งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารจัดการคลังวัคซีน และระบบลูกโซ่ความเย็น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารจัดการคลังวัคซีน และระบบลูกโซ่ความเย็น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารจัดการคลังวัคซีน และระบบลูกโซ่ความเย็น
นำเสนอโดย ภญ.สุมะนา พัฒโนภาษ สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ภญ.วรรณิภา ธานีรัตน์ 1

2 ผู้ผลิตวัคซีน ต่างประเทศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค
Vaccine cold chain ผู้ผลิตวัคซีน ต่างประเทศ กรมควบคุมโรค ท่าอากาศยานกรุงเทพ รถห้องเย็น รถห้องเย็น ผู้ผลิตวัคซีนในประเทศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สอ./ PCU รพ. (CUP) / สสอ.

3 Sensitivity to heat most sensitive OPV Measles, MMR DTP, yellowfever
BCG JE (liquid) dT, TT, Hep B Least sensitive

4 วัคซีนไวต่ออุณหภูมิ เสื่อมคุณภาพ ก่อนวันหมดอายุ
Heat เสื่อมคุณภาพ ก่อนวันหมดอายุ เช่น ที่ 37 °C เสื่อมคุณภาพหมดใน 72 ชม. 8oC 2oC OPV Freezing

5 Sensitivity to Cold Hep B JE (liquid) DTP dT TT most sensitive
least sensitive

6 วัคซีนไวต่ออุณหภูมิ เสื่อมคุณภาพ ก่อนวันหมดอายุ
Heat เสื่อมคุณภาพ ก่อนวันหมดอายุ เช่น ที่ 37 °C เสื่อมคุณภาพหมดใน 4 สัปดาห์ 8oC HB 2oC เมื่อแข็งตัว เสื่อมคุณภาพทันที Freezing

7 Sensitivity to light BCG Measles Rubella MMR

8 การบริหารจัดการวัคซีนและ ระบบลูกโซ่ความเย็น
การวางแผนระบบลูกโซ่ความเย็น การบริหารจัดการด้านการเบิกจ่ายวัคซีน การขนส่งวัคซีน การเก็บรักษาวัคซีน อุปกรณ์และการดูแลรักษา

9 การวางแผนระบบลูกโซ่ความเย็น
มีผู้รับผิดชอบที่ผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ความ เข้าใจถูกต้อง สำรวจอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรักษาความเย็น การวางแผนบำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์ การวางแผนในการเบิกจ่าย การวางแผนในกรณีฉุกเฉิน

10 ทำไมต้องให้ความสำคัญกับระบบลูกโซ่ความเย็น
อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ความแรงของวัคซีนลดลงเร็วขึ้น วัคซีนบางชนิดจะสูญเสียความแรงไปเลย ถ้าอยู่ใน อุณหภูมิที่ทำให้แข็งตัว เมื่อวัคซีนเสื่อมสภาพ ผู้รับบริการไม่ได้รับการป้องกัน โรค วัคซีนที่เสื่อมสภาพจาก freezing ฉีดแล้วจะเกิดเป็นไต แข็ง สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

11 การเบิก-จ่ายวัคซีน สถานบริการใช้ แบบฟอร์ม ว. 3/1 ในการเบิก และรายงานผลการให้บริการ การคำนวณจำนวนวัคซีนที่ต้องการใช้ในการ ให้บริการ การตรวจรับวัคซีน ทะเบียนรับ - จ่ายวัคซีน / สต็อกการ์ด

12 เรื่อง ขอเบิกวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เรียน …………………………………………
ที่ ……………………………….. สำนักงาน ……………………………… วันที่ …. เดือน ……………….. พ.ศ. …. เรื่อง ขอเบิกวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เรียน ………………………………………… สำนักงาน ………………………………………………………… ขอเบิกวัคซีนต่าง ๆ ดังนี้ หมายเหตุ 1. จำนวนวัคซีนที่ขอเบิก = จำนวนวัคซีนที่ต้องการใช้ – ยอดคงเหลือยกมา 2. อัตราสูญเสีย = จำนวนวัคซีนที่เปิดใช้(โด๊ส) – จำนวนผู้มารับบริการ x 100 จำนวนวัคซีนที่เปิดใช้(โด๊ส) 3.จำนวนวัคซีนที่เปิดใช้ = จำนวนขวด x ขนาดบรรจุต่อขวด ขอแสดงความนับถือ ( ……………………………………) ตำแหน่ง ………………………………………… แบบ.ว 3/1

