โรคกระดูกพรุน.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Treatment of Osteoporosis
Advertisements

Week 10 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น #2
Computer Programming for Engineers
Topic Basic science of calcium Basic science of vitamin D
Department of Orthopedics Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand
การควบคุมงานก่อสร้าง ( การทดสอบวัสดุ ). หัวข้อการบรรยาย 1. การเจาะสำรวจชั้นดิน 2. การทดสอบแรงดึงของเหล็ก 3. การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต หมายเหตุ : การบรรยายจะอ้างอิงแบบ.
การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างการสอนแบบร่วมมือ กับแบบทดลอง เรื่อง การทำงานของ หม้อแปลงไฟฟ้า รายวิชา หม้อ แปลงไฟฟ้า นักเรียนระดับปวช. 1 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง.
งานธุรการ ให้บริการผู้บริหาร ครู และบุคลากร เกี่ยวกับงานธุรการและ เอกสารสำคัญ บริการที่มีคุณภาพ ตอบสนองด้วยความเป็น มิตร รวดเร็ว มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่าง.
Thalassemia Sudawadee Ekwitayawechnukul, MD. Thalassemia Treatment Complication of thalassemia Complication of secondary hemochromatosis Iron chelation.
Bone and Soft-tissue Tumors
สถิติเบื้องต้นในการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
Facilitator: Pawin Puapornpong
Update in Prevention and Treatment of Osteoporosis
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis).
Computer Programming การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
นพ. ดร. ฉกาจ ผ่องอักษร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ฮอร์โมนสามารถออกฤทธิ์ได้โดยใช้ประมาณเพียงเล็กน้อย
โครงการสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System) เขตเมืองและเขตชนบท ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เลขาธิการ.
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai
วันวัยหมดระดูโลก 2014 วิธีการป้องกันโรค หลังวัยหมดระดู
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
CLT วัยทำงานและผู้สูงอายุ
Assoc. Prof. Dr. Boonlom Cheva-Isarakul
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ (Cell and Cell Compositions)
หน่วยการเรียนที่ 2 ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูล
โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา
แบบทดสอบความรู้การช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิด
การจัดการประชุมที่มีประสิทธิผล
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
สรุปผลการนิเทศ คปสอ.วิเศษชัยชาญ รอบที่ 1 ปี 2561 วันที่ 8 มกราคม 2561
สรุปผลการนิเทศ คปสอ.สามโก้ รอบที่ 1 ปี 2561 วันที่ 12 มกราคม 2561
คะแนนและความหมายของคะแนน
สรุปผลการนิเทศ คปสอ.เมืองอ่างทอง รอบที่ 1 ปี วันที่ 11 มกราคม 2561
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
สรุปผลการนิเทศ คปสอ.ไชโย รอบที่ 1 ปี 2561 วันที่ 5 มกราคม 2561
การมีส่วนร่วมในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร
การดูแลและแนวทางการส่งต่อ-ส่งกลับผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ระบบการปลูกพืช และการส่งเสริมอาชีพในพื้นที่ลุ่มต่ำ
โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านทุ่งโหลง อ. เมือง จ
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis).
พระพุทธศาสนา.
การตัดเกรด อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชี
นางธนตวรรณ ขวัญแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ
1. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) :-
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
สถานการณ์โรคเรื้อรัง
การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
การเก็บรวบรวมข้อมูล.
โครงการพัฒนามาตรฐานการตรวจประเมินอายุเด็กในประเทศไทย
นโยบาย การป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ
หลักการคำนวณค่าทางสถิติพื้นฐาน
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัย
นำเสนอโดย นางสาวหนูแพว วัชโศก วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
ดำเนินการวิจัย นางสาวขวัญใจ จันทรวงษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
ประเภทที่ 1 วิจัยในชั้นเรียน
นางสาวกฤษฎาวรรณ ศิวิวงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service Plan) แผนงานที่ 3 การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ โรงพยาบาลมหาสารคาม.
บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้จัดทำวิจัย
การนำเสนอผลงานการวิจัยครั้งที่ ๘
นางสาวกฤษฎาวรรณ ศิวิวงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
งานวิจัย.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คือภาวะที่เนื้อกระดูกลดลง และมีการ เปลี่ยนแบบโครงสร้าง ภายในกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลงทำให้มีโอกาสที่ จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น

โรคกระดูกพรุน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1.โรคกระดูกพรุนแบบปฐมภูมิ (Primary osteoporosis) หญิงวัยหมดประจำเดือน (Post- menopausal osteoporosis) คนสูงอายุ (Senile osteoporosis) ในอัตราส่วน หญิง:ชาย = 2:1

