การให้คำปรึกษาแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chittima Sirijerachai
Advertisements

พ.อารักษ์ R3 พ.หทัยรัตน์ R2
PEDIATRIC HEMATOLOGY/ONCOLOGY INTER-HOSPITAL CONFERENCE
Inter-hospital Conference 20 March 2012
รายละเอียดวิชา สัมมนา 1 หลักเกณฑ์ในการเลือกบทความ วิธีการเขียนบทคัดย่อ
กลุ่มวิจัยธาลัสซีเมีย
Chittima Sirijerachai
Red cell enzyme defects
Hereditary Spherocytosis (HS)
หน้าที่ทางชีวภาพของโปรตีนบางชนิด
ธาตุเหล็กกับการเรียนรู้ ผลกระทบต่อ คุณภาพเด็กไทย
THALASSEMIA 1 ตุลาคม 2552.
Anemia.
Thalassemia Patommatat MD.
ธาลัสซีเมีย ทำไมต้องตรวจ คืออะไร ตรวจแล้วได้อะไร สำคัญอย่างไร
แบบทดสอบ ธาลัสซีเมีย : การแปลผลตรวจ และวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
การดูแลผู้ป่วยเด็กในชุมชนและ การบริหารยาในเด็ก สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ
โครงการป้องกันและควบคุมโรค ธาลัสซีเมีย
ทศวรรษการพัฒนาเด็กไทย
Thalassemia พญ. พิชญานันท์ คู่วัจนกุล
โดย นางนวลใย วรรณเวช พยาบาลวิชาชีพ 7 กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพัทลุง
Incidence of Thalassemia carrier in Thailand
ความสำคัญของปัญหา พันธุกรรมทางโลหิตวิทยา พบได้บ่อย ถ่ายทอดได้ ( autosomal recessive ) มีความรุนแรงมาก ตั้งแต่ตายในครรภ์ หรือตายหลังคลอด เป็นทุกข์ต่อจิตใจของผู้ป่วยและบิดา.
Thalassemia screening test
Conference Case 1.
Facilitator: Pawin Puapornpong
การตรวจยืนยันและการแปลผลตรวจ ธาลัสซีเมียและการระบุคู่เสี่ยง
Eosinophilic fasciitis. ด. ญ. จุฑามาศ จักอะโน อายุ 12 ปี HN ภูมิลำเนา จังหวัดน่าน เบอร์โทรศัพท์ Dx eosinophilic fasciitis.
Thalassemia Sudawadee Ekwitayawechnukul, MD. Thalassemia Treatment Complication of thalassemia Complication of secondary hemochromatosis Iron chelation.
Facilitator: Pawin Puapornpong
Case study 48 Facilitator: Pawin Puapornpong.
Facilitator: Pawin Puapornpong
สมาชิก น.ส. กานต์ธีรา ปัญจะเภรี รหัสนักศึกษา ลำดับที่ 21 น.ส. มินลดา เหมยา รหัสนักศึกษา ลำดับที่ 22 น.ส. กรกฎ อุดมอาภาพิมล รหัสนักศึกษา
Case study 3:A rare case of thalassemia minor with leg ulcer
และการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
Antenatal Care (ANC) Laboratory analysis
Case study 4 Iron overload in thalassemia intermedia
Flow chart การบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี รพ.สต อ.เมือง จ.ขอนแก่น
นพ.มงคล ลือสกลกิจ รพศ.เจ้าพระยายมราช
Facilitator: Pawin Puapornpong
Facilitator: Pawin Puapornpong
การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา
วิธีตรวจพาหะสำหรับธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินผิดปรกติ และข้อจำกัด
Facilitator: Pawin Puapornpong
Genetic counselling ให้นักศึกษาทำกลุ่มละหนึ่ง family อนุญาตให้ปรึกษากันข้ามกลุ่มได้ค่ะ ให้ส่งใบรายงานผลก่อนบ่ายโมงตรง อภิปรายผลร่วมกันหลังปิดแล็บ.
การบริหารจัดการ “THALASSEMIA”
ผลการดำเนินงาน 3 Cluster สตรีและเด็กปฐมวัย วัยเรียน และ วัยรุ่น
สมาชิก โต๊ะที่ 5 กลุ่ม น. ส. ชลธิชา. เบ้าสิงห์ น. ส
เป็นยารวมเม็ดGPO vir z ในเด็ก
แนวทางการกำกับดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย
แนวทางการคัดกรองภาวะซีดในเด็ก และการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ในคลินิกเด็กดี
หนังสือ “วารสารศาสตร์เบื้องต้น:ปรัชญาและแนวคิด
ว33241 ชีววิทยา 4 บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
สรุปตรวจราชการรอบ 2 วันที่ 3 ส.ค.2561 ปัจจัยความสำเร็จ/ผลงานเด่น
หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการกลุ่มวัย
การบริหารจัดการ “THALASSEMIA”
นางสาวสุภาภักดิ์ แก้วศรีมล สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
รูปแบบและขั้นตอนการเขียนเอกสารประกอบการสอน
หน่วยที่ 7 เฟสและแผนภาพสมดุลย์ วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( )
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
บทที่ 15 พัลส์เทคนิค
พญ. พิชญานันท์ คู่วัจนกุล กุมารแพทย์ สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็ง
โครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อป้องกันโรคและประเมินสถานภาพโรค PRRS ของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยปี 2559.
อนามัยแม่และเด็กอำเภอ
การรักษาโรคเบื้องต้น (Primary Medical Care)
อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
กรณีศึกษา โรงพยาบาลบางปะหัน.
การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสตรีตั้งครรภ์
งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ปี 2562
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การให้คำปรึกษาแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส วิมล นวลมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ร.พ.มหาราชนครศรีธรรมราช

การป้องกันและควบคุมทารกเกิดใหม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย 1.เลือกคู่ 2.เลือกครรภ์ 3.เลือกคลอด

แผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ แผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ   ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย ให้ได้มาตรฐานมีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียให้ได้มาตรฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวินิจฉัยให้ได้มาตรฐาน มี . . . . ประสิทธิภาพและรองรับการบริการอย่างทั่วถึง ยุทธศาสตร์ที่ 4 วิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการป้องกันและ. . . ควบคุมโรคธาลัสซีเมีย ยุทธศาสตร์ที่ 5 การควบคุม กำกับ ประเมินผลเพื่อสร้างความรู้ในการพัฒนางาน

การให้คำปรึกษาแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส วิมล นวลมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ร.พ.มหาราชนครศรีธรรมราช

โรคธาลัสซีเมียกับคนไทย คนไทย ร้อยละ 1 เป็นโรคธาลัสซีเมีย ประมาณ 600,000 คน คนไทย ร้อยละ 40 เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ประมาณ 2,400,000 คน

โรคธาลัสซีเมีย คือ อะไร คือโรคซีดชนิดหนึ่งที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงผิดปกติ โดยการถ่ายทอดจากพ่อแม่ สู่ลูกทางพันธุกรรม

ธาลัสซีเมียมี 2 แบบ 1.พาหะธาลัสซีเมีย ไม่แสดงอาการของโรค สุขภาพแข็งแรง ร่างกายปกติ แต่มีความผิดปกติของเม็ดเลือด สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ 2.โรคธาลัสซีเมีย แสดงอาการของโรค เช่น ซีดเหลือง ท้องโตเพราะม้ามและตับโต ผิวหนังคล้ำ ตัวเล็กผิดปกติ และต้องเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้

พาหะที่ทำให้ทารกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง - α-thalassemia 1 trait (พาหะอัลฟ่า1) - β-thalassemia trait (พาหะเบต้า) - Hb E trait (พาหะฮีโมโกลบินอี)

พาหะอื่นๆในไทย...ไม่รุนแรง - α-thalassemia 2 trait (พาหะอัลฟ่า2) - Hb maley trait (พาหะฮีโมโกลบินมาเลย์) - ฯลฯ

ตาราง แสดงคู่แต่งงานที่จะมีลูกเป็นโรค(คู่เสี่ยงธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง) ตาราง แสดงคู่แต่งงานที่จะมีลูกเป็นโรค(คู่เสี่ยงธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง) ภรรยาเป็นพาหะยีน สามีเป็นพาหะยีน ลูกในครรภ์เสี่ยงเป็นโรค25% อายุบุตร α-thalassemia 1 (พาหะอัลฟ่า1) α-thalassemia 1 (พาหะอัลฟ่า1) Hb Bart s hydrops β-thalassemia (พาหะเบต้า) β-thalassemia (พาหะเบต้า) Homoxygous β-thalassemia 10 ปี β-thalassemia (พาหะเบต้า) Hb E (พาหะฮีโมโกลบินอี) β-thalassemia/ Hb E 30 ปี

การตรวจเลือดธาลัสซีเมีย1 1.การตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ในสถานบริการทั่วไป 1.1 OF - การตรวจการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง 1.2 DCIP - การย้อมสีของเม็ดเลือดแดง 1.3 MCV - การดูขนาดของเม็ดเลือดแดง

การตรวจเลือดธาลัสซีเมีย2 2.การตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน ต้องใช้ผู้มีความชำนาญ(ที่ร.พ.มหาราชนครศรีธรรมราช ศูนย์แลบเอกชน ศูนย์วิทย์ จ.ตรัง ร.ร.แพทย์เช่น มอฯ) *ผู้ใหญ่มีชนิดของฮีโมโกลบินปกติ คือ A , A2 ฮีโมโกลบินอื่นๆผิดปกติ เช่น ฮีโมโกลบินอี , ฮีโมโกลบินมาเลย์, ฮีโมโกลบินซี ฯลฯ (วิธีนี้ สามารถตรวจพบเบต้าธาลัสซีเมีย,ฮีโมโกลบินอี,ฮีโมโกลบินซี ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยอัลฟ่าธาลัสซีเมียได้)

การตรวจเลือดธาลัสซีเมีย3 3.การตรวจวิเคราะห์เอนเอ ที่ศูนย์วิทย์ จ.ตรัง ร.พ.สงขลานครินทร์ ศูนย์แลบเอกชน(ร.พ.มหาราชนครศรีธรรมราชตรวจไม่ได้มีการเจาะเลือดส่งตรวจที่อื่นรอผล 2-3 สัปดาห์) 3.1 ตรวจ PCR for α-thalassemia 1 3.2 ตรวจ β-thalassemia

การตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียทารกในครรภ์ 1.การเจาะเลือดทางสายสะดือ(Cordocentesis)ในอายุครรภ์ 18-22สัปดาห์ ใช้เลือดจากสายสะดือ 0.5ซีซี มาตรวจโครโมโซม 2.การตัดชิ้นเนื้อรก(Chrorionic Villus Sampling )ในอายุครรภ์ 11-14สัปดาห์ 3.การเจาะน้ำคร่ำ(Amniocentesis)ในอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ไม่ควรเกิน 20 สัปดาห์ใช้น้ำคร่ำ 20ซีซี (ร.พ.มหาราชนครศรีธรรมราชเจาะและส่งตรวจร.พ.สงขลานครินทร์ รอผล4สัปดาห์)

ทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ กรณีผลการตรวจทารกในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมีย3 ชนิด 1.Hb Bart' s hydrops fetalis 2.Homozygous β-thalassemia 3.β-thalassemia/Hb E disease อธิบายรายละเอียดของทางเลือกต่างๆเพื่อให้ผู้มารับบริการและครอบครัวเข้าใจและสามารถเลือกทางเลือกเองได้ เมื่อตัดสินใจแล้วควรแสดงความรู้สึกจริงใจสนับสนุนการตัดสินใจนั้นและส่งตัวผู้รับบริการไปตามความเหมาะสม

การตรวจในผู้รับบริการรายนี้ 1.ตรวจธาลัสซีเมียขั้นตอนใด 2.ผลการตรวจเป็นอย่างไร 3.คู่สมรสตรวจผลเป็นอย่างไร 4.เป็นคู่เสี่ยงธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงหรือไม่ 5.ผลการตรวจทารกในครรภ์เป็นอย่างไร 6.มีทางเลือกอย่างไร คิดถึงทีม แพทย์ พยาบาล แลบ และอื่นๆ

ภาพแสดงทารกฮีโมโกลบินบาร์ทเสียชีวิต(จากพ่อและแม่เป็นพาหะอัลฟ่าธาลัสซีเมีย 1 ทั้งคู่) ภาพแสดงทารกเสียชีวิตจากคู่สมรสเป็นพาหะอัลฟ่าธาลัสซีเมีย 1 ทั้งคู่

ภาพผู้ป่วยเป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมีย(จากพ่อและแม่เป็นพาหะเบต้าธาลัสซีเมีย ทั้งคู่)

หรือจากพ่อเป็นเป็นพาหะฮีโมลบินอีและแม่เป็นพาหะเบต้าธาลัสซีเมีย ภาพผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดเบต้าอี(จากพ่อเป็นพาหะเบต้าธาลัสซีเมีย และแม่เป็นพาหะฮีโมลบินอี หรือจากพ่อเป็นเป็นพาหะฮีโมลบินอีและแม่เป็นพาหะเบต้าธาลัสซีเมีย

ภาพที่ 4 แสดงแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคธาลัสซีเมีย โดยสีเขียวแสดงถึงยีนปกติ และสีแดงแสดงถึงยีนผิดปกติ

ทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดโรค 1.การเลือกคู่แต่งงาน 2.การรับบุตรบุญธรรม 3.การคุมกำเนิด 4.การผสมเทียม(ใช้น้ำอสุจิจากผู้อื่น) 5.การวินิจฉัยทารกในครรภ์

การสนับสนุนทางจิตใจ เมื่อผู้รับการปรึกษามีปฎิกิริยาทางจิตใจและอารมณ์ ตกใจ ความกังวล ความรู้สึกผิด ความโกรธ ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำต้องหาทางช่วยเหลือโดยตอบคำถามให้ตรงประเด็นและอธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับโรค

ความช่วยเหลือต่างๆ สิทธิคนไทยตรวจฟรี?????????? -การตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย -การตรวจชนิดฮีโมโกลบิน -การตรวจดีเอนเอ ธาลัสซีเมีย -การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ สิทธิคนไทยตรวจฟรี??????????

รู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องเป็นโรคหรือไม่ 1.ฝากครรภ์ทันที ( ก่อน 12 สัปดาห์) 2.เข้ารับการปรึกษาแนะนำธาลัสซีเมียพร้อมสามี 3.มีผลเลือดผิดปกติ ให้ตามสามีมาตรวจเลือดทันที 4.หากพบว่าหญิงตั้งครรภ์และสามีเป็นคู่เสี่ยงธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ว่าเป็นโรคหรือไม่

แนวทางการจัดบริการให้คำปรึกษาแนะนำ 1.ผู้ให้คำปรึกษาต้องเป็นบุคลากรที่ผ่านการอบรม 2.สถานที่ให้คำปรึกษาแนะนำ

3.การจัดที่นั่งโดยทั่วไปมีการจัด 3 แบบ

1)การจัดที่นั่งหันหน้าเข้าหากัน

2)การจัดที่นั่งผู้รับบริการนั่งด้านข้างผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ

2)การจัดที่นั่งผู้รับบริการนั่งด้านข้างผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ

คู่ที่1 ชายหนุ่มอายุ 25 ปี กำลังจะแต่งงานในอีก 2 เดือนข้างหน้า มาขอคำปรึกษา เรื่องโลหิตจางธาลัสซีเมีย ผลตรวจเลือดเป็นดังนี้ Hb 12.5 g/dl, Hct 36%, MCV 77.7 fl, MCH 25.9 pg OF –ve, DCIP +ve Hb typing E29.2%,A 70.8 %, …………………………………………………………… แฟนสาวอายุ 21 ปีผลตรวจเลือดเป็นดังนี้ Hb 14.1 g/dl, Hct 38 %, MCV 79 fl MCH 26.2 pg OF –ve, DCIP +ve Hb typing E 27.5%,A 72.5 %,

จงให้คำปรึกษาแก่คู่ที่1 1)แปลผลการตรวจเลือดของหนุ่มสาวคู่นี้ 2)ปัญหาที่อาจเกิดกับบุตรของหนุ่มสาวคู่นี้ 3)ทางเลือกของคู่นี้ในการมีบุตร

คู่ที่ 2 คุณวสันต์และคุณวารี วางแผนจะมีบุตรในปีหน้าจึงได้ไปตรวจสุขภาพรวมทั้งตรวจหาพาหะธาลัสซีเมีย และผลตรวจเลือดเป็นดังนี้ คุณวสันต์ Hb 11.5 g/dl, Hct 34.5%, MCV 69.9 fl, MCH 21.5pg OF +ve, DCIP –ve Hb typing: HbA 94.5%, HbA2 5.5%, .................................................................. คุณวารี Hb 11.2 g/dl, Hct 33.5%, MCV 68.2 fl, MCH 21.4pg OF +ve, DCIP -ve Hb typing: HbA 95.5%, HbA2 4.5%,

จงให้คำปรึกษาแก่คู่ที่2 1)ผลการตรวจเลือดของคุณวสันต์และคุณวารีอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ 2)ควรดูแลตนเองอย่างไร 3)หากมีบุตร บุตรมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นพาหะหรือโรคธาลัสซีเมียชนดรุนแรงหรือไม่

คู่ที่ 3 คุณนันทา อายุ31ปีตั้งครรภ์ 10สัปดาห์ บอกว่าตอนเด็กเป็นโรคโลหิตจางต้องทานยาบำรุงเลือดและแพทย์แนะนำว่าไม่ควรมีบุตรเพราะอาจเป็นโรครุนแรงได้ มีความกังวลจึงชวนคุณสานนท์สามีมาปรึกษาท่าน คุณนันทาผลตรวจเลือด Hb 11.2 g/dl, Hct 33.5%, MCV 68.8 fl, MCH 23 pg OF +ve, DCIP -ve Hb typing: HbA 95.7%, HbA2 4.3%, คุณสานนท์ผลตรวจเลือด Hb 14.5 g/dl, Hct 43.6%, MCV 77.4 fl, MCH 26.7pg OF -ve, DCIP +ve Hb typing: HbA 65.3%, Hb E 34.7%,

จงให้คำปรึกษาแก่คู่ที่3 1)แปลผลการตรวจเลือดของคุณนันทาและสานนท์ 2)ผลการตั้งครรภ์ต่อภาวะที่คุณนันทาเป็น 3)ปัญหาที่อาจเกิดในบุตรของคุณนันทา

คู่ที่4 คุณมาลี อายุ 26 ปี อาชีพรับจ้าง ครรภ์แรก ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ มาฝากครรภ์ ประวัติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวไม่แพ้ยาไม่มีโรคทางอายุรกรรมและโรคทางพันธุกรรม คุณสมชาย สามีอายุ 31ปี แข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว มาตรวจเลือดพร้อมภรรยา

การตรวจเลือดเบื้องต้น คุณมาลีHb 11.5 g/dl, Hct 35.3%, MCV 70.2 fl, MCH 22.9 pg OF +ve, DCIP –ve ตรวจเพิ่มดังนี้ Hb typing: HbA 96.9%, HbA2 3.1%, Not rule out α-thalassemia 1 trait

ผลเลือดสามี Hb 12.7 g/dl, Hct 38%, MCV 66 fl, MCH 66pg OF +ve, DCIP -ve Hb typing: HbA 97.5%, Hb A2 2.5% , Not rule out α-thalassemia 1 trait ตรวจเลือดซ้ำพร้อมสามี ขณะตั้งครรภ์16 สัปดาห์ ผลเลือดคุณมาลีทำPCR พบเป็น α-thalassemia 1 trait ผลเลือดสามีทำPCR พบเป็น α-thalassemia 1 trait

จงให้คำปรึกษาแก่คู่ที่4 1)ท่านแนะนำผู้ป่วยรายนี้อย่างไร

คำเฉลย 1 1.ผลการตรวจเลือดทั้งคู่ เป็นพาหะ ของฮีโมโกลบินอี Hb E 2.บุตรไม่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง แต่จะเป็นพาหะของ Hb E 50% Homoxygous Hb E 25% ปกติ 25% 3.สามารถมีบุตรได้โดยไม่จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์

คำเฉลย 2 1)ผลการตรวจเลือดของคุณวสันต์และคุณวารี พบว่ามีขนาดเล็ก (MCVน้อยกว่า80fl)ผลชนิดของฮีโมโกลบินมีA 2มากกว่า 3.5% แสดงว่าทั้งคู่เป็นพาหะของβ-thalassemia 2) ทั้งคู่เป็นพาหะจะมีสุขภาพแข็งแรงดี อาจมีภาวะซีดเล็กน้อยอาจให้ยาบำรุงธาตุเหล็กร่วมกับโฟลิค 3)หากมีบุตรจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง Homoxygous β-thalassemia 25% เป็นพาหะβ-thalassemia 25%และปกติ 25%

คำเฉลย 3 1)ผลการตรวจเลือด คุณนันทาพบว่ามีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก (MCVน้อยกว่า80fl)ผลชนิดของฮีโมโกลบินมีA 2มากกว่า 3.5% แสดงว่าเป็นพาหะของβ-thalassemia คุณสานนท์ พบว่าไม่มีภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก (MCVน้อยกว่า80fl)ผลชนิดของHb E 34.7%A แสดงว่าเป็นพาหะของHb E

คำเฉลย3 2)เมื่อคุณนันทาตั้งครรภ์ อาจทำให้ภาวะโลหิตจางมากขึ้น แต่มักไม่ต้องให้เลือด ควรให้ยาธาตุเหล็กและโฟลิค 3)หากมีบุตรจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง β-thal/Hb E 25% เป็นพาหะβ-thalassemia 25%พาหะHb E 25% และปกติ 25%

เฉลยคู่ที่4 1)ผลการตรวจเลือดเบื้องต้นของคุณมาลี ไม่มีภาวะโลหิตจางแต่พบว่ามีขนาดเล็ก MCVน้อยกว่า80fl ,MCHต่ำต้องนึกถึง -Iron deficiency anemia -Hb E triat หรือ Homozygous Hb E -β-thalassemia trait -α-thalassemia 1 trait แต่DCIP Negativeทำให้ต้องตัดHb E triat หรือ Homozygous Hb E และพบว่าชนิดฮีโมโกลบินปกติจึงต้องตัดβ-thalassemia trait หรือ Hb E triat จึงต้องวินิจฉัยแยกโรคจากการขาดธาตุเหล็ก และ α-thalassemia 1 trait พบว่าMCV,MCHต่ำส่งทำPCRพบเป็นα-thalassemia 1 trait

เฉลยคู่ที่4 คุณสมชาย พบว่าไม่มีภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก MCVและMCH ต่ำจึงควรนึกถึงα-thalassemia 1 trait ด้วยจึงควรแนะนำให้ทำส่งทำPCRพบเป็นα-thalassemia 1 trait 3)ให้ทางเลือกในการทำPNDหากมีบุตรจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง Hydrop fetalis25% เป็นพาหะα-thalassemia 1 trait 50%และปกติ25%