มาตรฐานที่ ๒ การให้บริการวัคซีน
การให้วัคซีนในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถานบริการที่อยู่ในเครือข่ายหลักประกันสุขภาพทุกแห่ง ให้บริการวัคซีนขั้นพื้นฐานแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่มาขอรับ บริการทั้งที่อยู่ ในและนอกพื้นที่รับผิดชอบของสถานบริการ รวมถึง ให้บริการวัคซีน กลุ่มประชากรเป้าหมายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน สำหรับกลุ่มเป้าหมายชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ให้เหมือน เด็กไทยทุกคน การให้บริการดังกล่าว สถานบริการทุกแห่งที่อยู่ในโครงการสร้าง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น
ตารางวัคซีนใหม่ LAJE 1 LAJE 2 อายุ ชนิดวัคซีน แรกเกิด BCG, HB1 2 เดือน OPV1, DTP-HB1 4 เดือน OPV2, DTP-HB2 , IPV 6 เดือน OPV3, DTP-HB3 9 เดือน MMR1 12 เดือน JE1 , JE2 ( ห่างกัน 1 เดือน ) 18 เดือน OPV4, DTP4 21/2 ปี MMR2 , JE3 4 ปี OPV5 , DTP5 7 ปี (นร.ป.1) MR , dT, OPV , BCG (เก็บตก ) 11 ปี ( ป.5 เพศหญิง ) HPV1 , HPV2 (เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 6 เดือน ) 12 ปี (นร.ป.6) dT ( ทุกราย ) หญิงตั้งครรภ์ dT 3 ครั้ง (ตามประวัติการได้รับวัคซีนในอดีต) เจ้าหน้าที่, กลุ่มเสี่ยง Influenza (ประจำฤดูกาล, ประจำปี) LAJE 1 LAJE 2
บริการให้วัคซีนอย่างไร จึงจะปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ เจ้าหน้าที่ ต้องมีความรู้ และปฏิบัติได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน มีวัคซีน อุปกรณ์ ที่ได้คุณภาพ ( ไม่หมดอายุ ) และเพียงพอ
ผู้รับผิดชอบ หัวหน้า หรือผู้รับผิดชอบงานของหน่วยบริการ • รพ.สต. • หน่วยบริการในโรงพยาบาลทั้งใน และนอก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข • ศูนย์การแพทย์ต่างๆ
กิจกรรมดำเนินงานการให้บริการ เตรียมกลุ่มเป้าหมายผู้มารับบริการ คาดประมาณจำนวนผู้มารับบริการในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย วิธีการให้วัคซีน การจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้รับบริการ การเตรียมการเพื่อกู้ชีพเบื้องต้นแก่ผู้รับวัคซีนกรณีเกิด anaphylaxis การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และยาที่จำเป็นในการกู้ชีพ การติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์
๑. เตรียมกลุ่มเป้าหมายผู้มารับบริการ มีระบบการนัดกลุ่มเป้าหมายที่มารับวัคซีน ( ทั้งในและนอกพื้นที่ที่รับผิดชอบ ) การนัดหมายในสมุดสีชมพู , มีบัตรนัด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ( HosXP ) การเตือนผู้ปกครองผ่านทางหอกระจายข่าว มีรายชื่อให้ อสม. ช่วยนัด
