งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสตรีตั้งครรภ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสตรีตั้งครรภ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสตรีตั้งครรภ์
A .Phakaphon ปฏิบัติสูติ 1

2 วัตถุประสงค์การเรียนรู้นักศึกษาสามารถ
1. ตรวจร่างกายทั่วไปสตรีตั้งครรภ์ขณะมาฝากครรภ์ได้ 2. รายงานผลการตรวจร่างกายและแปลผลทางห้องปฏิบัติการได้ 3. เตรียมการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสตรีตั้งครรภ์ขณะมาฝากครรภ์ได้

3 หมายถึง วิธีการตรวจประเมินสภาพของสตรีตั้งครรภ์ทั่วไปเกี่ยวกับ ภาวะสุขภาพทั่วไป
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยประเมินจากเลือด และ/หรือปัสสาวะ ของสตรีตั้งครรภ์ในขณะฝากครรภ์

4 วัตถุประสงค์เฉพาะ สตรีตั้งครรภ์ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และตั้งครรภ์โดยปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน เครื่องใช้ 1. แฟ้มประวัติและแบบบันทึกการฝากครรภ์ 2. ใบส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2.1 ตรวจ CBC ใช้ใบขอตรวจห้องปฏิบัติการกลาง 2.2 ตรวจ VDRLใช้บัตรขอตรวจห้องปฏิบัติการพิเศษ (Serology & Immunology) 2.3 ตรวจการติดเชื้อ Hepatitis B และ HIV ใช้ใบ Laboratory request form (Departmy of Microbiology)

5 3. หลอดสำหรับใส่เลือด 3.1 ตรวจ CBC (Hct. Hb. MCV และ DCIP) ใช้หลอด EDTA 3.2 ตรวจ VDRL, Hepatitis B และ HIV ใช้หลอด Clot blood 4. เข็มเจาะเลือด (needle) เบอร์ 21 5. กระบอกฉีดยา (syringe) ขนาด 10 ml. 6. แถบตรวจปัสสาวะ 7. ภาชนะใส่ปัสสาวะ

6 วิธีการตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนการปฎิบัติการ (Procedure) คำชี้แจงเหตุผล (Rotionale) การประเมิน (Assessment) 1. การประเมินสภาวะสตรีตั้งครรภ์ 1.1 ตรวจสอบชื่อ-นามสกุลโดยการถาม 1.2 สอบถามอาการทั่วไปเช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ตกขาว เป็นต้น 2. ประเมินลักษณะทั่วไป ได้แก่ รูปร่าง ท่าเดิน

7

8 Leopold maneuver หมายถึง การตรวจครรภ์ทางหน้าท้องด้วยการคลำ เพื่อตรวจ ลักษณะของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในท่าใด ซึ่งมีการตรวจอยู่ 4 วิธี ดังนี้ 1.First maneuver (Fundal grip) การคลำส่วนยอดมดลูกเพื่อตรวจหา ระดับยอดมดลูก วิธีตรวจ - ใช้มือหนึ่งคลำที่ยอดมดลูก อีกมือหนึ่งแตะที่บริเวณลิ้นปี่ แล้วดูว่าระดับของยอดมดลูกเป็นสัดส่วน เท่าใดกับหน้าท้อง - ตรวจดูว่าที่บริเวณยอดมดลูก มีลักษณะอย่างไร ซึ่งหัวจะมีลักษณะเรียบ กลม แข็ง และ มี ballottement ต่างจากก้น ซึ่งนุ่มกว่าบางแห่งแข็ง บางแห่งเรียบและไม่กลม อาจ มี ballottement แต่ไม่ชัดเจนเท่าหัว - ตรวจดูว่าสัดส่วนของเด็กค่อนไปทางด้านใด เพื่อประกอบในการวินิจฉัยทำเด็ก เพราะเด็กที่อยู่ ใน ลักษณะ fetal avoid ถ้าคลำได้ส่วนของเด็กที่ยอดมดลูกค่อนไปข้างขวา หลังเด็กควรงอไป ทางซ้ายของมดลูก

9 2.Second maneuver (Umbilical grip) การคลำเพื่อ ตรวจหาหลังของทารกว่าอยู่ด้านใด
วิธีตรวจ - ใช้มือทั้งสองข้างคลำหาแผ่นเรียบใหญ่ คือ หลังของเด็ก (Large part) ส่วนด้านตรง ข้าม จะคลำได้เป็นปุ่ม อาจมีการเคลื่อนไหว ให้เห็น คือแขน ขา ศอก เข่า (Small part) กรณีที่คลำได้ไม่ชัดเจน บริเวณที่เป็นหลังของเด็กอาจรู้สึกว่าเหมือนอะไรมาต้านฝ่า มือไว้ต่างจากส่วนที่มีแขนขาซึ่งอยู่จะรู้สึกว่ามีที่ว่างมากกว่าด้านที่เป็นหลังและกดผนังหน้าท้อง ผู้ตรวจครรภ์ได้มากกว่า - สังเกตว่าหลังอยู่ตำแหน่งใด ของหน้าท้องแม่ กรณีที่เป็น anterior position หลังจะอยู่เต็มด้านใดด้านหนึ่ง คลำแขน - ขาไม่ชัดเจนถ้า เป็น Transverse position จะคลำหลังได้เพียงข้างเดียว ของลำตัว แม่ posterior position จะคลำได้เพียงหัวไหล่และสีข้างเด็กค่อนไปทางสีข้างแม่ และคลำได้แขน ขาทั่วบริเวณหน้าท้อง

