ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 2 มาตรฐานเงินตรา SIRIPORN SOMKHUMPA
2
เงินตราเป็นสิ่งที่แต่ละประเทศต้องผลิตเงินตราให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้จ่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีระบบการค้าแบบเสรีทำให้ทั่วโลกสามารถติดต่อค้าขายกันได้อย่างง่ายดายจึงมีผลทำให้ความต้องการใช้เงินตรามีมากขึ้นจากในอดีต นอกจากปริมาณที่ต้องผลิตเงินตราให้เพียงพอต่อความต้องการใช้แล้วความมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายหน่วยย่อย เพื่อความสะดวกต่อการใช้สอย SIRIPORN SOMKHUMPA
3
ในอดีตมีเงินที่ผลิตออกใช้เป็นเงินมาตรฐาน (Standard Money) เพื่อใช่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและชำระหนี้ที่ทำจากโลหะมีค่า เช่น พวกโลหะทองคำ โลหะเงิน ฯลฯ ในระยะต่อมาเมื่อสภาพการทางเศรษฐกิจ เปลี่ยน แปลงไป เงินตราที่ออกใช้จึงได้เปลี่ยนรูปไปเป็นเงินที่มีค่าไม่เต็มตัว (Token Coin) เช่น เหรียญกษาปณ์ รวมทั่งมีการใช้เงินกระดาษ คือธนบัตร SIRIPORN SOMKHUMPA
4
ประวัติเงินตราและมาตรฐานเงินตราไทย
1. เงินตราของไทยในแต่ละยุกต์ 1.1 เงินตราสุวรรณภูมิ 1.2 เงินตราพนม (ฟูนัน) 1.3 เงินตราทวารวดี 1.4 เงินล้านนา 1.5 เงินตราล้านช้าง 2 ประวัติการผลิตเงินตราไทย 3 เงินตราบนเส้นทางการค้าสมัยโบราณ SIRIPORN SOMKHUMPA
5
มาตรฐานเงินตรา มาตรฐานเงินตรา (Monetary Standard) หมายถึงการกำหนดมูลค่าของเงินหรือหลักแห่งมูลค่าของเงิน โดยให้เกี่ยวพันกับสิ่งที่ใช้เป็นมาตรฐาน และกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีการในการออกเงินตราไว้โดยเรียบร้อย เช่น ประเทศที่อยู่ในมาตราเหรียญทองคำก็ใช่โลหะทองคำเป็นมาตรฐาน หรือเป็นหลักแห่งมูลค่าของเงิน เช่น กำหนดค่าเงินหนึ่งหน่วยจะต้องทำด้วยโลหะทองคำหนักเท่าใด และคิดเป็นมูลค่าเท่าใด นอกจากนั้นอาจมีวิธีการอื่น ๆ อีก เช่น กำหนดให้มีวิธีการทำเหรียญทองคำหรือยุบเหรียญทองคำเป็นเนื้อโลหะได้โดยไม่จำกัดจำนวน หรือกำหนอให้มีการนำเข้า หรือส่งออกทองคำระหว่างประเทศโดยเสรี เป็นต้น SIRIPORN SOMKHUMPA
6
มาตรฐานเงินตราแบบต่าง ๆ
มาตราโลหะเดี่ยว (Mono-metallic Standard) มาตราทองคำ (Gold Standard) มาตราเหรียญทองคำ (Gold Coin Standard) มาตราทองคำแท่ง (Gold Bullion Standard) มาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard) มาตราโลหะเงิน (Silver Standard) SIRIPORN SOMKHUMPA
7
ประโยชน์ของมาตราทองคำ
1. ความมีเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยน 2. ความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อระบบเงินตราของประเทศ 3. เศรษฐกิจของประเทศจะปรับเข้าสู่ดุลยภาพโดยอัตโนมัติ 4. ความสะดวกในการค้า และการชำระหนี้ระหว่างประเทศ SIRIPORN SOMKHUMPA
8
ข้อเสียของมาตราทองคำ
1. การใช้มาตราทองคำไม่เหมาะกับประเทศที่ขาดแคลนทองคำ 2. เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 3. การใช้มาตราทองคำไม่เหมาะสมสำหรับสภาพการณ์ที่ไม่ปกติ 4. เป็นอุปสรรคต่อการกำหนดนโยบายการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ SIRIPORN SOMKHUMPA
9
มาตราโลหะ หรือมาตรฐานเงินตราที่อิงโลหะ (Metallic Standard)
มาตราโลหะคู่ (Bi-metallic Standard) : มาตราโลหะคู่ คือมาตราที่ใช้โลหะสองชนิดเป็นหลักในการเทียบมูลค่า เช่น ใช้โลหะทองคำ และโลหะเงิน ฯลฯ ลักษณะทั่วไปของมาตราโลหะคู่พอบทสรุปได้ดังนี้ กำหนดอัตราส่วนน้ำหนักของโลหะสองชนิดให้แน่นอน อนุญาตให้ผลิตเหรียญตามน้ำหนักที่กำหนดและเหรียญที่กำหนด 3. อนุญาตให้มีการยุบ หรือหลอมเหรียญทองคำ และเหรียญเงินได้โดยเสรี 4. อนุญาตให้โลหะทองคำ และโลหะเงินนำเข้า และส่งออกนอกประเทศ 5. อนุญาตให้นำเงินชนิดอื่น ๆ มาแลกเหรียญทองคำ และเหรียญเงินได้โดยเสรี SIRIPORN SOMKHUMPA
10
บทสรุป เงินตราที่ถูกผลิตในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทางรัฐได้ผลิตเงินตราให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้จ่ายของประชาชนและคู่ค้า โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีระบบการค้าแบบเสรีทำให้ทั่วโลกสามารถติดต่อค้าขายกันได้อย่างง่ายดายจึงมีผลทำให้ความต้องการใช้เงินตรามีมากขึ้นจากในอดีต นอกจากปริมาณที่ต้องผลิตเงินตราให้เพียงพอต่อความต้องการใช้แล้วความมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายหน่วยย่อย เพื่อความสะดวกต่อการใช้สอย SIRIPORN SOMKHUMPA
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.