แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมยุวกาชาด

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมยุวกาชาด นางเหรียญทอง คำยอง ครู วิทยฐานะชำนาญพิเศษ โรงเรียนบ้านหนองไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

เพลงยุวกาชาด พวกเรายุวกาชาด พวกเราหมายมาดบำเพ็ญตน เป็นประโยชน์ทั่วไป ไมรังเกียจเดียดฉันท์ พวกเรานั้นภูมิและเต็มใจ บำเพ็ญประโยชน์ทุกคน

คำปฏิญาณตนยุวกาชาด มี 3 ข้อ คือ.. ข้อ 1 ข้าฯ จะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ 2 ข้าฯ จะเป็นมิตรกับคนทั่วไป และจะ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ข้อ 3 ข้าฯ จะรักษาอนามัยของตนเองและ ส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น

กิจกรรมยุวกาชาด เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย มีจิตสำนึกในการทำประโยชน์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสังคมไทย โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจร เน้นทักษะ กระบวนการตั้งแต่ศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมิน ปรับปรุงการทำงาน และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

การจัดกิจกรรมยุวกาชาด วัตถุประสงค์ของกิจกรรมยุวกาชาด ระดับ 1 ป.1-ป.3 ยุวกาชาด ระดับ 2 ป.4 – ป.6 ลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมตาม ข้อบังคับ ลูกเสือแห่งชาติ และวิชาพิเศษ ยุวกาชาด ระดับ 4 ม.4 – ม.6 ยุวกาชาด ระดับ 3 ม.1 – ม.3

หลักการ กิจกรรมยุวกาชาดมีหลักการของการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1. เป็นกิจกรรมที่สร้างพื้นฐานในการคิดและปฏิบัติตามหลักการกาชาดและยุวกาชาดกฎหมายมนุษยชน และสิทธิมนุษยชน รวมทั้งทักษะในการจัดการ ทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ 2. มีความเป็นเอกภาพและมีความหลากหลายในกิจกรรม กล่าวคือ เป็นกิจกรรมที่มีโครงสร้างหลักสูตรยืดหยุ่น ทั้งนี้เพื่อความจำเป็นและความสอดคล้องสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นไทย และความเป็นพลเมืองดีของชาติ 3. สามารถสนองตอบต่อสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ กิจกรรมยุวกาชาด เป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในระบบหน่วย กลุ่ม หมู่ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และ เกิดทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักการกาชาดและยุวกาชาด การคุ้มครอง กฎหมายมนุษยธรรม สิทธิมนุษยธรรม การช่วยเหลือ การรักษาสุขภาพ และสมรรถภาพที่ดี บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจ อันดีจะนำไปสู่สันติภาพ ก่อให้เกิดความสุขในการอยู่ร่วมกันทุกแห่งหน (ข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๖๐ พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวดที่ ๙ ว่าด้วยยุวกาชาด) จึงกำหนดจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้

1. มีอุดมคติในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องการรักษาอนามัยของตนเองและผู้อื่น ตลอดจนพัฒนาตนเองทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรรม และธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ 3. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรรมจริยธรรม และมีจิตใจเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ 4. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. มีสัมพันธภาพและมิตรภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป

การจัดกิจกรรมยุวกาชาด กำหนดโครงสร้างหลักสูตรยุวกาชาดในสถานศึกษาเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ยุวกาชาดระดับ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ยุวกาชาดระดับ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ยุวกาชาดระดับ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

แนวการจัดกิจกรรม การจัดกิจกรรมยุวกาชาด ประกอบด้วยกิจกรรมหลักและกิจกรรมพิเศษ ดังนี้ 1. กิจกรรมหลัก หมายถึง กิจกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่สมาชิกยุวกาชาดทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมหลักประกอบด้วย 4 กลุ่มกิจกรรม คือ 1.1 กลุ่มกิจกรรมกาชาดและยุวกาชาด เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกยุวกาชาดมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์ของกาชาด มีศรัทธาในการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเสียสละ เป็นคนดี มีคุณธรรม ช่วยสร้างสรรค์สังคม เป็นผู้นำในการเผยแพร่กิจกรรมกาชาดและยุวกาชาด กฎหมายมนุษยธรรมระหว่าง

