1. นางสาวกัลยารัตน์ แสนประกอบ รหัส

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
อินเดีย : มุมมองด้านการศึกษาที่เป็นความต้องการของสังคมไทย
Advertisements

33701 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 3
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 2
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 11
Information Technology and Public Management
การเมืองกับการบริหาร
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ขั้นที่ 1 ออกแบบ โครงสร้างการ ประเมิน ผลสัมฤทธิ์ ขั้นที่ 2 ประเมินผลการ ปฏิบัติราชการ รายบุคคล (Performance Management.
สรุปผลการนำเสนอแผนงานโครงการ ของ คปสอ. ปีงบประมาณ 2557.
4 การวัด การวิเคราะห์ และ การจัดการความรู้ Measurement Analysis and Knowledge Management State Enterprise Performance Appraisal.
ขอบเขตการศึกษาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์. โครงสร้างและอำนาจ หน้าที่ ขอบเขตการศึกษาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์ บุคลากร กระบวนการ.
ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. ....
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan - IDP
ระบบการกำกับ ติดตามประเมินผล กรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ พ.ศ.2560
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
แนวทางการตรวจประเมินองค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment)
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมเจ้าท่า
Principle of Public administration หลักรัฐประศาสนศาสตร์
การพัฒนา ระบบบริหารกองทัพเรือ ภายใต้กรอบการจัดการภาครัฐแนวใหม่
การตลาดในเศรษฐกิจยุคใหม่ (Marketing in the New Economy)
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐPMQA สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน
Dr. Mano Choondee. By Director of Angthong
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
หน่วยที่ 2 การวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
บทที่ 3 ระบบสารสนเทศกับการบริหารองค์กร
การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน การบูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐ
มองชุมชนไทยผ่านกรอบ Amartya Sen
การปฏิรูประบบราชการไทย กับการพัฒนาตนและระบบงาน
การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระบบบัญชาการเหตุการณ์
ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
หลักการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค.
๑. หลักการบริหารงานทั่วไปและการบริหารทางการพยาบาล
แบบทดสอบ ความพร้อมทางอาชีพ
การสร้างความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียน: บทบาทผู้ปกครองและครู
เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
โดย ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์
แนวทางการจัดทำคำของบประมาณเพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาจังหวัด
การสัมมนาวิชาการ ปขมท.
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
รศ 211 พัฒนาการประวัติศาสตร์การปกครองไทย PO 211Thai Governance and Politics in Historical Development อาจารย์นนท์ น้าประทานสุข Office Hour: Monday-Friday.
บทที่ 7: นโยบายของรัฐและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาการเกษตร
บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
โครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผศ.ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนวคิดหลัก 1. Systematic 2. Sustainable 3. Measurable
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
SERVICE MARKETING การตลาดบริการ • ความหมายของการบริการ • ความสำคัญของการบริการ • ความแตกต่างระหว่างสินค้าและการบริการ • ประเภทธุรกิจบริการ.
1. ชื่อวิชา  PPA 1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
โดย ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์
การตลาดในเศรษฐกิจยุคใหม่ (Marketing in the New Economy)
แนวคิดและตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์ เพื่อการถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการ
การจัดการและแนวความคิดทางการจัดการ
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง
หลักการจัดการ Principle of Management
หัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
Program Evaluation Achakorn Wongpreedee, Ph.D.
การจัดการงานคลังและงบประมาณ ครั้งที่ 5 อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
องค์การและการจัดการ Organization and management (Mpp 5504)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นัทนิชา หาสุนทรี สาขา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การปกครองท้องถิ่นไทย PPA 1103
ใบสำเนางานนำเสนอ:

1. นางสาวกัลยารัตน์ แสนประกอบ รหัส 57441421 Entrepreneurial Governance หรือ รัฐบาลเชิงประกอบการ 1. นางสาวกัลยารัตน์ แสนประกอบ รหัส 57441421 2. นางสาวพรกมล รุ่งเรื่อง รหัส 57441467 3. นางสาวณัฏฐนันท์ โพธิ์ทอง รหัส 57441441 4. นางสาวจันทิมา พิมพ์เงิน รหัส 57441426 5. นางสาวพัฒนุช ไชยสิทธิ์ รหัส 57441470 6. นายแทนตะวัน บุญคุ้ม รหัส 57441449 7. นายสันติชัย ช้างมูบ รหัส 57441498 8. นายชนินทร์ สุทธิสาร รหัส 57441437

รัฐบาลเชิงประกอบการ พื้นฐานของการจัดการเชิงประกอบการ (Fundamentals of Entrepreneurial Management) แนวคิด หลักการ และการปฏิบัติทางการจัดการเชิงประกอบการ (Entrepreneurial Management: Concepts, Principles and Practices) รากฐานของการจัดการเชิงประกอบการ  คือ วัฒนธรรมและสังคมแห่งการประกอบการ นำเสนอ อ ดร. เพ่ง บัวหอม

นิยามของคำว่า “ผู้ประกอบการ” Alfred Marshall นักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี  อธิบายถึงผู้ประกอบการว่าเป็น “ผู้ที่ดำเนินการทางธุรกิจโดยนำปัจจัยการผลิต  แรงงาน ต้นทุนเพื่อที่จะผลิตสินค้าหรือบริการให้เพิ่มมากขึ้น” David  McClelland  นักพฤติกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่เน้นสัมฤทธิผลและแรงจูงใจ  ได้ให้นิยามของผู้ประกอบการว่าเป็น “คนที่จัดการและดำเนินธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยยอมรับความเสี่ยงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไร” William  Bygrave  จาก Babson College ซึ่งแม้จะเป็นคำนิยามที่สั้น แตก็่ฟังดูง่ายและสมศักดิ์ศรีผู้ประกอบการเป็นที่สุด มีใจความว่า “ผู้ประกอบการคือคนที่เล็งเห็นโอกาสและสร้างการจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่โอกาสอำนวย”  จากคำจำกัดความเราคงจะเริ่มมองเห็นเค้าลางแล้วว่าการจัดการเชิงประกอบการจะมีความเกี่ยวพันกับลักษณะการบริหารจัดการของผู้ประกอบการอย่างแน่นอน  

ผู้ที่ศึกษาทฤษฏีการเชื่อมโยงการประกอบการกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด น่าจะได้แก่ David  McClelland  นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Harvard  ที่ได้ทำการศึกษารูปแบบค่านิยมซึ่งดำรงอยู่ในสังคมก่อนที่จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและเขียนเรื่องนี้ไว้ในหนังสือชื่อ  The Achieving  Society McClelland   เริ่มต้นโดยตั้งสมมติฐานว่าความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กันกับการมีวัฒนธรรมที่ต้องการความสำเร็จในสังคม ยิ่งมีวัฒนธรรมที่ต้องการความสำเร็จแพร่หลายมากเท่าไหร่ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจก็มีมากขึ้นตามไปด้วย  ซึ่งถือเป็นความรู้สึก ความต้องการ แรงขับที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้ทำสิ่งนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปได้ โดยไม่ได้คาดหวังที่จะได้มาซึ่งอำนาจ  ความรัก  การเป็นที่ยอมรับ  หรือแม้แต่ผลกำไร

ระบบราชการกับสภาพการเปลี่ยนแปลง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของกระแสโลกาภิวัตน์ (globalization) ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารทำได้สะดวกและรวดเร็ว โลกจึงอยู่ในสภาวะไร้พรมแดน ประชาคมโลกได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอย่างง่ายดาย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วน รวมถึงระบบราชการและการจัดการของภาครัฐด้วย ทำให้เกิดการแสวงหาความคิดและแนวทางปฏิบัติใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่ง Weber เป็นบุคคลแรกที่ได้เสนอตัวแบบที่ใช้ต่อเนื่องกันมายาวนานนี้ ซึ่งตัวแบบองค์การขนาดใหญ่ที่มีระเบียบแบบแผนในอุดมคติของเวเบอร์ที่ระบบราชการนำมาใช้นั้นได้ผสมผสานกับแนวความคิดหรือทฤษฎีทางด้านการบริหารหรือการจัดการของนักวิชาการและนักปฏิบัติอีกหลายท่าน เช่น Wilson (as cited in Shafritz & Ott, 2001, p. 9)  ที่เสนอให้แยกการเมืองออกจากการบริหาร (politics-administration dichotomy)  โดยฝ่ายการเมืองเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายและฝ่ายบริหารมีหน้าที่นำเอานโยบายไปปฏิบัติ แนวความคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของ Taylor (1967) หลัก POSDCORB และหลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (unity of command) ของ Gulick (1937) เป็นต้น  จนได้กลายเป็นตัวแบบที่สำคัญของระบบราชการและการบริหารงานภาครัฐของประเทศต่าง ๆ

การจัดการภาครัฐสมัยใหม่: กระแสสู่การปฏิรูปงานภาครัฐ แนวความคิดการจัดการภาครัฐสมัยใหม่ (The New Public Management) เป็นการสอดแทรกทางนโยบาย (policy intervention) ในการบริหารงานของรัฐบาลนั้น ๆ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการเชิงระบบ (systematic management) และการวิเคราะห์นโยบาย (policy analysis) ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการบริหารงานภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณภาพ หลายประเทศจึงมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการตลอดมา  แต่เนื่องจากระบบราชการ หรือองค์การภาครัฐมีขนาดที่ใหญ่โตกว่าภาคเอกชนมากการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาที่ผ่านมาเมื่อเปรียบเทียบกับภาคเอกชนแล้วถือว่าช้ามาก ดังนั้น ช่วงต้นทศวรรษ 1990 การจัดการภาครัฐสมัยใหม่เห็นภาพชัดมากขึ้นในรูปแบบของแนวความคิดในการยกเครื่องรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา (reinventing government) ภายใต้การนำของ National Performance Review (NPR) ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในยุคของประธานาธิบดีบิล คลินตัน ซึ่งต้องการเปลี่ยนระบบราชการให้เป็นรัฐบาลเชิงประกอบการ (entrepreneurial government)  เป็นการยกเครื่องกันใหม่เลยทีเดียว

