กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

ประวัติความเป็นมาของการเห่เรือ

การเห่เรือ เป็นกิจกรรมที่ควบคู่มากับการเดินทางทางน้ำ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1. การเห่เรือในงานพระราชพิธี "การเห่เรือหลวง" 2. การเห่เรือสำหรับเที่ยวเตร่หรือในงาน "เห่เรือเล่น" ปัจจุบันการเห่เรือเล่นลดความสำคัญลงไป คงมีแต่การเห่เรือหลวง ที่ดำรงอยู่และถือเป็นโบราณราชประเพณีที่ต้องรักษาไว้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไป ที่มาของการเห่เรือนั้น ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเป็นประเพณี ของชนชาติต่าง ๆ หลากหลายชนชาติที่มีเรือพายใช้ เช่น อินเดีย จีน ญวน เป็นต้น

            การเห่เรือ ของไทยนั้น นอกจากจะให้ความรื่นเริงแล้ว ยังเป็นการให้จังหวะเพื่อให้พลพายพายพร้อมกัน โดยทำเป็นทำนองเห่เรือ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการให้พลพายพายช้าหรือเร็ว เช่น ขณะเริ่มออกเรือ ขณะพายเรือตามน้ำ จะใช้ทำนอง ช้าลวะเห่ เมื่อเรือจวนถึงที่ประทับจะใช้ทำนอง สวะเห่ ถ้าต้องการให้พายหนักจังหวะเร็วจะใช้ทำนอง มูลเห่ สำหรับคนเห่หรือต้นบท ต้องเลือกคนที่มีเสียงดีและเสียงดังพอให้ได้ยิน ไปทั่วลำเรือ

บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรนี้ เป็นการชมพยุหยาตราทางชลมารคที่นำมาเป็นบทเรียน ประกอบด้วย เห่ชมเรือกระบวน เห่ชมปลา เห่ชมไม้ เห่ชมนก และเห่ครวญ ทรงนิพนธ์ขึ้นสำหรับเห่เรือพระที่นั่ง ส่วนพระองค์เมื่อตามเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ออกเดินทางจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปถึงท่าเจ้าสนุก

โดยแบ่งออกเป็น 5 บท ดังนี้ คือ 1. ในเวลาเช้า พรรณนากระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค 2. ในเวลาสาย เป็นการพรรณนาชมปลาต่างๆ 3. ในเวลาบ่าย เป็นการพรรณนาชมพันธุ์ไม้ต่างๆ 4. ในเวลาเย็น เป็นการพรรณนาชมนกต่างๆ 5. ในยามค่ำคืน เป็นบทจบด้วยการเห่ครวญถึงนางผู้เป็นที่รัก

ในเวลาเช้า เป็นการพรรณนากระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่ง เป็นการพรรณนากระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่ง ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ ต่างๆ ได้แก่ เรือครุฑหยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงส์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือราชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี

เรือเสือทยานชล และ เรือเสือคำรณสินธุ์ การจัดรูปกระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) กระบวนเรือประกอบไปด้วย ริ้วกระบวน ๕ ริ้ว ใช้เรือรวมทั้งสิ้น ๕๒ ลำ ระยะต่อระหว่างลำ ๔๐ เมตร เว้นเรือพระที่นั่ง ๘๐ เมตร ระยะเคียงระหว่างริ้ว ๒๐ เมตร ความยาวของกระบวน ๑,๒๐๐ เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีเรือประเภทต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตรา ดั้งนี้ เรือประตูหน้า เป็นเรือนำเริ้วกระบวน ประกอบด้วยเรือ ๒ ลำ เป็นเรือลำหน้าสุดของริ้วที่ ๒ และ ริ้วที่ ๔ ใช้เรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เรือพิฆาต เป็นเรือรบที่อยู่ในริ้วที่ ๒ และ ริ้วที่ ๔ ถัดจากเรือประตูหน้าเข้ามาในกระบวน หัวเรือเป็นรูปเสือ มีปืนจ่ารงตั้งที่หัวเรือ ได้แก่ เรือเสือทยานชล และ เรือเสือคำรณสินธุ์

เรือดั้ง ๑ - ๒๒ โดยเลขคี่อยู่ด้านขวาและเลขคู่อยู่ด้านซ้าย เรือดั้ง เป็นเรือไม้ทาน้ำมัน บางลำทาสีทอง (เรือดั้ง ๒๑ และ เรือดั้ง ๒๒) ไม่มีลวดลาย ใช้สำหรับเป็นเรือรอบนอกของกระบวนโดยอยู่ในริ้วขวาสุดและริ้วซ้ายสุด ริ้วนอกด้านหน้าของกระบวนมี ๑๑ คู่ หรือ ๒๒ ลำ ได้แก่ เรือดั้ง ๑ - ๒๒ โดยเลขคี่อยู่ด้านขวาและเลขคู่อยู่ด้านซ้าย เรือกลองใน - เรือกลองนอก เป็นเรือกราบ อยูในริ้วกลางหรือริ้วที่ ๓ มีปี่ชวาและกลองแขกสำหรับบรรเลง มี ๒ ลำ ได้แก่ เรือกลองใน (เรือแตงโม) อยู่บริเวณกลางกระบวนข้างหน้าเรือพระที่นั่ง เป็นเรือสำหรับผู้บัญชาการกระบวนเรือ และ เรือกลองนอก (เรืออีเหลือง) อยู่หน้าสุดของริ้วกลาง เป็นเรือสำหรับรองผู้บัญชาการกระบวนเรือ

เรือตำรวจใน - เรือตำรวจนอก เป็นเรือกราบ มีพระตรวจหลวง ชั้นปลัดกรม มี ๒ ลำ ได้แก่ เรือตำรวจใน อยู่ในริ้วกลางหน้าเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และ เรือตำรวจนอก อยู่ถัดจากเรือตำรวจใน เรือรูปสัตว์ เป็นเรือแกะสลัก หัวเรือเป็นรูปขุนกระบี่ รูปอสูร รูปพญาวานร และรูปครุฑ ปัจจุบันมีอยู่ ๘ ลำ หรือ ๔ คู่ จัดให้อยู่ใน ริ้วกระบวนที่ ๒ และ ริ้วกระบวนที่ ๔ อยู่ถัดระดับเรือตำรวจนอกเข้ามาโดยมีตำแหน่งเรือ คือ ริ้วที่ ๒ เรืออสุรปักษี, เรือกระบี่ปราบเมืองมาร, เรือสุครีพครองเมือง, เรือครุฑเตร็จไตรจักร ริ้วที่ ๔ เรืออสุรวายุภักษ์, เรือกระบี่ราญรอนราพน์, เรือพาลีรั้งทวีป, เรือครุฑเหินเห็จ

ต่อจากเรือพระที่นั่งรอง (เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์) เรือพระที่นั่ง จัดว่าเป็นเรือสำคัญที่สุดและสง่างามที่สุดในกระบวน ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งทรง ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งรอง ได้แก่ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือคู่ชัก เป็นเรือที่ทำหน้าที่นำเรือพระที่นั่ง โดยอยู่ทางเบื้องขวาเฉียงไปข้างท้าย คือ เรือเอกไชยเหินหาว และอยู่ทางเบื้องซ้ายเฉียงไปทางข้างท้าย คือ เรือเอกไชยหลาวทอง เรือตำรวจตาม ใช้เรือกราบกัญญา เป็นพาหนะของพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ที่ตามเสด็จในกระบวน มีตำแหน่งเรืออยู่ในริ้วกลาง ต่อจากเรือพระที่นั่งรอง (เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์)

เรือแซง ใช้เรือกราบกัญญา เป็นเรือทหาร เรือแซงเสด็จทั้ง ๒ ข้าง ของเรือพระที่นั่ง โดยอยู่ในริ้วกระบวนนอกสุดของกระบวน มี ๖ ลำ หรือ ๓ คู่ โดยแซงด้านขวา ๓ ลำ ได้แก่ เรือแซง ๑, เรือแซง ๓, เรือแซง ๕ และแซงด้านซ้าย ๓ ลำ ได้แก่ เรือแซง ๒, เรือแซง ๔, เรือแซง ๖ นอกจากนั้นยังจัดเรือแซงปิดท้ายริ้วกลางของกระบวนต่อจากเรือตำรวจตามอีก ๑ ลำ คือ เรือแซง ๗ เรือประตูหลัง ใช้เรือกราบกัญญา คือ เรือแซง ๕ และ เรือแซง ๖

เรือสุวรรณหงส์

เรือมังกร

เรือครุฑยุดนาค

เรือเอกชัยเหินหาว

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ รัชกาลที่ 5

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช รัชกาลที่ 6 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช รัชกาลที่ 6

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9