ระหว่างประเทศ ส่งเสริมศักยภาพ คุณค่าของความเป็นมนุษย์ บทบาทชาย-หญิง เป็นผู้มีทักษะชีวิตในการจัดการกับปัญหารอบ ๆ ตัวมีความพร้อมเพื่อการปรับตัวเรื่องต่าง ๆ ในอนาคต ประกอบด้วยสาระที่เกี่ยวกับเรื่อง 1.1.1. กาชาดสากล 1.1.2 สภากาชาดไทย 1.1.3 ยุวกาชาด 1.2 กลุ่มกิจกรรมสุขภาพ เป็นการจัดกิจกรรมให้สมาชิกยุวกาชาดได้ศึกษาและฝึกฝนทักษะการป้องกันชีวิตและสุขภาพ การเสริมสร้างสมรรถภาพ มีความรู้และทักษะในการรักษาอนามัย ของตนเองและส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น การปฐมพยาบาล

และเคหพยาบาลการเตรียมตัวป้องกันอุบัติภัยและภยันตรายต่าง ๆ เช่น มีทักษะในการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดชีวิตครอบครัว อิทธิพลจากสื่อและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยสาระเกี่ยวกับเรื่อง 1.2.1 สุขภาพ 1.2.2 การป้องกันชีวิตและสุขภาพ 1.2.3 กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี เป็น การจัดกิจกรรมให้สมาชิกยุวกาชาดได้รู้จักตนเอง มีระเบียบวินัย มีบุคลิกภาพที่ดี รู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสังคมได้ดีมีความสามัคคี มีสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีกับบุคคลทั่วไป ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตและวัฒนธรรม

ที่แตกต่างกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของยุวกาชาดที่ปฏิบัติงานสร้างเสริมสันติภาพซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำงานในด้านอื่น ๆ ต่อไป ประกอบด้วยสาระเกี่ยวกับเรื่อง 1.3.1 ความสามัคคีและความพร้อมเพรียง 1.3.2 ความมีระเบียบวินัย 1.3.3 สัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี 1.4 กลุ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกยุวกาชาดปฏิบัติตนเพื่อสนองต่ออุดมการณ์และวัตถุประสงค์ของยุวกาชาด มีความภาคภูมิใจ ในวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และมรดกของชาติ

พร้อมที่จะอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและธรรมชาติ เป็นผู้ที่มีความเสียสละ และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมประกอบด้วยสาระเกี่ยวกับเรื่อง 1.4.1 การบำเพ็ญประโยชน์ 1.4.2 การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในแต่ละสาระของกิจกรรมหลักทั้ง 4 กลุ่มกิจกรรม สถานศึกษาสามารถปรับแต่ละสาระมากน้อยแตกต่างกันได้ตามความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สภาพการณ์ปัจจุบันความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน รวมทั้งความพร้อมของสถานศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ ในดุลยพินิจของสถานศึกษา

2. กิจกรรมพิเศษ เป็นกิจกรรมที่จัดเสริมกิจกรรมหลักโดยผู้สอนเป็นผู้กำหนดเวลา ในการจัดกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถพื้นฐานในการดำรงชีวิตในสังคมตามความเหมาะสมกับวัยและความต้องการของท้องถิ่น โดยผู้เรียนสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมตามความถนัดหรือความสนใจ และมีเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดแต่ละกิจกรรม เมื่อผ่านเกณฑ์ผู้เรียนจึงจะมีสิทธิประดับเครื่องหมายกิจกรรมพิเศษนั้น ๆ มีจำนวน ๕๔ กิจกรรม

เงื่อนไข 1. เวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดกิจกรรมยุวกาชาดตามหลักสูตรในแต่ละระดับชั้น สถานศึกษาอาจจัดเวลาได้ตามความเหมาะสมส่วนการจัดกิจกรรมเพื่อรับเครื่องหมายกิจกรรมพิเศษของยุวกาชาดแต่ละประเภทอาจใช้ในเวลาเรียนปกติหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ 2. การจัดกิจกรรม ควรจัดให้มีพิธีเปิดและพิธีปิดกิจกรรม ยุวกาชาดทุกครั้งก่อนที่จะมีการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อเป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเอง โดยปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

2.1 พิธีเปิดกิจกรรมยุวกาชาด 2.1.1 เรียกสมาชิกเข้าแถวครึ่งวงกลมหน้าเสาธง 2.1.2 ชักธงยุวกาชาดขึ้นสู่ยอดเสา 2.1.3 สงบนิ่ง 2.1.4 กล่าวคำปฏิญาณตนยุวกาชาด 2.1.5 ตรวจและรายงาน 2.1.6 นัดหมายและชี้แจง

