การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ โดย ดนัย บุณยเกียรติ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาชนะบรรจุ
ประโยชน์ของภาชนะบรรจุ 1,2 1. ป้องกันผลิตผลไม่ให้เสียหายอันเนื่องมาจากการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว โดยต้องถือหลักว่าผลิตผลที่อยู่ในภาชนะบรรจุจะต้องอยู่นิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเนื่องจากการเคลื่อนไหว ทำให้มีรอยแผลจากการเสียดสีระหว่างผลิตผลหรือระหว่างผลิตผลกับภาชนะบรรจุ ดังนั้น การบรรจุผลิตผลลงในภาชนะบรรจุนั้นจะต้องให้เต็มพอดี ไม่แน่นหรือน้อยเกินไป การบรรจุจะต้องคำนึงถึงการวางทับกันของผลิตผลภายในภาชนะบรรจุด้วย ถ้าเป็นผลิตผลที่ช้ำได้ง่ายไม่ควรวางทับกันหลายชั้น ควรใช้ภาชนะบรรจุที่ไม่ลึกเกินไป และภาชนะบรรจุที่ใช้จะต้องแข็งแรงพอที่จะป้องกันไม่ให้ผลิตผลเกิดความเสียหายได้ด้วย
2. ป้องกันการสูญเสียน้ำ ผลิตผลที่อยู่ในภาชนะบรรจุจะสูญเสียน้ำน้อยกว่าผลิตผลที่ไม่ได้อยู่ในภาชนะบรรจุ บางครั้งอาจใช้แผ่นพลาสติกห่อผลิตผลก่อนนำไปใส่ในภาชนะบรรจุหรือใช้แผ่นพลาสติกกรุภายในภาชนะบรรจุก่อนที่จะใส่ผลิตผลลงไป จะช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำได้ดีขึ้น 3. สะดวกในการเคลื่อนย้าย เพราะภาชนะบรรจุทำหน้าที่รวบรวมผลิตผลให้เป็นหน่วยเดียวกัน ทำให้สะดวกในการขนย้ายในระบบการตลาดและการจำหน่าย 4. ช่วยให้กระบวนการหรือขั้นตอนที่ต้องการทำภายหลังการเก็บเกี่ยวสะดวกขึ้น เช่น ผลิตผลที่ใส่ในภาชนะบรรจุจะทำให้การใช้สารเคมีฆ่าเชื้อรา หรือการใช้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือการรม หรือการลดความร้อนทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
5. ภาชนะบรรจุช่วยแยกผลิตผลที่มีเกรดหรือมาตรฐานแตกต่างกันออกจากกัน และต้องบรรจุผลิตผลที่มีมาตรฐานเหมือนกันเท่านั้นไว้ในภาชนะบรรจุเดียวกัน 6. ผลิตผลที่อยู่ในภาชนะบรรจุดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาชนะบรรจุเพื่อขายปลีกแก่ผู้บริโภคโดยตรง การเลือกใช้ภาชนะบรรจุจะต้องคำนึงถึง ก. ราคาต้นทุนของภาชนะบรรจุ ข. ค่าใช้จ่ายในการบรรจุ ค. ค่าขนส่ง ง. ความเสียหายของผลิตผล
วัสดุที่นำมาทำภาชนะบรรจุ และคุณสมบัติของภาชนะบรรจุที่ดี มีดังนี้ วัสดุที่นำมาทำภาชนะบรรจุ และคุณสมบัติของภาชนะบรรจุที่ดี มีดังนี้ 1. ไม่มีพิษต่อผลิตผลและผู้บริโภค 2. มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถป้องกันไม่ให้ผลิตผลเสียหายได้ 3. ไม่มีมุมแหลม ไม่มีตะปู หรือลวด หรือเศษไม้โผล่ออกมาทำให้ผลิตผลเสียหาย 4. ต้องมีขนาดพอเหมาะไม่ลึกมากเกินไป เพราะถ้าภาชนะบรรจุมี ความลึกมากจะทำให้ผลิตผลที่บรรจุอยู่ด้านบนทับผลิตผลที่บรรจุอยู่ ด้านล่างทำให้เกิดความเสียหายได้โดยเฉพาะผลิตผลที่ช้ำได้ง่าย
5. สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำได้ ทำให้ผลิตผลไม่สูญเสีย น้ำหนัก 5. สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำได้ ทำให้ผลิตผลไม่สูญเสีย น้ำหนัก 6. ภาชนะบรรจุจะต้องมีรูเล็กๆ เพื่อให้มีการระบายอากาศและระบายความร้อนที่พืชคายออกมาไม่ให้สะสมอยู่ภายใน และไม่ทำให้พืชขาดออกซิเจน 7. ภาชนะบรรจุจะต้องมีน้ำหนัก ขนาด และรูปร่างที่สะดวกใน การบรรจุ ขนส่ง และดำเนินการด้านการตลาด 8. ในกรณีที่เป็นวัสดุใช้แล้วทิ้ง จะต้องสามารถนำไปกำจัดทิ้งได้สะดวก โดยเฉพาะผู้ขายปลีกควรใช้วัสดุที่สลายไปกับธรรมชาติได้ง่าย 9. ดึงดูดความสนใจผู้บริโภค
การจำแนกชนิดของภาชนะบรรจุ 3,4 ภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุผักและผลไม้สด แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ก. ภาชนะบรรจุที่ใช้ในการขนย้ายผลิตผลจากไร่ หรือแปลงปลูก มายังโรงคัดบรรจุ ข. ภาชนะบรรจุเพื่อใช้ขนส่งเป็นระยะทางไกล หรือบรรจุเพื่อขายส่ง ค. ภาชนะบรรจุสำหรับบรรจุเพื่อขายปลีก
ภาชนะบรรจุสำหรับขายปลีก ชนิดของภาชนะบรรจุสำหรับบรรจุผลิตผลเพื่อขายปลีกโดยตรงต่อผู้บริโภค ได้แก่ 1. ถุงกระดาษ พลาสติก หรือถุงตาข่าย 2. ถาดกระดาษ พลาสติก หรือโฟม 3. กล่องกระดาษพับได้ ซึ่งด้านข้างหรือที่ฝาเป็นพลาสติกใส หรือมีช่องใส่ผลไม้แต่ละช่อง 4. ตะกร้าที่เป็นรูปกลมหรือสี่เหลี่ยม
1. โพลีเอทิลีน (Polyethylene) 2. โพลีไวนีลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) 3. โพลีโปรปิลีน (Polypropylene) 4. เซลโลเฟน (Cellophane) 5. พลาสติกโพลีเอทิลีนที่มีความหนาแน่นสูง (High Density - Polyethylene film หรือ HDPE)
ชนิดของถาด 2, 4 1. ถาดพิมพ์ ทำจากใยเนื้อไม้สดหรือกระดาษฟาง สามารถย้อมเป็นสีต่างๆ ได้ ถาดชนิดนี้มีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ถ้าเป็นถาดที่ทำจาก PVC ในกระบวนการผลิตถาดอาจมีการใช้ความร้อน (Thermoforming process) ถาด PVC ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร โปร่งแสง และสามารถเห็นผลิตผลที่บรรจุอยู่ภายในได้ชัดเจน และอาจมีฝาปิดด้านบนด้วย 2. High-Impact polystyrene ทำโดยใช้วิธีเดียวกับ PVC แต่ไม่โปร่งแสง 3. Expanded polystyrene มีความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร มีสีขาว ทึบแสงและเหนียว
4. Injection moulded ทำจากพวก LDPE 5. ถาดที่ทำจากไม้ มีความหนาประมาณ 1.5 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับใส่ผลไม้ขนาดเล็ก
ภาชนะบรรจุที่ดีที่นิยมใช้บรรจุผักและผลไม้ ได้แก่ 1. ลังไม้ เป็นลังที่ใช้ตะปูตอกหรือใช้ลวดเย็บ (wire bound type) เป็นลังชนิดที่มีฝาปิดเปิดด้านข้าง หรือชนิดฝาแยกก็ได้ ไม้ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ฉำฉา (รูปที่ 10.1) ใช้บรรจุได้ทั้งผักและผลไม้ แต่ลังไม้มีราคาแพง และปัจจุบันไม้มีจำนวนจำกัด ลังไม้มีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้ ข้อดี - ทนทานต่อความเปียกชื้นและเปียกน้ำได้ - ออกแบบได้ตามความต้องการในการถ่ายเทอากาศ - มีความแข็งแรงดี และวางซ้อนกันได้หลายชั้น
ข้อเสีย. - เนื้อไม้ด้านในแข็ง หยาบ และบางครั้งอาจมีส่วนแหลมคม ข้อเสีย - เนื้อไม้ด้านในแข็ง หยาบ และบางครั้งอาจมีส่วนแหลมคม โผล่ออกมาจำเป็นต้องมการบุด้านใน - มีปัญหาการกระทบกระแทก - มีน้ำหนักมากไม่เหมาะกับการขนส่งทางอากาศ - บางประเทศไม่ยอมรับเพราะเป็นแหล่งทำให้เกิดโรคและ ยากต่อการทำลายภายหลังการใช้ - นำกลับมาใช้ใหม่ได้ยาก เพราะประกอบเป็นรูปลัง ไม่ สามารถแผ่ให้เป็นแผ่นแบนเพื่อสะดวกในการขนส่งได้
2. กล่องกระดาษลูกฟูก 8 กล่องกระดาษลูกฟูกเป็นภาชนะบรรจุที่ทำจากเยื่อไม้ หรือนำเอากระดาษเก่ามาใช้หมุนเวียนใหม่ กล่องกระดาษลูกฟูกมีน้ำหนักเบาและแข็งแรงชนิดที่ใช้ทั่วๆไปมักประกอบด้วยกระดาษ Kraft 3 ชั้น หรือมีแผ่นเรียบชั้นนอก 2 แผ่นซึ่งเรียกว่า facing หรือ liner board และชั้นในซึ่งเรียกว่า fluting structure หรือ corrugating medium กล่องชนิดนี้เรียกว่า single wall board ถ้าเป็น double wall board จะประกอบด้วย facing 3 ชั้น และมีชั้น fluting 2 ชั้น ความแข็งแรงของกล่องกระดาษลูกฟูกขึ้นอยู่กับ Flute contour ซึ่งคือ ความสูงและจำนวนของลูกฟูกต่อความยาว 1 เมตร ก. กล่องชนิดชิ้นเดียวติดกัน (One-piece case) และเปิดทั้ง 2 ด้าน เวลาใช้จะต้องปิดด้านหนึ่งด้านใดเสียก่อน เมื่อบรรจุผลิตผลจนเต็มแล้วจึงปิดอีกด้านหนึ่ง
ข. กล่องชนิดแยกกัน 2 ชิ้น (Full telescopic case) ค. กล่องชนิดสวมทับ (Case-lid box หรือ side-slotted container) มี 2 ชั้น กล่องชนิดนี้เป็นกล่องสี่เหลี่ยมไม่มีฝาปิด เมื่อบรรจุผลิตผลแล้วจะนำอีกชิ้นหนึ่งมาสวมปิดทับ ทำให้กล่องมีความแข็งแรงมากขึ้น ง. กล่องชนิดพับ (Die-cut tray and lid) เป็นกล่องที่ผู้ใช้ต้องพับขึ้นทรงก่อนบรรจุ ทั้งตัวกล่องและฝาปิดอาจสวมทับหรือปิดเพียงบางส่วนก็ได้ จ. กล่องชนิดอื่นๆ การใช้กล่องกระดาษเป็นภาชนะบรรจุ สามารถออกแบบได้มากมายตามวัตถุประสงค์ว่าต้องการจะบรรจุผักหรือผลไม้ชนิดใด
กล่องกระดาษลูกฟูกมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้ ข้อดี - ผิวกล่องเรียบ ไม่ทำความเสียหายแก่ผลิตผล - แผ่นลูกฟูกจะช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตผลถูกกระทบกระแทก สามารถออกแบบให้มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันได้ สามารถพิมพ์ข้อความหรือรูปภาพอธิบายชนิดและรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตผลได้ง่าย ทำให้ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค สะดวกในการขนส่ง เพราะทำให้เป็นแผ่นแบน ๆ ได้ ประหยัดเนื้อที่ สามารถใช้เครื่องจักรในการขึ้นรูปและปิดกล่องได้ สะดวกในการขนย้ายโดยใช้รถยก มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการขนส่งทางอากาศ
