สังคมและการเมือง : Social and Politics

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
Advertisements

คณะศึกษาศาสตร์ กำแพงแสน มก.
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)
ประเภทลัทธิทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)
สัปดาห์ที่ 4.
อุดมการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political ideology)
Principles & theories in Communication Arts
ธรรมาภิบาล และ การปฏิรูปราชการ
มองพัฒนาการเศรษฐกิจไทยผ่านกรอบ Daron Acemoglu
จรรยาบรรณวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อ สังคม ของวิชาชีพวิศวกรรม ปัญญรักษ์ งามศรีตระกูล พฤศจิกายน 2550.
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันและปราบรามการทุจริต
โครงงานวิทยาศาสตร์ (ว 23202)
แนวความคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศ concept and policy of development
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
สำนักงานวิจัยนวัตกรรมและพันธมิตร มจธ.
IV. ลัทธิการเมือง - ฟาสซิสต์ - นาซี - มาร์กซิสม์/ คอมมิวนิสต์
แปลว่าความรู้(Knowledge)
จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ
รัฐและประมุขแห่งรัฐ.
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
กระบวนทัศน์การบริหารงานยุติธรรม
การเมืองการปกครองของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เบื้องต้น)
อุดมการณ์การเมืองในระบบรัฐธรรมนูญไทย
โรงเรียนวังไกลกังวล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
จริยธรรมทางการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
@ North South Initiative
การบริหารการเปลี่ยนแปลง Management of Change
วิทยาศาสตร์ และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
เกริ่นนำงานวิจัยเบื้องต้น
วัฒนธรรมทางการเมือง ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
ปรัชญาทางการเมือง Political Philosophy
บทที่ 1 บทนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญา วิธิการทางปรัชญา
Globalization and the Law
รายวิชาแหล่งสารสนเทศ หน่วยที่ 5 แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามสาขาวิชา
จรรยาบรรณ จรรยาบรรณ คือ จริยธรรมวิชาชีพ วิชาชีพ มีองค์ประกอบ 4 ประการ
ความหมายของปรัชญา.
งานก่อสร้างฯ / ซ่อมแซมฯ อาคาร สิ่งปลูกสร้าง และสาธารณูปโภค
การมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน: แนวคิด และประสบการณ์วิจัย
แนวบรรยาย เรื่อง หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง
งานเงินสมทบ การตรวจสอบ และงานกฎหมาย
วัฒนธรรมทางการเมือง ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
มนุษย์กับเศรษฐกิจ.
ปรัชญากฎหมายเชิงประวัติศาสตร์
อาจารย์ณรงค์ชัย มุ่งแฝงกลาง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์
บทที่4 การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ
กฎหมายและ โลกสมัยใหม่
ปรัชญาทั่วไป (General Philosophy) หมู่ 2.
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับแผนการจัดการเรียนรู้
การประสานงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้ไลน์กลุ่ม social media
. ระบบการปกครอง & การเมืองการปกครอง ของประเทศใน S.E.A.
การแสดงเจตจำนงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย 2
กระบวนการยุติธรรมอาญาทางเลือก
อาการของมะเร็งเต้านม ที่กลับเป็นซ้ำ และ หรือ แพร่กระจาย
จงลุกขึ้น ... ฉายแสง ภารกิจที่ท้าทาย ผู้วินิจฉัย 6: 12.
GSC151 ชีวิตและสภาพแวดล้อมในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
3. ระบบศาลในกฎหมายปกครอง
เสรีประชาธิปไตย นิติรัฐ/นิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สังคมและการเมือง : Social and Politics
สังคมและการเมือง : Social and Politics
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การปกครองท้องถิ่นไทย PPA 1103
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สังคมและการเมือง : 03751112 Social and Politics : ปรัชญาทางการเมืองและสังคม : : อุดมการณ์ทางการเมือง : : รูปแบบ/ประเภทอุดมการณ์ทางการเมือง : 8 : 26-27 ต.ค. 61

I. ปรัชญาการเมือง วิวัฒนาการของปรัชญาของมนุษย์ : 1. ปรัชญาดึกดำบรรพ์ (Primitives) ปรัชญาของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ในโลก ซึ่งคาดว่ามนุษย์ อยู่ในสภาพความเป็นอยู่ดังนี้ 1) สภาพที่ไร้อารยธรรม คงมีสภาพปัญหาร่วมกันทั่วไป คือ ปัญหาภัย ธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น และคาดว่าภัย ธรรมชาติเกิดจากเทพ หรือเทพเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิด มนุษย์จะพ้นภัย ก็ต้องเอาใจเทพ ไม่ว่าจะเป็นการถวายของบูชา เป็นต้น และยังมีความ เชื่อโลกมีลักษณะที่ตายตัว “เอกภพ”

