บทที่ 2 ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต บทที่ 2 ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ชีววิทยา เล่ม 4 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ กลไกลการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต เนื้อหาสาระ โครงสร้างของเซลล์ กล้องจุลทรรศน์ การลำเลียงสารผ่านเซลล์ กลไกลการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ภูมิคุ้มกันของร่างกาย คำถามท้ายบทที่ 2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อธิบายและสรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารพันธุกรรม ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และอธิบายเกี่ยวกับโครโมโซม โครงสร้างและหน้าที่ของสารพันธุกรรม สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อธิบายและสรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารพันธุกรรม สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย อธิบาย และสรุปเกี่ยวกับการเกิดมิวเทชันและผลของการเกิดมิวเทชัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2.1 โครงสร้างของเซลล์
โครงสร้างของเซลล์ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนประกอบด้วยเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดประมาณ 1-100 ไมโครเมตรเท่านั้น ซึ่งเล็กมากจนมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงต้องอาศัย กล้องจุลทรรศน์ (microscope) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการมองเห็นและศึกษา กล้องจุลทรรศน์มีทั้งแบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน การใช้กล้องจุลทรรศน์ดังกล่าวนี้ในการศึกษาเซลล์จึงทำให้ทราบว่า ภายในเซลล์ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ (organall) ต่างๆ ที่ทำงานประสานกันในกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต นักเรียนทราบหรือไม่ว่าออร์แกเนนล์ที่พบภายในเซลล์นั้นมีอะไรบ้าง ทำหน้าที่แตกต่างอย่างไร นักเรียนจะได้ศึกษาได้จากภาพที่ 2-2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
โครงสร้างของเซลล์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
โครงสร้างของเซลล์ นักเรียนจะเห็นได้ว่าในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีออร์แกเนลล์บางชนิดที่เหมือนกันบางชนิดที่แตกต่างกัน นักเรียนทราบหรือไม่ว่าออร์แกเนลล์เหล่านี้มีหน้าที่อย่างไรบ้าง เซลล์มีโครงสร้างพื้นฐานแบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ 2.1.1 ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) และ ผนังเซลล์ (cell wall) 2.1.2 ไซโทพลาซึม (cytoplasm) 2.1.3 นิวเคลียส (nucleus) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
โครงสร้างของเซลล์ 2.1.1 ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ส่วนของเซลล์ที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มองค์ประกอบภายในเซลล์ให้คงรูปอยู่ได้ ประกอบด้วย เยื่อหุ้มเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีเยื่อหุ้มเซลล์ห่อหุ้มอยู่ภายนอก ประกอบด้วยสารจำพวกลิพิดและโปรตีน ลิพิดส่วนใหญ่เป็นสารพวกฟอสโฟลิพิดเรียงตัวกันเป็น 2 ชั้น และมีคอเลสเตอรอลแทรกอยู่ในบางบริเวณด้วย ส่วนโปรตีนจะแทรกและเกาะติดอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังพบสารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ดังภาพ 2-3 เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบางๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึมมีสมบัติเป็น เยื่อเลือกผ่าน (selectively permeable membranc) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
LOGO www.themegallery.com
โครงสร้างของเซลล์ ผนังเซลล์ เป็นโครงสร้างที่อยู่ชั้นนอกห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์อีกชั้นหนึ่งประกอบด้วยสารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ เช่น เซลลูโลส เป็นต้น พบในเซลล์ของพืชทุกชนิด สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ราและแบคทีเรียบางชนิด ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรง LOGO www.themegallery.com
2.1.2 ไซโทพลาสซึม ไซโทพลาสซึมเป็นส่วนที่อยู่ภายในเซลล์ทั้งหมดยกเว้นนิวเคลียส มีลักษณะเป็นของเหลวซึ่งมีโครงสร้างเล็กๆ ที่เรียกว่า ออร์แกเนลล์ กระจายอยู่ทั่วไป ออร์แกเนลล์มีหลายชนิด เช่น ไรโบโซม (ribosome) เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม (endoplasmic reticulum หรือ ER) กอลจิบอดี หรือ กอลจิคอมเพล็กซ์ หรือ กอลจิแอพพาราตัส (Golgi body หรือ Golgi complex หรือ Golgi apparatus) ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) แวคิวโอล (vacuole) ดังภาพที่ 2-2 นักเรียนทราบหรือไม่ว่าออร์แกเนลล์แต่ละออร์แกเนลล์ทำหน้าที่อะไรบ้าง นักเรียนสามารถศึกษารายละเอียดได้ในรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม LOGO www.themegallery.com
