มหาชาติคำหลวง เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษากับวัฒนธรรมไทย อาจารย์จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์
ความหมาย มหาชาติ แปลว่า พระชาติที่ยิ่งใหญ่หรือพระชาติที่สำคัญ คำหลวง หมายถึง หนังสือที่มีลักษณะดังนี้ ๑. พระมหากษัตริย์ทรงพระราชนิพนธ์หรือโปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งขึ้น ๒. แต่งด้วยคำประพันธ์หลายชนิดทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและร่าย เช่น มหาชาติคำหลวง พระมาลัยคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระนลคำหลวง เป็นต้น ๓. มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา
เหตุใดเวสสันดรชาดกจึงเป็นชาติที่สำคัญ เวสสันดรชาดกเป็นชาดกที่ปรากฏพระบารมีของ พระโพธิสัตว์ ที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรครบถ้วนทั้ง๑๐ประการเรียกว่า “ทศบารมี” คือทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตาและอุเบกขา ทานบารมี ทรงบริจาคบุตรทาน หมายถึงการทำทานโดยสละบุตรและภรรยา คือพระชาลี พระกัณหา และพระนางมัทรี
มหาชาติ/มหาเวสสันดรชาดก พระเวสสันดรนี้เป็นพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนได้เสวยพระชาติเป็นโอรสของเจ้ากรุงสญชัยแล้วสำเร็จโพธิญาณ ปรมัตถบารมี จึงถือว่าเป็นพระชาติสำคัญ เรียกว่า “มหาชาติ” มหาชาติเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มหาเวสสันดรชาดก”
ประวัติความเป็นมาของมหาชาติ มหาชาติน่าจะมีตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่ต้นฉบับสูญหายไป การเทศมหาชาติก็น่าจะเริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยด้วยเช่นกัน โดยสวดเป็นภาษาบาลีที่ เรียกกันว่า คาถาพัน
“มหาชาติคำหลวง” ผู้แต่ง-น่าจะเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแปลจากมหาชาติภาษาบาลี ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังปรากฏในตอนท้ายของกัณฑ์ทศพรว่า “บรรพบริบูรณ์คำหลวง เลือกล้วนผู้ปรีชานิพนธ์ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโน้นฯ”
เวลาการแต่ง แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๕ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติว่า “ศักราช๘๔๔ ขาลศก ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วัน ฉลองวัด พระศรีมหาธาติ แล้วทรงนิพนธ์ มหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์” ต้นฉบับหนังสือมหาชาติคำหลวงได้สูญหายไป ๖ กัณฑ์ เมื่อครั้งเสียกรุง ศรีอยุธยาแก่พม่า ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งกัณฑ์ที่ขาด ๖ กัณฑ์ คือ กัณฑ์หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพและฉกษัตริย์ ขึ้นใหม่ เมื่อปีจอ พ.ศ.๒๓๕๘ หนังสือมหาชาติ คำหลวงจึงมีฉบับบริบูรณ์มาจนทุกวันนี้
จุดมุ่งหมายในการแต่ง วรรณคดีเรื่อง มหาชาติคำหลวง แต่งไว้ใช้สวดให้อุบาสกอุบาสิกาฟังเวลาไปอยู่บำเพ็ญการกุศลที่ในวัด เวลาวันนักขัตฤกษ์ เช่น วันเข้าพรรษา ออกพรรษา หรือเทศกาลอื่น ๆ ประเพณีอันนี้ยังมีมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ลักษณะคำประพันธ์ คำประพันธ์ในมหาชาติคำหลวงประกอบด้วย ร่าย โคลง กาพย์ ฉันท์ ยกเว้น กลอน โดยแยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ดังนี้ ดำเนินด้วยร่ายล้วนๆ มี ๗ กัณฑ์ คือ กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์วนประเวศน์ กัณฑ์ชูชก กัณฑ์กุมาร กัณฑ์สักรบรรพและ นครกัณฑ์ ดำเนินด้วยร่ายและคำประพันธ์ชนิดอื่นปนกัน มี ๖ กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์ กัณฑ์จุลลพน กัณฑ์มหาพน กัณฑ์มัทรี กัณพ์มหาราช และกัณฑ์ฉกกษัตริย์