I. ปรัชญาการเมือง วิวัฒนาการของปรัชญาของมนุษย์ : ภาษาสันสกฤต : ความรู้รอบโดยทั่ว ความรู้อย่างแท้จริง - ศาสตร์ที่ศึกษาหาความรู้ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ/ธาตุแท้มนุษย์และ ทุกสรรพสิ่งอย่างลึกซึ้ง ภาพรวมเพื่ออธิบายเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ โดยใช้ หลักการเหตุผล - ระบบแห่งความคิดของมนุษย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักคิด/สำนักคิด ณ สมัยใด สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นอยู่ของมนุษย์แต่ละกาลสมัย

I. ปรัชญาการเมือง ประเด็นพื้นฐานทางปรัชญา - อะไร คือธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่างที่ดำรงอยู่ในโลก ? - จะมีแนวทางรู้จักสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร? จุดมุ่งหมายของปรัชญา - แสวงหาความรู้และความหมายในชีวิตและความสัมพันธ์ของมนุษย์โลก - แสวงหาชีวิต สังคม การเมืองที่ดีด้วยการคิดและถกเถียงกันด้วยเหตุผล

I. ปรัชญาการเมือง ประเภทปรัชญาหลัก : Pure Philosophy/Philosophy Proper : Applied Philosophy - อภิปรัชญา (Metaphysics) ศึกษาว่า สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่หมายความว่าอย่างไร มีธรรมชาติหรือเนื้อแท้อะไรหรือไม่ จะรู้จักมันได้อย่างไร - ญาณวิทยา (Epistemology) ทฤษฎีความรู้ ว่าด้วยวิธีการหาความรู้ - จริยศาสตร์ (Ethics) หลักเกณฑ์ในการตัดสินคุณค่า เช่น ความดี/ถูกต้อง ไม่ดี - สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) หลักเกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าความงาม - ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) ปรัชญาเกี่ยวกับความคิด คุณค่า เกี่ยวกับส่วนรวม เช่น อำนาจ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรม

I. ปรัชญาการเมือง ปัญหาพื้นฐานปรัชญาสนใจ - ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและความเข้าใจในศัพท์ทางสังคมที่ใช้กันใน ทฤษฎีทางสังคม หรือปัญหาสังคมที่ถูกอภิปรายในชีวิตประจำวัน : สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาพ การพัฒนา และความยุติธรรม ฯลฯ = ความหมายที่แท้จริง ความเข้าใจและการยอมรับทั่วกัน ปัญหาการสร้างมาตรการหรือหลักการทางสังคม : หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ หลักการจำกัดเสรีภาพ หรือการจัดสรร ทรัพยากรและความร่ำรวย ฯลฯ = หาคำตอบจุดเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรม

ปรัชญาการเมือง/สังคม I. ปรัชญาการเมือง ปรัชญาการเมือง/สังคม การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดรวบยอดหลัก (Concept) หลักการ และวิธีการ ของการเมือง/สังคมนั้นๆ เช่น - เสรีภาพคืออะไร? ความเสมอคืออะไร? หรือความยุติธรรมคืออะไร? : พิจารณาแนวคิดรวบยอดหรือหลักการ : องค์ประกอบ : ทำความเข้าใจบทบาทและการใช้ : ข้อดีและข้อเสีย/ผลกระทบ : การพัฒนา/ปรับปรุง

เหตุผลการพิจารณาปรัชญาการเมือง : ความเชื่อพื้นฐาน I. ปรัชญาการเมือง เหตุผลการพิจารณาปรัชญาการเมือง : ความเชื่อพื้นฐาน - รัฐบาลดีหรือเลวมีผลกระทบต่อคุณภพชีวิตของประชาชนอย่างลึกซึ้ง - รูปแบบรัฐบาลไม่ได้กำหนดมาล่วงหน้า ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกรูปแบบ - ประชาชนสามารถแยกรัฐบาลที่ดีออกจากรัฐบาลที่เลว : ทราบผลกระทบของรัฐบาลรูปแบบต่างๆ : คุณสมบัตินำไปสู่รัฐบาลที่ดี