13 แบบฟอร์มการเบิกวัคซีน ว.3/1
การใช้ใบเบิก ว.3/1ทุก แห่ง ลงรายการไม่ครบทุกช่อง

14 (100- อัตราสูญเสีย) x ขนาดบรรจุต่อขวด
การคำนวณจำนวนวัคซีนที่ต้องการใช้ในการให้บริการ 100 x จำนวนเด็ก จำนวนวัคซีนที่ต้องการใช้ (ขวด) = (100- อัตราสูญเสีย) x ขนาดบรรจุต่อขวด สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

15 การคำนวณจำนวนวัคซีนที่ต้องการใช้ในการให้บริการ
หรือจำนวนวัคซีนที่ต้องการใช้ = จำนวน เด็ก x 1.11 (สูญเสีย 10 %) (โด๊ส) = จำนวน เด็ก x 1.33 (สูญเสีย 25 %) = จำนวน เด็ก x 2 (สูญเสีย 50 %) สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

16 การคำนวณอัตราสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง
จำนวนวัคซีนที่เปิดใช้ (โด๊ส) - จำนวนผู้มารับบริการ * จำนวนวัคซีนที่เปิดใช้ (โด๊ส) อัตราสูญเสียของวัคซีน = X 100 * จำนวนวัคซีนที่เปิดใช้ให้รวมวัคซีนที่ทิ้งโดยไม่ได้เปิดใช้ สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

17 สิ่งที่ควรระบุไว้ในทะเบียนรับ-จ่ายหรือสต็อกการ์ด
ชื่อของวัคซีน หรือตัวทำละลาย จำนวนโด๊ส/ขนาดบรรจุ วันที่รับวัคซีนและวันที่จ่ายวัคซีน ผู้ผลิตวัคซีน/ผู้นำเข้าวัคซีน รุ่นการผลิต(Lot number) วันหมดอายุ(Expiration date)

18 ทะเบียนรับ-จ่ายวัคซีนหรือสต๊อคการ์ด

19 การบรรจุและการขนส่ง  
พาหนะที่ใช้ในการขนส่งวัคซีน : ต้องไม่ทำให้ วัคซีนสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง

20 กระติกวัคซีน   Vaccine carrier ใช้ในการขนส่งหรือเก็บวัคซีนชั่วคราว
เหมือนหีบเย็น แต่มีขนาดเล็กกว่า ควรเก็บความเย็นได้นาน 48 ชั่วโมง  ควรมีไอซ์แพคขนาดพอดีกับกระติก Vaccine carrier

21 การจัดเรียงวัคซีนลงในกระติก/ หีบเย็น
ควรนำไอซ์แพคออกมาวางนอกตู้เย็นจนมีหยดน้ำเกาะก่อน แล้วจึงวางรอบกระติกทั้ง 4 ด้าน ห่อวัคซีนแล้ววางไว้กลางกระติก / หีบเย็น ปิดฝาให้สนิท ระหว่างให้บริการ ห้ามวางวัคซีนบนไอซ์แพคที่ยังเป็นน้ำแข็ง แต่ควรวางในแผ่นโฟมที่อยู่ในกระติกวัคซีน

22 Vaccine carrier with foam-pad
ถ้ามีขวดวัคซีนที่เปิดใช้แล้วให้เสียบขวดวัคซีนไว้ที่แผ่นฟองน้ำ จะทำให้วัคซีนไม่ปนเปื้อนเมื่อวางแช่อยู่ในน้ำที่ก้นกระติก Vaccine carrier with foam-pad สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

23 ถ้าไอซ์แพคในหีบเย็น/กระติกวัคซีนละลายหมด
ทิ้งวัคซีนที่ผสมใช้แล้วทุกขวด ตรวจสอบเครื่องหมาย VVM ที่อยู่ข้างขวดวัคซีนแต่ละขวด ถ้าสีในสี่เหลี่ยมมีความเข้มน้อยกว่าสีที่อยู่ในวงกลม ให้เก็บ วัคซีนขวดนั้นเข้าตู้เย็นให้เร็วที่สุด ถ้าไม่มีเครื่องหมาย VVM และวัคซีนอยู่ในอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น ประมาณ 2-3 ชั่วโมง รีบนำเก็บวัคซีนในตู้เย็น และวางไว้ใน กล่องที่เขียนว่า “ใช้ก่อน” และใช้วัคซีนเหล่านี้ก่อนขวดอื่น

24 ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำแข็งแทนไอซ์แพค
ให้นำน้ำแข็งใส่ถุงและวางไว้ก้นกระติก ใส่วัคซีน น้ำยาละลาย ในถุงพลาสติกและปิดปากถุงไว้เพื่อ ป้องกันไม่ให้ฉลากหลุดลอกเมื่อน้ำแข็งละลาย วางห่อวัคซีนโดยมีแผ่นกระดาษหนาวางกั้นน้ำแข็ง ไม่ให้ วัคซีนสัมผัสน้ำแข็งโดยตรง ห้ามวางน้ำแข็งบนห่อวัคซีน