2.1.3 นิวเคลียส เซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปมีนิวเคลียสเพียงหนึ่งนิวเคลียส นิวเคลียสมีรูปร่างค่อนข้างกลม และมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) ภายในนิวเคลียสมีสารพันธุกรรมเรียกว่า ดีเอ็นเอ (DNA) LOGO www.themegallery.com
2.2 กล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์ 2.2.1 กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง ในปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง (light microscope) ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นกว่าในอดีต กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงดีที่สุดในปัจจุบันมีกำลังขยายประมาณ 2000 เท่าเป็นกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ (compound light microscope) ซึ่งประกอบด้วยเลนส์ 2 ชุด คือ 1.เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) เป็นเลนส์นูน มีกำลังขยายขนาดต่างๆกัน คือ 4x 10x 40x และ100x ตามปกติการเพิ่มกำลังขายของเลนส์มักเริ่มจากการใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำก่อนแล้วจึงเปลี่ยนเป็นกำลังขยายขนาดกลางและกำลังขยายสูงไปตามลำดับ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ 2.เลนส์ใกล้ตา (eyepiece) เป็นเลนส์นูนกำลังขายเป็น 10x 15x และ 25x เลนส์ใกล้ตาเหล่านี้สามารถเลือกใช้ได้ตามที่ต้องการ โดยการถอดขนาดที่ไม่ต้องการออกแล้วนำขนาดที่ต้องการมาสวมที่ส่วนบนของลำกล้อง ตามปกติแล้วต้องสวมเลนส์ใกล้ตาไว้บนลำกล้องเสมอเพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าไปในลำกล้องและเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ แหล่งกำเนิดแสง แสงที่ใช้กับกล้องจุลทรรศน์ใช้สง อาจเป็นแสงตามธรรมชาติกล้องแบบนี้จะมีกระจกเงา 2 ด้านช่วยรวบรวมแสงให้สะท้อนสู่ตรงกลางของแท่นวางวัตถุกระจกเงาด้านเรียบใช้สำหรับปรับแสงปกติ สำหรับวันที่มีแสงน้อยควรใช้กระจกเงาด้านโค้งเว้าเพื่อช่วยรวมแสง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ การปรับความเข้มของแสง กล้องบางรุ่นจะมีเลนส์รวมแสง(condenser lens) อยู่ใต้แท่นวางวัตถุช่วยเพิ่มความเข้มของแสงและคัดเลือกรวมแสงที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมี ไดอะแฟรม (diaphragm) ช่วยปรับความเข้มของแสงตามที่ต้องการเพื่อให้เห็นภาพของวัตถุชัดขึ้น กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดา (simple compound light microscope) ซึ่งประกอบด้วยเลนส์ใกล้วัตถุ และเลนส์ใกล้ตา มีส่วนประกอบดังภาพที่ 2-6 กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic microscope)เป็นกล้องชนิดเลนส์ประกอบที่ทำให้เกิดภาพ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่ซึ่งไม่สามรถแยกรายละเอียดได้ด้วยตาเปล่า ดังภาพที่ 2-7 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ วิธีใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ 1.ตั้งระยะห่างเลนส์ใกล้ตาทั้งสองข้างให้พอเหมาะกับนัยน์ตาของผู้ใช้กล้อง เพื่อให้จอภาพที่มองเห็นอยู่ในวงเดียวกัน 2.ปรับโฟกัสข้างเดียวก่อนแล้วปรับอีกข้างหนึ่งที่กระบอกเลนส์ใกล้ตา ถ้าต้องการศึกษาจุดใดจุดหนึ่งของตัวอย่างให้ปรับโฟกัสจากเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงก่อน(การปรับโฟกัสแบบนี้ ทำให้สามารถมองเห็นวัตถุได้ชัดเจนทั้งกำลังขยายต่ำและกำลังขยายสูงจึงสะดวกและรวดเร็ว) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ 2.2.2 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน นักวิทยาศาสตร์พบว่าอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่จะแสดงคุณสมบัติเป็นคลื่นคล้ายคลื่นแสงจึงสามรถใช้ลำอิเล็กตรอนที่มีความถี่สูงมาใช้แทนแสงในการประดิษฐ์เป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขึ้นมา ซึ่งมีกำลังขยายสูงถึง 500,000 เท่า ในปี พ.