2.โรคกระดูกพรุนแบบทุติยภูมิ (Secondary osteoporosis) เป็นภาวะกระดูกพรุนที่พบในคนที่รับ ผลกระทบต่างๆ ที่มีผลต่อกระดูก รับประทานยาบางชนิด ขาดสารอาหารแคลเซียม สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราหนัก ขาดการออกกำลังกาย โรคบางชนิด

รูปภาพประกอบการแบ่งประเภทโรคกระดูกพรุน

สถานการณ์โรคกระดูกพรุนในประเทศไทย(2013) ประชากร 67.4 ล้านคน ประชากรอายุเกิน 50 ปี 27 % ความชุกของโรคกระดูกพรุนในสตรีไทยอายุเกิน40ปี สะโพก 13.6 % กระดูกสันหลัง 19.6 % อุบัติการณ์กระดูกหักบริเวณสะโพก 368 /100,000/ปี

สถิติประมาณการโรคกระดูกพรุน มวลกระดูกของคนเราหนาแน่นที่สุดเมื่อ อายุประมาณ 30 ปี สตรีที่อายุเกินอายุ 60 ปีโอกาสเกิด 10 % สตรีที่อายุเกินอายุ 70 ปีโอกาสเกิด 20 % สตรีที่อายุเกินอายุ 80 ปีโอกาสเกิด 40 % สตรีที่อายุเกินอายุ 90 ปีโอกาสเกิด 66 %

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน

ปัจจัยด้านอายุ อายุ22 – 25 ปี มวลกระดูกจะสูงสุด (Peak Bone Mass) อายุ 25 –30 ปี มวลกระดูกคงที่   อายุมากกว่า 30 ปี มวลกระดูกเริ่ม ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6 – 8 ทุก 10 ปี หญิงวัยหมดประจำเดือน อาจลดลง ถึงร้อยละ 5 – 10 ต่อปี

ปัจจัยด้านเพศ ปัจจัยด้านชนชาติ เพศหญิงเริ่มมีการสูญเสียกระดูกเมื่อ อายุ 30 ปี และจะสูญเสียมากขึ้นเมื่อหมด ประจำเดือนหรือถูกตัดรังไข่ ส่วนเพศชายจะเริ่มมีการสูญเสียเนื้อ กระดูกเมื่ออายุ 45- 50 ปี ปัจจัยด้านชนชาติ ผู้หญิงผิวขาวเกิดภาวะกระดูกพรุนมากที่สุด รองลงมาเป็นสตรีแถบภาคตะวันออก และคนผิวดำ

ปัจจัยด้านรูปร่าง พันธุกรรม ผู้หญิงที่มีโครงกระดูกเล็ก และตัวเตี้ย มี โอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ ที่มีโครงกระดูกใหญ่ พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัว ป่วยด้วย โรคกระดูกพรุน จะมีโอกาสเกิดโรค กระดูกพรุนและภาวะกระดูกหักจากโรค กระดูกพรุนได้มากกว่าคนอื่น

ปัจจัยด้านอุปนิสัย เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง การดื่มสุรา จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซี่ยมใน ลำไส้ และขับแคลเซี่ยมออกทางปัสสาวะมากขึ้น และขัดขวางการสร้างกระดูก การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายนำแคลเซี่ยมไปใช้ได้ไม่ เต็มที่ การออกกำลังกาย การไม่ออกกำลังกาย ออก กำลังกายมากเกินไป การทำงานที่มีการ เคลื่อนไหวน้อยทำให้มีการสลายของกระดูกมาก ขึ้น

ปัจจัยด้านโรคและยา ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยา ปฏิชีวนะเตตราซัยคลิน ยากันชัก ยา ฮอร์โมนรักษาโรคเบาหวาน ยาฮอร์โมน รักษาโรคคอพอกเป็นพิษ และยาพวก เฮพพาริน จะลดการดูดซึมแคลเซี่ยมใน ลำไส้ หรือมีผลขับแคลเซี่ยมออกทาง ปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของ เนื้อกระดูกลดลง

ปัจจัยด้านอาหาร ขาดแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี ซึ่งเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างกระดูก การรับประทานพืช ผัก ชนิดเดียวกัน จะขัดขวาง การดูดซึมของแคลเซี่ยม มีผลให้ระดับฮอร์โมน เอสโตรเจนลดลง เกิดการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น การรับประทานอาหารโปรตีนสูงส่งผลให้ร่างกาย ขับแคลเซี่ยมออกทางปัสสาวะมากขึ้น การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะมีผลทำให้ ร่างกายขับแคลเซี่ยมออกทางปัสสาวะมาก  