วิธีการประพันธ์ – ยกเอาคาถาภาษาบาลีเดิม ตั้งขึ้นหนึ่งบท แล้วแปลและแต่งเป็นภาษาไทยสลับกันไป โดยใช้คำประพันธ์หลากหลายประเภท การแต่งจะพยายามให้เนื้อความใกล้กับความต้นฉบับเดิมให้มากที่สุด
ตัวอย่างคำประพันธ์ในมหาชาติคำหลวง “สตฺ อันว่าพระสรรเพ็ชญ์พุทธอยู่เกล้า อุปนิสฺสาย เจ้ากูธเสด็จอาศรัย กปิลวตฺถํ แก่พิชัยกบิลพัศดุ์ บุรีรัตนพิศาล วิหรนฺโต ธเสด็จสิงสำราญสำริทธิ์ นิโครธาราเม ในพิจิตรนิโคธาราม อารพฺภ พระผู้ผจญเบ็ญจกามพิษัย ตั้งหฤทัยเสด็จเฉพาะ โปกฺขรวสฺสํ อนุเคราะห์แก่โบษขรพรรษธาราอิทํ ธมฺมเทสนํ ยงง พระธรรมเทศนามาธู คาถาสหสฺสปฏิมณฺฑิตํ อันบริบูรณ์ประดับนิด้วยคาถาถึงสหัส อักษรอรรถบเอฯ”
เนื้อเรื่องย่อ แบ่งเป็น ๑๓ กัณฑ์ ๑.กัณฑ์ทศพร กล่าวถึงความเป็นมาของฝนโบกขรพรรษ เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จไปโปรดพระบิดาและพระประยูรญาติ ได้เกิดฝนโบกขรพรรษ พระสงฆ์สาวกทูลอาราธนาให้แสดงเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก เริ่มจากพระนางผุสดี พระชายาของพระอินทร์ รับพรสิบประการจากพระอินทร์ก่อนจุติจากสวรรค์ลงมาเป็นพระมารดา ของพระเวสสันดร
๒.กัณฑ์หิมพานต์ กล่าวถึงพระนางมัทรีทูลพรรณนาป่าหิมพานต์ถวายพระเวสสันดร เมื่อพระองค์ถูกขับออกพระนครเพราะได้พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์
๓.ทานกัณฑ์ พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญสัตตสดกมหาทาน คือบริจาคของเจ็ดสิ่ง สิ่งละเจ็ดร้อย ได้แก่ ช้าง ม้า โค รถ ทาสหญิง ทาสชาย นางสนม
๔.กัณฑ์วนปเวศน์ พระเวสสันดรออกจากพระนครเข้าสู่ป่าใหญ่ ที่เขาวงกตเพื่อบำเพ็ญพรต โดยมีพรานเจตบุตรเฝ้าทางเข้าป่าไว้
๕.กัณฑ์ชูชก ชูชกได้นางอมิตตาเป็นภรรยา ชูชกออกเดินทางไปขอสองกุมาร พบพรานเจตบุตรว่าจะมาอัญเชิญพระเวสสันดรกลับไปครองเมือง
๖.กัณฑ์จุลพน พรานเจตบุตรเชื่อคำลวงของชูชกจึงชี้ทางไปสู่เขาวงกตให้
๗.กัณฑ์มหาพน ชูชกไปถึงอาศรมของ อจุตฤาษี อจุตฤาษีบอกทางให้ไปสู่อาศรมพระเวสสันดร
๘.กัณฑ์กุมาร ชูชกเข้าเฝ้าพระเวสสันดรทูลขอสองกุมาร แล้วพาจากไป
๙.กัณมัทรี พระนางมัทรีกลับมาไม่พบสองกุมารจึงเศร้าโศกจนสลบไป พระเวสสันดรจึงเล่าความทั้งหมด ให้นางมัทรีจึงอนุโมทนาด้วย
๑๐.กัณฑ์สักบรรพ พระอินทร์แปลงกายเป็นพราหมณ์มาทูลขอพระนางมัทรี พระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญ ทารบริจาค
๑๑.กัณฑ์มหาราช พระเจ้ากรุงสญชัยไถ่สองกุมารจากชูชก แล้วเลี้ยงอาหารจนชูชกท้องแตกตาย แล้วจึงเสด็จไปรับพระเวสสันดรและนางมัทรี
๑๒.กัณฑ์ฉกกษัตริย์ หกกษัตริย์ได้พบกันก็ดีใจจนสลบไป ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ประพรมจึงฟื้นขึ้น
๑๓. กัณฑ์นครกัณฑ์ พระเวสสันดรกลับสู่นครสีพี แล้วขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสีพี
คุณค่าของมหาชาติคำหลวง ๑. ประเพณีการเทศน์มหาชาติ มหาชาติหรือเวสสันดรชาดกประกอบด้วยพระคาถาภาษาบาลี จำนวน ๑,๐๐๐ พระคาถา ลักษณะการเทศน์เรียกว่า เทศน์คาถาพันหรือเทศน์มหาชาติ