๒. คาดประมาณจำนวนผู้มารับบริการ ๒.๑ ประมาณการจำนวนเป้าหมายที่นัดหมายมารับวัคซีน » โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกข้อมูลการนัดหมายมารับวัคซีน » บัญชีรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่นัดหมายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ รับผิดชอบ » ทะเบียนติดตามการได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย (แบบ 0119 รบ 1 ก/3) » บัญชีรายชื่อผู้รับบริการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในนักเรียน ๒.๒ คาดประมาณกลุ่มเป้าหมายรายใหม่ที่อาจมารับบริการ โดย พิจารณาจาก ค่าเฉลี่ยผู้มารับบริการรายใหม่ 3 เดือนย้อนหลัง ๒.๓ รวบรวมเป็นข้อมูลจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดที่จะต้องให้บริการ
๓.๑ การจัดหน่วยบริการในสถานที่ ๓. การให้บริการวัคซีน ๓.๑ การจัดหน่วยบริการในสถานที่ » แยกจากคลินิกเด็กป่วย » คำนึงถึงความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติงาน แต่ละขั้นตอน » สถานที่เงียบสงบเหมาะสำหรับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย พูดคุยและให้คำแนะนำ » ห้องฉีดวัคซีนควรมีทางเข้าออกคนละทาง
๓. การให้บริการวัคซีน ๓.๒ การจัดหน่วยบริการนอกสถานที่ » ควรตั้งอยู่ในที่ร่ม แสงแดดส่องไม่ถึงและไม่ควรมีลม หรือ ฝุ่นพัดผ่าน » มีป้ายบอกจุดบริการชัดเจน » จัดเตรียมทางเข้าออกคนละทาง เตรียมสถานที่รอ ที่สะดวกสบาย » มีที่ล้างมือและสามารถเก็บรักษาวัคซีนในอุณหภูมิ ที่พอเหมาะได้
๓. การให้บริการวัคซีน ๓.๓ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ๓.๓ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ » โต๊ะ เก้าอี้ เตียง (ถ้ามี) » ผ้าสะอาดปูบนโต๊ะเพื่อวางวัคซีน » กล่องเข็ม และ syringe » กระปุกสำลีแอลกอฮอล์ กระปุกสำลีแห้ง » กระปุกใส่ forcep » กระติกวัคซีน ซองน้ำแข็ง ( icepack ) ที่เริ่มละลาย » พลาสเตอร์ » กล่องสำหรับเก็บขวดวัคซีนที่ใช้แล้ว » กล่องหรือถังพลาสติกหนาใช้ทิ้งเข็มที่ใช้แล้ว » ถังขยะทั่วไป
๓. การให้บริการวัคซีน ๓.๔ ขั้นตอนการให้บริการ ๓.๔.๑ การซักประวัติและการประเมินคัดกรองผู้รับบริการ ๓.๔.๒ การสังเกตอาการก่อนให้วัคซีน ๓.๔.๓ การเตรียมการก่อนให้วัคซีน ๓.๔.๔ การเตรียมการขณะให้วัคซีน
๓.๔.๑ การซักประวัติและการประเมินคัดกรอง • ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน • ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต • ประวัติการแพ้ยา/สารอาหาร • ประวัติการมีอาการผิดปกติหลังได้รับวัคซีน • การได้รับยา/ได้รับเลือด หรือสารประกอบจากเลือด • การตั้งครรภ์
แบบประเมินคัดกรองผู้มารับบริการ คำถาม ใช่ ไม่ใช่ ไม่ทราบ 1. วันนี้ผู้มารับวัควัคซีนมีอาการเจ็บป่วยใด ๆ หรือไม่ 2. ผู้มารับวัคซีนเคยมีประวัติแพ้ยา สารอาหาร และแพ้วัคซีนตัวใด บางหรือไม่ 3. ในการได้รับวัคซีน ครั้งที่ผ่าน ๆ มา เคยมีอาการรุนแรง หรือมีปฏิกิริยาของ ร่างกายใด ๆ ต่อวัคซีนบ้าง หรือไม่ 4. มีโรคประจำตัว เช่น โรคหืด โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต โรคเมตาบอลิก หรือโรคเลือดบ้างหรือไม่ 5.