งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)

2 อุดมการณ์ (Ideology) คือ ศาสตร์แห่งความคิด
คำว่า “อุดมการณ์” มีนักปราชญ์รัฐศาสตร์ เดอ ท็อคเคอวิลล์ (De Tocqueville) กล่าวว่า “หากปราศจากอุดมการณ์เสียแล้ว สังคมมิอาจจะตั้งอยู่/ เจริญเติบโตต่อไปได้ เหตุว่า เมื่อมนุษย์ไม่มีความเชื่อมั่น ร่วมกันในความคิดอันใดอันหนึ่ง มนุษย์ก็มิอาจดำเนินการ ใดๆ ร่วมกันได้ เมื่อขาดพฤติกรรมดังกล่าว มนุษย์ยังคงมี อยู่ (ในโลก) แต่ปราศจากสิ่งที่รู้กันที่เรียกว่า “สังคม”

3 ความสำคัญของอุดมการณ์
อุดมการณ์เป็นแรงจูงใจเป็นพลังที่ให้เกิดการ กระทำในสังคม อุดมการณ์เป็นแรงดลใจให้มนุษย์เกิดการเชื่อฟัง อุดมการณ์เป็นลักษณะของความเชื่อมั่นที่มีความ แน่นอนเป็นอันหนึ่งอันเดียว “อุดมการณ์เป็นทั้งความยึดถือ และพฤติกรรมที่มี ความแน่นอน ซึ่งจะมีความเกี่ยวพันกับหน่วยกำหนด นโยบายทางการเมือง โครงสร้างของอำนาจสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอำนาจ”

4 ความสำคัญของอุดมการณ์
ความหมายเดิม : “ศาสตร์แห่งความคิด” Science of Ideas : อุดมการณ์เป็นรูปแบบแห่งความคิดบุคคลมี ความเชื่ออย่างแน่นแฟ้น : อุดมการณ์เป็นกลุ่มแห่งความคิด ซึ่งกำหนด ท่าที/ทัศนคติ (Attitudes) : อุดมการณ์เป็นลักษณะแห่งการนำไปปฏิบัติ

5 ความสำคัญของอุดมการณ์
UNESCO อธิบายความหมาย “อุดมการณ์” ว่า รูปแบบของความเชื่อและแนวความคิด (Concept) ทั้งส่วนเกี่ยวกับข้อเท็จจริง รวมทั้งการประเมินค่าว่า ดี/ไม่ดี ควร/ไม่ควร ซึ่งจะช่วยอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ลิขิต ธีรเวคิน ให้ความหมาย “อุดมการณ์” ว่า ลัทธิทางการเมืองที่อธิบายถึงความเป็นมาของระบบ สังคมมนุษย์ในอดีต สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน และ แนวโน้มอนาคต วางแนวทางประพฤติปฏิบัติสำหรับสมาชิก ในปัจจุบัน

6 อุดมการณ์การเมือง 5. กลไกการควบคุม ภายหลังเห็นพ้องตรงกันในหลักการ
1. ความคิด/ความเชื่อที่มีแบบแผนเกี่ยวกับหลักการและ คุณค่าทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคม 2. วิถีชีวิตทางการเมืองโดยมุ่งหมายกำหนดกฎเกณฑ์ ต่างๆ ทางการเมืองและการปกครอง อธิบายและเสนอแนะ แนวทางแก้ไข 3.การเชื่อฟังและปฏิบัติตาม เป็นการยอมรับว่าสิ่งต่างๆ ที่ อุดมการณ์กำหนดขึ้นมาเป็นสิ่งดี/ถูกต้อง/นำไปประยุกต์ใช้ 4. แหล่งที่ทำให้เกิดการเห็นพ้องกันภายในรัฐ มนุษย์ใน ชุมชนยึดถือสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในอุดมการณ์ว่าถูกต้องจะ ผลักดันให้เห็นพ้องในหลักการ ความมุ่งหมาย กระบวนการ ผลปฏิบัติ 5. กลไกการควบคุม ภายหลังเห็นพ้องตรงกันในหลักการ จุดมุ่งหมายหรือกระบวนการ ฯลฯ แล้วมนุษย์ย่อมต้องการให้ บรรลุผลตามอุดมการณ์