2.2 พิธีปิดกิจกรรมยุวกาชาด 2.2.1 เรียกสมาชิกเข้าแถวครึ่งวงกลมหน้าเสาธง 2.2.2 นัดหมายและชี้แจง 2.2.3 ชักธงยุวกาชาดลง 2.2.4 เลิกแถว 2.3 กิจกรรมพิธีการ สถานศึกษาควรจัดกิจกรรม พิธีการยุวกาชาด เช่น พิธีเข้าประจำหมู่ พิธีทบทวน คำปฏิญาณตนยุวกาชาดและสวนสนาม พิธีประดับเครื่องหมายต่าง ๆเป็นต้น

2.4 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ยุวกาชาดได้บำเพ็ญประโยชน์ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา 3. ผู้นำยุวกาชาดควรผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาดหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง เช่น หลักสูตรครูผู้สอน หลักสูตรผู้นำ ยุวกาชาด เป็นต้น 4. สถานศึกษาควรให้มีการจัดตั้งหมู่ยุวกาชาดตามข้อบังคับ

การประเมินกิจกรรม การประเมินกิจกรรมยุวกาชาด เป็นกระบวนการทดสอบความสามารถและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งนอกจากพิจารณาความรู้ตามทฤษฎีแล้ว ยังต้องพิจารณาด้าน ความประพฤติ และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมที่เน้นทักษะและการปฏิบัติต่าง ๆ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและการประเมินตามสภาพจริง ซึ่งแบ่งการประเมินผลออกเป็น 1 ส่วน คือ 1. กิจกรรมหลัก เป็นการประเมินผลเพื่อให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์การตัดสิน เลื่อนชั้นหรือจบหลักสูตร โดยการเข้าร่วมกิจกรรมและ ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการประเมินผลตลอดภาคเรียน/ปี โดยวิธีการสังเกตการเข้าร่วม

ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยกำหนดผลการประเมินเป็น “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมครบตามเกณฑ์ ปฏิบัติกิจกรรมและมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์ ไม่ผ่านการปฏิบัติกิจกรรม หรือมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 2. กิจกรรมพิเศษ เป็นการประเมินเพื่อให้ผู้เรียนมีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายกิจกรรมพิเศษได้ เมื่อผู้เรียนสามารถสอบผ่านเกณฑ์ ที่สถานศึกษากำหนด

1. กลุ่มกิจกรรมกาชาดและยุวกาชาด กิจกรรมยุวกาชาด 1. กลุ่มกิจกรรมกาชาดและยุวกาชาด ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 1. กาชาด 1.1 ประวัติกาชาด 1.2 เครื่องหมาย 1.3 กิจกรรมกาชาด 2. ยุวกาชาด 2.1 ประวัติกาชาด 2.2 เครื่องหมาย 2.3 วัตถุประสงค์ของ ยุวกาชาด 2.4 คำปฏิญาณตน 1. กาชาดสากล 1.1 ประวัติ ความ เป็นมา 1.2 หลักการเบื้องต้น ของกาชาด 1.3 กิจกรรมเยาวชน เกี่ยวกับกาชาด 2. กาชาดไทย 2.1 สภากาชาดไทย 2.2 กิจกรรมของสภา 1 กาชาดสากล 1.1ภารกิจของกาชาด 1.2หลักการกาชาด 1.3 กฎหมายมนุษยธรรม ระหว่างประเทศ 2.1 กาชาดและ 2.2 ภารกิจของ กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

1. กลุ่มกิจกรรมกาชาดและยุวกาชาด กิจกรรมยุวกาชาด 1. กลุ่มกิจกรรมกาชาดและยุวกาชาด ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 3. ยุวกาชาด 3.1 ประวัติ ความเป็นมา 3.2 วัตถุประสงค์ 3.3 คำปฏิญาณ 3.4 ระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับ ยุวกาชาด สภากาชาดไทย 2.3 หน่วยงานของ 2.4 ข้อบังคับของ 3.1 คำปฏิญาณตน 3.2 ระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับยุวกาชาด 3.3 ยุวกาชาดกับ กิจกรรมของสภา กาชาดไทย