ใน 1 ปีที่ผ่านมา แพทย์หรือเจ้าหน้าที่อนามัย เคยบอกท่านว่า บุตรหลานของท่าน หายใจมีเสียงดังวี๊ด เป็น หืดหรือไม่ ( สำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีนช่วงอายุ 2-4 ปี ) 6. ผู้มารับวัคซีนเคยมีประวัติชัก และมีอาการแสดงถึงความผิดปกติทางระบบประสาทบ้างหรือไม่ 7. ผู้มารับวัคซีนเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เอดส์ หรือปัญหาสุขภาพที่ เกิด ความผิดปกติ ของภูมิคุ้มกัน หรือไม่ 8. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ผู้มารับวัคซีนเคยได้รับยากลุ่ม สเตียรอนด์ ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านมะเร็ง หรือ ยาต้านไวรัส หรือไม่ 9. ใน 1 ปี ที่ผ่านมา เคยได้รับเลือด ผลิตภัณฑ์จากเลือด อิมมูโนโกลบูลิน หรือไม่ 10. ผู้มารับวัคซีน เคยได้รับวัคซีนใด ในรอบ 1 เดือน ที่ผ่านมา หรือไม่ 11. ผู้มารับวัคซีนกำลังตั้งครรภ์ หรือไม่
๓.๔.๒ การสังเกตอาการก่อนให้วัคซีน ๓.๔.๒ การสังเกตอาการก่อนให้วัคซีน • สังเกตลักษณะทั่วไป ท่าทางการตอบสนองของเด็ก • สังเกตรอยที่ฉีดวัคซีนครั้งที่แล้ว • ตรวจร่างกายเพื่อยืนยัน ความพร้อมในการรับวัคซีน • การสังเกตความพร้อมทางจิตใจและอารมณ์ของเด็ก และ ผู้ปกครอง
๓.๔.๓ การเตรียมการก่อนให้วัคซีน ๓.๔.๓ การเตรียมการก่อนให้วัคซีน • การควบคุมการติดเชื้อ • การเลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องสำหรับให้วัคซีน • การตรวจสอบวัคซีนและการเตรียมวัคซีน • การปฏิบัติเพื่อป้องกันการผิดพลาดในการให้วัคซีน • การเตรียมวัคซีนขณะให้บริการ
๓.๔.๔ การเตรียมการขณะให้วัคซีน • การจัดท่าเด็ก • วิธีการให้วัคซีน • เทคนิคการฉีดวัคซีน ...... ชั้นในหนัง ( intradermal ) ...... ชั้นใต้ผิวหนัง ( subcutaneous ) ...... ชั้นกล้ามเนื้อ ( intramuscular )
หมายเหตุ : วัคซีนในขณะให้บริการ » ควรให้บริการในที่ร่ม » เก็บวัคซีนในกระติกหรือกล่องโฟมที่มีอุณหภูมิอยู่ใน ช่วง +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส » วางขวดวัคซีนให้ตั้งตรง
หมายเหตุ : วัคซีนในขณะให้บริการ » ห้ามวางขวดวัคซีนสัมผัสกับ icepack หรือน้ำแข็งโดยตรง » ดูดวัคซีนใส่ไซริงค์แล้วให้บริการทันที ห้ามเตรียมไว้เป็นจำนวนมาก
หมายเหตุ : วัคซีนในขณะให้บริการ » ห้ามมีเข็มปักคาขวดวัคซีน ในระหว่างที่รอให้บริการ » วัคซีนเชื้อเป็นชนิดผงแห้งที่ผสมน้ำยา ละลายแล้ว ต้องเก็บไว้ไม่ให้โดนแสง
การจัดท่าเด็ก 22
การจัดท่าเด็ก 23
การจัดท่าเด็ก 24
ตำแหน่งฉีดที่ไม่เหมาะสม ? ห้าม ฉีดเข้าสะโพก.........เพราะ » อาจไม่เข้ากล้ามเนื้อ » ภูมิคุ้มกันต่อตับอักเสบบีขึ้นไม่ดี » กรณี BCG อาจทำให้มีการติดเชื้อซ้ำเติมง่าย » อาจเป็นอันตราย หรือมีการบวมไปกดเส้นประสาท Sciatic ได้ 25
การจัดท่าเด็ก 26
วิธีการให้วัคซีน ๑. การกิน (Oral route) ๒. การฉีดเข้าในหนัง (Intradermal route) ๓. การฉีดเข้าใต้หนัง (Subcutaneous route) ๔. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular route) 27
การกิน (oral route) ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ในลำไส้นอกเหนือจากในเลือดได้ เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน 28