7 ประโยชน์ของอุดมการณ์
1) การนำอุดมการณ์มาใช้เพื่อปกครองและ รวมกลุ่มคนเข้าด้วยกัน 2) การใช้อุดมการณ์เพื่อประโยชน์ชักจูงคน ให้เสียสละเพื่อเป้าหมายร่วม 3) การใช้อุดมการณ์เพื่อการขยายอำนาจ ของรัฐบาล

8 ลัทธิทางการเมือง - ฟาสซิสต์ - นาซี - มาร์กซิสม์/ คอมมิวนิสต์
- สังคมนิยม - เสรีนิยม - อนุรักษ์นิยม - ชาตินิยม - อนาธิปไตย - ประชาธิปไตย

9 ประเภทลัทธิทางการเมือง
1. ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ ทำให้เสรีภาพบุคคลสำคัญน้อยลง ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ลัทธินาซี (Nazism) ลัทธิมาร์กซิสต์ (Marxism) คอมมิวนิสต์ (Communism)

10 ประเภทลัทธิทางการเมือง
2. ลัทธิทางการเมืองเน้นเสรีภาพบุคคล/นิยมเสรีภาพ : อำนาจรัฐมีไม่มาก มีขอบเขตจำกัด แต่เสรีภาพบุคคลสำคัญมาก ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) ลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic Socialism) ลัทธิอนุรักษ์นิยม (Conservatism)

11 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ลัทธิฟาสซิสต์เป็นศักดินานิยมแบบใหม่ที่มีรากฐานลัทธิ ศักดินาเดิม โดยระบบเผด็จการเกิดขึ้นศตวรรษที่ 20 โดยมี ลักษณะ - ชาตินิยม -ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ - ทหารนิยม “Fasces” ภาษาละติน = มัดของแขนงไม้ สัญลักษณ์ : ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน : อำนาจ : ความเชื่อฟังในสมัยโรมันโบราณ “Fascio” ภาษาอิตาเลียน มัด = ความสัมพันธ์ใกล้ชิด (กลุ่ม/ขบวนการ) ความหมายทหารโรมัน

12 ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)
ลัทธิฟาสซิสต์บูชาชาติ รัฐ จิตสมบูรณ์ (พระเจ้า) ลด ความสำคัญเอกชน/ไม่นับถือมนุษย์ ยึดถือนามธรรมร่วม (พระเจ้า จิต ชาติ เชื้อชาติ รัฐ และผู้นำ) มากกว่าสภาพ ความเป็นอยู่แท้จริงมนุษย์ ความเป็นมา : ความคิดจิตนิยม (Idealism Geong Wilhelm Friedrich Hegel, ) แพร่หลาย : ภายหลัง WW.I ระบบประชาธิปไตยในประเทศอิตาลี และเยอรมันล้มเหลว ระบบฟาสซิสต์มีบทบาทสำคัญแทนที่ โดยได้รับการสนับสนุน - ชนชั้นกลาง - ชนชั้นสูง (นักอุตสาหกรรม)

13 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
: ระหว่างนั้น Giovanni Gentile และ Alfredo Rocco พัฒนาลัทธิฟาสซิสต์ ลัทธิฟาสซิสต์ = ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ พื้นฐานความคิด - ประชาชนไม่มีความสามารถ ขาดความรู้และมีอารมณ์ แปรปรวน ปกครองตนเองไม่ได้ - ประชาชนต้องถูกปกครองโดยกลุ่มชนชั้นนำ (elite) ที่มี คุณลักษณะสูงกว่ามวลชนทั่วไป มีความสามารถ สติปัญญา กำลังใจและจริยธรรม

14 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
- ประเทศที่ประชาชนไม่มีประสบการณ์แบบประชาธิปไตย ปกครองระบบเผด็จการอำนาจนิยม - ประเทศที่ประชาชนมีประสบการณ์แบบประชาธิปไตย บ้าง ปกครองระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ Benito Mussolini ได้ตั้งพรรคฟาสซิสต์ 1922 นำแนวคิด Hegel เป็นแกนปรัชญาพรรค พัฒนาเป็น ลัทธิฟาสซิสต์ โดยประยุกต์ แก้สถานการณ์เศรษฐกิจ บังคับ ให้เกิดสามัคคีและสันติในชาติ ยุตินัดหยุดงานและการต่อสู้ระหว่างแรงงานกับนายจ้าง ภายหลัง W.W.I ลัทธิเสื่อมลงเพราะอิตาลีและเยอรมัน แพ้ แต่ลัทธิฟาสซิสต์ยังคงอิทธิพลต่อประเทศด้อย/กำลัง พัฒนา

15 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
สาระสำคัญของลัทธิฟาสซิสต์ 1. ต้องการให้บุคคลเชื่อโดยไม่คำนึงถึงเหตุผล สั่งสอน โน้มนำให้เชื่องมงาย ยึดถือ - ชาติและผู้นำ - จงรักภักดีและผูกพันต่อระบบการปกครอง ทำให้ - ประชาชนเป็นกลไกการปกครอง - สิทธิบางประการถูกจำกัด - รักษาความมั่นคงและปลอดภัยชาติ - ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด

16 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
2. มนุษย์มีความไม่เท่าเทียมกัน ตามสภาพความเป็น จริงมนุษย์ไม่เท่าเทียมกัน - ร่างกายและพฤติกรรม ความเชื่อแบบประชาธิปไตยถึงความเท่าเทียมกันผิด ชายสูงกว่าหญิง ทหารสูงกว่าพลเรือน ชาติเหนือเอกชน มาตรฐานที่ถูกมาใช้ตัดสิน ฐานะเหนือกว่า = อำนาจ 3. พฤติกรรมนิยมความรุนแรงและโฆษณาชวนเชื่อ : การแบ่งในสังคมมี 2 ประเภท - เพื่อน (Friend) - ศัตรู (Enemy) บุคคลใดไม่ใช่เพื่อน = ศัตรูทั้งหมด ศัตรูต้องถูกทำลายหมดทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ เกิดสถาบันของการใช้กำลังรุนแรง

17 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
4. รัฐบาลโดยชนชั้นนำ : ผู้นำประเทศ/รัฐบาลเป็นชนชั้น นำกลุ่มน้อยที่เลือกสรรแล้ว - ผู้ที่มีความสามารถ ฝึกฝนเป็นโดยเฉพาะ - ชนกลุ่มน้อยฐานะสูงในสังคม - ทราบความต้องการและสนองความต้องการชุมชนได้ สร้างฐานะตนเอง ชนชั้นผู้นำต้องผูกขาดอำนาจ ผู้ที่มีความสามารถ : การ กระทำถูกต้องเสมอ 5. การปกครองแบบเบ็ดเสร็จ : อำนาจเด็ดขาดเป็นอำนาจ สูงสุดครอบคลุมชีวิตประชาชนในชาติ กิจการ/ระบบทุก อย่างอยู่ภายใต้รัฐควบคุม - สิทธิสตรีต้องถูกกำจัด - อำนาจ + ความรุนแรงเป็นเครื่องมือควบคุมในการ ปกครองประเทศ

18 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
6. ความนิยมเชื้อชาติ : ชนชั้นนำการปกครองตาม อุดมการณ์ ผู้ที่มีฐานะเหนือชนชั้นอื่น - ชนชั้นนำมีอำนาจบังคับให้ผู้อื่นยอมรับและนำเอา เจตนารมณ์ตนไปปฏิบัติ - ชนชั้นนำเป็นบุคคลที่เชื้อสายบริสุทธิ์ ความสามารถ พิเศษ - ประเทศที่มีชนชั้นนำเป็นประเทศมหาอำนาจฐานะ เหนือกว่าประเทศอื่น - ผู้นำจะต้องเพิ่มฐานะ อำนาจและชื่อเสียงเผ่าพันธุ์และ ขยายเผ่าพันธุ์ทั่วโลก

19 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
7. ความไม่เห็นด้วยกับกฎหมายและพฤติกรรมระหว่าง ประเทศ : - รากฐานความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ความ รุนแรงและเชื้อชาตินิยม - จักรวรรดินิยมและสงครามทั้งหมดเป็นหลักการและ เครื่องมือรัฐ เน้น สงครามและอุดมคติ

20 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ลัทธินาซี (Nazism) Nazism เป็นชื่อย่อในภาษาเยอรมันของพรรคสังคม ชาตินิยมคนงานเยอรมัน (National Socialist German Worker Party) ตั้งขึ้น 1919 ถูก Adolf Hitler ช่วงชิง เป็นหัวหน้าพรรค 1921 : Nazism เป็นลัทธิฟาสซิสต์รุนแรง ความเป็นมา ระบอบเผด็จการที่ตั้งขึ้นเพื่อสนธิสัญญาแวร์ซายน์ แนวคิดเด่น Nazism : เชื้อชาติ สังคมกว้าหน้าเกิดจากการต่อสู้เลือกผู้เหมาะสมให้มี ชีวิตอยู่ อารยัน (Aryan) เหมาะที่สุด

21 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
สาระสำคัญของลัทธินาซี 1. การกำจัดแนวคิดปัจเจกชนนิยมสวัสดิภาพของชาติ สำคัญกว่าประชาชน 2. การกำจัดแนวคิดทางประชาธิปไตย ผู้นำรัฐเป็นคน เข้มแข็ง มีระเบียบวินัย 3. การกำจัดแนวคิดความเสมอภาคมนุษย์โดยธรรมชาติ ธรรมชาติสร้างมนุษย์แตกต่างกัน 4. การกำจัดเหตุผลมนุษย์ อุดมคติ จินตนาการสำคัญ มากกว่า 5. หลักความภักดีต่อชาติบุคคลเป็นประโยชน์ต่อรัฐและ สังคมต้องเข้าใจเจตนารมณ์ของชาติ

22 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
สาระสำคัญของลัทธินาซี 6. หลักการเหยียดผิว เผ่าพันธุ์เยอรมันเป็นชาติเจริญ 7. หลักการบุคคลความสามารถบุคคลเกิดโดยกำเนิด 8. อำนาจสำคัญสุดอำนาจเป็นแนวทาง (Means) สู่ ปลายทาง (Ends) 9. ความสำคัญเชื้อชาติสายโลหิตและเชื้อชาติสำคัญ สร้างวัฒนธรรม รักษาวัฒนธรรมและทำลายวัฒนธรรม 10. หลักจักรวรรดินิยมยกย่องการขยายดินแดน จำเป็น แก่รัฐ “สงคราม”

23 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ลัทธิมาร์กซิสม์ (Marxism) ลัทธิสังคม Socialism /คอมมิวนิสต์Communist : บุคคลสำคัญ :Karl Marx ( ) เป็นลัทธิการ เมือง เศรษฐกิจ สังคม เชื่อว่ามนุษย์จะมีความสุขในสังคม อย่างเต็มที่ด้วยการล้มเลิก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคล ชนชั้น ฐานะทางสังคม สถาบันทางสังคม ความเชื่อทางศาสนา รัฐและการปกครอง

24 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
มนุษย์จะได้รับบริการและวัตถุจำเป็นต่างๆ ในการยังชีพ โดยเท่าเทียมกัน คำว่า “ สังคมนิยม” (Socialism) ถูกใช้ครั้งแรกเป็น ภาษา ฝรั่งเศส วารสาร Le Globe โดย Pierre Lerou บรรณาธิการ ก.พ. ปี 1832 หมายถึง ลัทธิของแซงต์ซีมอง (Claude-Henri de Rouvroy de Saint Simon ) แต่ประมาณปี 1827 มีการใช้คำว่า “ นักสังคมนิยม” (Socialist) ในวารสารสหกรณ์ (Co-operative Magazine) ของ Robert Owen ( ) หมายถึง ผู้ยึดถือลัทธิ สหกรณ์ของ Owen

25 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ความหมาย : “ สังคมนิยม” (Socialism) 1. คำ “ Sociare” ภาษาละตินแปลว่า รวม (Combine)/ ร่วมกัน (Share) สังคมนิยม หมายถึง การจัดกิจกรรมของ มนุษย์ที่มีการรวม/ร่วมกันอยู่เสมอ 2. คำ “ Sociare” ภาษายุคโรมันและยุคกลางแปลว่า ความเป็นเพื่อน (Companionship) /สหาย (Fellowship)

26 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
กำเนิด คำว่า “สังคม” (Social /Society) ความหมาย แตกต่างกันระหว่าง “รัฐ” (State) การรวมโดยมีการใช้อำนาจบังคับมากกว่า สมัครใจ “สังคม” (Social /Society) การทำสัญญากันด้วยความ สมัครใจของคนที่เป็นเสรีชน

27 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
พัฒนาการลัทธิสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ 1. สังคมนิยมยูโทเปีย (Utopian Socialism) ตั้งแต่ W นโปเลียน-การปฎิวัติปี 1848 2. สังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Socialism) หรือลัทธิมาร์ซิสม์ (Marxism) แนวทางเปลี่ยนแปลงสังคม ผ่านรัฐสภาแบบวิวัฒนาการ

28 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
พัฒนาการลัทธิสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ 3. สังคมลัทธิมาร์กซ์สมัยใหม่ (Modern Marxism) การพัฒนาลัทธิมาร์กซ์นอกประเทศคอมมิวนิสต์/สังคมนิยม ยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ 4. ประชาธิปไตยแนวสังคมนิยม (Social Democracy) การผสมผสานหลักการหลายอุดมการณ์ สังคมนิยม เสรีนิยม หรืออนุรักษ์ ภายหลัง WW II

29 แนวคิดพื้นฐาน Marxists School นักคิดกลุ่มทฤษฎีนี้มองการ
พัฒนาของทุนนิยมโลก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. Classical Marxists อธิบายว่า นักเศรษฐศาสตร์ ทุนนิยมกล่าวว่า “เศรษฐกิจแบบทุนนิยม” เป็นระบบของการ แข่งขันอย่างเสรีทั้งรูปแบบการลงทุน การผลิต ค่าจ้างแรงงาน และผู้ประกอบการจะนำผลกำไรขยายงาน การขยายตัวระบบทุนนิยมทำให้เกิดความต้องการ ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีการพัฒนา หรือหาวิธีการ ผลิตและแหล่งตลาดใหม่ๆ

30 สถานการณ์จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และ
ข้อเท็จจริง : - ผู้ประกอบการที่มีทุนมากที่สุดจะเป็นผู้อยู่รอด และทำ กำไรสูงสุด เพราะการแข่งขันต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะ - ผู้ประกอบการหรือคู่แข่งที่มีขนาดเล็กหรือทุนน้อยจะถูก กำจัดออกไปจากระบบเศรษฐกิจ - การดำเนินการจะคำนึงถึงต้นทุนและค่าจ้างแรงงานที่ให้ ต่ำที่สุด สถานการณ์จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และ ผลักดันให้สังคมปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมแบบสังคมนิยม

31 แนวคิดเชิง Classical Marxists ฐาน ความคิดแตกต่างกัน 2 นัย คือ
1.1) แนวคิดของ Karl Marx มองว่า ความคิด เชิงอุดมคติแบบทุนนิยม ไม่ต้องการที่จะแสวงหา ดินแดนหรืออาณาจักรอันเป็นบริวาร แม้ว่ารัฐหรือ ดินแดนเหล่านี้จะเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถทำกำไรให้ ทั้งนี้ เพราะความสัมพันธ์ที่มีกับทุนนิยมภายนอก หรือทุนนิยมสากลจะเป็นกลไกหรือเป็นสื่อกลางที่นำไปสู่ระบบ เศรษฐกิจเพื่อการค้า (Trade Economy) แต่ละรัฐหรือสังคม ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมตนเอง จึงจะเข้าสู่ ตลาดโลก

32 1.2) แนวคิดของ Nikolai Bukharin และ
Vladimir Lenin มองว่า ระบบทุนนิยมเป็นผลพวง ที่เกิดจากพัฒนาการของ “ระบบจักรวรรดินิยม” (Imperialism) เมื่อพิจารณาสภาพต่างๆ ระดับนานาชาติ (Internationalization) พบว่า การต่อสู้หรือการ แข่งขันของนายทุนยังคงดำเนินอยู่ต่อไป และจะ พัฒนาไปสู่ระบบทุนนิยมข้ามชาติตามมา

33 ฐานแนวคิดเชื่อว่า“ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเข้าครอบงำ
ประเทศที่ด้อยพัฒนา” “การเข้าครอบงำ” จะครอบคลุมรวมถึงดินแดน ระบบ การเมือง การทหาร รูปแบบทางเศรษฐกิจและอื่นเพื่อให้เป็น สังคมประเทศที่จะต้องรับใช้ระบบ ตลอดจนเป็นจักรวรรดิร่วม สงคราม นอกจากนี้ กลุ่มนักคิดยังคาดการณ์ว่า “การแข่งขันกัน ระหว่างจักรวรรดินิยมด้วยกันเอง” จะนำไปสู่ภาวะสงคราม อย่างหลีกหนีไม่พ้น

34 “สินค้าส่งออกเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสร้างทุน”
สินค้าส่งออก จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเร่งรัดการ พัฒนาประเทศด้อยพัฒนา และกระบวนการระบบเศรษฐกิจ ของประเทศที่พัฒนา - กรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานในภาคการผลิตของระบบ จักรวรรดินิยมศูนย์กลาง ได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จ ของการพัฒนาประเทศที่มีความเสี่ยงน้อย/ ได้รับผลกระทบ ทางลบที่มีขอบเขตจำกัด จักรวรรดินิยมบริวาร จะถูกเอารัดเอาเปรียบและมีความเสี่ยง บนความเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีช่องว่างอย่างมาก

35 2. Political Economy School มองพัฒนาการ
ของทุนนิยมว่า “เป็นพัฒนาการของระบบ และกระบวนการเอา รัดเอาเปรียบโดยการขูดรีดผลประโยชน์จากสังคมหนึ่งไปสู่ อีกสังคมหนึ่ง กล่าวคือ : ความเจริญเติบโตของประเทศหนึ่งๆ หรือประเทศที่ พัฒนาเกิดจากการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ที่เอาเปรียบ ประเทศด้อยพัฒนา โดยผ่านกระบวนการพัฒนา ทำให้สภาพ ของการพัฒนาเป็น “การพัฒนาภาวะความด้อยพัฒนา “ (Development of underdevelopment) 35

36 กลุ่มนักคิด Political Economy School ประกอบด้วย
นักคิดและนักวิชาการหลายคนที่มีชื่อเสียง เช่น - Baran - Emmanual - Amin - Frank - Wallerstein - อื่นๆ Paul Baran มีแนวคิดว่า โลกของระบบเศรษฐกิจมี 2 ส่วน คือ ประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้า ประเทศด้อยพัฒนา 36

37 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
พัฒนาการสังคม สังคมเดิมบกพร่อง : ระบบทาส นายทุน ศักดินา เป็นยุคการกดขี่ โดยผู้ที่มีฐานะสูงกว่าปฏิบัติต่อผู้ที่มีฐานะต่ำ กว่า ไม่เห็นข้อบกพร่องตนเอง ชั่วร้าย ต้องต่อสู้และปฎิวัติ สังคมนิยม : การปกครองที่ชนชั้นกรรมมาชีพมี อำนาจอย่างสมบูรณ์ เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ Marx ถือว่า การไม่มีการกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ รัฐบาลเป็นของชนชั้นใช้แรงงาน สังคมไม่มีชนชั้น พร้อมจะ เป็นสังคมคอมมิวนิสต์ในอนาคต

38 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
สังคมคอมมิวนิสต์ : สังคมที่ปราศจากชนชั้นต่างๆ บุคคลสมบูรณ์เต็มทีทั้งความสามารถ ความสำนึกรับผิดชอบ และความสัมพันธ์ต่อกัน ไม่จำเป็นต้องมีรัฐ/อำนาจรัฐ ไม่ จำเป็นต้องมีกฎหมาย มนุษย์ไม่มีการเบียดเบียน กดขี่ข่มเหงกันและกัน

39 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม Engels : ยืนยันการแบ่งสังคมนิยมเป็น 2 ระยะ 1. ยุคก่อนหน้าผลงานของ Marx & Engels คือก่อน 1848 ตั้งแต่สงครามนโปเลียน-การปฎิวัติฝรั่งเศสปี 1848 สังคมนิยมยูโทเปีย (Utopian Socialism) 2. ยุคหลังผลงานของ Marx & Engels คือ ตั้งแต่การ ประกาศ “The Communist Manifesto = ถ้อยแถลงแห่ง คอมมิวนิสต์” หรือ สังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Socialism)

40 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม หลักการองค์ประกอบพื้นฐานสังคมนิยม 7 ประการ 1. ชุมชน (Community) สังคมนิยมให้ความสำคัญกับ ชุมชน หรือส่วนรวมมากกว่าปัจเจกบุคคล การกระทำมนุษย์ที่มีความสำคัญและมีความหมาย เมื่อเป็น “การกระทำแบบรวมหมู่” (Collective Action) พลังสังคมสามารถทำให้บุคคลเปลี่ยน ไม่เหมือนเสรีนิยม แยกจากกัน

41 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม 2. ภราดรภาพ (Fraternity) ความเป็นพี่น้องกันของ มนุษย์ พื้นฐานความเป็นมนุษย์ร่วมกัน : - ความเป็นสหาย (Comradeship) มากกว่าต่อสู้ - ความช่วยเหลือกัน (Cooperation) มากกว่า แข่งขัน (Competition) - การมุ่งส่วนรวม (Collectivism) มากกว่าส่วนตัว (Individualism) การร่วมมือสร้างความสุขแก่ส่วนรวม

42 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม 3. ความเสมอภาคทางสังคม (Social Equality) สำคัญ มากกว่าหลักการอื่น : 1. ความเสมอภาคทางการเมือง 2. ความเสมอภาคต่อการปฏิบัติของกฎหมาย 3. ความเสมอภาคในโอกาสสังคม 4. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ 5. ความเสมอภาคทางสังคม เน้น ความเสมอภาคทางสังคมและเศรษฐกิจ (Social and Economic Equality) เป็นความเสมอภาคทางผลลัพท์ (Equality of Outcome)

43 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม ความเสมอภาคทางสังคม (Social Equality) 1. ความเสมอภาคทางการเมือง บุคคลทุกคนมีสิทธิ ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมการเมืองเท่าๆ กัน 2. ความเสมอภาคต่อการปฏิบัติของกฎหมาย ทุกคน ต้องได้รับการปฏิบัติด้วยกฎหมายอย่างเสมอภาคกัน โดย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน

44 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
3. ความเสมอภาคในโอกาส สังคมต้องเปิดโอกาส ให้ทุกคนทัดเทียมกันทั้งการใช้ความสามารถ แสวงหาความ เจริญก้าวหน้า เลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสการรับบริการตามสิทธิตนเอง 4. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ สภาพของทุกคนมี ความใกล้เคียงกันในฐานะทางเศรษฐกิจที่กระจายรายได้ (Income Distribution) และผลประโยชน์สาธารณะอย่าง เป็นธรรมเพื่อมิให้ช่องว่างระหว่างชนชั้น 5. ความเสมอภาคทางสังคม คนทุกคนจะต้องได้รับ การเคารพว่า ความเป็นคนอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันใน ฐานะเกิดมนุษย์ร่วมโลกเดียวกันสิทธิ/เสรีภาพ

45 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม 4. ความจำเป็น (Needs) สังคมเรียกร้องจากบุคคล ตามความสามารถ สังคมจะตอบแทนแต่ละบุคคลตามความ จำเป็นของมนุษย์ : อุดมคติบุคคลทำงานให้แก่ส่วนรวมอย่างเต็มที่ตาม ความสามารถ สังคมจะตอบแทนให้แก่แต่ละบุคคลตาม ต้องการ ความต้องการของบุคคล = ความจำเป็น

46 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม 5.ชนชั้นทางสังคม (Social Class) นักสังคมนิยมให้ ความสำคัญกับการวิเคราะห์สังคมด้วยชนชั้น การเปลี่ยนแปลงสังคมต้องเริ่มวิเคราะห์สังคม “สังคมมนุษย์เต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียมกัน” : - การแบ่งปันรายได้ - ความมั่งคั่ง - อื่นๆ จึงแบ่งมนุษย์เป็น ผู้กดขี่ กับ ผู้ถูกกดขี่

47 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม 6.กรรมสิทธิ์ส่วนรวม (Common Ownership) จุดที่ ทำให้มนุษย์แข่งกันและส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ในฐานะเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง มากจาก : สถาบันทรัพย์สินส่วนบุคคล (Institution of Private Property) ทรัพย์สินส่วนบุคคล=ทุน (Capital) - ทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นความไม่ยุติธรรม เพราะ เป็นผลงานของคนทั้งชาติ - ทรัพย์สินเกิดความแสวงหาไม่สิ้นสุด นิยมวัตถุ - ทรัพย์สินเกิดความแข่งขัน แตกแยกและขัดแย้งกัน

48 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบสังคมนิยม 7. ความก้าวหน้า (Progress) หมายถึง การก้าวไปข้าง หน้า (To Step forward) การเปลี่ยนแปลทางดี/ทางบวก (Improvement) สังคมต้องเปลี่ยนแปลงให้ก้าวหน้า

49 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบคอมมิวนิสต์ - ทำลายความคิดและสถาบันของชนชั้นสูง/มั่งมี/ กระฎุมพี - ทำให้รัฐและการปกครองรูปแบบเดิมต้องสิ้นสุดลง คาดว่าเป็นการปกครองที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ ศ.19 และ Marx เป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิ ด้วยอิทธิพลการผสมผสาน แนวความคิดของนักปราชญ์ทางสังคมนิยมและเสรีนิยมใน ยุคก่อน

50 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบคอมมิวนิสต์ : นับตั้งแต่ปี 1840 เป็นต้น มี 4 ประเด็นหลัก ความวุ่นวายและยุ่งยากทางการเมือง : เกิดขบวน การปฏิวัติในฝรั่งเศส ความบกพร่องของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม : เกิดการว่างงาน สภาพการทำงาน เดินขบวน และหยุดงาน

51 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบคอมมิวนิสต์ แนวคิดสังคมนิยมที่มีอยู่เดิม : สังคมนิยมยูโทเปีย (Utopian Socialism) ความเสียสละ หรือสังคมนิยมสมบูรณ์ แบบ = คำสอนศาสนาคริสต์ ให้รักกัน ช่วยเหลือกันและกัน ความรู้สึกรุนแรงของนักคิดที่ต้องแก้สังคม : ปัญหา สังคม การกดขี่เอารัดเอาเปรียบ

52 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
: ปี 1848 : องค์การระหว่างประเทศ “สันนิบาตแห่ง ความยุติธรรม” สนับสนุนกรรมกรต่อต้านการกดขี่ - Marx & Engels : The Communist Manifesto = ถ้อยแถลงแห่งคอมมิวนิสต์ “การต่อสู้ระหว่างชนชั้น ระหว่างกรรมกรกับนายทุน และเชื่อว่า มนุษย์จะมีเสรีภาพเมื่อชนชั้นกรรมาชีพมีชัยชนะ ควบคุมวิถีการผลิต”

53 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
: ระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ระดับต่ำ = สังคมนิยม ระบบการปกครองและการ เป็นเจ้าของการผลิตโดยชนชั้นกรรมาชีพ ไม่มีการกดขี่ เหลืออยู่ ระดับสูง = คอมมิวนิสต์ ระบบการปกครองที่มีภาวะ สมบูรณ์แบบ การดำรงชีวิตโดยเสรี ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับ กฎหมายอำนาจรัฐ รัฐบาลหรืออำนาจบังคับใด

54 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
- ทุกคนทำตามความสามารถแต่ละคนก็จะได้รับเท่าที่ จำเป็นตามความต้องการ - บุคคลอยู่ในสภาพที่ไม่มีรัฐ ไม่มีชนชั้น ไม่มีการกดขี่ มนุษย์มีชีวิตสมบูรณ์มากที่สุด แนวคิด Marx มีทั้งบกพร่องและถูกต้อง แต่สามารถ ผลักดันเกิดการเปลี่ยนแปลง : - การปฏิวัติในโซเวียต - การปฏิวัติในจีน

55 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ผู้คัดค้าน : แนวคิด Marx ค่อนข้างรุนแรง และพิจารณา มองสภาพความจริงของโลกที่มีความสลับซับซ้อนอย่างมาก ง่ายเกินไป ผู้สนับสนุน : แนวคิด Marx ต้องปฏิบัติโดยครบถ้วน จะ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโลก

56 ลัทธิทางการเมืองเน้นอำนาจรัฐ/นิยมอำนาจ
ระบบคอมมิวนิสต์ : คอมมิวนิสต์ = สังคมนิยมปฏิวัติ = มาร์กซิสต์ เพราะ : ปรัชญาของ Karl Marx ถือว่า “ระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง” เป้าหมายมี 2 ระดับ - สังคมนิยม - คอมมิวนิสต์


ดาวน์โหลด ppt อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google