25 การเก็บรักษาวัคซีน อุปกรณ์และการดูแลรักษา

26 การเก็บรักษาวัคซีน อุปกรณ์และการดูแลรักษา
คุณสมบัติของตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีน สามารถรักษาอุณหภูมิได้คงที่ตลอดทั้งปี เก็บรักษาความเย็นไว้ได้นาน เมื่อไฟฟ้าดับ มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 10 ปี ใช้ในการจัดเก็บวัคซีนเพียงอย่างเดียว สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

27 การจัดเก็บวัคซีนในตู้เย็น
ควรเก็บวัคซีนไว้ในกล่อง โดยเฉพาะวัคซีนที่ไวต่อแสง (M, MMR, BCG) วางกล่องวัคซีนไว้ในตะกร้าโปร่ง เพื่อให้ความเย็นไหลเวียนได้ทั่วถึง ติดป้ายชื่อวัคซีนที่ชั้นวางหรือ ตะกร้าเพื่อป้องกันการหยิบผิด วางเทอร์โมมิเตอร์ไว้ตรงกลาง วัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัด

28 เก็บวัคซีนที่หมดอายุก่อนไว้ด้านนอกหมดอายุหลังไว้ด้านใน (First Expire First Out) เพื่อให้การหยิบใช้เป็นไปตามลำดับ

29 ไม่เก็บยา/อาหาร/เครื่องดื่มในตู้เย็นที่เก็บวัคซีนเนื่องจากจะทำ ให้เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยขึ้น อุณหภูมิไม่คงที่

30 ห้ามเก็บวัคซีนทุกชนิดไว้ที่ฝาประตูตู้เย็น
30

31 ในช่องแช่แข็งไม่ควรมีน้ำแข็งเกาะหนาเกิน 5 มม.

32 ไม่ควรมีเข็มปักคาขวดวัคซีนเพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อน
32

33 ควรมีขวดใส่น้ำวางไว้ในช่องล่างของตู้เย็น เพื่อช่วยเก็บ รักษาความเย็น

34 มีปลั๊กเสียบแยกโดยเฉพาะตู้เย็น
มีปลั๊กเสียบแยกโดยเฉพาะตู้เย็น

35 การปฏิบัติกรณีไฟฟ้าดับ
กรณีไฟดับไม่เกิน 3 ชั่วโมง - ให้นำไอซ์แพคหรือขวดน้ำที่แช่แข็งแล้วลงมาวางไว้ที่ชั้นล่างแล้วให้ปิด ประตูตู้เย็นไว้ตลอดเวลาจนกว่าไฟฟ้าจะมา - ให้ย้ายวัคซีนไปเก็บในหีบเย็น หรือกระติกที่มีไอซ์แพคหรือน้ำแข็งมาก เพียงพอ พร้อมกับเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ แล้วให้เพิ่มน้ำแข็ง หรือเปลี่ยนไอซ์แพค เมื่อตรวจสอบพบว่าอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นมากกว่า 8°C กรณีไฟดับนานหลายวัน -ประสานกับสถานบริการอื่นล่วงหน้า เพื่อนำฝากวัคซีนต่อไป

36 หน่วยงานควรจัดทำแผนผังควบคุมกำกับการปฏิบัติงานกรณีฉุกเฉินติดไว้ในที่ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย โดยจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบและผู้อื่นสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

37 การใช้อุปกรณ์ควบคุมกำกับอุณหภูมิ
Vaccine Vial Monitor : VVM Freeze watch : FW Computerized data logger Thermometer

38 การควบคุมกำกับอุณหภูมิโดย VVM
VVM บ่งชี้ว่าวัคซีนขวดนั้นๆสัมผัสความร้อนมามากเกินไปหรือไม่แต่ VVM ไม่บอกว่าวัคซีนสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นจัด (freezing temperature) สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

39

40 How to read a vaccine vial monitor

41 Freeze watch: FW FW ใช้ในการเตือนเรื่องอุณหภูมิที่เย็นจัด และวางไว้กับวัคซีนที่ไวต่อ ความเย็นจัด ได้แก่ -DTP, TT, dT (freezing point °c) -HB, Hib liq., DTP-HB, DTP-HB-Hib (freezing point - 0.5°c) -JE liq., Influenza (freezing point - 0.8°c) No Freezing Freezing! สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