ประเพณีนิยมเทศน์คาถาพันนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมีมาตั้งแต่รัชสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กรุงสุโขทัย ครั้นถึง รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้มีความรู้ในด้านพระพุทธศาสนามากขึ้น จึงมีรับสั่งให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงขึ้น
ประเพณีการเทศน์มหาชาติ การเทศน์มหาชาติเป็นที่นิยมกันอย่างยิ่งและมีทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีการแปลแต่งภาษาบาลีเป็นภาษาไทยหรือภาษาถิ่น ภาคกลาง เรียกว่า เทศน์มหาชาติ ภาคเหนือ เรียกว่า ตั้งธรรมหลวง ภาคอีสานเรียกว่า งานบุญพระเวส
ประวัติการเทศน์มหาชาติ เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัย (จารึกวัดนครชุม) “...อันว่าพระไตรปิฎกนี้จักหายและหาคนรู้จักแท้แลมิได้เลย ยังมีคนรู้คั่นสเล็กสะน้อยไซร้ธรรมเทศนา อันเป็นต้นว่าพระมหาชาติ หาคนสวดแลมิได้เลย”
สมัยอยุธยา มหาชาติคำหลวง (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) กาพย์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก
สมัยรัตนโกสินทร์ - มีการจัดเทศน์มหาชาติเป็นการใหญ่และเป็นประจำ - รัชกาลที่ 1 โปรดให้จัด 2 ครั้ง และเป็นพระราชประเพณีที่สืบทอดในรัชกาลต่อ ๆ มา รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำรัสว่า “การพระราชกุศลเทศนามหาชาติถือว่าเป็นเทศนาสำหรับแผ่นดิน...”
ช่วงเวลาการเทศน์มหาชาติ แต่ก่อนนิยมจัดกันตั้งแต่ออกพรรษาแล้วไปจนถึงสิ้นเดือน ๑๒ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เลื่อนมามีในเดือนอ้ายส่วนในปัจจุบันนี้ ประเพณี นิยมจัดกันหลังออกพรรษาแล้วจนถึงเดือน ๔ หรือไม่ก็ตามสะดวก ไม่กำหนดไว้
องค์ประกอบในพิธี พระสงฆ์ นั่งบนธรรมาสน์ อุบาสกอุบาสิกา เครื่องบูชา เช่น ธูป เทียน ดอกไม้สด สำหรับถวายบูชากัณฑ์เทศ และให้ผู้เข้าร่วมพิธีจุดบูชาถวาย สถานที่ นิยมนำ ธง ฉัตร สายสิญจน์ ผลไม้และกิ่งไม้มงคลมาประดับ วงดนตรี
วิธีการเทศน์มหาชาติ 1. การเทศน์แบบเรียงกัณฑ์ เทศน์ที่ละกัณฑ์ ๆ ละ 1 รูป 2. การเทศน์แบบประยุกต์ คือย่อเรื่องราวให้ครบ 13 กัณฑ์ 1,000 คาถา เทศน์ให้จบในหนึ่งวัน มีหลายธรรมาสน์ได้ อาจมีตัวแสดงประกอบ
ความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของการฟังเทศน์มหาชาติ - เชื่อว่าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ จบภายในวันเดียว ผู้นั้นก็จะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือ ๑) จะได้เกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยซึ่งจะมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ๒) จะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร ๓) จะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติวินิบาต ๔) จะเป็นผู้มีลาภ ยศ ไมตรี และความสุข ๕) จะได้บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
เหตุปัจจัยที่ทำให้ผู้คนทำกุศลในการเทศน์มหาชาติมากกว่าบุญกุศลรูปแบบอื่นนี้ มาจาก ๓ ปัจจัยดังนี้ ๑) เรื่องมหาชาตินี้เป็นพระพุทธวจนะที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานเทศนาแก่พระภิกษุสงฆ์พุทธบริษัท ณ นิโครธาราม ในกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นเรื่องจริงที่ออกจากพระโอษฐ์โดยตรง เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงเล่า เมื่อผู้ใดได้สดับพระพุทธวจนะด้วยความเชื่อความเลื่อมใสก็ย่อมจะเกิดสิริสวัสดิมงคลแก่ชีวิตของผู้นั้น และเป็นการสร้างสมปัญญาบารมีทางธรรม อันจะเป็นปุพเพกตปุญญตาสำหรับตนสืบต่อไปในภายหน้า
๒) เชื่อกันสืบมาว่า พระศรีอริยเมตไตรยเทพบุตรซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ต่ออายุพระพุทธศาสนาของพระศรีศากยมุนีสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ไปซึ่งอุบัติอยู่ในเทวโลกสวรรค์นั้น ได้มีเทวโองการสั่งพระมาลัยเถระผู้มีบุญญาภินิหารอย่างยิ่งได้ขึ้นไปถึงสวรรค์ชั้นนั้นให้มาบอกแก่มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ว่า ถ้าผู้ใดมีความปรารถนาจะใคร่ประสบพบพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยซึ่งนิยมกันว่า บุคคลผู้จะเกิดทันศาสนาพระศรีอริยเมตไตรยนั้นล้วนเป็นผู้ได้สร้างสมอบรมบุญบารมีธรรมไว้สมบูรณ์แล้ว พร้อมที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน จึงเป็นมนุษย์ที่มีความเจริญทุกประการ เป็นที่เกษมศานติ์อย่างยิ่งยวด เป็นต้นว่ารูปก็งาม เพราะเกิดจากผลานิสงส์ที่ได้บำเพ็ญศีลบารมีอย่างสมบูรณ์ จึงมีรูปสวยงามเหมือนกันหมด จนลงจากบันไดเรือนแล้วก็จำหน้ากันไม่ได้ เพราะมีหน้าสวยงามเหมือนกัน จะปรารถนาสิ่งใดก็ได้สมประสงค์ ด้วยมีต้นกัลปพฤกษ์สำหรับจะให้ผู้ที่นึกไหนได้นั่น เพราะเกิดจากผลานิสงส์ที่ได้บำเพ็ญทานมาอย่างสมบูรณ์
เป็นคนมีสติปัญญาดี เพราะเกิดจากผลานิสงส์ที่ได้บำเพ็ญภาวนามาอย่างสมบูรณ์ย่อมไม่มีคนพิกลพิการต่าง ๆ เช่นคนตาบอด หูหนวก บ้าใบ้ วิกลจริต เป็นต้น แผ่นดินก็ราบเรียนเสมือนหน้ากลอง ที่สุดจนน้ำในแม่น้ำก็เต็มเปี่ยมฝั่งจนกระทั่งกาก้มดื่มได้ น้ำก็ไหลขึ้นข้างหนึ่งไหลลงอีกข้างหนึ่งอยู่เป็นนิตย์ และทุกคนที่เกิดทันศาสนาพระศรีอริยเมตไตรยแล้วย่อมได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ดังนี้เป็นต้นแล้ว ก็จงให้ผู้นั้นสดับฟังเวสสันดรชาดกอันประดับด้วยพระคาถา ๑,๐๐๐ พระคาถา ในวันและราตรีเดียวให้จบ และให้บูชาด้วยประทีปธูปเทียน ธงฉัตร สารพันดอกไม้ ดอกบัว ดอกจงกลนี ราชพฤกษ์ ดอกผักตบ ให้ครบจำนวนถ้วนสิ่งละหนึ่งพัน ผลานิสงส์นั้นจะชักนำให้สมมโนรถจำนงฉะนี้ เพราะเหตุนี้ ผู้ซึ่งมุ่งหมายจะใคร่พบพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย จึงตั้งใจบำเพ็ญบารมีธรรมในการสดับฟังเทศน์มหาชาตินี้เป็นประจำสืบ ๆ กันมา
๓) การเทศน์มหาชาตินี้ ผู้เทศน์แสดงด้วยกระแสเสียงเป็นทำนองไพเราะต่าง ๆ กัน สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้สดับฟังให้เกิดปีติโสมนัสรื่นเริงบันเทิงใจ ทำให้เกิดความซาบซึ้งในรสแห่งพระธรรมเทศนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุนี้ ผู้ที่หวังความปราโมทย์ก็ย่อมมุ่งหมายที่จะบำเพ็ญบุญกุศลด้วยการสดับฟังเทศน์มหาชาตินี้ เพราะอาศัยประโยชน์ที่จะเกิดจากการสดับฟังเทศน์มหาชาติประกอบด้วยมูลเหตุที่สำคัญ ๓ ประการดังกล่าวแล้ว พุทธศาสนิกชนทั้งหลายผู้มุ่งถึงประโยชน์จะเกิดมีแก่ตน จึงมีความเห็นว่าการที่ตนได้สดับฟังพระพุทธวจนะเรื่องมหาชาติหรือเรื่องเวสสันดรชาดกนี้ ถือกันว่าเป็นบุญกุศลเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ไม่ผิดกับการได้สดับพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรหรือพระอนัตตลักขณะสูตรอันเป็นความดีส่วนหนึ่งแล้ว ยังสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจดีกว่าการบำเพ็ญทานมัยกุสลอย่างอื่น ๆ
มหาชาติสำนวนต่างๆ มหาชาติภาคกลาง มหาชาติภาคกลางเรียกว่า มหาเวสสันดรชาดก เป็นผลงานของกวี ๖ คน ได้แก่ ๑) กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์วนปเวศน์ กัณฑ์จุลพน กัณฑ์สักกบรรพ กัณฑ์มหาราช และ นครกัณฑ์ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ๒) กัณฑ์วนปเวศน์ กัณฑ์จุลพน และกัณฑ์สักกบรรพ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๓) กัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี งานนิพนธ์เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ๔) ทานกัณฑ์ งานนิพนธ์ของกวีสำนักวันถนน ๕) กัณฑ์ชูชก งานนิพนธ์ของกวีสำนักวัดสังข์กระจาย ๖) กัณฑ์มหาพน ผลงานของพระเทพโมลี (กลิ่น)
มหาชาติภาคอีสาน เชื่อกันว่า กวีโบราณชาวอีสานแต่งไว้ โดยเรียบเรียงจากฉบับหลวงที่มีมาแต่อาณาจักรล้านช้าง แต่งเป็นร่ายยาว ใช้คำง่าย ไม่เน้นการพรรณนาอย่างพิสดาร มหาชาติภาคอีสาน นั้นมีหลายสำนวนแต่ละวัดต่างใช้ฉบับของท้องถิ่นและคัดลอกสืบต่อมา ชาวอีสานส่วนใหญ่ได้รับวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมาโดยตลอด และพิธีบุญพระเวส หรือ บุญเผวสหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญมหาชาติ มีการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่ง ในระหว่างออกพรรษาจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก
๓. มหาชาติภาคเหนือ สำนวนที่น่าสนจำได้แก่ มหาชาติสำนวนสร้อยสังกร และสำนวนที่รวบรวมโดย พระอุบาลีคุณูปมาจราย์ แต่งเป็นร่ายยาวที่มีคำคล้องจอง สัมผัสกันไปในแต่และวรรค เป็นมหาชาติที่มีเนื้อความและสำนวนภาษาคล้ายกับมหาชาติของภาคเหนืออีกสำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่า สำนวนไม้ไผ่แจ้เจียวแดง ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยอยุธยา และเป็นต้นแบบของมหาชาติภาคเหนืออื่นๆ
๔. มหาชาติภาคใต้ สำนวนที่น่าสำนวนที่น่าสนใจ เช่น พระมหาชาดก ฉบับ วัดมัชฌิมาวาส จังหวัด สงขลา ไม่ปรากฏผู้แต่ง ทราบเพียงชื่อผู้ที่ทำการคัดลอก คือ พระภิกษุญีมเซ่า คัดลอกลงในสมุดข่อย เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแต่งเป็นกาพย์ยานี๑๑ กาพย์ฉบัง๑๖ กาพย์สุรางคนางค์๒๘ และมาลีนีฉันท์๑๕ มหาชาติทางภาคใต้นั้นเน้นการพรรณนามากว่าภาคเหนือและภาคอีสาน แต่น้อยกว่าภาคกลางโดยเน้นแสดงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เช่น เรื่องอาหาร พรรณไม้ ภูมิประเทศ เป็นต้น
๒. เป็นอิทธิพลทำให้เกิดวรรณคดีในสมัยต่อมา - กาพย์มหาชาติ – สันนิษฐานกันว่าแต่งขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กาพย์มหาชาติมีศัพท์บาลีน้อย มีภาษาไทยมาก เข้าใจว่าคงจะแต่งสำหรับพระเทศน์ให้สัปบุรุษทั้งหลายเข้าใจเรื่องง่ายขึ้นกว่ามหาชาติคำหลวง - มหาชาติกลอนเทศน์ – ใช้สำหรับสวด เนื้อหากระชับเพื่อให้สวดจบภายในหนึ่งวัน
๓. งานจิตรกรรมฝาผนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องมหาชาติ ภาพจิตรกรรมฝาผนังบริเวณซุ้มหน้าต่าง วัดชนะสงคราม เรื่องมหาชาติ
ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหาร วัดศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.ลำพูน กัณฑ์ทศพร
ภาพจิตรกรรมฝาหนัง เรื่องมหาชาติ กัณฑ์ทานกัณฑ์ วัดราชาธิวาส
ภาพจิตรกรรมฝาหนัง เรื่องมหาชาติ กัณฑ์มัทรี วัดราชาธิวาส
สวัสดีค่ะ