เทคนิคการฉีดวัคซีน เข้ากล้ามเนื้อ : HB DTP-HB DTP dT TT ใช้เข็ม No.23-26 ยาว 5/8-1 ¼ นิ้ว เข้าใต้ผิวหนัง (SC) : MMR JE ใช้เข็ม No.26 ยาว ½ นิ้ว เข้าในหนัง (ID) : BCG ใช้เข็ม No.26 ยาว ½ นิ้ว
การฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง Intradermal หรือ Intracutaneous route โดยฉีดเข้าในหนัง ให้เป็นตุ่มนูนขึ้น ควรใช้เข็มขนาด 26G ยาว ½ นิ้ว การฉีดวิธีนี้ทำให้แอนติเจนเข้าไปทางระบบน้ำเหลืองได้ดี สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์เป็นสื่อได้ดี (Cell-mediated immune response) เช่น วัคซีนวัณโรค วัคซีนพิษสุนัขบ้า 30
การฉีดเข้าในหนัง การฉีดวัคซีนวัณโรคในทารกแรกเกิด ควรฉีดที่ ต้นแขนเพื่อให้สามารถตรวจสอบแผลเป็นได้ง่าย ไม่ควรฉีดที่สะโพกเพราะอาจเกิดการติดเชื้อซ้ำเติมได้ง่าย เนื่องจากอยู่ใกล้ผ้าอ้อม ซึ่งอาจเปื้อนอุจจาระ ปัสสาวะได้ และตรวจสอบแผลเป็นได้ไม่สะดวกเท่าบริเวณแขน 31
เทคนิคการฉีดวัคซีนเข้าในหนัง กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
เทคนิคการฉีดวัคซีนเข้าในหนัง กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (subcutaneous route) ควรใช้เข็ม ขนาด 26G ยาว ½ นิ้ว การฉีดให้ตั้งเข็มทำมุม 45 องศากับผิวหนัง มักจะใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไป เพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง เช่น วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน วัคซีนไข้ทัยฟอยด์ วัคซีนไข้สมองอักเสบ วัคซีนสุกใส ในเด็กเล็กควรฉีดบริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้าค่อนไปทางด้านนอก ส่วนในเด็กโตและผู้ใหญ่ควรฉีดที่ต้นแขน 34
การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (subcutaneous route) กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 35
การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular route) เป็นการฉีดลึกลงถึงชั้นกล้ามเนื้อ ควรตั้งเข็ม ทำมุมฉากกับผิวหนัง ขนาดของเข็มที่ใช้ขึ้นกับขนาดตัว ของเด็ก โดยประมาณขนาดของเข็ม เช่น วัคซีนรวมคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (DTP) วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก (DT, dT) ตับอักเสบบี 36
๓.การบริหารวัคซีน 2 ชั่วโมง (สภากาชาดไทย) IPV กิน SC ชนิดวัคซีน อายุที่รับวัคซีน (1 คะแนน) หลังเปิดขวด / ผสมแล้วให้ใช้ภายในเวลา กี่ชั่วโมง (ตามมาตรฐาน) วิธีการให้วัคซีน ขนาด วัคซีนต่อโด๊ส BCG HB DTP-HB OPV IPV MMR DTP 2 ชั่วโมง (สภากาชาดไทย) 6 ชั่วโมง (Serum Institute of India) 0.1 มล. 0.05 มล. และอายุ > 1 ปี 0.1 มล. แรกเกิด ภายใน 7 วันหลังคลอด ID ภายใน24 ชม. หลังคลอด 1 เดือน กรณีแม่เป็นพาหะ 8 ชั่วโมง IM 0. 5 มล. 2,4,6 เดือน 8 ชั่วโมง IM 0. 5 มล. 2-3 หยด ขึ้นกับบริษัท 2,4,6 เดือน 1 ปีครึ่ง และ 4 ปี 8 ชั่วโมง กิน 4 เดือน 8 ชั่วโมง IM 0. 5 มล. 9-12 เดือน 2 ปี ครึ่ง 6 ชั่วโมง SC 0. 5 มล. 1 ปีครึ่ง, 4 ปี 8 ชั่วโมง IM 0. 5 มล.
ห่างกัน 1 เดือน และ 2 ปีครึ่ง ห่างกัน 1 เดือน และ 2 ปีครึ่ง ๓. การบริหารวัคซีน ชนิดวัคซีน อายุที่รับวัคซีน (1 คะแนน) หลังเปิดขวด / ผสมแล้วให้ใช้ ภายในเวลากี่ชั่วโมง (ตามมาตรฐาน) (1 คะแนน) วิธีการให้วัคซีน ขนาด วัคซีนต่อโด๊ส JE สายพันธุ์ Nakayama Beijing 1 ปี 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน และ 2 ปีครึ่ง • เด็ก <3 ปี 0.5 มล. • เด็ก >3 ปี 1 มล. 8 ชั่วโมง SC 1 ปี 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน และ 2 ปีครึ่ง • เด็ก <3 ปี 0.25 มล. • เด็ก >3 ปี 0.5 มล. SC 8 ชั่วโมง
ประเด็นการให้วัคซีน JE ถ้าให้วัคซีนแล้วเด็กมีผื่นเกิดขึ้น ครั้งต่อไปต้องงดไหม ??? » ถ้าผื่นเกิดเร็ว (ภายใน 1-2 ชม ) ควรงดเข็มถัดไป » ถ้าผื่นเกิดขึ้นช้า ให้เข็มถัดไปได้ พิจารณาให้ antihistamine ป้องกัน หรือ เตรียมรักษา
Beijing strain วัคซีน JE Nakayama strain ขนาด 1 มล. ขนาด 0.5 มล. ขนาด 5 มล.
วัคซีน JE 1 โด๊ส (0.5 มิลลิลิตร) Packaging of CD.JEVAX
ประวัติการได้รับวัคซีน LAJEในอดีต การให้ JE เชื้อตาย ครั้งถัดไป การได้รับวัคซีน JE : เมื่อเด็กได้รับวัคซีน LAJE เชื้อเป็นในอดีต แล้วมาต่อด้วย JE เชื้อตาย ประวัติการได้รับวัคซีน LAJEในอดีต การให้ JE เชื้อตาย ครั้งถัดไป การให้วัคซีน JE 1 JE 2 JE 3 เคยได้รับ 1 ครั้ง 1ครั้ง วันที่ได้รับ (เชื้อเป็น) ไม่ต้องให้ (เชื้อตาย) เคยได้รับ 2 ครั้ง
ประวัติการได้รับวัคซีน เชื้อตายในอดีต การให้ LAJE ครั้งถัดไป การได้รับวัคซีน JE : เมื่อเด็กได้รับวัคซีน JE เชื้อตายในอดีต แล้วมาต่อด้วย LAJE ประวัติการได้รับวัคซีน เชื้อตายในอดีต การให้ LAJE ครั้งถัดไป การให้วัคซีน JE 1 JE 2 JE 3 เคยได้รับ 1 ครั้ง 2 ครั้ง วันที่ได้รับ (เชื้อตาย) (เชื้อเป็น) เคยได้รับ 2 ครั้ง 1 ครั้ง เคยได้รับ 3 ครั้ง ไม่ต้องให้
ป. 1 ให้วัคซีนโดยดูจากประวัติการได้รับวัคซีน M / MR / MMR ในอดีต ๓. การบริหารวัคซีน ชนิดวัคซีน อายุที่รับวัคซีน (1 คะแนน) หลังเปิดขวด / ผสมแล้วให้ใช้ ภายในเวลากี่ชั่วโมง (ตามมาตรฐาน) (1 คะแนน) วิธีการให้วัคซีน ขนาด วัคซีนต่อโด๊ส MR dT ป. 1 ให้วัคซีนโดยดูจากประวัติการได้รับวัคซีน M / MR / MMR ในอดีต 6 ชั่วโมง SC 0. 5 มล. นักเรียน ป. 1 ให้วัคซีนโดยดูจากประวัติการได้รับวัคซีน DTP-HB/DTP ในอดีต นักเรียน ป.6 ให้วัคซีนทุกคน หญิงมีครรภ์ ขึ้นกับการได้รับวัคซีนDTP/dT/TT ในอดีต 0. 5 มล. IM 8 ชั่วโมง
dT หญิงตั้งครรภ์ครบชุดตามเกณฑ์ สอบถามประวัติการได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของเชื้อบาดทะยัก ( DTP-HB/ DTP/ dT /TT ) ประวัติการได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของเชื้อบาดทะยัก ( DTP-HB/ DTP/ dT /TT ) จำนวนเข็มและระยะห่างในการให้วัคซีน dT ๑. ยังไม่เคยได้รับวัคซีน ให้ฉีด ๓ เข็ม ให้เข็มแรกทันทีที่มาฝากครรภ์ เข็ม ๒ ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย ๑ เดือน และเข็มที่ ๓ ห่างจากเข็มที่ ๒ อย่างน้อย ๖ เดือน จากนั้นฉีดกระตุ้น ๑ เข็มทุก ๑๐ ปี ให้ฉีด ๒ เข็ม ให้เข็ม ๒ ทันทีที่มาฝากครรภ์ ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย ๑ เดือน และเข็มที่ ๓ ห่างจากเข็มที่ ๒ อย่างน้อย ๖ เดือน จากนั้นฉีดกระตุ้น ๑ เข็มทุก ๑๐ ปี ๒. เคยได้รับวัคซีนมา ๑ เข็ม ไม่ว่าจะนานเท่าใด ให้ฉีด ๑ เข็ม ทันทีที่มาฝากครรภ์ โดยเข็มที่ ๓ ห่างจากเข็มที่ ๒ อย่างน้อย ๖ เดือน จากนั้นฉีดกระตุ้น ๑ เข็มทุก ๑๐ ปี ๓. เคยได้รับวัคซีนมา ๒ เข็ม ไม่ว่าจะนานเท่าใด ๔. เคยได้รับวัคซีนมา ๓ เข็ม และเข็มสุดท้ายนานกว่า ๑๐ ปี ให้ฉีด ๑ เข็ม ทันทีที่มาฝากครรภ์ จากนั้นฉีดกระตุ้น ๑ เข็มทุก ๑๐ ปี ๕. เคยได้รับวัคซีนมา ๓ เข็ม และเข็มสุดท้ายน้อยกว่า ๑๐ ปี ไม่ต้องฉีด ในระหว่างตั้งครรภ์นี้ แต่ให้ฉีดกระตุ้น ๑ เข็มทุก ๑๐ ปี ๖. เคยได้รับวัคซีน DTP ครบ ๕ เข็ม และ dT เมื่อเรียนชั้น ป.๖ นานกว่า ๑๐ ปี ให้ฉีด ๑ เข็ม ทันทีที่มาฝากครรภ์ จากนั้นฉีดกระตุ้น ๑ เข็มทุก ๑๐ ปี
จำนวนเข็มและระยะห่างในการให้วัคซีน dT / OPV ประวัติการได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของเชื้อคอตีบ บาดทะยัก และ โอพีวี ( DTP-HB /dT /OPV ) จำนวนเข็มและระยะห่างในการให้วัคซีน dT / OPV ๑. เคยได้วัคซีน DTP-HB / dT / OPV ครบ ๕ ครั้ง ไม่ต้องให้วัคซีน เมื่อเข้าเรียนชั้น ป. ๑ ๒.ไม่เคยได้วัคซีน DTP-HB / dT / OPV มาก่อน ให้วัคซีน dT / OPV ๒ ครั้ง เมื่อเข้าเรียนชั้น ป. ๑ ห่างกันอย่างน้อย ๑ เดือน แล้วให้ อีก ๑ ครั้ง เมื่อชั้น ป. ๒ ( ครั้งที่ ๓ ห่างจากครั้งที่ ๒ อย่างน้อย ๖ เดือน ) ๓. ได้วัคซีน DTP-HB / dT / OPV ๑ ครั้ง ให้วัคซีน dT / OPV ๑ ครั้ง เมื่อเข้าเรียนชั้น ป. ๑ แล้วให้ อีก ๑ ครั้ง เมื่อชั้น ป. ๒ ( ครั้งที่ ๓ ห่างจากครั้งที่ ๒ อย่างน้อย ๖ เดือน ) ๔. เคยได้วัคซีน DTP-HB / dT / OPV ๒ , ๓ , ๔ ครั้ง ให้วัคซีน dT / OPV ๑ ครั้ง เมื่อเข้าเรียนชั้น ป. ๑
ประวัติการได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของเชื้อหัด ( M / MR / MMR ) การให้วัคซีน MR MMR แก่เด็กนักเรียนชั้น ป. ๑ จะต้องตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีน ที่มีส่วนประกอบของเชื้อหัด ( M / MR / MMR ) ของเด็กในอดีตจากผู้ปกครอง หรือจากสมุดบันทึก ประกอบการตัดสินใจในการให้วัคซีน โดยมีเกณฑ์ดังนี้ ประวัติการได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของเชื้อหัด ( M / MR / MMR ) การให้วัคซีน ๑. ไม่เคย / ไม่แน่ใจ / ไม่ทราบ / ได้ ๑ ครั้ง ก่อนอายุ ๙ เดือน ให้ ๑ ครั้ง ๒. ได้ ๑ ครั้ง หลังอายุ ๙ เดือน ให้ ๑ ครั้ง ๓. ได้ ๒ ครั้ง ครั้งแรก ก่อนอายุ ๙ เดือน ครั้งที่ ๒ หลังอายุ ๙ เดือน ให้ ๑ ครั้ง ๔. ได้ ๒ ครั้ง ครั้งแรก หลังอายุ ๙ เดือน ครั้งที่ ๒ ก่อนอายุ ๑๘ เดือน ให้ ๑ ครั้ง ๕. ได้ ๒ ครั้ง ครั้งแรก หลังอายุ ๙ เดือน ครั้งที่ ๒ หลังอายุ ๑๘ เดือน ไม่ต้องให้ ๖. ได้ ๑ ครั้ง อายุ มากกว่า ๔ ปี ไม่ต้องให้