หลังจากใช้แล้ว สามารถนำกลับไปเข้ากระบวนการผลิตใหม่ได้ ข้อเสีย - อากาศถ่ายเทได้เฉพาะตามรูที่เจาะไว้เท่านั้น - กระดาษดูดความชื้น ทำให้ความแข็งแรงของกล่องลดลง ต้องระมัดระวังในการวางกล่องซ้อนกัน 3. ตะกร้าพลาสติก 5 (Plastic basket) ปัจจุบันตะกร้าพลาสติกได้รับความนิยมนำมาบรรจุผักและ ผลไม้กันมากขึ้น ถึงแม้จะมีราคาสูง แต่มีความคงทน ใช้ได้เป็นระยะเวลานาน สามารถนำหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก เรียกว่า ภาชนะบรรจุชนิดหมุนเวียน (returnable container) (รูปที่ 10.5) ภาชนะบรรจุชนิดนี้สามารถใช้ได้ตลอดในระบบการตลาด ตั้งแต่ผู้ผลิตมายังผู้ขายส่ง จากผู้ขายส่งไปยังผู้ขายปลีก หรือจากผู้ผลิตส่งผ่านผู้ขายส่งมายังผู้ขายปลีกเลย
ตะกร้าพลาสติกมีข้อดีและข้อเสียดังนี้ ข้อดี - แข็งแรง วางซ้อนกันได้หลายชั้น - ช่วยป้องกันน้ำและความชื้นได้ดี - ผิวด้านในเรียบ ไม่ทำให้ผลิตผลเสียหาย - ทำความสะอาดได้ง่าย - นำกลับมาใช้ได้หลายครั้งและภาชนะเปล่าขนย้ายได้ สะดวก เพราะวางซ้อนกันได้ ข้อเสีย - ราคาแพง ต้องลงทุนสูง - ไม่เหมาะกับผลิตผลที่มีขนาดเล็ก - ไม่สามารถกันการกระทบกระแทกได้ - ไม่สามารถออกแบบโฆษณารายละเอียดเกี่ยวกับผลิตผลที่ ด้านนอกได้ หรืออาจทำการโฆษณาได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
การลดต้นทุนของภาชนะบรรจุอาจทำได้ดังนี้ 1. รูปทรงของภาชนะควรเป็นทรงสี่เหลี่ยม ภาชนะบรรจุส่วนใหญ่ที่ใช้จะมี 2 รูปทรง คือ ทรงกลมหรือทรงกระบอก และทรงสี่เหลี่ยม ภาชนะที่มีลักษณะเป็นทรงกลม มีข้อเสีย คือ ก. ถ้าขนาดของภาชนะเท่าๆ กัน ภาชนะทรงกลมจะมีปริมาตรบรรจุน้อยกว่าทรงสี่เหลี่ยม ประมาณ 27 เปอร์เซ็นต์ ข. การวางภาชนะรูปทรงกลมในการจัดจำหน่ายจะวางได้เพียงทิศทางเดียว แต่ภาชนะทรงสี่เหลี่ยมวางได้หลายทิศทาง ค. ในการใช้ภาชนะบรรจุทรงกลมบรรจุผลิตผลสำหรับขายปลีก การอ่านข้อความที่ติดบนภาชนะไม่สามารถอ่านได้ครบถ้วนและชัดเจนเท่ากับภาชนะทรงสี่เหลี่ยม
ข้อดีของภาชนะบรรจุทรงสี่เหลี่ยม ก. ทำการบรรจุได้สะดวก ทำให้ประหยัดค่าแรงงาน ข. การใช้ภาชนะบรรจุทรงสี่เหลี่ยมในการบรรจุ ขายปลีก จะทำให้สะดวกกว่าการบรรจุใส่ในกล่องใหญ่ ต้นทุนการขนส่งลดลง และง่ายต่อการจัดจำหน่าย ค. บรรจุปริมาณผลิตผลได้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ราคาอาจเพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม ง. ประหยัดเนื้อที่ในการจัดจำหน่ายในร้านค้าขายปลีก 2. เพิ่มการบรรจุในภาชนะบรรจุให้มากที่สุด การบรรจุผลิตผลใส่ในภาชนะบรรจุจะต้องบรรจุให้ได้ปริมาณมากที่สุด แต่ต้องไม่มากเกินไปจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลิตผลและภาชนะบรรจุ
3. เปลี่ยนชนิดของวัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุ เนื่องจากปัจจุบันมีความเจริญทางวิทยาศาสตร์มาก ทำให้วัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุมีการพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้นและมีราคาถูกลง โดยเฉพาะพลาสติกได้เข้ามามีบทบาทในการเป็นวัสดุทำภาชนะบรรจุมากขึ้น และยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งเป็นการลงทุนภาชนะบรรจุครั้งแรกเพียงครั้งเดียว