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน    ปัจจุบัน แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้ โดยการวัดความหนาแน่นของเนื้อกระดูก(BMD) การ ตรวจนี้จะใช้แสงเอ็กซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมากส่องบริเวณ ที่ต้องการตรวจแล้วใช้คอมพิวเตอร์ (DEXA) คำนวณหา ค่าความหนาแน่นของกระดูกเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน หากความหนาแน่น ของกระดูกลดลง 1 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard deviation, SD) ความเสี่ยงต่อ กระดูกหักจะเพิ่มขึ้น 1.5-3เท่า

สำหรับอายุใช้หน่วยเป็นปีและน้ำหนักตัวใช้หน่วยเป็นกิโลกรัม ในปีพ.ศ. 2544 ได้มีการศึกษาเพื่อค้นหากลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนของประเทศในแถบทวีปเอเชีย โดยใช้สูตร OSTA 0.2 × (น้ำหนักตัว - อายุ) ค่าดัชนี ความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน น้อยกว่า - 4 สูง อยู่ระหว่าง - 4 ถึง - 1 ปานกลาง ตั้งแต่ -1 ขึ้นไป ต่ำ สำหรับอายุใช้หน่วยเป็นปีและน้ำหนักตัวใช้หน่วยเป็นกิโลกรัม ค่าที่ได้บอกถึงความจำเป็นในการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเครื่อง DEXA ดังนี้

FRAX ®- เครื่องมือประเมินความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก

สตรีวัยหมดประจำเดือนทุกรายที่มีความเสี่ยงสูง คือ มีค่าดัชนีต่ำกว่า - 4 หรือ • เมื่ออายุ มากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี • มีปัจจัยเสี่ยงอื่นต่อการเกิดโรคกระดูก สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงปานกลาง อาจพิจารณาวัดความหนาแน่นของกระดูก โดย คำนึงถึงความพร้อมของอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มี ความเสี่ยงต่ำ (ค่าดัชนีตั้งแต่ -1 ขึ้นไป) ไม่แนะนำให้ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก

การแปรผลการตรวจBMD

อาการและอาการแสดง

อาการและการแสดง ระยะเริ่มแรก 70% มักไม่แสดงอาการ ลักษณะอาการที่แสดงออกว่ากำลังเกิด ภาวะโรคกระดูกพรุนในร่างกายที่สามารถรู้ ได้

ผลกระทบของโรคกระดูกพรุน จิตใจหดหู่ ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปรกติ สูญเสียภาพลักษณ์ มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก

สัดส่วนตำแหน่งกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน กระดูกข้อมือ 80 % กระดูกข้อไหล่ 75 % กระดูกสะโพก 70 % กระดูกสันหลัง 58 %

ผลกระทบภายหลังกระดูกสะโพกหัก 20% มักเสียชีวิตภายใน 1 ปี 30% พิการถาวร 40% ต้องใช้เครื่องช่วยพยุงในการเดิน 80% ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เหมือนก่อนกระดูกหัก 2.1% เสียชีวิตในระหว่างรักษาในร.พ. 3เดือน,6เดือน,1ปี เสียชีวิตในอัตรา 9%,12%และ17% ตามลำดับ

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

การป้องกัน (Prevention) • การป้องกันปฐมภูมิ (Primary prevention) มีจุดประสงค์เพื่อป้องกัน ไม่ให้กระดูกบาง ลง หรือเพื่อชะลอให้กระดูกบางช้าที่สุด • การป้องกันทุติยภูมิ (Secondary prevention) มีจุดประสงค์ เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน หรือชะลอให้ เกิดโรคกระดูกพรุนช้าที่สุด

การป้องกันโรคกระดูกพรุน จำแนกออกได้เป็น 2 ระยะ 1 ระยะเด็กและวัยรุ่น เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้ มวลกระดูกเพิ่มได้สูงสุด ภายใต้ข้อกำหนด ทางพันธุกรรมของแต่ ละบุคคล 2 ระยะหมดประจำเดือน เน้นป้องกันหรือชะลอ การเกิดโรคกระดูกพรุน และลดความเสี่ยงต่อกระดูกหักในอนาคต

ทางเลือกในการป้องกัน โรคกระดูกพรุน แนวทางหลัก 2 ประการคือ 1.ทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ยา - การออกกำลงกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก - การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างพอเพียง - ควรได้รับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้ ผิวหนังสามารถสร้างวิตามินดี - หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพที่เป็นความ เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหัก - ดูแลรักษาโรคทางอายุรกรรมที่อาจมีผลให้สูญเสีย กระดูกได้เร็วขึ้น

2.ทางเลือกที่ต้องอาศัยยา จำแนกออกได้เป็น 2 วิธีหลักได้แก่ - การใช้ฮอร์โมนเพศ (Hormone therapy ) หมายถึง ฮอร์โมนทดแทนที่มีเอสโตรเจนเป็น ส่วนประกอบสำคัญ - การใช้ยาที่มิใช่ฮอร์โมนเพศ (Non-HT) • Bisphosphonates • Selective Estrogen Receptor Modulators (SERMs) ได้แก่ Raloxifene • Calcitonin • Calcium ± vitamin D • Phytohormones • Vitamin K

การตรวจติดตามการรักษา

การตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของกระดูก ไม่ควรตรวจถี่ กว่า 2 ปี โดยอาศัยหลักคิดดังนี้ 1. ในกรณีที่ตรวจพบว่า ความหนาแนนของกระดูก ปกติ (T-score ไม่ต่ำกว่า - 1 SD) การตรวจความ หนาแน่นกระดูกไม่ควรถี่กว่าทุก 5 ปี 2. สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนและอยู่ ระหว่างการรักษา แนะนำให้ตรวจติดตามผลไม่ถี่กว่า ทุก 2 ปี 3. ผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง (Osteopenia, T- score ระหว่าง -2.5 SD ถึง -1 SD) แนะนำให้ตรวจ วัดความหนาแน่นของกระดูกห่างกันประมาณ 2-5 ปี การติดตามการรักษา

การรักษาโรคกระดูกพรุน

การรักษาโรคกระดูกพรุน (Medical treatment of Osteoporosis) เป้าหมายในการรักษาโรคกระดูกพรุนคือ การ ป้องกันการเกิดกระดูกหักจากความเปราะบาง และลด ความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก การรักษาประกอบด้วย - การให้ยา - การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้หกล้มหรือ บาดเจ็บ - การออกกำลังกาย

การรักษาทางยา หากมีความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD) T-score ที่ ต่ำกว่า -2.5 หรือมีประวัติกระดูกหักร่วมด้วย ควรได้รับ การรักษาทางยาร่วมด้วย กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่ - ฮอร์โมนเอสโตรเจน มักให้ในกลุ่มผู้ป่วยตัดรังไข่ ลด อาการที่เกิดจากการหมดประจำเดือน - SERMs ยาประเภทนี้สามารถลดการสูญเสียมวลกระดูก และลดการเปราะหักของกระดูก - Calcitonin ช่วยป้องกันการสูญเสียของมวลกระดูก ลด อุบัติการณ์กระดูกสันหลังหัก บรรเทาอาการปวดได้ - Bisphosphonates ยังยั้งการสลายกระดูกได้ ช่วยลด ความเสี่ยงต่อกระดูกสันหลังยุบ

การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

1.การดูแลผู้ที่อยู่ในภาวะกระดูกหัก การดูแลผู้ป่วยใส่เฝือก การดูแลผู้ป่วยผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยใส่กายอุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ 2. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักพอสมควร การออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเกิดกระดูกบางจะต้องดูที่ว่าขณะออกกำลังกาย นั้นมีน้ำหนักกดลงบนกระดูกหรือไม่ถ้ามีจะเป็นการกระตุ้นให้แคลเซี่ยมซึมกลับ เข้าไปในกระดูกทำให้กระดูกหนาขึ้น จึงจะเป็นการป้องกันโรคกระดูกบาง ได้  ได้แก่ การเดิน การบริหารกายท่ามือเปล่า และการบริหารกายด้วยการยก น้ำหนัก รำมวยจีน ขี่จักรยาน กระโดดเชือก วิ่งเหยาะ

3. การได้รับอาหารและสารอาหาร แนะนำการบริโภคอาหารที่เสริมสร้างมวลกระดูก 

หลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคสิ่งที่เสี่ยงต่อการลดมวล กระดูก  1 หลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ จำนวนมาก  2 หลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคอาหารรสเค็มจัด  3 หลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ คาเฟอีน  4 หลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคน้ำอัดลม  5 หลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคสุรา  6 หลีกเลี่ยงหรืองดสูบบุหรี่  7 หลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคยาบางชนิด 

4. การได้รับยาแต่ละชนิด (นอกจากCa,Vit D) ซึ่งในปัจจุบันยาที่นิยมใช้ ดังนี้ 1.ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต (bisphosphonates)  Fosamax,Bonviva,Aclasta, Risedronate 2.ยากลุ่มเซิมส์ (SERMs)  Raroxifene 3.ยาแคลซิโทนิน (calcitonin)  4.สตรอนเตียมรานีเลต (strontium ranelate) Protaxos 5.ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone) Forteo 6.ยาDenosumab