ประเด็นปรัชญาการเมือง/สังคม I. ปรัชญาการเมือง ประเด็นปรัชญาการเมือง/สังคม อำนาจที่เป็นทางการ (Authority) และการเชื่อฟัง : 1. แหล่ง/บุคคลที่ให้สิทธิผู้ปกครองในการควบคุมชีวิตของพลเมือง? 2. ผู้ปกครองได้อำนาจที่เป็นทางการในการปกครองมาจากไหน? 3. ทำไมประชาชนจะต้องเชื่อฟังรัฐ? เสรีภาพ (Liberty) 1. การที่ต้องยอมรับอำนาจเป็นทางการที่สูงกว่า (ของผู้ปกครอง) ประชาชน จะต้องยอมเสียเสรีภาพไปแค่ไหน? ทิศทางและบทบาทของรัฐ? - ทางบวก : สนับสนุนการพัฒนาของปัจเจกชนและเสรีภาพ : ประชาชนเกิดความตระหนักและทำในสิ่งที่มีเหตุผล - ทางผล : การป้องกันไม่ให้เอกชนทำร้ายกัน

ประเด็นปรัชญาการเมือง/สังคม I. ปรัชญาการเมือง ประเด็นปรัชญาการเมือง/สังคม ความเสมอภาค (Equality) และความยุติธรรม (Justice) : 1. การที่ประชาชนมีเสรีภาพเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล หมายความว่า ประชาชนมีเสรีภาพจริงหรือไม่? 2. ประชาชนมีความเสมอภาคได้อย่างแท้จริงหรือไม่? หรือมีได้แค่ความเสมอภาคใน ทางโอกาส (Equality of Opportunity) 3. ความเสมอภาคในทางโอกาสสอดคล้องกับความยุติธรรม (Justice) ธรรมชาติของมนุษย์ 1. ธรรมชาติมนุษย์ : เห็นแก่ตัวแบบสัตว์ป่า/ วิวัฒนาการเป็นสัตว์สังคมที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 2. ประชาชนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม โดยมีพันธสัญญาทางสังคม (Social Contract) จริงหรือไม่? อย่างไร?

ประเด็นปรัชญาการเมือง/สังคม I. ปรัชญาการเมือง ประเด็นปรัชญาการเมือง/สังคม สังคมกับรัฐ : 1. รัฐพัฒนาการโดยธรรมชาติหรือถูกสร้างโดยมนุษย์? 2. รัฐให้เสรีภาพประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน? ทำไมต้องเชื่อฟังกฎหมาย? 4. รัฐมีสิทธิจะลงโทษคนอื่นที่ไม่เชื่อฟังกฎหมายอย่างไร? ประชาธิปไตยกับระบบอำนาจเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) 1. ประชาธิปไตยแบบไหนจะดีสำหรับประชาชน? 2. ประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดจริงหรือ? 3. ระบบอำนาจเบ็ดเสร็จมีข้อดี/ข้อด้อยอย่างไร?

อุดมการณ์ (Ideology) คือ ศาสตร์แห่งความคิด คำว่า “อุดมการณ์” มีนักปราชญ์รัฐศาสตร์ เดอ ท็อคเคอวิลล์ (De Tocqueville) กล่าวไว้ว่า “หากปราศจากอุดมการณ์เสียแล้ว สังคมก็มิอาจจะตั้งอยู่/เจริญเติบโตต่อไปได้ เหตุว่า เมื่อมนุษย์ไม่มีความเชื่อมั่นร่วมกันในความคิดอันใดอันหนึ่ง มนุษย์ก็มิอาจ ดำเนินการใดๆ ร่วมกันได้ เมื่อขาดพฤติกรรมดังกล่าว มนุษย์ยังคงมีอยู่ (ในโลก) แต่ปราศจากสิ่งที่รู้จักกันว่า สังคม”

ลักษณะอุดมการณ์ อุดมการณ์เป็นแรงจูงใจเป็นพลังที่ให้เกิดการกระทำในสังคม อุดมการณ์เป็นแรงดลใจให้มนุษย์เกิดการเชื่อฟัง อุดมการณ์เป็นลักษณะของความเชื่อมั่นที่มีความแน่นอนเป็นอันหนึ่ง อันเดียว “อุดมการณ์เป็นทั้งความยึดถือ และพฤติกรรมที่มีความแน่นอน ซึ่งจะมี ความเกี่ยวพันกับหน่วยกำหนดนโยบายทางการเมือง โครงสร้างของอำนาจ สังคมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอำนาจ”