ศ. 2474 เอิร์นสท์ รุสกา (Ernst Ruska) และคณะ สามรถสร้างกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission electron microscope หรือ TEM ) ได้เป็นเครื่องแรกของโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 เอ็มวอน เอนเดนนี (M.Von Andenne) ได้สร้างกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (scanning electron microscope หรือ SEM) เป็นผลสำเร็จ กล้องทั้ง 2 แบบใช้ศึกษาโครงสร้างระดับโมเลกุลได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเหมือนกับกล้องที่ใช้แสง แต่เลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเกิดจากแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้มีกำลังขยายสูงสามรถส่องดูวัตุที่มีขนาดเล็กได้ถึงประมาณ 0.5 นาโนเมตร ภาพที่เกิดขึ้นเป็นภาพเสมือปรากฏบนจอที่ฉาบด้วยสารเรือนแสงเช่นเดียวกับจอรับภาพโทรทัศน์ นักชีววิทยาใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านเมื่อต้องการศึกษาส่วนประกอบภายในของวัตถุ และใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดเมื่อต้องการศึกษาโครงสร้างด้านนอกของวัตถุ ตัวอย่างเช่น ภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ ทั้ง 3 แบบ ดังในภาพที่ 2-9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กล้องจุลทรรศน์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ตารางที่ 2.1 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตามนุษย์และกล้องจุลทรรศน์ LOGO www.themegallery.com
2.3 การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ 16.3 โครโมโซม การลำเลียงสารผ่านเซลล์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ LOGO www.themegallery.com
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ 2.3.1 การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ การลำเลียงแบบไม่ใช้พลังงาน จากการทำกิจกรรมที่ผ่านมาจะพบว่า เซลล์มีการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยการแพร่(diffusion)และการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า ออสโมซิส (osmosis) ซึ่งจัดเป็นการลำเลียงแบบไม่ใช้พลังงาน สิ่งที่น่าศึกษาต่อไปก็คือ การแพร่และออสโมซิสมีหลักการอย่างไรบ้าง การแพร่ เป็นการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ สารที่มีขนาดเล็กและละลายในไขมันได้ดีและไม่มีขั้วจะเข้าสู่เซลล์โดยกระบวนการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และมีอัตราการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มได้สูง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ จากการทดลองเมื่อนำเกล็ดด่างทับทิมใส่ลงไปในบีกเกอร์ที่มีน้ำบรรจุอยู่ ในระยะแรกสีของด่างทับทิมจะยังไม่กระจายไปทั่วน้ำในบีกเกอร์แต่ถ้าทิ้งไว้ต่อสารละลายในบีกเกอร์จะมีสีเดียวกันทั่วทั้งบีกเกอร์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ https://www.youtube.com/watch?v=e8wIOpVOMOM ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ จากตารางกิจกรรมที่ 2.1 ตอนที่ 2 นักเรียนได้ศึกษามาแล้วจะเห็นว่า ในเซลล์พืชมีผนังเซลล์ที่ให้ความแข็งแรงเมื่อเซลล์สูญเสียน้ำออกจากเซลล์ ผนังเซลล์จะเป็นตัวช่วยไม่ให้รูปร่างของเซลล์เปลี่ยนไป แต่สำหรับเซลล์สัตว์ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งไม่มีผนังเซลล์แต่มีเยื่อหุ้มเซลล์ถ้าเซลล์สูญเสียน้ำออกจากเซลล์ไปแล้วก็จะทำให้รูปร่างของเซลล์เปลี่ยนไปด้วยดังภาพที่ 2-11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ถ้าหากสารละลายภายนอกเซลล์มีความเข้มข้นต่ำกว่าสารละลายภายในเซลล์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างไร เซลล์พืชจะเต่งมากขึ้นโดยเยื่อหุ้มเซลล์จะถูกดันจนชิดขอบผนังเซลล์ แต่เซลล์ยังคงรูปร่างอยู่ได้ส่วนหัวเซลล์จะเต่งและอาจทำให้เซลล์แตกได้ นักเรียนจะนำความรู้เกี่ยวกับออสโมซิส มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง นำมารู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การแช่ผักในน้ำเพื่อไม่ให้ผักเหี่ยว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
LOGO www.themegallery.com
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ การแพร่แบบฟาซิลิเทต (facilitaed diffusion) เป็นการแพร่ของสารที่ไม่สามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยตรงต้องเคลื่อนผ่านช่องโปรตีนหรือโปรตีนตัวพาภายในเยื่อหุ้มเซลล์เช่น ไอออนต่างๆ กลีเซอรอล กลูโคสและกรดอะมิโน เป็นต้น การแพร่แบบนี้เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานและเกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของสารภายนอกกับภายในเซลล์ สารเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จากด้านที่มีความเข้มข้นสูงไปยังด้านที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าเสอม การแพร่แบบฟาซิลิเทตมีอัตราการแพร่เร็วกว่าการแพร่แบบธรรมดาหลายเท่าตัวดังภาพที่ 2-13 และเป็นกระบวนการที่มีความจำเพาะในการเคลื่อนย้ายสารที่มีโครงสร้างทางเคมีแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ การลำเลียงแบบใช้พลังงาน (active transport) เป็นการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นสูง การลำเลียงลักษณะนี้เซลล์ต้องนำพลังงานที่ได้จากการสลายสารอาหารมาใช้ หากเปรียบกับถังเก็บน้ำ การแพร่แบบธรรมดาหรือการแพร่แบบฟาซิลิเทตจะเหมือนกับการปล่อยน้ำลงจากถังเก็บน้ำที่อยู่บนหอคอย โดยมีแรงโน้มถ่วงเป็นตัวดึงให้น้ำไหลลงมา ส่วนการลำเลียงแบบใช้พลังงานเปรียบเทียบกับการสูบน้ำขึ้นสู่ถังเก็บน้ำที่อยู่บนหอคอยโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเดินเครื่องสูบน้ำเพื่อสร้างแรงดันเอาชนะแรงโน้มถ่วง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ การลำเลียงแบบใช้พลังงานอาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงเช่นเดียวกับการแพร่แบบฟาซิลิเทต แต่ต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานที่ได้จากการสลายพันธะของ ATP เพื่อเป็นแรงผลักดันในการลำเลียงซึ่งมีทิศทางตรงข้ามกับการแพร่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ 2.3.2 การลำเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์มีลิพิดเป็นองค์ประกอบทำให้เยื่อหุ้มสามรถคอดและหลุดออกเป็นเวสิเคิลหรือรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ล้อมรอบสารโมเลกุลใหญ่ เพื่อลำเลียงสารเหล่านั้นเข้าหรือออกจากเซลล์หรือระหว่างออร์แกเนลล์ต่างๆ ภายในเซลล์ การลำเลียงแบบนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามทิศทางการลำเลียงออกหรือเข้าเซลล์ คือ เอกโซไซโทซิส (exocytosis) และ เอนโดไซโทซิส (endocytosis) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ เอกโซไซโทซิส เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ สารที่ถูกจะส่องออกไปนอกเซลล์บรรจุในเวสิเคิล เมื่อเวสิเคิลรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์สารที่อยู่ภายในเวสิเคิลก็จะถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ เช่น การหลั่งเอนไซม์จากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ดังภาพที่2-15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
LOGO www.themegallery.com
เอนโดไซโทซิส เป็นการลำเลียงสารตรงกันข้ามกับเอกโซไซโทซิส กล่าวคือ เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เช่น ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) พิโนไซโทซิส (pinocytosis) และการนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (receptor-mediated endocytosis) LOGO www.themegallery.com
ฟาโกไซโทซิส เป็นการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ โดยเซลล์สามรถยื่นไซโทพลาสซึมออกมาล้อมอนุภาคของสารที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่ละลายน้ำก่อนที่จะนำเข้าสู่เซลล์ในรูปของแวคิวโอล จากนั้นอาจรวมตัวกับไลโซโซมภายในเซลล์เพื่อย่อยสลายสารภายในแวคิวโอลด้วยเอนไซม์ภายในไลโซโซม พบได้ในเซลล์จำพวกอะมีบาและเซลล์เม็ดเลือดขาว ดังภาพที่ 2-16 LOGO www.themegallery.com
LOGO www.themegallery.com
พิโนไซโทซิส เป็นการนำอนุภาคของสารที่อยู่ในรูปของสารละลายเข้าสู่เซลล์ โดยการทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เว้าเข้าไปในไซโทพลาซึมทีละน้อยจนกลายเป็นถุงเล็กๆ เมื่อเยื่อหุ้มเซลล์ปิดสนิทถุงนี้จะหลุดเข้าไปกลายเป็นเวสิเคิลอยู่ในไซโทพลาซึม เช่น เซลล์บุผนังหลอดเลือด เป็นต้น ดังภาพที่ 2-17 LOGO www.themegallery.com
LOGO www.themegallery.com
การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ เป็นการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ที่เกิดขึ้นโดยมีโปรตีนเป็นตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ถูกลำเลียงเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีนี้จะต้องมีความจำเพาะในการจับกับโปรตีนตัวรับที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์จึงจะสามรถเข้าสู่เซลล์ได้ หลังจากนั้นเยื่อหุ้มเซลล์จึงเว้าคอดเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าสู่ภายในเซลล์ เช่น การนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ตับ เป็นต้น ดังภาพที่ 2-18 LOGO www.themegallery.com
LOGO www.themegallery.com
การนำสารเข้าสู่เซลล์ทั้งแบบฟาโกไซโทซิส ฟิโนไซโทซิส และการนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เหมือนกัน คือ มีการสร้างเวสิเคิลเพื่อนำสารเข้า แต่แตกต่างกันที่วิธีนำสารเข้าสู่เซลล์ LOGO www.themegallery.com
การลำเลียงสารผ่านเซลล์ https://www.youtube.com/watch?v=DWBR0H2gy9o&spfreload=10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2.4 กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต 2.4.1 การรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช นักเรียนเคยศึกษาเรื่องปากใบของพืชมาแล้วในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทำให้ทราบว่าพืชมีการคายน้ำผ่านทางรูปากใบ (ภาพที่ 2-19) การคายน้ำทำให้พืชมีการสูญเสียน้ำ ดังนั้นพืชจึงต้องมีการดูดน้ำจากภายนอกเข้าสู่รากเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปและขณะเดียวกันเป็นวิธีการรักษาสมดุลของน้ำในพืชด้วย ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาการคายน้ำของพืชจากการทำกิจกรรมที่ 2.2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต จากกิจกรรมนักเรียนจะเห็นว่าพืชมีการคายน้ำ โดยไอน้ำระเหยออกจากใบผ่านทางปากใบซึ่งเปรียบเสมือนประตูที่ควบคุมปริมาณน้ำภายในพืช การเปิด-ปิดของปากใบขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเข้มข้นของแสง เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต 2.4.2การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆในร่างกาย ในร่างกายมนุษย์มีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 65-70 ซึ่งร่างกายจะต้องรักษาดุลยภาพนี้ไว้ การรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกายสามรถทำได้โดยการควบคุมปริมาณน้ำที่รับเข้าและน้ำที่ขับออกจากร่างกาย นักเรียนทราบหรือไม่ว่าในแต่ละวันร่างกายของมนุษย์มีการรับน้ำเข้าและขับน้ำออกในปริมาณเท่าใด นักเรียนสามรถศึกษาได้จากแผนภาพต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ถ้าปริมาณน้ำที่รับเข้าและขับออกไม่สมดุลกัน นักเรียนคิดว่าจะเกิดปัญหาแก่ร่างกายอย่างไร จะทำให้ความเข้มข้นของเลือดเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ความดันเลือดสูง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
จากภาพจะเห็นได้ว่าอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายต่างมีการทำงานประสานร่วมกันเพื่อทำหน้าที่ในการรักษาดุลยภาพ โดยมีหลอดเลือดรีนัลอาร์เตอรี (renal artery) ในการนำเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมาส่งที่ไตโดยมีไตทำหน้าที่กรองและกำจัดของเสีย เลือดที่ผ่านการกรองแล้วจะถูกนำออกจากไตไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านหลอดเลือดรีนัลเวน (renal vein) และมีท่อไตในการลำเลียงปัสสาวะไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ จากนนั้นปัสสาวะจะถูกขับออกจากร่างกายทางท่อปัสสาวะ LOGO www.themegallery.com
นอกจากนี้ภายในเนื้อไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า หน่วยไต (nephron) จำนวนมากถึงราว 1 ล้านหน่วย หน่วยไตมีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ พันรอบด้วยหลอดเลือดฝอย ดังภาพที่ 2-22 LOGO www.themegallery.com
เลือดเข้าสู่ไตผ่านทางหลอดเลือดรีนัลอาร์เตอรี ซึ่งแตกแขนงเป็นกลุ่มของหลอดเลือดฝอยเรียกว่า โกลเมอรูลัส (glomerulus) เมื่อเลือดไหลเวียนมาจนถึงตำแหน่งนี้ น้ำเลือดและโมเลกุลของสารต่างๆ ที่อยู่ในหลอดเลือดจะออกจากโกลเมอรูลัส เข้าสู่โบว์แมนแคปซูล (Bowman’s capsule) ไปสู่ท่อหน่วยไต ส่วนเซลล์เม็ดเลือดและอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะไม่ออกจากหลอดเลือดฝอย ดังภาพที่ 2-23 LOGO www.themegallery.com
LOGO www.themegallery.com
ของเหลวที่ผ่านเข้าสู่ท่อหน่วยไตส่วนหนึ่งจะถูกดูดกลับสู่หลอดเลือด ส่วนที่ไม่ถูกดูดกลับจะไหลผ่านท่อหน่วยไตไปยังท่อปัสสาวะ ตารางที่ 2.2 LOGO www.themegallery.com
คำถาม จากตารางนักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า ในแต่ละวันร่างกายของคนกำจัดสารใดออกจากร่างกายบ้าง น้ำ ยูเรีย กรดยูริก แอมโมเนียไออนต่างๆ เช่น โซเดียมไออนและคลอไรด์ไออน สารใดบ้างที่ท่อหน่วยไตดูดกลับ น้ำ กลูโคส โปรตีน กรดอะมิโน ความเข้มข้นของสารต่างๆในน้ำเลือดหรือพลาสมาและปัสสาวะมีค่าคงที่เสมอหรือไม่ ในภาวะที่ร่างกายปกติ ร่างกายสามารถควบคุมความเข้มข้นของสารต่างๆ ในน้ำเลือดหรือพลาสมา และปัสสาวะให้มีค่าคงที่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2.4.3 การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีเกือบทั้งหมดในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายควบคุมโดยเอมไซต์ โดยเอมไซต์แต่ละชนิดจะทำงานได้ในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน จากการศึกษาอัตราการทำงานของเอมไซต์ชนิดหนึ่งในร่างกาย พบว่าระดับความเป็นกรด-เบสมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ดังภาพที่ 2-25 LOGO www.themegallery.com
2.4.4 การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีวิธีการรักษาดุลยภาพของน้ำในเซลล์ร่างกายแตกต่างกันไป สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น อะมีบา และพารามีเซียม มีโครงสร้างภายในเซลล์ที่เรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (contractile vacuole) ดังภาพที่ที่ 2-26 ทำหน้าที่กำจัดน้ำออกจากเซลล์เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของสารภายในเซลล์และป้องกันไม่ให้เซลล์แตก LOGO www.themegallery.com
สำหรับสัตว์น้ำ เช่น ปลา น้ำและแร่ธาตุต่างๆ จะเคลื่อนที่เข้าออกระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายภายในร่างกายกับในสิ่งแวดล้อม LOGO www.themegallery.com
ปลาน้ำจืด ของเหลวในร่างกายมีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำที่อยู่รอบๆ น้ำจะเข้าสู่ร่างกายด้วยกระบวนการออสโมซิส โดยไม่ได้เข้าทางผิวหนังปลาโดยตรง ปลาน้ำจือขับถ่ายน้ำออกทางปัสสาวะบ่อยๆ และปัสสาวะค่อนข้างเจือจาง ส่วนแร่ธาตุในร่างกาย อาจสูญเสียบางทางเหงือก แต่จะมีเซลล์พิเศษในบริเวณเหงือกคอยดูดซึมแร่ธาตุที่จำเป็นกลับคืนสู่ร่างกาย ด้วยวิธีการลำเลียงแบบใช้พลังงาน ดังภาพที่ 2-27 ก. LOGO www.themegallery.com
ปลาทะเล มีของเหลวในร่างกายที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าน้ำทะเล ปลาทะเลจึงมีกระบวนการควบคุมระดับน้ำในร่างกายตรงข้ามกับปลาน้ำจืด ปลาทะเลจะปัสสาวะน้อยและปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง ส่วนแร่ธาตุที่เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากพร้อมกับอาหารจะผ่านทางเดินอาหารไปและจะถูกกำจัดออกทางทวารหนักในที่สุดโดยแทบไม่มีการดูดซึมเข้าสู่เซลล์ดังภาพที่ 2-27 ข. LOGO www.themegallery.com
LOGO www.themegallery.com
สำหรับนกทะเลและเต่าทะเล กินอาหารจากทะเลทำให้ปริมาณเกลือในร่างกายมากเกินความจำเป็น แต่สัตว์เหล่านี้จะมีอวัยวะพิเศษสำหรับขับเกลือที่มากเกินออกจากร่างกายในรูปน้ำเกลือเข้มข้นอวัยวะดังกล่าวมักพบอยู่บริเวณส่วนหัว เช่น ต่อมนาซัล (nasal gland) และรูจมูกของนกทะเล ดังภาพที่ 2-28 LOGO www.themegallery.com
2.4.5 การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย นักเรียนเคยศึกษามาแล้วว่า การทำงานของเอนไซม์แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรด-เบส นักเรียนทราบหรือไม่ว่าอุณหภูมิในร่างกายมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์หรือไม่ อย่างไร นักเรียนสามารถศึกษาได้จากกราฟในภาพที่ 2-29 LOGO www.themegallery.com
นักเรียนเคยสังเกตหรือไม่ว่าเมื่ออยู่กลางแดดนานๆ หรือเล่นกีฬากลางแจ้งในวันที่มีแดดจัด หน้าจะแดงและมีเหงื่ออกมา แต่ถ้าอยู่ในอากาศที่เย็นมากๆ มือจะซีดและมีอาการขนลุก การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เนื่องมาจากอะไร นักเรียนสามารถเปรียบเทียบกลไกการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้จากภาพที่ 2-30 LOGO www.themegallery.com
LOGO www.themegallery.com
2.5 ภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย 2.5.1 การป้องกัน ทำลายเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม ผิวหนัง ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม สามารถป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามแอนติเจนบางชนิดก็อาจเข้าสู่ร่างกายได้โดยผ่านทางต่อมเหงื่อ รูขุมขน บาดแผล หรือรอยที่ถูกกัดโดยแมลงพาหะของโรคต่างๆ เช่น ยุง เห็บ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาว มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและทำลายเชื้อโรคในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างจากเซลล์ไขกระดูกเช่นเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่เซลล์เม็ดเลือดขาวบางส่วนจะเจริญพัฒนาอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิดแต่ละชนิดมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน แบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ ตามหน้าที่ ดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย 1.กลุ่มฟาโกไซต์ (phagocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีวิธีการทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีฟาโกไซโทซิสจากนั้นเชื้อโรคจะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์จากไลโซโซมซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ชนิดหนึ่งในเซลล์ 2.กลุ่มลิมโฟไซต์ (lymphocyte) มีหลายชนิดที่ทำหน้าที่ต่างๆ คือ 1.สร้างแอนติบอดี (antibody) เป็นสารประเภทโปรตีนที่ช่วยในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ลิมโฟไซต์สร้างแอนติบอดีได้หลายแบบ โดยแต่ละแบบมีความจำเพาะเจาะจงกับแอนติเจน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย 2.ทำลายเซลล์ โดยตรวจจับแอนติเจนที่อยู่บนผิวเซลล์ต่างๆ เช่น เซลล์มะเร็งและเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสและสามารถทำลายและสามารถทำลายเซลล์เหล่านั้นได้โดยตรงโดยการปล่อยสารมาเจาะผิวเซลล์ทำให้เซลล์เหล่านั้นสลายไป นักเรียนจะศึกษากระบวนการต่างๆ เหล่านี้ได้ในรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย นักเรียนคงทราบแล้วว่า เลือดของคนบ่งได้เป็นเลือดหมู่ต่างๆ ระบบหมู่เลือดที่สำคัญคือ หมู่เลือดระบบ ABO ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 หมู่คือ หมู่ A หมู่ B หมู่ AB และหมู่ O การกำหนดเลือดหมู่ขึ้นอยู่กับแอนติเจนบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยพิจารณาแอนติเจน 2 ชนิด คือ A และชนิด B ดังตารางที่ 2.3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ผู้ที่มีเลือดหมู่ A สามารถให้เลือดแก่ผู้รับที่มีเลือดหมู่ B ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ไม่ได้ เพราะแอนติเจนที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้ให้(แอนติเจน A ) ตรงกับแอนติบอดี(แอนติเจน - A ) ในน้ำเลือดของผู้รับ จึงเกิดการจับกันระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี ส่งผลให้เม็ดเลือดแดง เกาะกลุ่มกันซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะเหตุใดผู้ที่มีหมู่เลือด O จึงสามารถให้เลือดแก่ผู้ที่มีหมู่เลือดใดก็ได้ เพราะที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนที่มีหมู่เลือด O ไม่มีแอนติเจนทั้ง 2 ชนิดจึงไม่เกิดการจับกันระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วยอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ไขกระดูก ต่อมไทมัส ต่อมน้ำเหลือง และม้าม ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยระบบเลือดและระบบน้ำเหลือง ไขกระดูก (bone marrow) เป็นแหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวทุกชนิด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด ต่อมไทมัส (thymus gland) มีตำแหน่งอยู่บริเวณทรวงอกรอบหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ เป็นแหล่งที่ลิมโฟไซต์ชนิดที่ทำลายเซลล์ที่มาจากไขกระดูก จะมาพัฒนาจนสมบูรณ์ก่อนออกสู่กระแสเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) มีลักษณะเป็นรูปไข่แตกต่างกัน ภายในเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีลักษณะคล้ายฟองน้ำซึมผ่านได้ ต่อมน้ำเหลืองที่รู้จักกันดีคือต่อมทอมซิลซึ่งอยู่บริเวณคอ ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่อยู่ใต้กระบังลมด้านซ้ายติดกับด้านหลังของกระเพาะอาหารเป็นแหล่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในระยะเอ็มบริโอ หลังคลอดม้ามจะเป็นที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดและเป็นแหล่งทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดที่หมดอายุแล้ว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
LOGO www.themegallery.com
คำถาม นักเรียนคิดว่าระบบน้ำเหลืองมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เซลล์เม็ดเลือดขาวและระบบน้ำเหลืองมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีบทบาทใดในการทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย ไขกระดูกเป็นแหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว จากนั้นเซลล์เม็ดเลือดขาวส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังกระแสเลือด และบางส่วนถูกส่งไปยังอวัยวะน้ำเหลือง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ร่างกายคนมีภูมิคุ้มกันตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ โดยได้รับแอนติบอดีจากแม่ผ่านทางสายสะดือ เมื่อคลอดออกมาแล้วทารกที่ดื่มน้ำนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกันต่อไปอีก เมื่อทารกเติบโตขึ้นร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อต่างๆ อีกหลายโรค จึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโดยการให้วัคซีน (vaccine) ต่างๆ เป็นระยะ ตั้งแต่แรกเกิด LOGO www.themegallery.com
ภูมิคุ้มกันของร่างกาย 2.5.2 ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะภูมิแพ้ เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อแอนติเจนบางอย่างรุนแรงเกินไปทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ทำให้เกิดลมพิษ ไอ จาม หอบ หืด เป็นต้น ภูมิแพ้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ โรคที่มีผลทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างรุนแรง คือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ โรคเอดส์ (ALDS) ย่อมาจาก acquired immune deficiency syndrome เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV (human immunodeficiency virus) เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสนี้สามารถทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวจึงทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ไวรัส HIV มีลักษณะพิเศษต่างจากไวรัสอื่นๆ คือ ไวรัสชนิดนี้ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวโดยตรง เมื่ออยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว ไวรัส HIV จะเพิ่มจำนวนโดยใช้องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นวัตถุดิบ แล้วกระจายไปสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวอื่นๆ ต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม โรคอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่พบได้แก่อะไรบ้าง มีลักษณะอาการของโรคเป็นอย่างไร - นักเรียนจะมีวิธีการป้องกันตนเองและดูแลสุขภาพอย่างไรบ้าง เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 2 1.