กิจกรรมยุวกาชาด 2. กลุ่มกิจกรรมสุขภาพ ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 1. สุขภาพได้แก่การ เสริมสร้างสุขภาพ ส่วนบุคคล 2. สมรรถภาพ ได้แก่ การสร้างเสริมสร้าง สมรรถภาพด้าน การประชาสัมพันธ์ 3. การป้องกันชีวิต และสุขภาพ ได้แก่ เคหพยาบาล ส่วนบุคคลและ ส่วนรวม การเคลื่อนไหว เบื้องต้น การพัฒนาระบบ หมุนเวียนโลหิตและการออกกำลังกาย กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

กิจกรรมยุวกาชาด 2. กลุ่มกิจกรรมสุขภาพ ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 3.1 เคหพยาบาล 3.2 ปฐมพยาบาล 3. การป้องกันชีวิต และสุขภาพ ได้แก่ เคหพยาบาล กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

3. กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี กิจกรรมยุวกาชาด 3. กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 1. ความสามัคคีและ ความพร้อมเพรียง 2. ความมีระเบียบวินัย และความอดทน 2.1 ฝึกทักษะ ระเบียบแถว 2.2 การเข้าแถว 2.3 การเดินแถว 2.4 เกมกีฬา เบ็ดเตล็ด 3. ความสง่างาม และความ คล่องแคล่วว่องไว 3.1 ฝึกทักษะ กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

3. กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี กิจกรรมยุวกาชาด 3. กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 3.2 การปฏิบัติ ตามคำสั่ง 3.3 การปฏิบัติ ตามกฎกติกา 3.4 การเดิน สวนสนาม 4. บุคลิกภาพและ มารยาทสังคม 4.1 มารยาท เด็กไทย 4.1 มารยาทและ วัฒนธรรมไทย กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

3. กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี กิจกรรมยุวกาชาด 3. กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 4.2 การปฏิบัติตน ให้ร่าเริง 4.3 การบริหาร ร่างกาย 5. การสร้าง สัมพันธภาพ 5.1 การสื่อความหมาย 5.2 การสะสมและ แลกเปลี่ยน 4.1 การปรับตัว 4.3 การแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้า 4.4 การสร้าง บุคลิกภาพ ๕. การสร้าง สัมพันธภาพและ ความเข้าใจอันดี ๕.๑ การสร้าง กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

3. กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี กิจกรรมยุวกาชาด 3. กลุ่มกิจกรรมสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 5.3 การปรับตัว ในการอยู่ร่วม กับผู้อื่น 5.2 การประชา- สัมพันธ์และ เผยแพร่ กิจกรรม ยุวกาชาด 5.3 การทำงาน และอยู่ร่วม กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

4. กลุ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมยุวกาชาด 4. กลุ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 1. การบำเพ็ญ ประโยชน์ 1.1 ฝึกทักษะ การดูแลตนเอง 1.2 การใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ 1.3 การบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อ บุคคล 1.1 การบำเพ็ญ ต่อบุคคล 1.2 การบำเพ็ญ ต่อสถานที่ 1.3 การมีส่วนร่วม ในโครงการบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

4. กลุ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมยุวกาชาด 4. กลุ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) 2. ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 2.1 ธรรมชาติ 2.2 การใช้ทักษะ ในการรักษา สภาพแวดล้อม 1.2 การบำเพ็ญ ประโยชน์ ต่อสถานที่ 1.3 การมีส่วนร่วม ในโครงการ บำเพ็ญประโยชน์ ต่อชุมชน 2. การอนุรักษ์ ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 2.1 ธรรมชาติและ และสังคม 2. การพัฒนา และเผยแพร่ 2.1 ฝึกทักษะ ในการอนุรักษ์ กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

4. กลุ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมยุวกาชาด 4. กลุ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ยุวกาชาดระดับ 1 (ป.1-ป.3) ยุวกาชาดระดับ 2 (ป.4 – ป.6) ยุวกาชาดระดับ 3 (ม.1 – ม.3) ยุวกาชาดระดับ 4 (ม.4 – ม.6) สิ่งแวดล้อม 2.2 การดูแลรักษา 2.3 การนำไปใช้ ให้เกิด ประโยชน์ กิจกรรมชมรม/ ชุมนุมยุวกาชาด

การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เกณฑ์การประเมิน 1.เวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม 2.การปฏิบัติกิจกรรม 3.ผลงาน/ชิ้นงาน ตามเกณฑ์ ไม่ตามเกณฑ์ ประเมิน ไม่ผ่าน ผ่าน ซ่อมเสริม ส่งผลการประเมิน

ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การให้ระดับผลการเรียน ผลการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระดับการประเมิน ผ่าน ไม่ผ่าน