ความหมายอุดมการณ์ ความหมายเดิม เหนียวแน่น (Attitudes) “ศาสตร์แห่งความคิด” Science of Ideas : อุดมการณ์จะเป็นรูปแบบแห่งความคิดบุคคลมีความเชื่ออย่าง เหนียวแน่น : อุดมการณ์เป็นกลุ่มแห่งความคิด ซึ่งกำหนดท่าที/ทัศนคติ (Attitudes) : อุดมการณ์เป็นลักษณะแห่งการนำไปปฏิบัติ

ความหมายอุดมการณ์ UNESCO อธิบายความหมาย “อุดมการณ์” ว่า รูปแบบของความเชื่อและแนวความคิด (Concept) ทั้งส่วนเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง รวมทั้งการประเมินค่าว่า ดี/ไม่ดี ควร/ไม่ควร ซึ่งจะช่วย อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ลิขิต ธีรเวคิน ให้ความหมาย “อุดมการณ์” ว่า ลัทธิทางการเมืองที่อธิบายถึงความเป็นมาของระบบสังคมมนุษย์ใน อดีต สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคต วางแนวทาง ประพฤติปฏิบัติสำหรับสมาชิกในปัจจุบัน

ความหมายอุดมการณ์ 1. ความคิด/ความเชื่อที่มีแบบแผนเกี่ยวกับหลักการและคุณค่าทางการ เมืองที่เกิดขึ้นในสังคม 2. วิถีชีวิตทางการเมืองโดยมุ่งหมายกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางการ เมืองและการปกครอง อธิบายและเสนอแนะแนวทางแก้ไข 3.การเชื่อฟังและปฏิบัติตามเป็นการยอมรับว่าสิ่งต่างๆ ที่อุดมการณ์ กำหนดขึ้นมาเป็นสิ่งดี/ถูกต้อง/นำไปประยุกต์ใช้ 4. แหล่งที่ทำให้เกิดการเห็นพ้องกันในรัฐ มนุษย์ในชุมชนยึดถือสิ่ง ต่างๆ ที่ปรากฏในอุดมการณ์ว่า ถูกต้องจะผลักดันให้เห็นพ้องในหลักการ ความมุ่งหมาย กระบวนการผลปฏิบัติ 5. กลไกการควบคุม ภายหลังเห็นพ้องตรงกันในหลักการจุดมุ่งหมาย หรือกระบวนการ ฯลฯ แล้วมนุษย์ย่อมต้องการให้บรรลุผลตามอุดมการณ์

ประโยชน์ของอุดมการณ์ 1. การนำอุดมการณ์มาใช้เพื่อปกครองและรวมกลุ่มคนเข้าด้วยกัน 2. การใช้อุดมการณ์เพื่อประโยชน์ชักจูงคนให้เสียสละเพื่อเป้าหมาย ร่วม 3. การใช้อุดมการณ์เพื่อการขยายอำนาจของรัฐบาล

II. ลัทธิการเมือง - ฟาสซิสต์ - นาซี - มาร์กซิสม์/ คอมมิวนิสต์ - สังคมนิยม - เสรีนิยม - อนุรักษ์นิยม - ชาตินิยม - อนาธิปไตย - ประชาธิปไตย

ประเภทลัทธิทางการเมือง 1. ลัทธิทางการเมืองเน้นเสรีภาพบุคคล/นิยมเสรีภาพ : อำนาจรัฐมีไม่มาก มีขอบเขตจำกัด แต่เสรีภาพบุคคลสำคัญมาก ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ลัทธิอนุรักษ์นิยม (Conservatism)

ประเภทลัทธิทางการเมือง 2. ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ ทำให้เสรีภาพบุคคลสำคัญน้อยลง ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ลัทธินาซี (Nazism) ลัทธิมาร์กซิสต์ (Marxism) คอมมิวนิสต์ (Communism)

1) ความหมายของระบอบประชาธิปไตย คือ การปกครองที่อำนาจอธิปไตย 2.1 ปรัชญาของระบอบประชาธิปไตย III.ระบอบประชาธิปไตย 1) ความหมายของระบอบประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตย คือ การปกครองที่อำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชน

2) ระบอบประชาธิปไตยโดยตรงและโดยตัวแทน (1) ระบอบประชาธิปไตยโดยตรง คือ การที่ประชาชนในฐานะเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงโดยไม่มีตัวแทน อาทิ การปกครองของนครรัฐเอเธนส์

(2) ระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน คือ การที่ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นผู้เลือกตัวแทนเข้าไป ทำหน้าที่ในการปกครองแทนตน และตัวแทนต้องใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของประชาชน

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย - ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Presidential Democracy) - ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)

3) ความสำคัญของการเลือกตั้ง ในระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน (1) การเลือกตั้งเป็นกลไกสำคัญ ของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน (2) ระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน การเลือกตั้งต้องสุจริต เที่ยงธรรม และโปร่งใส

4) หลักการของระบอบประชาธิปไตย (1) หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (2) หลักเสรีภาพ (3) หลักความเสมอภาค (4) หลักกฎหมาย (5) หลักเสียงข้างมากและสิทธิ์ของเสียงข้างน้อย

5) อำนาจอธิปไตยที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน ประชาชนมีอำนาจอธิปไตยที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) อำนาจในการเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ ในการปกครอง (2) อำนาจในการตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้แทน ถ้าพบว่าผู้แทนมิได้ใช้อำนาจเพื่อประชาชน ประชาชนสามารถถอดถอนได้

รัฐบาล รัฐบาลของประชาชน ประชาชนอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของรัฐบาลมีส่วนร่วมใน ลักษณะของรัฐบาลระบอบประชาธิปไตย "รัฐบาล ประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและ เพื่อประชาชน" รัฐบาลของประชาชน ประชาชนอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของรัฐบาลมีส่วนร่วมใน การกำหนดผู้ที่เป็นผู้ปกครอง และสามารถเปลี่ยนแปลงจะ ผู้ปกครองหากผู้ปกครองไม่ได้บริหารเพื่อประโยชน์สุขของ ประชาชนโดยส่วนรวม

ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) รัฐบาลโดยประชาชน ประชาชน/พลเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นผู้ปกครอง หากได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ โดยที่มี การเปิดโอกาสให้คนทุกคนเท่าเทียมกัน รัฐบาลเพื่อประชาชน รัฐบาล/คณะบุคคลที่ปกครองประเทศต้องมีประสงค์ เพื่อความผาสุกของปวงชนและพยายามบริหารสังคมให้ ดำเนินไปตามวิถีที่กำหนดไว้เพื่อบรรลุถึงจุดหมายนั้น

โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในฉบับเดียว ทั่วไป รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ (Constitution) เป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ โดยเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายทั้งหมด 1. รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (Written Constitution) โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในฉบับเดียว ทั่วไป รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรจะขึ้นต้นด้วยวัตถุประสงค์ของ รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการกินดีอยู่ดีของประชาชน ความ ยุติธรรม ความสงบและความเจริญก้าวหน้าของรัฐ เป็นต้น

รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร/รัฐธรรมนูญ 2. รัฐธรรมนูญไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร/รัฐธรรมนูญ จารีตประเพณี สหราชอาณาจักรอังกฤษประเทศเดียวที่มี รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวมเขียนไว้ในฉบับเดียว แต่ อาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีและวิธีการที่ปฏิบัติสืบต่อกัน มารวมกันเข้าเป็นบทบัญญัติที่มีอำนาจเป็นกฎหมายสูงสุด กำหนดเป็นรูปของการปกครองรัฐ

รัฐเดี่ยวมีลักษณะเป็นรัฐที่มีระบบรัฐบาลเดี่ยวคือ ฝ่าย 3. รัฐธรรมนูญรัฐเดี่ยวและรัฐธรรมนูญรัฐรวม (Unitary Constitution and Federal Constitution) รัฐเดี่ยวมีลักษณะเป็นรัฐที่มีระบบรัฐบาลเดี่ยวคือ ฝ่าย บริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการนั้นอยู่ที่รัฐบาลกลาง โดยแบ่งอำนาจแยกออกตามส่วนภูมิภาค กฎหมายที่ใช้จะ บัญญัติจากฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารส่วนกลาง จะมีผลบังคับใช้เท่ากันในทุกๆ พื้นที่ รัฐเดี่ยวย่อมมี อำนาจมาจากส่วนกลางและกระจายออกสู่ส่วนภูมิภาค เช่น ประเทศไทย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น

รัฐรวม เป็นระบบรัฐบาลซ้อนกัน 2 องค์กร คือ ฝ่าย 3. รัฐธรรมนูญรัฐเดี่ยวและรัฐธรรมนูญรัฐรวม (Unitary Constitution and Federal Constitution) รัฐรวม เป็นระบบรัฐบาลซ้อนกัน 2 องค์กร คือ ฝ่าย บริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการของรัฐบาลกลางและ รัฐส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน รัฐบาลกลางมีอำนาจเท่าที่รัฐบาลท้องถิ่นกำหนดให้ รูปแบบการปกครองแบ่งอำนาจระหว่างท้องถิ่นต่างๆ ของรัฐ ให้มีอำนาจออกกฎหมายบังคับในเขตปกครองของตน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น รัฐธรรมนูญของรัฐรวมมักมี 2 รัฐธรรมนูญ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ ของรัฐบาลกลางกับรัฐธรรมนูญของรัฐท้องถิ่น

4. รัฐธรรมนูญสาธารณ/รัฐธรรมนูญกษัตริย์ (Republican Constitution and Monarchical Constitution) อาศัยประมุขของรัฐเป็นหลักการจำแนกประเภทของ รัฐธรรมนูญ รัฐที่มีบัญญัติให้ประมุขเป็นประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญ ที่ใช้ก็เป็นรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญประเทศที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์หรือ ราชินี รัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็เป็นรัฐธรรมนูญกษัตริย์

1. การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradual ที่มาของรัฐธรรมนูญ 1. การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Evolution) หรือเรียกว่า การวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญซึ่ง ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ 2. การปฏิวัติ (Revolution) หรือรัฐประหาร (Coup d’etat) โดยการปฏิวัติ (Revolution) คือ การเปลี่ยนแปลง อย่างถอนรากถอนโคนขนาดใหญ่และรวดเร็ว โดยที่มีการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างหมด การปฏิวัติเป็นการล้มล้างรัฐบาล ด้วยการใช้กำลังรุนแรงและประชาชนเป็นผู้กระทำการปฏิวัติ เป็นส่วนรวม

การรัฐประหาร (Coup d’etat) คือ การยึดอำนาจของ ที่มาของรัฐธรรมนูญ การรัฐประหาร (Coup d’etat) คือ การยึดอำนาจของ กลุ่มบุคคล เช่น คณะทหาร เป็นต้น การกระทำรัฐประหารเป็น การล้มล้างรัฐบาลที่เพ่งเล็งถึงตัวบุคคลในคณะรัฐบาล 3. การยกร่าง (Deliberate Creation) รัฐธรรมนูญที่ มีกำเนิดมาจากการยกร่างมักเกิดหลังจากรัฐ/ประเทศตั้งใหม่ หลังได้รับเอกราชหลุดพ้นจากสภาพการเป็นอาณานิคมรัฐอื่น 4. กษัตริย์ประทานให้ (Grant) ส่วนใหญ่ทวีปเอเชีย และยุโรป เดิมเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ต่อมากษัตริย์ต้องการกำหนด ขอบเขตแห่งอำนาจตนและวิธีการใช้อำนาจที่แน่นอน จึงประทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน

1) ความสำคัญของบริบททางสังคมต่อการ พัฒนาระบอบประชาธิปไตย 2.2 ระบอบประชาธิปไตยกับบริบทของสังคม 1) ความสำคัญของบริบททางสังคมต่อการ พัฒนาระบอบประชาธิปไตย (1) บริบทของสังคมที่แตกต่างกันมีผลต่อ พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยที่ แตกต่างกัน

(2) สังคมที่พัฒนาแล้ว (Developed Society) ซึ่งมีโครงสร้างเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ประชาชนชั้นกลางส่วนใหญ่คือผู้ตัดสินใจกำหนดตัวผู้ปกครอง ชนชั้นกลาง

(Undeveloped Society) หรือสังคมกำลังพัฒนา (Developing Society) (3) สังคมที่ด้อยพัฒนา (Undeveloped Society) หรือสังคมกำลังพัฒนา (Developing Society) ซึ่งมีโครงสร้างสังคมเป็น สามเหลี่ยมหน้าจั่ว ประชาชน ชั้นล่างคือ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ตัดสินใจกำหนดตัวผู้ปกครอง ชนชั้นล่าง

2) ความแตกต่างในการตัดสินใจกำหนด ตัวผู้ปกครองของชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง (1) การตัดสินใจของชนชั้นกลางจะมีความเป็น อิสระมากกว่า โดยคำนึงถึงคุณสมบัติที่ดีของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสำคัญ จึงทำให้มีโอกาส ได้คนดีเป็นผู้ปกครองมากกว่า

(2). การตัดสินใจของชนชั้นล่าง (ส่วนใหญ่ยากจน) (2) การตัดสินใจของชนชั้นล่าง (ส่วนใหญ่ยากจน) มีความเป็นอิสระน้อยกว่า การตัดสินใจจะ คำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะหน้าและความ ผูกพันส่วนตัวเป็นหลัก โดยมิได้คำนึงถึง คุณสมบัติที่ดีของผู้สมัครรับเลือกตั้งและ ประชาชนมักเป็นเหยื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงทำให้นักการเมืองที่ด้อยคุณธรรมมีโอกาส ได้เป็นผู้ปกครองมากกว่า

3) ผลของผู้ปกครองที่ดีและไม่ดีต่อประชาชน (1) ผู้ปกครองที่ดีจะมุ่งมั่นใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนมากกว่าประโยชน์ของตนเอง ทำให้คน ส่วนใหญ่ของสังคมมีวิถีชีวิตที่ดีและมีความเสมอภาค (2) ผู้ปกครองที่ด้อยคุณธรรมจะมุ่งมั่นใช้อำนาจเพื่อ ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของสังคม ทำให้ ชนชั้นสูงยิ่งร่ำรวยมั่งคั่ง ในขณะที่ คนส่วนใหญ่ยิ่ง ยากจน ประชาชนส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงเหยื่อของ ผู้ปกครองที่ถูกใช้ประโยชน์รู้ไม่เท่าทัน

1) โครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ทั่วไป 2.3 โครงสร้างทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย 1) โครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ทั่วไป โครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยที่ใช้อยู่ขณะนี้ แตกต่างกัน 3 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการควบอำนาจ (Fusion of Power) หรือระบบรัฐสภา (Parliamentary System) (2) รูปแบบแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Power) หรือระบบประธานาธิบดี (Presidential System) (3) รูปแบบกึ่งรัฐสภา (Semi parliamentary System) หรือรูปแบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi presidential System)

2) โครงสร้างหลักของรูปแบบควบอำนาจหรือระบบรัฐสภา (1) ประชาชนเป็นผู้เลือกผู้แทนโดยตรง เพื่อให้ทำหน้าที่ นิติบัญญัติและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร (2) ฝ่ายนิติบัญญัติที่มีเสียงข้างมากในสภาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล (3) ฝ่ายนิติบัญญัติ (ฝ่ายค้านในสภา) มีอำนาจในการตรวจสอบ ฝ่ายบริหารด้วยการยื่นกระทู้และการยื่นญัตติการอภิปราย ไม่ไว้วางใจ (4) หัวหน้าฝ่ายบริหารมีอำนาจในการยุบสภา (5) ประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหารแยกออกจากกัน

3) ปัญหาและอุปสรรคของรูปแบบควบอำนาจ (1) รัฐบาลอาจไม่มีเสถียรภาพ อันเนื่องมาจากการอภิปราย ไม่ไว้วางใจหรือการยุบสภาหรือการมีรัฐบาลผสม (2) รัฐบาลอาจบริหารประเทศไม่มีประสิทธิภาพเพราะ นายกรัฐมนตรีต้องทำทั้งหน้าที่บริหารและหน้าที่ นิติบัญญัติพร้อมๆกัน (3) ถ้ารัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาเกิน 2 ใน 3 อาจก่อให้เกิด “เผด็จการจากการเลือกตั้ง” (Elected Dictator) (4) การถ่วงดุลอำนาจและการตรวจสอบจะอ่อนแอถ้าฝ่ายค้าน มีเสียงในสภาน้อยมาก (5) ในประเทศด้อยพัฒนาอาจมีปัญหาการทุจริตในการ เลือกตั้งอย่างแพร่หลาย

4) โครงสร้างหลักของรูปแบบแบ่งแยกอำนาจ (1) ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง (2) ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งฝ่ายบริหาร (ประมุข)โดยตรง (3) ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจในการยื่นญัตติอภิปราย ไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร (4) ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจในการยุบสภา (5) ประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นคนเดียวกัน