ศึกษาแผนภาพแสดงโครงสร้างของเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งแล้วตอบคำถาม 1.1เซลล์นี้เป็นเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ ทราบได้อย่างไร เซลล์พืชเนื่องจากมีผนังเซลล์และภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์และมีแวคิวโอลขนาดใหญ่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 2 1.2ออร์แกเนลล์ใดเป็นแหล่งผลิตสารที่ให้พลังงานสูงแก่เซลล์ ไมโทคอนเดรีย(หมายเลข5) 1.3หมายเลขใดควบคุมการลำเลียงสารผ่านเข้าออกจากเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (หมายเลข3) 2. จากการศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กภายใต้กล้องจุลทรรศน์ นักเรียนเห็นภาพดังนี้ ถ้าใช้กำลังขยายสูง จะปรากฏภาพดังต่อไปนี้ ถ้านักเรียนต้องการดูรายละเอียดให้ครบทุกส่วน นักเรียนจะต้องปฏิบัติอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ถ้าใช้กำลังขยายสูง จะปรากฏภาพดังต่อไปนี้ ถ้านักเรียนต้องการดูรายละเอียดให้ครบทุกส่วน นักเรียนจะต้องปฏิบัติอย่างไร ให้เลื่อนสไลด์เพื่อให้ภาพมาอยู่ตรงกลางของสนามภาพ (field of view) 3.ศึกษาแผนภาพนี้แล้วตอบคำถาม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 2 3.ศึกษาแผนภาพนี้แล้วตอบคำถาม ถ้าความเข้มข้นของสารในแวคิวโอลของเซลล์ X Y และ Z เท่ากับ 40% 30% และ 10% ตามลำดับจะมีการเคลื่อนที่ของน้ำในเซลล์ทั้ง 3 นี้อย่างไร เนื่องจากสารละลาย 10% มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำกว่าในสารละลาย 30% และ 40% น้ำจึงแพร่จากเซลล์ที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำคือ 10%ไปยัง30%และ40% และจาก 30%ไป40% ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 2 4.ถ้าหลอดแก้ว I และ II คั่นด้วยเยื่อเลือกผ่าน น้ำตาลในหลอดแก้ว II มีความเข้มข้นสูงกว่าด้าน I ถ้าเริ่มต้นทดลองโดยให้ระดับสารในหลอด I และ II เท่ากัน แล้วตั้งทิ้งไว้ต่อมาปรากฏการณ์ควรจะเกิดขึ้นตรงกับภาพในข้อใด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภาพ ง เนื่องจากสารละลายน้ำตาลในหลอดแก้ว II มีความเข้มข้นสูงกว่าในหลอดแก้ว I 5. ในวันที่อากาศเย็น หรืออยู่ในที่เย็นจัด จะขับถ่ายปัสสาวะบ่อยกว่าวันที่มีอากาศร้อนเพราะอะไร ร่างกายไม่มีเหงื่อ จึงมีปริมาณน้ำในร่างกายมาก ความเข้มข้นของเลือดลดลงไปกระตุ้นไฮโพธาลามัสให้ไปยับยั้งการหลั่ง ADH ทำให้ดูดน้ำคืนกลับท่อหน่วยไตน้อยลง LOGO www.themegallery.com
คำถามท้ายบทที่ 2 6.ในการตรวจหมู่เลือดจะต้องเจาะเลือดแล้วนำมาหยดบนสไลด์ 2 หยด แล้วใส่น้ำยาตรวจเลือด 2 ชนิด คือ น้ำยาแอนติ-A และแอนติ-B 6.1 ถ้าผลการตรวจปรากฏว่า เลือดทั้งสองหยดที่ใส่น้ำยาแอนติ-A และแอนติ-B ตกตะกอน ดังนั้นเลือดที่ตรวจจะเป็นเลือดหมู่ใด AB ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 2 6.2 ถ้าเลือดที่ตรวจเป็นเลือดหมู่ A ผลการตรวจจะเป็นอย่างไร เลือดที่หยดน้ำนาแอนติ-A ลงไปจะตกตะกอน ส่วนเลือดที่หยดน้ำยาแอนติ-B จะไม่ตกตะกอน 6.3 ถ้าเลือดที่ตรวจเป็นเลือดหมู่ O ผลการตรวจจะเป็นอย่างไร เลือดทั้ง2หยดจะไม่ตกตะกอน 7.มีผู้นำพารามีเซียมใส่ในน้ำจืดแล้วสังเกตการบีบตัวของคอนแทร็กไทล์แวคิวโอลพบว่าคอนแทร็กไทล์แวคิวโอลบีบตัว 6 ครั้ง แต่เมื่อเติมเกลือเล็กน้อยลงในภาชนะที่มีพารามีเซียมอยู่ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอลจะบีบตัวน้อยกว่า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 2 7.1ข้อมูลดังกล่าวนี้บอกอะไรแก่เราบ้าง น้ำที่มีเกลือผสมจะมีความเข้มข้นของสารสูงกว่าน้ำจืด น้ำจึงแพร่เข้าตัวพารามีเซียมน้อยกว่าจึงทำให้คอนแทร็กไทล์แวคิวโอลบีบตัวเพื่อกำจัดน้ำออกจากเซลล์น้อยกว่าเมื่ออยู่ในน้ำจืด 7.2ถ้านักเรียนต้องการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบีบตัวของ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอลนักเรียนคิดว่าจะศึกษาเรื่องใด สารละลายภายนอกเซลล์ของพารามีเซียมที่ความเข้มข้นต่างๆ กันมีผลต่อการบีบตัวของคอนแทร็กไทล์แวคิวโอลอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี