ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ทฤษฎีการผลิต
2
หน่วยผลิต คืออะไร ในอดีตการผลิตยังไม่ซับซ้อน ผู้ผลิตซึ่งเป็นผู้ผสมผสานปัจจัย การผลิตคือทุน แรงงาน ที่ดิน การประกอบการของตนเองให้เกิด เป็นผลผลิตโดยผู้ผลิตเองเป็นทั้งผู้ประกอบการ แรงงาน และเจ้าของ กิจการด้วย เช่น ช่างทองหรือช่างไม้ ปัจจุบันการผลิตซับซ้อนเปลี่ยน จากผู้ประกอบการเดี่ยวมาเป็นบริษัท ห้างร้าน อย่างไรก็ดีในทาง เศรษฐศาสตร์ เรียกว่า หน่วยผลิต
3
นิยามการผลิต การผลิต คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพของปัจจัยการผลิต (Input) ให้เป็นสินค้าและบริการ (output) ด้วยเทคโนโลยีที่กำหนด Input เป็นปัจจัยที่ใช้ในการผลิต มีที่ดิน แรงงาน ทุนผู้ประกอบการ Production process คือกระบวนการแปรสภาพเป็นขั้นตอนการผลิต Output คือ สินค้าและบริการ เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการแปรสภาพในขั้น ที่ 2
4
ฟังก์ชันการผลิต (Production Function)
เป็นฟังก์ชันที่บอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณผลิตสูงสุดที่เป็นไปได้ การผสมผสานของปัจจัยการผลิตตางๆอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ กำหนดให้ คือ ปัจจัยการผลิตที่ใช้ Q คือ ผลผลิต
5
การผลิตระยะสั้น (Short run)
การผลิตในระยะสั้น คือ ช่วงระยะเวลาการผลิตที่ปัจจัยการผลิตอย่าง น้อยหนึ่งปัจจัย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ขนาดโรงงาน จำนวน เครื่องจักร ปัจจัยการผลิตในระยะสั้น แบ่งได้ คือ ปัจจัยคงที่ (Fixed input) เป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ในระยะสั้น ปัจจัยแปรผัน (Variable input) เป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้
6
การผลิตระยะยาว (Long run)
การผลิตในระยะยาว คือ ช่วงระยะการผลิตที่ยาวเพียงพอที่จะทำให้ทุก ปัจจัยกลายเป็นปัจจัยแปรผัน นั้นคือ มีระยะเวลายาวพอที่จะสามารถจัดปัจจัยทุกตัว ที่ต้องการมาทำการผลิต ความแตกต่างระหว่างการผลิตระยะสั้นกับระยะยาวนั้นอยู่ที่ผู้ผลิต สามารถปรับให้ปัจจัยทุกตัวเป็นปัจจัย แปรผันได้หรือไม่ถ้าทำได้ถือเป็นระยะยาวแต่ถ้ายังมีปัจจัยการผลิตอย่างน้อย 1 ตัว ยังเป็นปัจจัยคงที่อยู่ก็ถือว่าการผลิตนั้นเป็นระยะสั้น
7
การผลิตในระยะสั้น : ทฤษฎีผลผลิตเพิ่ม
ให้ฟังก์ชั่นการผลิต คือ Q = f (K,L) K คือ ปัจจัยคงที่ L คือ ปัจจัยแปรผัน ผลผลิตรวม (Total product) หรือ TP ปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่ผลิตได้ ผลผลิตเฉลี่ย (Average product) ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อ หน่วยของปัจจัยแปรผัน ผลผลิตเพิ่ม (Marginal product) ปริมาณผลผลิตรวมที่ เปลี่ยนแปลงไปอันเกิดจากการเพิ่มหรือลดปัจจัยผันแปรอีก 1 หน่วย
8
กฎการลดน้อยถอยลงของผลผลิตเพิ่ม (Law of diminishing marginal product)
กฎที่ระบุว่าถ้ามีการใช้ปัจจัยผันแปร 1 ตัว เพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยที่ปัจจัย อื่นๆคงที่ จะทำให้ผลผลิตส่วนเพิ่มของปัจจัยแปรผัน มีค่าลดลงในที่สุด
9
ช่วงการผลิต (Stages of production)
ความสัมพันธ์ระหว่างเส้น และ แบ่งช่อง 3 ช่อง ช่องที่ 1 : ระดับการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดที่ AP มีค่าสูงสุด ช่องที่ 2 : ระดับการผลิตตั้งแต่จุดที่ AP มีค่าสูงสุดจนถึง MP มีค่าศูนย์ การแบ่งช่วงการผลิตเพื่อให้ทราบว่าช่วงการผลิตใดเป็นช่วงที่ควรทำการ ผลิต
10
การผลิตในระยะยาว (Long run)
เพื่อให้เข้าใจง่ายสมมติปัจจัยการผลิตมี 2 ชนิด คือ ทุนและแรงงาน เส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant)(IQ) คือ เส้นที่บอกส่วนผสมต่างๆที่ เป็นไปได้ระหว่างปัจจัยการผลิต 2 ชนิดที่ทำให้ผลผลิตรวมเท่ากัน เส้นต้นทุนเท่ากัน (Isocost)(IS) คือ เส้นที่บอกถึงส่วนผสมของปัจจัย L และ K ที่ทำให้ต้นทุนรวมมีค่าคงที่
11
อัตราการทดแทนทางเทคนิคส่วนเพิ่ม (Marginal Rate of Technical Substitution)
ความชันของเส้นผลผลิตเท่ากันเรียกว่าอัตราการทดแทนทางเทคนิค ส่วนเพิ่ม หรือ จะมีค่าเมื่อปัจจัยทุนและแรงงานสามารถทดแทนกันได้ คือเมื่อ เพิ่มการใช้ปัจจัย L ในการผลิต ก็จะต้องลดปัจจัย K ลงเพื่อให้ได้ผลผลิตเท่า เดิม แนวการขยายขนาดการผลิต (Expansion Path) คือแนวทางเดินของจุดดุลยภาพของส่วนผสมปัจจัยที่ใช้ต้นทุนต่ำสุด ผลได้ต่อขนาด (Returns to Scale) ผลตอบแทนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทุกชนิดมีผลได้ต่อ ขนาดคงที่ เพิ่มขึ้น ลดลง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.