การปฏิรูประบบราชการในปัจจุบัน เริ่มต้นกล่าวถึงสภาพปัญหาหลักของระบบราชการไทยอันนำไปสู่การปฏิรูประบบราชการ จากนั้นจะกล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550) โดยภาพรวม เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การจัดการคุณภาพในองค์การภาครัฐ ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดดังต่อไปนี้ สภาพปัญหาของระบบราชการไทย  ได้แก่ ประการแรก ความล้าสมัยหรือล้าหลังของระบบราชการไทย ประการที่สอง ความย่อหย่อนประสิทธิภาพของระบบ ระบบราชการที่เป็นอยู่ไม่สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนและสังคมที่เปลี่ยนไป ประการที่สาม ปัญหาคุณภาพของข้าราชการ  ประการที่สี่ การทุจริตประพฤติมิชอบ

แผนพัฒนาระบบราชการไทย “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 – 2550)” เพื่อเป็นแผนแม่บทในการปฏิรูประบบราชการฉบับล่าสุดและมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีสาระสำคัญที่น่าสนใจพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ วิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการไทย ในการสร้างความเป็นเลิศของระบบราชการไทย 2. เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทย เป้าประสงค์หลัก หรือผลลัพธ์สุดท้ายที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบราชการไทยตามวิสัยทัศน์ใหม่ 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ หรือผลลัพธ์ที่พึงปรารถนา

การจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) กับการพัฒนาคุณภาพบริการภาครัฐ การผลักดันแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550) ไปสู่การปฏิบัติจริง จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ ประการแรก การตราและบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารราชการที่ดี ประการที่สอง การใช้วิธีสร้างแรงจูงใจในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานต่าง ๆ สมัครใจ คิดค้นวิธีการและวางเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ประการที่สาม การสร้างกระแสแรงกดดันจากบุคคลภายนอก โดยเฉพาะบรรดาสื่อมวลชน นักวิชาการ ธุรกิจเอกชน องค์การประชาสังคมและประชาชน เพื่อเร่งรัดให้หน่วยงานราชการต้องดำเนินการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการทำงานของตนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ประการที่สี่  การติดตามและประเมินผล

สังคมแห่งการประกอบการ (An Enterprising Society) เพราะมีความเชื่อว่าผู้ประกอบการโดยเฉพาะในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากในแต่ละประเทศทั่วโลกนั้นมีจำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นจำนวนถึงร้อยละ80-90แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือความจริงที่ว่าหากเราปราศจากความเข้าใจในการประกอบการที่แท้จริงและการส่งเสริมพัฒนาการประกอบการที่เข้มแข็ง ก็จะไม่มีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจเช่นกัน สังคมแห่งการประกอบการไม่ใช่แค่เรื่องการสร้างผู้ประกอบการเหมือนดังเช่นการส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการใหม่แล้วหวังว่าสังคมนี้จะเป็นสังคมแห่งการประกอบการอันที่จริงแนวคิดในการฟูมฟักการประกอบการควรประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ลึกซึ้ง ที่เกี่ยวข้องกับทั้งด้าน การพัฒนาคน เปลี่ยนตัวแบบแนวคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมคนในสังคม การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการประกอบการ การเชื่อมโยงคนเข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นโอกาส การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเกี่ยวกับเทคนิคหรือการผลิต การเงิน การตลาดและการจัดการ การเปลี่ยนระบบการศึกษาใหม่ที่มุ่งการเรียนรู้จากการปฎิบัติ ไม่ใช่แค่ฟังบรรยาย

การประกอบการในฐานะที่เป็นรูปแบบของการจัดการ (Entrepreneurship: A Style of Management) คำว่า “การประกอบการ” (Entrepreneurship) ในประเทศเรามักจะเข้าใจว่าเป็นการประกอบธุรกิจเพราะว่ามีความเกี่ยวพันโดยตรงกับผู้ประกอบการ(Entrepreneur) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการใหม่กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ดังที่ได้เกริ่นนำมาแล้ว กล่าวคือ การประกอบการเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการ (A style of management) ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นงานที่เกี่ยวกับอาชีพอื่นนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจหรือแม้แต่การใช้ชีวิตส่วนตัว ถ้าจะพูดไปแล้วไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามในชีวิตนี้ถือเป็นการประกอบการทั้งสิ้น เช่น การเป็นครูก็สามารถเป็นครูเชิงประกอบการ (enterprising teacher)

