ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
ศึกษาการใช้วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย นางสาวสมพิศ แซ่เฮง โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
2
ปัญหาการวิจัย วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เป็นวิชาที่ต้องคำนวณ นักเรียนจะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่ายง่ายผู้วิจัยได้สังเกตการเรียนการสอน พบว่า จากการที่ครูผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนในชั้นหลังจากการสอนครูได้ประเมินผล โดยการมอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด และ แบบทดสอบ พบว่านักเรียนบางคนไม่สามารถทำแบบฝึกหัด และทำข้อสอบผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่นักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า และมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน จึงได้หาวิธีการที่จะจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจ และกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น เป็นวิธีการที่ช่วยสนับสนุนวิธีการดังกล่าวได้ทางหนึ่ง โดยให้เพื่อนได้มีบทบาทสำคัญในการเรียน เพื่อมีอิทธิพลในการสร้างความสนใจ จูงใจ และการยอมรับของเพื่อนด้วยกัน การจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน จะใช้วิธีเฟ้นหาเพื่อนที่เก่งช่วยเพื่อนที่เรียนอ่อนทำให้มีผลการเรียนดีขึ้น โดยกำหนดให้มีนักเรียนที่เก่ง คอยช่วยเหลือ แนะนำ อธิบายหัวข้อต่างๆ ที่เพื่อนไม่เข้าใจ คอยติดตามช่วยเหลือจนเข้าใจใน เรื่องนั้น ๆ ความสนิทสนม และใกล้ชิดของกลุ่มทำให้ผู้มีปัญหามีความรู้สึกเกิดการยอมรับ อยากพัฒนาตนเอง จนส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาการใช้วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
4
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ห้องXO02 จำนวน 5 คน ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
5
ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ตัวแปรต้น คือ วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ประยุกต์ 2
6
เรื่องการวัดค่ากลางของข้อมูล
ตารางที่ 1 คะแนนดิบ คะแนนมาตรฐาน ของเรื่องการวัดค่ากลาง ของข้อมูล และค่ามาตรฐาน คนที่ เรื่องการวัดค่ากลางของข้อมูล เรื่องค่ามาตรฐาน คะแนนดิบ คะแนนมาตรฐาน 1 -1.97 5 -0.76 2 -1.62 7 0.51 3 4 -1.39 -1.26 6 -0.13 จากตารางที่ 1 พบว่าคะแนนดิบเรื่องการวัดค่ากลางของข้อมูลมีคะแนนอยู่ระหว่าง 0 ถึง 2 คะแนนแต่เมื่อแปลงเป็นคะแนนมาตรฐานมีคะแนนมาตรฐานอยู่ระหว่าง ถึง ส่วนเรื่องค่ามาตรฐานคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 4 ถึง 7 คะแนนแต่เมื่อแปลงเป็นคะแนนมาตรฐานมีคะแนนมาตรฐานอยู่ระหว่าง ถึง 0.51
7
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่าง คะแนนมาตรฐานเฉลี่ยเรื่องการวัดค่ากลางของข้อมูล และค่ามาตรฐาน
เรื่องค่ามาตรฐาน t P คะแนนมาตรฐานเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน -3.16 .04 -1.54 0.29 -0.51 0.72 จากตารางที่ 2 พบว่าคะแนนมาตรฐานเฉลี่ยเรื่องค่ามาตรฐานเท่ากับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 คะแนน ซึ่งสูงกว่าคะแนนมาตรฐานเฉลี่ยเรื่องการวัดค่ากลางของข้อมูลท่ากับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.29 คะแนน แต่ถ้าเปรียบเทียบความแตกต่าง คะแนนมาตรฐานเฉลี่ยเรื่องการวัดค่ากลางของข้อมูล และค่ามาตรฐานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.04
8
สรุปผลการวิจัย คะแนนมาตรฐานเฉลี่ยเรื่องค่ามาตรฐานซึ่งใช้วิธีสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีคะแนนมาตรฐานสูงกว่าคะแนนมาตรฐานเฉลี่ยเรื่องการวัดค่ากลางของข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.04
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.