ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKulap Luang ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือวิธีจิ๊กซอร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการบัญชีร่วมค้าและฝากขาย เรื่อง ลักษณะโดยทั่วไปของการฝากขาย ของนักเรียนชั้น ปวช.2/1 สาขาวิชาการบัญชี ผู้วิจัย นางสาวแวววัน นฤมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ (M-BAC)
2
ปัญหาการวิจัย วิชาการบัญชีร่วมค้าและฝากขาย เรื่อง ลักษณะโดยทั่วไปของ การฝากขาย ในบทเรียนที่เป็นหน่วยเกี่ยวกับเนื้อหา ทฤษฏี ทั้งหมด โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยายประกอบหนังสือเรียน จากการสังเกตผู้สอนพบปัญหาว่านักเรียนส่วนใหญ่เกิด ความเบื่อหน่าย ไม่ตั้งใจฟัง เนื่องจากเป็นหน่วยที่เป็น เนื้อหา ทฤษฎี ทั้งหมด จนส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถทํา แบบทดสอบได้ หรือได้จากการคัดลอกเนื้อหาในหนังสือเท่านั้น ไม่เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง
3
ปัญหาการวิจัย(ต่อ) ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องการทําการแก้ไขปัญหาต้องปรับเปลี่ยน วิธีการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือ วิธีจิ๊กซอร์ในการเรียน นักเรียนจะได้ร่วมมือกันเรียนรู้ให้ ประสบผลสำเร็จด้วยตัวเองโดยกระบวนการกลุ่ม เพิ่ม ประสิทธิภาพในการเรียนให้ดียิ่งขึ้น เน้นการเรียนโดย กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่น ร่วมมือซึ่งกันและกันและ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข การที่นักเรียนมี ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนจะเป็นการกระตุ้น ให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น
4
ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง
วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีร่วมค้าและ ฝากขาย เรื่อง ลักษณะโดยทั่วไปของการฝากขาย ของนักเรียน ชั้น ปวช.2/1 สาขาวิชาการบัญชี ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพสองห้องหนึ่ง สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ จังหวัดชลบุรี ที่เรียนวิชาการบัญชีร่วมค้าและฝากขาย ( ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 40 คน
5
ตัวแปรต้น การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือวิธีจิ๊กซอร์ ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีร่วมค้าและฝากขาย เรื่อง ลักษณะโดยทั่วไปของการฝากขาย ตัวแปร
6
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง แผนการสอน และ แบบฝึกหัดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้ แบบปรนัย ชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ (10 คะแนน) โดยทำการทดสอบในขั้นก่อนและ หลังการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือวิธีจิ๊กซอร์ ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีร่วมค้าและฝากขาย เรื่อง ลักษณะโดยทั่วไปของการฝากขาย
7
“ สรุปว่า นวัตกรรมนี้สามารถใช้ได้ ”
สรุปผลการวิจัย แสดงว่า ความแตกต่างระหว่างเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือ ก็คือกลุ่มตัวอย่างก่อนใช้นวัตกรรมและหลังจากใช้นวัตกรรมมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนแตกต่างกัน งานวิจัยนี้จึงถือว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีร่วมค้าและฝากขาย เรื่อง ลักษณะ โดยทั่วไปของการฝากขาย ของนักเรียนชั้น ปวช 2/1 สาขาการบัญชี หลังจาก ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือวิธีจิ๊กซอร์ สูงกว่าก่อนเรียน “ สรุปว่า นวัตกรรมนี้สามารถใช้ได้ ” โดย ค่า t ที่คำนวณได้ มากกว่า ค่าวิกฤติของ t ตาราง ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ผู้เรียนที่ได้รับการสอน โดยการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือวิธีจิ๊กซอร์ อยู่ ในระดับดีมาก และระดับดี
8
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม Excel เพื่อหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน (t-test dependent samples) ไม่มีกลุ่มควบคุม (one group) ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ .01
9
ผลกระทบ / ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย
ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการบัญชีร่วมค้าและฝาก ขาย นี้ อาจมีผลทำให้ผู้เรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับปาน กลางค่อนข้างต่ำ ขาดความพยายามและเบื่อหน่ายในการเรียน ด้วยวิธีการบรรยายของครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว การใช้การ เรียนการสอนแบบร่วมมือวิธีจิ๊กซอร์ จะทำให้เกิดการ ช่วยเหลือกันระหว่างผู้เรียนในกลุ่มที่ผู้สอนจัดกลุ่มให้ นักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ จะได้รับ การช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่มด้วยกัน
10
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
การใช้กระบวนการกลุ่มสามารถนำไปใช้กับรายวิชาอื่นๆ ได้ เพื่อ แก้ไขปัญหาในการเรียน รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ วิธีจิ๊กซอว์ สามารถใช้ร่วมกับการเรียนการสอนรูปแบบอื่นๆ ซึ่งจะทำ ให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ และไม่เกิดความเบื่อหน่ายกับการเรียน ซึ่งจะ ช่วยให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน และส่งผลให้ผู้เรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ควรศึกษาวิจัย กับตัวแปรอื่นๆ เช่น ความสามัคคีในการทำงานกลุ่ม ทักษะทางสังคม เป็นต้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.