5) ปัญหาและอุปสรรคของรูปแบบแบ่งแยกอำนาจ (1) การเลือกตั้งฝ่ายบริหารมีหลายขั้นตอนและ เป็นการเลือกตั้งทั้งประเทศจึงมีค่าใช้จ่ายสูง (2) ถ้าหัวหน้าฝ่ายบริหารและเสียงข้างมากในสภา มาจากคนละพรรคจะทำให้การผ่านกฎหมายของ ฝ่ายบริหารมีความยากลำบาก

6) โครงสร้างหลักของรูปแบบกึ่งรัฐสภา (1) ประชาชนเป็นผู้เลือกฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง (2) ประชาชนเป็นผู้เลือกหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ประมุข) โดยตรง แต่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง จะต้องได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งของผู้ใช้สิทธิ์ มิฉะนั้นให้นำผู้ที่ได้เสียงอันดับหนึ่งและสองมา เลือกตั้งใหม่ภายในสองสัปดาห์

(3). ประมุขของประเทศมีอำนาจในการแต่งตั้ง (3) ประมุขของประเทศมีอำนาจในการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลและเป็นผู้ช่วย ประมุขในการบริหารประเทศ และมีอำนาจในการ ถอดถอนด้วย (4) ประมุขของประเทศมีอำนาจในการยุบสภาเมื่อสภามี อายุได้ครบหนึ่งปีขึ้นไป (5) ประมุขของประเทศมีอำนาจในการนำประเด็น ทางการเมืองไปทำประชามติได้

7) ปัญหาและอุปสรรคของรูปแบบกึ่งรัฐสภา (1) การเลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ประมุข) เป็นการเลือกตั้งทั้ง ประเทศและต้องได้เสียงเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ จึงอาจ เลือกตั้งมากกว่าหนึ่งครั้งทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง (2) สภาผู้แทนราษฎรอาจถูกยุบได้เมื่อขัดแย้งกับหัวหน้า ฝ่ายบริหารทำให้ไม่มีเสถียรภาพ (3) รัฐบาลอาจต้องลาออกหรือถูกหัวหน้าฝ่ายบริหารปลดได้ถ้าแพ้ ญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎร (4) ถ้าหัวหน้าฝ่ายบริหารและพรรคที่คุมเสียงข้างมากในสภา ผู้แทนราษฎรมาจากคนละพรรค อาจเป็นอุปสรรคในการ บริหารประเทศของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะการตรากฎหมายใหม่

คำถาม ปรัชญาการเมืองกับอุดมการณ์การเมืองแตกต่างกันอย่างไร ? จุดมุ่งหมายและประเด็นที่ปรัชญาสนใจศึกษาส่งผลต่อสังคมมนุษย์อย่างไร ? เหตุผลที่จะต้องมีอุดมการณ์ทางการเมือง ? ระบอบประชาธิปไตยคืออะไร ? ระบอบประชาธิปไตยโดยตรงและโดยตัวแทนต่างกันอย่างไร ? การเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างไรต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ? ในระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน ประชาชนมีอำนาจ ? อธิปไตยที่สำคัญอะไรบ้าง ? บริบทของสังคมมีความสำคัญอย่างไรต่อพัฒนาการ ของระบอบประชาธิปไตย ? การตัดสินใจกำหนดตัวผู้ปกครองของชนชั้นกลางและชนชั้น ล่างแตกต่างกันอย่างไร ?

คำถาม (ต่อ) ผู้ปกครองที่ดีและไม่ดีมีผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนอย่างไร? ระบอบประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในโลกขณะนี้มี โครงสร้างที่แตกต่างกันอย่างไร ? โครงสร้างหลักของรูปแบบควบอำนาจประกอบด้วยอะไรบ้าง ? ปัญหาและอุปสรรคของรูปแบบควบอำนาจคืออะไร โครงสร้าง หลักของรูปแบบแบ่งแยกอำนาจประกอบด้วยอะไรบ้าง ? ปัญหาและอุปสรรคของรูปแบบแบ่งแยกอำนาจคืออะไร ? โครงสร้างหลักของรูปแบบกึ่งรัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง ? ปัญหาและอุปสรรคของรูปแบบกึ่งรัฐสภาคืออะไร ?