10 3.Third maneuver (Pawlik’s grip) การคลำเพื่อตรวจหา ส่วนนำ (presenting part) และ attitude ของทารกในครรภ์ วิธีตรวจ - ใช้มือขวาคลำและจับส่วนของทารกที่บริเวณเหนือหัวเหน่าให้อยู่ภายในอุ้งมือ - ตรวจหาส่วนนำ ถ้าเป็นศีรษะจะมีลักษณะกลมแข็งและเรียบ มี ballottement ชัดเจน และอาจคลำได้ร่องคอ -ตรวจหาระดับของส่วนนำ โดยถ้าโยกส่วนนำของทารกให้เคลื่อนไหวไปมาได้ แสดงว่าส่วนนำ ยังลอยอยู่ แต่ถ้าไม่สามารถโยกได้แดงว่าส่วนนำผ่านลงสู่ช่องเชิงกราน แล้ว (engagement) - ตรวจทรงของทารก โดยคลำหา cephalic prominence ของทารก ถ้าคลำ ได้ตรงกันข้ามกับหลังและสูงกว่า แสดงว่าทารกอยู่ทรงก้ม ถ้าคลำได้ด้านเดียวกับหลังแสดงว่า ทารกอยู่ในทรงเงย

11 4.Fourth maneuver (Bilateral inguinal grip) การคลำเพื่อตรวจหาระดับของส่วนนำ และทรงของทารกในครรภ์
วิธีตรวจ    - มือหนึ่งวางที่หัวเหน่า มือหนึ่งวางที่หน้าท้อง จับหัวเด็กกดลงช่องเชิงกราน คลำดูว่าหัวเด็ก อยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่า   กระดูกหัวเหน่าปกติหัวเด็กจะอยู่ต่ำกว่ากระดูกหัวเหน่า  ถ้าอยู่ระดับ เดียวกัน อาจมีความผิดปกติเล็กน้อย ถ้าแรงผลักดันเพียงพอ หัวเด็กมี การ Molding ทำให้ผ่านลงช่องเชิงกรานได้ ถ้าคลำได้หัวอยู่สูงกว่ากระดูกหัวเหน่า แสดงว่า มีการเงยของหัวชัดเจน บ่งถึง CPD, Compound presentationจำเป็นต้องตรวจสภาพเด็กและเชิงกรานอย่างละเอียดต่อไป

12 การวางแผน (Planning) 1. การเตรียมตัวของนักศึกษา 1.1 ทบทวนขั้นตอน และรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจร่างกายสตรีตั้งครรภ์ และการตรวจหน้าห้องทดลอง 2. เตรียมเครื่องใช้ให้พร้อมใช้โดยยึดหลักสะอาดปราศจากเชื้อ และหลักการบริหารยา (5R)

13 3. เตรียมสตรีตั้งครรภ์ 3.1 สร้างสัมพันธภาพกับสตรีตั้งครรภ์ 3.2 แจ้งให้สตรีตั้งครรภ์ทราบขั้นตอนการตรวจและเข้าใจ เหตุผลของการตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

14 การปฏิบัติ (Implementation)
1. การตรวจร่างกาย 1.1 วัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนัก 1.2 วัดความดันโลหิต 1.3 ประเมินภาวะซีด โดยดูจากเยื่อบุตา ริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า 1.4 ประเมินอาการบวม บริเวณใบหน้า หลังมือ หลังเท้า

15 1.5 ตรวจดูช่องปากและฟัน 1.6 ดู และคลํา ต่อมไทรอยด์ 1.7 ตรวจดูเต้านม ความตึงตัวของลานนม และลักษณะของหัวนม 2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2.1 การเจาะเลือด 2.1.1 ถามชื่อ - นามสกุลของสตรีตั้งครรภ์ และตรวจสอบให้ตรงกับหลอดสําหรับใส่เลือด 2.1.2 เจาะเลือด ตรวจ CBC (HCT, HB, MCV และ DCIP) ใช้เลือดประมาณ 1-2 ml ภาพที่ 1.2 เข็มเจาะเลือด (needle) เบอร์ 21 และกระบอกฉีดยา (syringe) ขนาด 10 ml. เพื่อความถูกต้องในการส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติ การ

16 » เพื่อประเมินภาวะซีด
และคัดกรองการเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ถ้า Hct. ต่ํากว่า 33% หรือ Hb ต่ํา กว่า 11% แสดงว่ามีภาวะซีด และถ้า MCV <80 fl หรือ DCIP positive จะได้รับการตรวจ Hb typing ถ้าการตรวจพบว่าเป็นโรคหรือพาหะของโรคธาลัส ซีเมีย จะนัดสามีมาตรวจว่าเป็นพาหะของโรคด้วยหรือไม่

17 เอกสารอ้างอิง วรรณรัตน์ สุวรรณและคณะ โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก ( 2556)        โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปฏิบัติการพยาบาล สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา               


ดาวน์โหลด ppt การตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสตรีตั้งครรภ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google