วาระที่ ๒ ข้าราชการที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือล้มละลาย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (สัญญา, หนี้ และลาภมิควรได้) - พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.๒๔๘๓ * เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย * เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา * เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิของบุคล - พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (มีผลในวันที่ประกาศใน รกจ ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (มีผลในวันที่ประกาศใน รกจ.หรือวันประกาศใน นสพ.โดยถือการประกาศครั้งหลัง พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๓๑, ฎีกา ๖๐๘๔/๔๘) ๑. เสมือนเป็นหมายศาล ให้ จพท.(เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์) เข้ายึดดวงตรา สมุดบัญชี เอกสารของลูกหนี้ รวมทั้งทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือที่อยู่ในความครอบครองของผู้อื่นที่อาจนำมาแบ่งได้ในคดีล้มละลาย (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๑๙)
๒. ลูกหนี้กระทำการใดเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือ จพท.ฯ อนุญาต (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๒๔) นิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ลูกหนี้กระทำ เช่น การทำสัญญากู้เงิน การทำสัญญาค้ำประกัน การชำระ ค่าหุ้น การชำระหนี้ ตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๐)
ความเป็นโมฆะ - ความสูญเปล่า เสมือนไม่ได้ทำขึ้นเลย (ป. พ. พ ความเป็นโมฆะ - ความสูญเปล่า เสมือนไม่ได้ทำขึ้นเลย (ป.พ.พ.มาตรา ๑๗๒ วรรคแรก) - คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม และให้ใช้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้ (ป.พ.พ.มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง)
๓. จพท. มีอำนาจหน้าที่ (พ. ร. บ ๓. จพท.มีอำนาจหน้าที่ (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๒๔) - จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ - รวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้จะได้รับ หรือที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น - ประนีประนอมยอมความ ฟ้องคดี หรือต่อสู้คดี ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
- ลูกหนี้เป็นข้าราชการ จพท - ลูกหนี้เป็นข้าราชการ จพท.มีสิทธิรับเงินเดือน บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด ฯลฯ ของลูกหนี้จากเจ้าหน้าที่ได้ (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๑๒๑) (แต่ จพท.ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพ) (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๑๒๑) - โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ใน รกจ.และใน นสพ.รายวันไม่น้อยกว่า ๑ ฉบับ (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๒๘), เมื่อประกาศแล้ว มีผลตามกฎหมาย ใครจะอ้างว่า ไม่ทราบไม่ได้; (ฎีกา ๖๐๘๔/๔๘)
๔. เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ จพท ๔. เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ จพท.ภายใน ๒ เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งฯ ถ้าไม่ขอภายในกำหนดย่อมหมดสิทธิเรียกร้องในหนี้นั้น (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๙๑) (เฉพาะหนี้ที่เกิดก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์) เจ้าหนี้มีประกันจะไม่ยื่นขอรับชำระหนี้ก็ได้ แต่ต้องยอมให้ จพท.ตรวจดูหลักประกัน (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๙๕, ฎีกา ๔๖๗๑/๔๙) (เจ้าหนี้มีประกัน ได้แก่ เจ้าหนี้จำนำ จำนอง ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง เจ้าหนี้บุริมสิทธิ) (๔) ลูกหนี้เป็นข้าราชการ จพท.มีสิทธิรับเงินเดือน บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือเงินในทำนองเดียวกันนี้ของลูกหนี้จากเจ้าหน้าที่ได้ แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป
กรณีสมาชิกกู้เงินหลังประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตัวอย่าง สมาชิกมีหนี้เงินกู้ก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หลังจากประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ฯ แล้ว สมาชิกมาขอกู้เงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยนำเงินที่กู้ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ชำระหนี้เงินกู้เดิม แล้วรับเงินไป ๓๐๐,๐๐๐ บาท ผลทางกฎหมาย - สัญญากู้เงินเป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันเป็นโมฆะ การชำระหนี้เงินกู้เป็นโมฆะ
- คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ๑ - คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ๑. เงินกู้เดิมยังคงมีอยู่ ๒๐๐,๐๐๐ บาท (โดยผลของกฎหมาย) ๒. สมาชิกต้องนำเงินที่รับไป ๕๐๐,๐๐๐ บาท มาคืนสหกรณ์ โดยสหกรณ์ถือเป็นเจ้าหนี้ สมาชิกเป็นลูกหนี้ในมูลหนี้ใหม่เรียกว่า “มูลหนี้ลาภมิควรได้” (บุคคลใดได้ทรัพย์ใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างตามกฎหมายได้ บุคคลนั้นต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา ป.พ.พ.มาตรา ๔๐๖) เรื่องนี้ สมาชิกคืนมาแล้ว ในวันที่กู้ ๒๐๐,๐๐๐ บาท คงเป็นหนี้อยู่ ๓๐๐,๐๐๐ บาท
หนี้ที่ค้าง สหกรณ์มีสิทธิเรียกร้องฟ้องคดีได้ ส่วนเงินที่สมาชิกผ่อนชำระหนี้เงินกู้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงนั้น เป็นการนำเงินของสหกรณ์มาคืนในมูลหนี้ลาภมิควรได้ สหกรณ์รับเงินของตนคืนได้)
หุ้นสหกรณ์ - สมาชิกภาพยังไม่สิ้นสุดลง เจ้าหน้าอื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องหรืออายัดหุ้นไม่ได้ (พ.ร.บ.สหกรณ์ ฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๒๔) - เมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลง สหกรณ์มีสิทธิหักเงินหุ้นชำระหนี้ได้ และให้สหกรณ์เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินค่าหุ้น (พ.ร.บ.สหกรณ์ ฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๒๔)
- สหกรณ์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในเงินหุ้น ที่มีอยู่ก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อสมาชิกถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด สหกรณ์จะไม่ขอรับชำระหนี้ก็ได้ แต่ต้องยอมให้ จพท.เข้าตรวจดูทรัพย์สินนั้น (พ.ร.บ.ล้มฯ มาตรา ๙๕)
การปฏิบัติต่อหุ้นของสมาชิก - เจ้าหนี้มีประกันจะขอรับชำระหนี้หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องยอมให้ จพท.เข้าตรวจทรัพย์สินประกัน ถ้าหลักประกันสูงกว่าหนี้ ส่วนที่เกินย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ซึ่ง จพท.มีอำนาจยึดออกขายทอดตลาดได้ (ฎีกา ๘๔๔๓/๔๗)
- สหกรณ์มีสิทธินำเงินหุ้นมาหักหนี้ได้ โดยแจ้งต่อ จพท - สหกรณ์มีสิทธินำเงินหุ้นมาหักหนี้ได้ โดยแจ้งต่อ จพท.ตามมาตรา ๑๐๒ แม้ไม่ได้ขอรับชำระหนี้ไว้ก็ตาม (ฎีกา ๓๓๕๖/๒๔, ฎีกา ๒๘๒๙/๒๔) แต่ถ้าสหกรณ์ส่งเงินหุ้นให้กับ จพท.ถือว่าสหกรณ์ไม่ประสงค์ขอหักกลบลบหนี้ สิทธิขอหักกลบลบหนี้จึงสิ้นสุดลง (ฎีกา ๑๗๒๐/๒๕)
ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ถ้าลูกหนี้ ไม่สามารถประนอมหนี้ได้ ศาลจะพิพากษาให้ล้มละลาย ผลของคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย - ลูกหนี้กระทำการใดเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือ จพท.ฯ อนุญาต - ผู้ล้มละลายขอให้ จพท.กำหนดจำนวนเงินเพื่อเลี้ยงชีพ - เมื่อจะได้ทรัพย์สินอะไรมาต้องแจ้ง จพท.ทราบ
- ออกนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือ จพท - ออกนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือ จพท.จะอนุญาตเป็นหนังสือ - เป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการรับราชการ ต้องปลดออกจากราชการ (มติสภา กห.ครั้งที่ ๖/๐๗ เมื่อ ๒๖ มิ.ย.๐๗) ถ้าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด และต้องถอดจากยศทหาร (ตามข้อบังคับ กห.ว่าด้วยเบี้ยหวัด พ.ศ. ๒๔๙๕ และระเบียบ กห.ว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ.๒๕๐๗)
จบคำชี้แจง/สอบถาม