42 SHAKE TEST ทำเมื่อสงสัยว่ามีวัคซีนผ่านการแช่แข็งมาก่อน
แช่แข็งวัคซีน 1 ขวด เพื่อเป็น Control (Lot.no. เดียวกัน, ผู้ผลิตเดียวกัน) เมื่อวัคซีนแช่แข็งเต็มที่แล้ว นำออกมารอละลาย เมื่อละลายแล้ว เขย่าดูการตกตะกอนเปรียบเทียบกับวัคซีนขวดที่สงสัยว่าถูกแช่แข็ง สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

43 อัตราเดียวกันหรือเร็วกว่า
SHAKE TEST พบวัคซีนชนิดน้ำ สงสัยผ่านการแช่แข็ง ทิ้งวัคซีนขวดนั้น เห็นแข็งตัวชัดเจน YES NO เขย่าขวดวัคซีน ดูการตกตะกอน เปรียบเทียบกับ ขวด control YES NO วัคซีนไม่กระจาย เป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งวัคซีนขวดนั้น YES ทิ้งวัคซีนขวดนั้น อัตราเดียวกันหรือเร็วกว่า ขวด control วัคซีนนำไปใช้ได้ NO

44 DATA LOGGER มี Sensor วัดและบันทึกอุณหภูมิ -40oC ถึง +85oC
ตั้งค่าการทำงานให้บันทึกอุณหภูมิ (เช่น ทุก 30 นาที) แสดงผลเป็นกราฟ, วัน เวลา และอุณหภูมิที่บันทึก แสดงข้อมูลทางสถิติ

45 Thermometer  ควรอ่านค่าอุณหภูมิได้ทั้งค่าบวกค่าลบ
Thermometer จะมีความแม่นยำ (accuracy) ลดลง เมื่อเวลาผ่านไป จึงควรนำไปสอบเทียบ(Calibrate) หรือเปรียบเทียบกับเทอร์โมมิเตอร์ที่ผ่านการสอบเทียบ มาตรฐานแล้ว

46 การวางเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในตู้เย็น
สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

47 การปรับอุณหภูมิในตู้เย็น
ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า +2°c  หมุนปุ่ม Thermostat ไปที่ตัวเลขต่ำกว่าที่ตั้งไว้เดิม ที่จะทำให้อุณหภูมิ อุ่นขึ้น  ตรวจสอบประตูช่องแช่แข็งปิดดีหรือไม่ และขอบยางเสื่อมหรือไม่  ตรวจสอบว่าวัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัดเสื่อมสภาพจากการแช่แข็ง หรือไม่ โดยการทำ Shake test คำเตือน การสัมผัสกับความร้อนทำให้วัคซีนเสียหาย/เสื่อมสภาพน้อย กว่าการถูกแช่แข็ง สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

48 การปรับอุณหภูมิในตู้เย็น
ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า +8°c ตรวจดูว่าตู้เย็นยังทำงาน หรือมีกระแสไฟฟ้าเข้าตู้เย็นหรือไม่ ตรวจสอบประตูทั้ง 2 ช่องว่าปิดดีหรือไม่ ขอบยางเสื่อมหรือไม่ ตรวจสอบช่องแช่แข็งว่ามีน้ำแข็งอุดกั้นไม่ให้ความเย็นไหลลงสู่ช่อง ธรรมดา หรือไม่ ถ้ามีให้ละลายน้ำแข็ง หมุนปุ่ม Thermostat ไปที่ตัวเลขสูงกว่าเดิมที่จะทำให้อุณหภูมิเย็นขึ้น ระหว่างซ่อมตู้เย็น ย้ายวัคซีนไปเก็บไว้ในตู้เย็นอื่น/หีบเย็น/กระติกวัคซีน สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

49 การปรับอุณหภูมิในตู้เย็น
คำเตือน 1. ห้ามปรับ Thermostat ไปที่เย็นกว่า หลังมีไฟฟ้าดับ เพราะอาจทำให้วัคซีนแข็งตัวได้ 2. ห้ามปรับ Thermostat ไปที่เย็นกว่า เมื่อนำวัคซีนที่เบิก มาเก็บในตู้เย็น เพราะอาจทำให้วัคซีนแข็งตัวได้ สนับสนุนข้อมูลโดย ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

50 ขอขอบคุณ ข้อมูลเชิงวิชาการ โดย
ภญ.ศิริรัตน์ เตชะธวัช สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ข้อมูลนำเสนอ โดย ภญ.วรรณิภา ธานีรัตน์


ดาวน์โหลด ppt การบริหารจัดการคลังวัคซีน และระบบลูกโซ่ความเย็น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google