ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNawatkorn Samak ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 กฎกระทรวง กำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้าง จ่าย พ. ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 20 กุมภาพันธ์ 2558
2
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2 สรุปสาระสำคัญ 1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่า รักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ. ศ. 2551 2. ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ คณะกรรมการการแพทย์พิจารณาให้ความเห็นว่านายจ้าง ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามความในข้อ 5 หรือ ข้อ 6 ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด 3. การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 หากลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ป่วยในมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน วันละ 1,300 บาท 4. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับรวมถึงลูกจ้างที่ประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วยอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้ บังคับซึ่งเป็นผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นครั้ง แรก และยังคงรักษาพยาบาลอยู่จนถึงวันที่กฎกระทรวงนี้มี ผลใช้บังคับ
3
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 3 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้อง ตรวจสอบ 1. เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่าย ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท 2. ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 2 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตาม ความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้อง ได้รับการผ่าตัดแก้ไข (2) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการ ผ่าตัดแก้ไข (3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิด กะโหลกศีรษะ (4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือราก ประสาท (5) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุล ศัลยกรรม (6) ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ความร้อน ความเย็น สารเคมี รังสี ไฟฟ้าหรือระเบิด จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนัง แท้ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าของพื้นที่ผิวของร่างกาย (7) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
4
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 4 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้อง ตรวจสอบ 3. ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 3 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตาม ความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล ตามข้อ 2 และข้อ 3 แล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างใน ลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1) ถึง (2) ตั้งแต่สอง รายการขึ้นไป (2) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1) ถึง (6) ที่ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอ ผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตั้งแต่ยี่สิบวันขึ้นไป (3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองหรือไขสันหลังที่ จำเป็นต้องรักษาตั้งแต่สามสิบวันติดต่อกัน (4) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรังตาม ข้อ 3 (7) ( ก ) เป็นผลให้อวัยวะสำคัญล้มเหลว ( ข ) กรณีอื่นนอกจาก ( ก ) ให้เป็นไปตามความเห็นของ คณะกรรมการการแพทย์ 4. ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 4 สำหรับลูกจ้าง รายใดไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่ จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้น ตามความเห็นของ คณะกรรมการการแพทย์โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล ตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
5
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 5 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้อง ตรวจสอบ 5. ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 5 สำหรับลูกจ้าง รายใดไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่ จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้น ตามความเห็นของ คณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการ โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล ตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แล้ว ต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท
6
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 6 จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.