วัฒนธรรมไทยและ วัฒนธรรมสากล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วัฒนธรรมไทยและ วัฒนธรรมสากล ครูสมฤดี แจ้งข่าว วัฒนธรรมไทยและ วัฒนธรรมสากล

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรม  วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากการเรียนรู้  แบบอย่างพฤติกรรมที่ได้มาทางสังคมและถ่ายทอดกันไปทางสังคมโดยอาศัยสัญลักษณ์  ผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ รวมทั้งความรู้ ความคิด ความเชื่อ ผู้ที่บัญญัติคำศัพท์ “วัฒนธรรม” ในภาษาไทย คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ หรือ พระองค์วรรณ

ลักษณะของวัฒนธรรม  เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  เป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม  เป็นมรดกทางสังคม เพราะมีการเรียนรู้และถ่ายทอดโดยใช้สัญลักษณ์  เป็นเอกลักษณ์แต่ละถิ่นของสังคม เพราะเป็นผลมาจากการเรียนรู้และถ่ายทอดพฤติกรรมที่แตกต่างกัน  เปลี่ยนแปลงได้และปรับตัวได้ เพราะสังคมไม่เคยหยุดนิ่ง

ประเภทของวัฒนธรรม ๑. นามธรรม (วัฒนธรรมทางจิตใจ) ประกอบด้วย ๑. นามธรรม (วัฒนธรรมทางจิตใจ) ประกอบด้วย คติธรรม = เป็นวัฒนธรรมทางความคิด ในรูปแบบคติสอนใจ ความเชื่อ   เช่น ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น เนติธรรม = เป็นวัฒนธรรมทางกฎหมาย หรือรูปแบบกฎ ระเบียบ ข้อตกลงต่างๆ เช่น กฎหมาย ศีล สหธรรม = เป็นวัฒนธรรมทางสังคม ในรูปแบบมารยาท และประเพณี เช่น มารยาทต่างๆ ในสังคม ๒. วัตถุธรรม (วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม) วัตถุธรรม = เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ ที่สามารถจับต้องสัมผัสได้ เช่น บ้านเรือน อาหาร เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

รูปแบบของวัฒนธรรม ๑. วัฒนธรรมหลัก : วัฒนธรรมของคนส่วนใหญ่ เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ พุทธศาสนา ภาษาไทย ๒. วัฒนธรรมรอง : วัฒนธรรมของคนส่วนน้อย เช่น ภาษาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น

ความสำคัญของวัฒนธรรม แสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคม ช่วยยึดเหนี่ยวให้สมาชิกในสังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กำหนดหน้าที่ สถานภาพ บทบาท ของสมาชิกในสังคม วัฒนธรรมช่วยสร้างระเบียบให้กับสังคม วัฒนธรรมช่วยให้เกิดความสามัคคี วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา

วัฒนธรรมไทย

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร การนับถือผู้อาวุโส วัฒนธรรมไทย ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นวัฒนธรรมเกษตรกรรม

วัฒนธรรมประจำชาติ พระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประจำชาติ ภาษาไทย การมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข พระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประจำชาติ อาหารไทย และ สมุนไพร ภาษาไทย อาชีพเกษตรกรรม

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ วัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารของภาคเหนือ มีลักษณะสำคัญ คือ รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลใน น้ำพริกหนุ่ม เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ พริก กระเทียม ผักสดต่างๆ โดยมักจะรับประทานกับแคบหมู

วัฒนธรรมด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ วัฒนธรรมของภาคเหนือ เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา ที่มีการสืบทอดมาเป็นเวลายาวนาน งานประเพณีสืบชะตา ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา กระทำขึ้นเพื่อยืดชีวิตด้วยการทำพิธี เพื่อให้รอดพ้นความตาย เป็นประเพณีที่คนล้านนานิยมกระทำมาจนถึงทุกวันนี้

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะสำคัญ คือ มีรสจัด มีผักเป็นส่วนประกอบหลัก อาหารจะมีลักษณะแห้ง ข้น หรือมีน้ำขลุกขลิก ไม่นิยมใส่กะทิ ส้มตำ เป็นอาหารยอดนิยมที่มีต้นกำเนิดจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ มะละกอดิบ มะเขือเทศ ถั่วลิสง พริก และกระเทียม นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง

วัฒนธรรมด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ วัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเอกลักษณ์บนพื้นฐานประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีความเกี่ยวข้องกับแนวคิด ความศรัทธา และความเชื่อที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี โดยชาวนาจะขอฝนจากพญาแถนตามความเชื่อ จึงมีการจัดพิธีบูชาพญาแถนทุกปีด้วยการทำบั้งไฟ

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง วัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารของภาคกลาง มีลักษณะสำคัญ คือ มีความหลากหลายในการปรุง การตกแต่งอาหาร โดยรสชาติจะมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน เคล้ากันไปตาม ชนิดของอาหาร น้ำพริกปลาทู เป็นอาหารที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ โดยส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทู พริกขี้หนู หอมแดง กระเทียม มะนาว เป็นต้น

วัฒนธรรมด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ วัฒนธรรมของภาคกลาง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ที่มีความเชื่อมโยงกับประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ และการดำเนินชีวิต ประเพณีรับบัวโยนบัว เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 โดยชาวบ้านจะพากันมาคอยนมัสการหลวงพ่อโสธรอยู่ริมคลอง และเด็ดดอกบัวโยนขึ้นไปบนเรือของหลวงพ่อ จนกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ วัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารของภาคใต้ มีลักษณะที่สำคัญ คือ รสจัดจ้าน นิยมใส่เครื่องเทศ เช่น ขมิ้น เนื่องจากช่วยดับกลิ่นคาวของอาหาร โดยอาหารภาคใต้จะไม่เน้นรสหวาน ข้าวยำ เป็นอาหารไทยภาคใต้ โดยถือกันว่าเป็นอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วน และมีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากอาหารจานเดียวทั่วไป ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ข้าวสวย ข่า ตะไคร้ พริก ถั่วงอก เป็นต้น

วัฒนธรรมด้านศาสนาและลัทธิความเชื่อ วัฒนธรรมของภาคใต้ มีความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งอารยธรรมของพระพุทธศาสนา ซึ่งได้หล่อหลอมกับความเชื่อดั้งเดิม ก่อให้เกิดประเพณีที่สำคัญ ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ โดยพุทธศาสนิกชนจะพร้อมใจกันอัญเชิญพระพุทธรูป จากวัดขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่ตรงร้านไม้ แล้วลากหรือแห่ไปตามถนนหนทาง แม่น้ำลำคลอง หรือริมฝั่งทะเล

วัฒนธรรมสากล

วัฒนธรรมสากล ความหมายของวัฒนธรรมสากล วัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง หรือ เป็นอารยธรรม ที่ได้รับการปฏิบัติตามกันทั่วโลก เช่น การแต่งกายชุดสากล การใช้ภาษาอังกฤษ ในการติดต่อสื่อสาร การปกครองระบอบประชาธิปไตย การค้าเสรี การใช้เครื่องจักรกล ระบบการสื่อสารที่ทันสมัย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มารยาทในการสมาคม เป็นต้น

ความสำคัญของวัฒนธรรมสากล เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันของประเทศต่างๆ ในโลก เช่น ภาษาสากล ระบอบการเมืองการปกครอง เป็นต้น เพราะในปัจจุบัน เป็นยุคแห่งโลกาภิวัตน์ มนุษย์ทั่วโลก มีการติดต่อถึงกันมากขึ้น การที่ประเทศไทยจะพัฒนาสู่ความเป็นสากลคนไทย จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วัฒนธรรมสากล เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองและก้าวทัน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

วัฒนธรรมสากลที่สำคัญในยุคปัจจุบัน แนวคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชน ระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย วัฒนธรรมสากลที่สำคัญ ในยุคปัจจุบัน คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การแต่งกาย ภาษาอังกฤษ

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทย กับวัฒนธรรมสากล ปรัชญากับธรรมชาติ วัฒนธรรมไทยเน้นปรัชญา “มนุษย์สอดคล้องกับธรรมชาติ” เป็นอันหนึ่งอันเดียว กับธรรมชาติ ดังนั้น คนไทยจึงนิยมสร้างวัฒนธรรมให้กลมกลืนกับธรรมชาติ เช่น การทำขวัญข้าว ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น วัฒนธรรมสากลเน้นปรัชญา “มนุษย์เป็นนายธรรมชาติ” สามารถบังคับธรรมชาติ ให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั้งหมด จนนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นวัตถุและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ รถไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

โลกทัศน์ วัฒนธรรมไทยมองโลกแบบองค์รวม ทุกสิ่งหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยองค์ประกอบทั้งหลายมีความสมดุล ช่วยจรรโลงโลกให้มีความน่าอยู่ รื่นรมย์ และสงบสุข วัฒนธรรมสากลมองทุกสิ่งเป็น 2 ส่วนเสมอ เช่น ขาว-ดำ ทันสมัย-ล้าสมัย จึงมีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนสิ่งที่ล้าสมัยให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมไทยเน้นความคิดความเชื่อตามหลักธรรมทางศาสนา ยึดมั่นในความจริงควบคู่ไปกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ โดยครอบคลุมถึงเรื่องการดำเนินชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม วัฒนธรรมสากลเน้นทฤษฎีและการพิสูจน์บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ มีการตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นเหตุเป็นผล นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเทคโนโลยีขั้นสูง

แนวทางการอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย  ส่งเสริมให้ชนทุกกลุ่มเห็นคุณค่า  ขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม  ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม  สร้างทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวัฒนธรรมว่าเป็นทรัพย์สมบัติของทุกคน  ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ สิทธิในการอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม  จัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ ข้อมูล ประชาสัมพันธ์งานต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม

แนวทางการเลือกรับวัฒนธรรมสากลอย่างเหมาะสม เลือกรับวัฒนธรรมสากล ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน พิจารณาข้อดีข้อเสีย ควบคู่กัน แนวทางการเลือกรับวัฒนธรรมสากล มีการร่วมมือ ค้นคว้า เผยแพร่ รวมถึงการประยุกต์ ใช้ภูมิปัญญาไทย มีการพัฒนาและผสมผสาน วัฒนธรรมไทยให้เหมาะสมกับสมัยปัจจุบัน