ความเชื่อและความจริงเกี่ยวกับผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ประกอบการโดยรวมเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างงาน เฉพาะผู้ประกอบการของ dynamic companies เท่านั้นที่เป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างงาน  ผู้ประกอบการที่พึ่งพาตนเองและมีความอุตสาหะสูงจะทำให้กิจการมีการเติบโตพัฒนาขึ้น ผู้ประกอบการที่ยอมรับและใช้การบริหารจัดการแนวใหม่  สร้างตัวขึ้นมาจากทีมงานหรือการร่วมแรงร่วมใจก่อให้เกิด dynamic companies ผู้ประกอบการที่มีการเติบโตจะมุ่งเน้นตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ผู้ประกอบการของ dynamic companies จะมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายที่ตนมั่นใจว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการเป็นผู้นำหรือเป็นผู้ท้าชิงที่แข็งแกร่ง ผู้ประกอบการที่มีการเติบโตมุ่งเป้าไปที่ตลาดในประเทศที่ตนมีความได้เปรียบ ผู้ประกอบการของ dynamic companies จะเปิดโอกาสให้กับตนเองในการเจาะตลาดส่งออกเสมอเพื่อให้บริษัทได้เรียนรู้และเติบโต ผู้ประกอบการที่ประสบผลสำเร็จจะใช้การลดต้นทุนการผลิตเป็นกลยุทธ์หลักในการแข่งขัน ผู้ประกอบการของ dynamic companies จะแข่งขันที่คุณภาพการคิดค้นนวัตกรรมและการให้บริการที่เหนือกว่า

การแปลงรูปแบบการจัดการในองค์กรนวัตกรรม จากการจัดการแบบดั้งเดิมสู่การจัดการเชิงประกอบการ ความแตกต่างระหว่างวิธีการจัดการแบบดั้งเดิม (Traditional Management Approach) กับการจัดการเชิง ประกอบการ (Entrepreneurial Management) เป็นความเข้าใจพื้นฐานสำคัญในการที่จะนำหรืออำนวยการ ขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรนวัตกรรม   อย่างไรก็ตามในการพัฒนาและปรับปรุงศิลปะทางด้านการจัดการและการดำเนินการภายในองค์กร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เรียกกันว่า Emerging Industries Emerging Industries จึงเป็นตัวการสำคัญในการผลักดันให้เกิดแนวความคิดใหม่ทางการจัดการ อันเนื่องมาจากความจำเป็นขององค์กรที่ต้องการนวัตกรรมที่เป็นเลิศและการธำรงรักษาไว้ของความเยี่ยมยอดทางนวัตกรรม ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีความแตกต่างที่มากกว่าแนวคิดของผู้บริหารมืออาชีพแบบดั้งเดิม (Traditional Professional Manager) เพียงอย่างเดียวดังที่เป็นเช่นทุกวันนี้ Emerging Industries เป็นอุตสาหกรรมที่ท้าทายในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ไปยังสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และในที่สุด คือ การค้า ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้จัดการเชิงประกอบการ (Entrepreneurial Manager) จึงต้องเกี่ยวข้องกับทั้งวิชาการการจัดการใหม่ ๆ เพื่อที่จะสามารถประสบความสำเร็จในการประสานเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับการค้าที่บริษัทระดับโลกกำลังแข่งขันกัน ส่วนผสมที่ลงตัวที่สุด คือ การจัดการเชิงประกอบการกับการจัดการแบบมืออาชีพ

ผู้จัดการเชิงประกอบการ (Entrepreneurial Manager) Entrepreneurial Manager ถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าภาวะผู้นำมีนัยสำคัญในการสร้างให้องค์กรสามารถตอบสนองและรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เป็นความเสี่ยงของทั้งรัฐบาลและเอกชนที่ต้องประเมินให้ดีเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงองค์กรการศึกษาและการฝึกอบรมของทั้งผู้จัดการตลอดจนทรัพยากรบุคคลทั้งหลาย  หมายความว่า Entrepreneurial Manager จำเป็นต้องใส่ใจด้านเทคโนโลยีนอกเหนือจากงานด้านการจัดการ  ความเป็นจริง คือ Entrepreneurial Manager และ Traditional Manager ในองค์กรใหญ่ บางครั้งไม่สามารถไปด้วยกันได้ สิ่งสำคัญสำหรับการจัดการเชิงประกอบการในที่นี้จะหมายถึงการเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับการพัฒนาตลาดใหม่ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสองอย่างที่สำคัญ เนื่องจากการอยู่รอด การประสบความสำเร็จ และการเจริญเติบโตขององค์กรในการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดโลก