ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยพัชรพร เคนเนะดิ ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
Tips การตรวจรับบ้าน Part 1 : อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจรับบ้าน ลำดับ
วิธีการใช้งาน 1. อุปกรณ์จดบันทึก ใช้สำหรับจดบันทึกรายละเอียดต่างๆในการตรวจรับบ้าน 2. แปลนบ้าน ใช้อ้างอิงบริเวณต่างๆของบริเวณบ้านได้ง่ายและชัดเจนเพิ่มมากขึ้น 3. สติ้กเกอร์ ใช้สำหรับมาร์คจุด และเขียนรายละเอียดงานที่ต้องแก้ในจุดนั้น 4. ไฟฉาย ใช้สำหรับส่องในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ เช่น ฝ้าเพดาน หรือ ช่องท่อต่างๆ 5. ผ้า ใช้สำหรับเช็ดบริเวณที่น้ำซึมรวมถึงใช้อุดช่องระบายน้ำ เพื่อขังน้ำไว้ในบริเวณต่างๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการระบายน้ำ 6. ไม้บรรทัด ใช้ไม้บรรทัดที่มีขนาดยาว เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบระนาบต่างๆว่ามีความเรียบเสมอกันหรือไม
2
Tips การตรวจรับบ้าน Part 1 : อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจรับบ้าน ลำดับ
วิธีการใช้งาน 7. ลูกแก้ว เพื่อตรวจสอบความลาดเอียงในที่ต่างๆของบ้าน 8. ขนมปัง ใช้แทนของสิ่งปฏิกูลต่างๆเพื่อตรวจสอบการไหลเวียนของระบบสุขภัณฑ์ “ให้เลือกแบบที่ไม่มีขอบขนมปัง” 9. กล้องถ่ายรูป ใช้สำหรับบันทึกจุดที่ต้องการให้โครงการแก้ไขการบันทึกภาพควรบันทึกภาพโดยการเรียงตามลำดับให้ ตรงกับรายการที่จดไว้ 10. อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น โคมไฟ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสามารถเสียบกับปลั๊กไฟฟ้าได้ เพื่อทดสอบระบบไฟฟ้ านั้นว่าใช้งานได้หรือไม 11. โทรศัพท์บ้าน (แบบใช้ถ่าน) ใช้เพื่อตรวจสอบระบบโทรศัพท์ภายในบ้านว่าสามารถใช้ ติดต่อกันได 12. ไขควงวัดไฟฟ้า ใช้สำหรับตรวจสอบว่าจุดใดมีไฟฟ้าไม่มีไฟฟ้ า สามารถใช้ ตรวจสอบระบบสายดินและการต่อสายไฟที่ผิดประเภท “ควรให้ผู้ที่มีความชำนาญตรวจสอบ “
3
Tips การตรวจรับบ้าน Part 1 : อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจรับบ้าน ลำดับ
วิธีการใช้งาน 13. ถุงมือและรองเท้ายาง ใช้สำหรับสวมใส่เพื่อความปลอดภัยเวลาตรวจระบบไฟฟ้า เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าที่อาจจะลัดวงจรวิ่งเข้าสู่ร่างกาย 14. ตลับเมตร ใช้สำหรับตรวจวัด เช็คระยะของสัดส่วนต่างๆภายในบ้าน เช่น ขั้นบันได ลูกตั้ง ลูกนอน เป็นต้น 15. ที่วัดระดับน้ำ ใช้สำหรับตรวจวัดระดับของพื้นบ้าน เพื่อเช็คความสม่ำเสมอกันของพื้น
4
Tips การตรวจรับบ้าน Part 2 : หัวข้อสำคัญในการตรวจรับบ้าน
ตรวจสอบหมุดปักเขตแดนทั้งสี่ทิศ ว่าตรงตามเอกสารหรือไม่ เช็คมิเตอร์น้ำ และมิเตอร์ไฟก่อนจะโอน ตรวจสอบย้อนหลังด้วยว่ามีค่าน้ำ ค่าไฟ คงค้างเอาไว้หรือไม่ จดรายละเอียดเกี่ยวกับ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ลงนามในแบบก่อสร้าง (ชื่อ,นามสกุล,ที่ติดต่อ) ทำเครื่องหมายไว้ ในจุดที่ต้องแก้ไข แล้วถ่ายรูปเก็บไว้ ควรระบุสถานที่และพิกัดให้ชัดเจน ขอใบรับประกันต่างๆ ของบ้าน ( ใบรับประกันการมุงหลังคา ฉีดกันปลวก แอร์ ระบบตัดไฟ ปั้มน้ำ ) ควรขอรายละเอียดของ Spec เบอร์ ”สี” ที่ใช้ เผื่อไว้ในเวลาที่ต้องซ่อมแซมทาสีแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ตรวจนับจำนวนกุญแจให้ครบถ้วนตามสัญญา ให้ความสนใจตรงรอยต่อระหว่างวัสดุกับตรงจุดที่มีการเปลี่ยนของระดับพื้นมากเป็นพิเศษอาจเป็นเพราะว่าตามจุดเหล่านั้น มีโอกาสสูงที่งานก่อสร้างมักไม่ค่อยเรียบร้อย ก่อนโอนรับบ้าน ต้องรอให้งานเรียบร้อยก่อนโอน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.