แบบฝึกหัด ๑. วันนี้ รพ.สต.หนองกก ให้บริการวัคซีนในโรงเรียน กอไผ่ พบว่า ด.ญ.นงนุช อายุ ๗ ปี เคยได้รับวัคซีน BCG HB เมื่อแรกเกิด และวัคซีน DTP-HB1 เมื่ออายุ ๒ เดือน จากนั้นไม่เคยได้รับวัคซีนอีกเลย ท่าน จะให้วัคซีนอะไรบ้าง แก่ ด.ญ.นงนุช และให้อย่างไร ๒. นางแพงอายุ ๔๒ ปี มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล เป็นครรภ์ที่ ๒ ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรค บาดทะยัก จำได้ว่าเคยได้รับอุบัติเหตุเมื่อปี ๒๕๓๕ ได้รับวัคซีน ๑ ครั้ง และเมื่อฝากครรภ์แรก เมื่อปี ๒๕๔๙ ได้รับอีก ๑ ครั้ง ท่านจะให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักแก่นางแพงหรือไม่ ถ้าให้ ให้กี่ครั้ง ๓. ด.ญ.บังอร อายุ 2 ปี ได้รับวัคซีน JE เชื้อตาย มาแล้ว 1 ครั้งเมื่ออายุ 1 ปีท่านจะให้วัคซีน JE เชื้อเป็น อย่างไร dT / OPV 2 ครั้ง ( ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 6 เดือน MR JE เชื้อตาย 3 ครั้ง หรือ JE เชื้อเป็น 2 ครั้ง ( ระยะห่างตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือบริษัทผู้ผลิตกำหนด ) ให้ dT 1 ครั้ง ทันทีที่มาฝากครรภ์ ( หรือห่างจากครั้งที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน ) ให้ LAJE เข็มที่1 ทันทีที่พบเด็ก และให้ เข็มที่ 2 ตามระยะห่างของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนกำหนด
๔. การจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้รับบริการ บันทึก ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชนิด และ ครั้งที่ได้รับวัคซีน ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย - เด็กแรกเกิด - เด็กก่อนวัยเรียน - นักเรียนชั้น ป.1 และ ป.6 - หญิงมีครรภ์ บันทึก lot.no. และลำดับที่ของขวดวัคซีน ในผู้รับบริการแต่ละราย เพื่อตรวจสอบผู้ได้รับวัคซีนร่วมขวด / ร่วม Lot. เดียวกัน เมื่อเกิด AEFI
๕. การเตรียมการเพื่อกู้ชีพเบื้องต้นแก่ผู้รับวัคซีน กรณีเกิด anaphylaxis หรือมีอาการภายหลังได้รับวัคซีนที่รุนแรง ผู้ฉีดวัคซีนต้องผ่านการอบรม วิธีการกู้ชีพเบื้องต้นอย่างน้อยทุก 3 ปี เตรียมสถานที่ให้ผู้รับวัคซีนนั่งรอภายหลังได้รับวัคซีน ให้ข้อมูลอาการภายหลังรับวัคซีนที่อาจเกิดขึ้นแก่ ผู้รับวัคซีนหรือ ผู้ปกครองเด็กที่มารับวัคซีน ให้ผู้รับวัคซีนนั่งรอเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาที ภายหลัง ได้รับวัคซีน
๕. การเตรียมการเพื่อกู้ชีพเบื้องต้นแก่ผู้รับวัคซีน กรณีเกิด anaphylaxis หรือมีอาการภายหลังได้รับวัคซีนที่รุนแรง มีแผน/ผังช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีเกิด anaphylaxis โดยเฉพาะส่วนของ การดูแลระบบทางเดินหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต มีแผน/ผังส่งต่อ และส่งต่อผู้ป่วยได้ภายใน 15 นาที หลังเริ่มมีอาการ รายงานผู้ป่วยที่มีอาการภายหลังได้รับวัคซีนตามข้อกำหนดของสำนัก ระบาดวิทยา โดยใช้แบบ AEFI 1 ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระบบ ติดตามอาการของผู้รับวัคซีนที่ได้ร่วมขวด ร่วม Lot เดียวกับผู้ป่วยที่มี อาการรุนแรงหลังได้รับวัคซีน
แผนผังแนวทางการดูแลรักษา Anaphylaxis ตรวจพบอาการ/อาการแสดงทางผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ - ผื่น/ผื่นลมพิษ (Rash/urticaria) - ตัวแดงจากการขยายตัวของหลอดเลือด/คันตามตัว (Flushing/pruritus) - เยื่อบุตา จมูก ปากบวม (Angioedema) มีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือมีการเปลี่ยนแปลงเข้าเกณฑ์ anaphylaxis * (Rapid/progressive) ตรวจวัดสัญญาณชีพเป็นระยะ (Vital signs) ได้แก่ นับการหายใจ คลำชีพจร วัดความดันโลหิต ให้ออกซิเจน เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง หากพบสิ่งแปลกปลอมให้เอาออก นอนราบยกขาสูง ให้ adrenaline ทางกล้ามเนื้อ ** (O2, clear airway, legs up, Adrenaline IM ) ให้ยา antihistamine ให้ยา corticosteroid
- ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้เพียงพอ (Maintain circulatory volume ) - ช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกผ่านทาง Ambu bag/ ท่อช่วยหายใจ/ เจาะคอ (Airway function) - ทำการกู้ชีพเมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก ร่วมกับคลำชีพจรไม่พบ (CPR) - ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้เพียงพอ (Maintain circulatory volume ) - ให้ adrenaline ทางหลอดเลือด**(adrenaline IV) ตรวจประเมินอาการอย่างใกล้ชิดเป็นระยะ * หากพบ - มีอาการหายใจลำบาก (Respiratory difficulty) - ระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลว (Circulatory collapse) ตรวจพบความดันโลหิตต่ำ ( BP) * ตรวจพบความดันโลหิตต่ำลง * ( BP)
ป้องกันการเกิดซ้ำ หายใจมีเสียงวี๊ดไม่ดีขึ้น (Wheezing) ให้สารน้ำชนิดพิเศษ และพิจารณาให้ยาเพิ่มความดันโลหิต (plasma expander +/- vasopressors) หายใจมีเสียงวี๊ดไม่ดีขึ้น (Wheezing) ให้ยาขยายหลอดลมโดยการพ่น ( Inhaled beta-agonist) ป้องกันการเกิดซ้ำ (Prevention of recurrence) หมายเหตุ - กรอบเส้น คือ ผู้ฉีดวัคซีนต้องสามารถให้การดูแลเบื้องต้นได้ - กรอบเส้น คือ ให้การดูแลภายใต้การควบคุมของแพทย์ -* คือ ดูเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะ anaphylaxis และตารางที่ 1 ประกอบ -** คือ ให้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์
๖. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และยาที่จำเป็นในการกู้ชีพ Ambu bag สำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ Oxygen face mask สำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ Set IV fluid Normal saline หรือ Ringer’s lactate Adrenaline (ก่อนฉีดทุกครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากแพทย์) Endotracheal tube (ท่อช่วยหายใจ) สำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ อย่างน้อยควรมี เบอร์ 3.5 และเบอร์ 4 ไว้สำหรับเด็ก Laryngoscope สำหรับเด็กและผู้ใหญ่
๗. การติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ มีทะเบียนติดตามการได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นปัจจุบัน มีการบันทึกวันที่กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนทั้งที่ได้รับจากสถานบริการ ตนเอง และสถานบริการอื่น มีระบบการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด
ขอบคุณครับ