของนักเรียน รายการประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของ ครอบครัวและโรงเรียน ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน โดยมีการเตือนเป็นส่วนใหญ่ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน โดยมีการเตือนบางครั้ง ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน โดยไม่มีการเตือน การตรงต่อเวลา ปฏิบัติกิจกรรมหรือทํางาน ที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาได้ด้วยตนเอง โดยต้องมีการเตือนเป็นส่วนใหญ่ ปฏิบัติกิจกรรมหรือทํางานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาได้ด้วยตนเอง โดยมีการเตือนเป็นบางครั้ง ปฏิบัติกิจกรรมหรือทํางานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา ได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 4 เลือกรูปแบบของเครื่องมือวัด 1. แบบสังเกต ( observation) เครื่องมือวัดและประเมินที่นิยมใช้ในสถานศึกษา เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสะดวก ได้แก่ 1. แบบสังเกต ( observation) 2. แบบสัมภาษณ์ (interview) 3. แบบตรวจสอบรายการ (check list) 4. แบบมาตรประมาณค่า (rating scale) 5. แบบวัดสถานการณ์ (situation) 6. แบบบันทึกพฤติกรรม (anecdotal records) 7. แบบรายงานพฤติกรรมตนเอง (self report) ในการวัดและประเมินจิตพิสัยนั้น ควรใช้เครื่องมือและวิธีการวัดที่หลากหลาย ข้อมูลจึงจะน่าเชื่อถือ ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรเลือกเครื่องมือวัดและประเมินให้เหมาะสมกับคุณลักษณะที่มุ่งวัด พฤติกรรมบ่งชี้/พฤติกรรมสําคัญว่าควรจะใช้เครื่องมือชนิดใด
แบบบันทึกการสังเกตความมีวินัยของนักเรียน ตัวอย่าง
แบบสำรวจพฤติกรรมความมีวินัยของนักเรียน ตัวอย่าง
แบบประเมินความมีวินัยของนักเรียน ตัวอย่าง
แบบวัดสถานการณ์ เรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ตัวอย่าง ที่มา: https://www.curriculum51.net/upload/measurmet%20Guide.pdf
แบบวัดสถานการณ์ เรื่องความมีวินัย ตัวอย่าง ที่มา: https://www.curriculum51.net/upload/measurmet%20Guide.pdf
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดจิตพิสัยจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ ที่มา: โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)
1. ตรวจสอบความสอดคล้องของพฤติกรรมที่จะประเมินกับตัวชี้วัด โดยครูผู้สอนอาจนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (หรือครูผู้สอนในวิชา/ระดับชั้นเดียวกัน) ตรวจสอบความสอดคล้องของพฤติกรรมที่จะประเมินกับตัวชี้วัด และความถูกต้องในการใช้ภาษา แล้วนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง I.O.C (Index Objective Concurrent) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง 2. ตรวจสอบความชัดเจนของเกณฑ์การประเมิน โดยให้คณะครูอาจารย์ที่สอนในวิชา/ระดับชั้นเดียวกันพิจารณาถึงความชัดเจนและความถูกต้องเหมาะสมของเกณฑ์การประเมิน 3. ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน วิธีที่ 1 โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson product moment correlation) วิธีที่ 2 โดยใช้สูตรแคปปาของโคเฮน (Cohen’s Kappa)
ที่มา: https://www.curriculum51.net/upload/measurmet%20Guide.pdf ตัวอย่าง
วิธีที่ 1 การใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ตัวอย่างแบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยของนักเรียน ชื่อ-สกุล............................................ชั้น...........เลขที่........... วัน–เดือน–ปี ที่ทำการสังเกต................................ วิชา...............................ภาคเรียนที่..........ปีการศึกษา............. คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน ลงชื่อ...............................................ผู้ประเมิน รายการประเมิน ระดับคะแนน 1 2 3 3.1.1 ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของ ครอบครัวและโรงเรียน ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน โดยมีการเตือนเป็นส่วนใหญ่ ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน โดยมีการเตือนบางครั้ง ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน โดยไม่มีการเตือน 3.1.2 ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และรับผิดชอบในการทํางาน ปฏิบัติกิจกรรมหรือทํางาน ที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาได้ด้วยตนเอง โดยต้องมีการเตือนเป็นส่วนใหญ่ ปฏิบัติกิจกรรมหรือทํางานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลาได้ด้วยตนเอง โดยมีการเตือนเป็นบางครั้ง ปฏิบัติกิจกรรมหรือทํางานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา ได้ด้วยตนเอง
วิธีที่ 1 การใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน การร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน ตัวอย่างแบบบันทึกพฤติกรรมความมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่...../...... ความมีวินัย รวม เฉลี่ย การแปลผล ครั้งที่ 1 2 3 4 สถานที่ ในห้องเรียน นอกห้องเรียน การเยี่ยมบ้าน การร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน วันเดือนปี 24 ต.ค. 60 30 ต.ค. 60 10 พ.ย. 60 22 พ.ย. 60 เวลา 9:00 – 12:00 16:00 –17:00 18:00 -19:00 13:00 –15:00 เลขที่ ชื่อ-สกุล 3.1.1 3.1.2 จำนวนพฤติกรรมบ่งชี้ที่ต้องวัดและประเมิน ซึ่งครูผู้สอนอาจพิจารณาแยกเป็นรายข้อทีละข้อ หรืออาจจะพิจารณาในภาพรวมพร้อมกันทุกข้อก็ได้ตามความเหมาะสมและเกณฑ์ที่กำหนดไว้
วิธีที่ 1 การใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ตัวอย่างแบบบันทึกพฤติกรรมความมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่........... ตัวอย่าง ผลประเมินจากครูประจำวิชา ความมีวินัย รวม เฉลี่ย การแปลผล ครั้งที่ 1 2 3 4 สถานที่ ในห้องเรียน นอกห้องเรียน การเยี่ยมบ้าน การร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน วันเดือนปี 24 ต.ค. 60 30 ต.ค. 60 10 พ.ย. 60 22 พ.ย. 60 เวลา 9:00 – 12:00 16:00 –17:00 18:00 -19:00 13:00 –15:00 เลขที่ ชื่อ-สกุล 3.1.1 3.1.2 กรกฎ โลมะวิสัย 3 2 3 21 2.63 ดีเยี่ยม กรรณิกา ต๊ะผัด 2 1 16 ดี กาญจนา ล้วนลอย 18 2.25 ดี ครองขวัญ ยาละ 12 1.50 5 จิรครินทร์ ผ่องแผ้ว 8 ผ่าน ... ..... ….. 30 อุไรลักษณ์ สังกะสี
วิธีที่ 1 การใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลประเมินจากครูผู้ช่วย ตัวอย่างชุดข้อมูลผลการประเมินพฤติกรรมความมีวินัยของนักเรียนจากครูประจำวิชาและจากครูผู้ช่วย เลขที่ ชื่อ-สกุล ผลประเมิน จากครูประจำวิชา ผลประเมินจากครูผู้ช่วย 1 กรกฎ โลมะวิสัย 2.63 2.5 2 กรรณิกา ต๊ะผัด 2 1.9 3 กาญจนา ล้วนลอย 2.25 2.3 4 ครองขวัญ ยาละ 1.50 1.6 5 จิรครินทร์ ผ่องแผ้ว 1.2 ... ..... ….. 30 อุไรลักษณ์ สังกะสี 1.4
วิธีที่ 1 การใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ตัวอย่างการเตรียมข้อมูลสำหรับการคำนวณค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน เลขที่ ชื่อ-สกุล ครู (X) ครูผู้ช่วย (Y) XY X2 Y2 1 กรกฎ โลมะวิสัย 2.63 2.5 6.58 6.92 6.25 2 กรรณิกา ต๊ะผัด 2 1.9 3.80 4.00 3.61 3 กาญจนา ล้วนลอย 2.25 2.3 5.18 5.06 5.29 4 ครองขวัญ ยาละ 1.50 1.6 2.40 2.56 5 จิรครินทร์ ผ่องแผ้ว 1.2 1.20 1.00 1.44 ... ..... ….. 30 อุไรลักษณ์ สังกะสี 1.4 2.10 1.96 รวม 59.94 60.30 128.01 128.07 128.37
วิธีที่ 1 การใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ตัวอย่างการคำนวณค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน 𝒓 𝒙𝒚 = 𝒏 𝑿𝒀 − 𝑿 𝒀 𝒏 𝑿 𝟐 − 𝑿 𝟐 𝒏 𝒀 𝟐 − 𝒀 𝟐 𝐫 𝐱𝐲 = 𝟑𝟎×𝟏𝟐𝟖.𝟎𝟏 −(𝟓𝟗.𝟗𝟒×𝟔𝟎.𝟑𝟎) 𝟑𝟎×𝟏𝟐𝟖.𝟎𝟕 − 𝟓𝟗.𝟗𝟒 𝟐 𝟑𝟎×𝟏𝟐𝟖.𝟑𝟕 − 𝟔𝟎.𝟑𝟎 𝟐 𝐫 𝐱𝐲 = 𝟑𝟖𝟒𝟎.𝟑𝟎 − 𝟑𝟔𝟏𝟒.𝟑𝟖 𝟐𝟒𝟗.𝟐𝟒 𝟐𝟏𝟓.𝟎𝟏 =𝟎.𝟗𝟖 จากการคำนวณค่าความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินจากครูทั้ง 2 ท่าน มีค่าเท่ากับ 0.98 ซึ่งเป็นค่าความสัมพันธ์ที่มากกว่า 0.90 นั่นแสดงว่า มีความสัมพันธ์ในระดับที่สูงมาก เนื่องจากมีค่าเข้าใกล้ 1.00 หมายความว่า คุณภาพของข้อมูลที่ได้มาจากแบบสังเกตพฤติกรรมที่สร้างขึ้นมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คะแนน (ผู้ประเมิน) อยู่ในระดับสูงมาก โดยมีเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือ มีค่าสูงกว่า 0.70 ขึ้นไป
วิธีที่ 2 การใช้สูตรแคปปาของโคเฮน การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินโดยใช้สูตรแคปปาของโคเฮน (Cohen’s Kappa) ดำเนินการโดยนำคะแนนของนักเรียนที่ได้มาตัดสินผลตามเกณฑ์การประเมินและนับจำนวนความสอดคล้องของผลการประเมินในระดับเดียวกันระหว่างผู้ประเมิน ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินที่กำหนดขึ้น คะแนน 2.5 – 3.0 ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม คะแนน 1.5 – 2.4 ระดับคุณภาพ ดี คะแนน 1.0 – 1.4 ระดับคุณภาพ ผ่าน คะแนน 0 – 0.9 ระดับคุณภาพ ไม่ผ่าน
วิธีที่ 2 การใช้สูตรแคปปาของโคเฮน การร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน ตัวอย่างแบบบันทึกพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่........... ความซื่อสัตย์สุจริต รวม เฉลี่ย การแปลผล ครั้งที่ 1 2 3 4 สถานที่ ในห้องเรียน นอกห้องเรียน การเยี่ยมบ้าน การร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน วันเดือนปี 24 ต.ค. 60 30 ต.ค. 60 10 พ.ย. 60 22 พ.ย. 60 เวลา 9:00 – 12:00 16:00 –17:00 18:00 -19:00 13:00 –15:00 เลขที่ ชื่อ-สกุล ตัวชี้วัดที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 2 กรกฎ โลมะวิสัย 3 2 3 21 2.63 ดีเยี่ยม กรรณิกา ต๊ะผัด 2 1 16 ดี กาญจนา ล้วนลอย 18 2.25 ดี ครองขวัญ ยาละ 12 1.50 5 จิรครินทร์ ผ่องแผ้ว 8 ผ่าน ... ….. 30 อุไรลักษณ์ สังกะสี การแปลผลคะแนน คะแนน 2.5 – 3.0 ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม คะแนน 1.5 – 2.4 ระดับคุณภาพ ดี คะแนน 1.0 – 1.4 ระดับคุณภาพ ผ่าน คะแนน 0 – 0.9 ระดับคุณภาพ ไม่ผ่าน
วิธีที่ 2 การใช้สูตรแคปปาของโคเฮน ตัวอย่างการเตรียมข้อมูลสำหรับคำนวณความสอดคล้องภายในด้วยสูตรแคปปาของโคเฮน เลขที่ ชื่อ-สกุล ครู ครูผู้ช่วย 1 กรกฎ โลมะวิสัย 2.63 2.5 ดีเยี่ยม 2 กรรณิกา ต๊ะผัด 2 1.9 ดี 3 กาญจนา ล้วนลอย 2.25 2.3 4 ครองขวัญ ยาละ 1.50 1.6 5 จิรครินทร์ ผ่องแผ้ว 1.2 ผ่าน ... ..... ….. 30 อุไรลักษณ์ สังกะสี 1.4
วิธีที่ 2 การใช้สูตรแคปปาของโคเฮน ตัวอย่างผลการประเมินนักเรียนทั้งห้องจากครูประจำวิชาและครูผู้ช่วย คำนวณหาจำนวนนักเรียนที่ครูประจำวิชาและครูผู้ช่วยประเมินได้สอดคล้องกัน จากการนำคะแนนในแนวทะแยงมารวมกัน จะได้ 𝒇 𝒐 =𝟑+𝟐𝟏+𝟑+𝟎=𝟐𝟕
วิธีที่ 2 การใช้สูตรแคปปาของโคเฮน ตัวอย่างผลการคำนวณคะแนนที่คาดหวัง ครูผู้ช่วย รวมแนวแถว ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน ครูประจำวิชา (3x3)/30 = 0.30 - 3 16.80 24 0.60 รวมแนวคอลัมน์ 21 6 30 คำนวณหาคะแนนที่คาดหวัง จากการนำผลรวมแนวแถวและผลรวมแนวคอลัมน์มาคูณกัน และหารด้วยจำนวนนักเรียนทั้งหมด โดยพิจารณาเฉพาะช่องในแนวทแยง แล้วนำจำนวนทั้งหมดมารวมกันจะได้ 𝒇 𝒄 =𝟎.𝟑𝟎+𝟏𝟔.𝟖𝟎+𝟎.𝟔𝟎+𝟎=𝟏𝟕.𝟕𝟎
วิธีที่ 2 การใช้สูตรแคปปาของโคเฮน คำนวณหาค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน จากสูตรแคปปาของโคเฮน 𝒌= 𝒇 𝒐 − 𝒇 𝒄 𝑵 − 𝒇 𝒄 𝒌= 𝟐𝟕 −𝟏𝟕.𝟕𝟎 𝟑𝟎 −𝟏𝟕.𝟕𝟎 = 𝟗.𝟑𝟎 𝟏𝟐.𝟑𝟎 =𝟎.𝟕𝟔 จากการคำนวณหาค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินจากครูทั้ง 2 ท่าน) พบว่า มีค่าเท่ากับ 0.76 ซึ่งเป็นค่าความสัมพันธ์ที่มากกว่า 0.70 จึงถือว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง หมายความว่า คุณภาพของข้อมูลที่ได้มาจากแบบสังเกตพฤติกรรมที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องระหว่างผู้ให้คะแนน (ผู้ประเมิน) ในระดับสูง (เกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือ มีค่าสูงกว่า 0.70 ขึ้นไป)
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดจิตพิสัยจากการวัดด้วยแบบวัดหรือมาตรประมาณค่า ที่มา: โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)
1. ตรวจสอบความสอดคล้องของพฤติกรรมที่จะประเมินกับตัวชี้วัด โดยครูอาจนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (หรือครูผู้สอนในวิชา/ระดับชั้นเดียวกัน) ตรวจสอบความสอดคล้องของพฤติกรรมที่จะประเมินกับตัวชี้วัด และความถูกต้องในการใช้ภาษา แล้วนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง I.O.C ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง 2. ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน วิธีที่ 1 โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน, วิธีที่ 2 โดยใช้สูตรแคปปาของโคเฮน 3. ตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถามแต่ละข้อ ตรวจสอบคุณภาพในการจำแนกคน(กลุ่มสูง-กลุ่มต่ำ) ของข้อคำถามแต่ละข้อ t -test ตรวจสอบว่าคำถามแต่ละข้อวัดในเรื่องเดียวกับที่ข้อคำถามอื่นๆ วัดหรือไม่ Pearson Correlation 4. ตรวจสอบค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ให้ครูทำแบบมาตรประมาณค่าเพียงครั้งเดียว แล้วหาค่าความเที่ยง แบบความสอดคล้องภายในของข้อมูลจากเครื่องมือวัดนั้น ได้รับ ความนิยม
ตัวอย่างแบบประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน ชื่อ-สกุล... กรกฎ โลมะวิสัย...........ชั้น....ม. 6/1.......เลขที่...1... วัน–เดือน–ปี ที่ทำการประเมิน.......24 ต.ค. 2560... วิชา.....161311...............ภาคเรียนที่....1......ปีการศึกษา...2560.......... คำชี้แจง จงทำเครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน ลงชื่อ...............................................ผู้ประเมิน รายการพฤติกรรม ระดับการปฏิบัติ ประจำ (3) บางครั้ง (2) น้อยครั้ง (1) ไม่เคย (0) 1. นักเรียนพูดคุยเล่นกับเพื่อนขณะเรียนหนังสือ 2. นักเรียนเตรียมอุปกรณ์การเรียนมาเรียน 3. นักเรียนเข้าเรียนหนังสือ 4. นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนที่ครูจัดขึ้น 5. นักเรียนทบทวนบทเรียนจากหนังสือ 6. นักเรียนทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ 7. นักเรียนเข้าห้องสมุด 8. นักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 9. นักเรียนจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่เรียน 10. นักเรียนซักถามพูดคุยเนื้อหาที่เรียนกับเพื่อนและครู
ตัวอย่างการตรวจสอบความสอดคล้องภายในจากการประเมินโดยครูประจำวิชา คำนวณหาคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนได้จาก ดังนั้น กรกฎ โลมะวิสัย จึงมีคะแนนใฝ่เรียนรู้จากการประเมินของครู เท่ากับ เมื่อเทียบกับการแปลผลคะแนน จะพบว่า กรกฎ โลมะวิสัย มีพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้อยู่ในระดับดี ซึ่งครูผู้สอนต้องทำการประเมินนักเรียนเช่นนี้ทุกคนในห้อง จากนั้นจึงนำคะแนนที่ได้มาหาค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในของเครื่องมือวัดแบบมาตรประมาณค่านี้ ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) คะแนนเฉลี่ย= คะแนนทั้งหมดที่ได้ จำนวนข้อ 𝒙 = (𝟐+𝟑+𝟑+𝟐+𝟐+𝟏+𝟑+𝟐+𝟑+𝟐) 𝟏𝟎 = 𝟐𝟑 𝟏𝟎 =2.3
การตรวจสอบค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ตัวอย่างการเตรียมข้อมูลในการคำนวณค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เลขที่ ข้อที่ รวม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 23 20 28 11 13 21 19 … 30 𝑺 𝒊 𝟐 0.37 0.71 0.51 0.30 0.62 0.63 𝑺 𝒕 𝟐 = 34.19
การตรวจสอบค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ตัวอย่างการคำนวณค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา เมื่อ 𝑺 𝒊 𝟐 คือ ค่าความแปรปรวนของคะแนนแต่ละข้อ 𝑺 𝒕 𝟐 คือ ค่าความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งฉบับ 𝒌 คือ จำนวนข้อคำถาม จากตัวอย่าง ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในมีค่าเท่ากับ 0.94 ซึ่งเป็นค่าความสัมพันธ์ที่มากกว่า 0.90 และเข้าใกล้ 1.00 จึงถือว่าอยู่ในระดับความสัมพันธ์ที่สูงมาก แสดงว่า คุณภาพของข้อมูลที่ได้มาจากแบบประเมินพฤติกรรมที่สร้างขึ้น มีความสอดคล้องภายในระหว่างรายการพฤติกรรมแต่ละรายการในระดับสูงมาก โดยเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั่วไปคือมีค่าตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป จากข้อมูลตัวอย่าง แทนค่าในสูตรจะได้ 𝜶= 𝟏𝟎 𝟏𝟎−𝟏 𝟏 − 𝟓.𝟎𝟒 𝟑𝟒.𝟏𝟗 𝜶= 𝟏𝟎 𝟗 𝟏−𝟎.𝟏𝟓 =𝟎.𝟗𝟒 𝜶= 𝒌 𝒌−𝟏 𝟏 − 𝑺 𝒊 𝟐 𝑺 𝒕 𝟐
ภาระงานที่กำหนด การฝึกปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลด้านจิตพิสัย (10%) 1. ให้นิสิตแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน 2. นำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่นิสิตแต่ละคนสนใจมานำเสนอภายในกลุ่ม 3. ศึกษารูปแบบและขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย 4. ดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย ในรูปแบบที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มสนใจ อย่างน้อยกลุ่มละ 3 รูปแบบ (ปฏิบัติการในสัปดาห์ที่ 10 วันที่ 23-27 ต.ค. 2560) 5. นำเสนอชุดเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยที่แต่ละกลุ่มสร้างขึ้น (ปฏิบัติการในสัปดาห์ที่ 11 วันที่ 30-31 ต.ค. และ 1-3 พ.ย. 2560) พร้อมทั้งส่งเล่มรายงานชุดเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย *วันเวลาและรายละเอียดของภาระงาน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
บรรณานุกรม โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558). การวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2551) เอกสารประกอบการสอนวิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก https://www.curriculum51.net/upload/ measurmet%20Guide.pdf