งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางสาวพรวิภา จารุเดช วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางสาวพรวิภา จารุเดช วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางสาวพรวิภา จารุเดช วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
การแก้ปัญหาทักษะการคำนวณ ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ วิชากลศาสตร์โครงสร้าง สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ นางสาวพรวิภา จารุเดช วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

2 ปัญหาการวิจัย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสอน นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ในรายวิชากลศาสตร์โครงสร้าง จากการจัดการเรียนการสอน ผู้วิจัยสังเกตจากการเรียนพบว่ามีนักศึกษาจำนวนมากขาดทักษะในการคำนวณตัวเลขต่าง ๆ ทำให้การจัดการเรียนการสอนดำเนินไปได้ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่แก้ปัญหาทักษะการคำนวณ วิชากลศาสตร์โครงสร้าง เพื่อหาแนวทางที่ดีในการนำมาปรับปรุงและพัฒนาทักษะการคำนวณของนักศึกษา และเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

3 วัตถุประสงค์ ชั้นปีที่ 3 สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยี
เพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณ วิชากลศาสตร์โครงสร้าง ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยี โปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชากลศาสตร์โครงสร้าง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา จำนวน 25 คน กลุ่มตัวอย่าง อาศัยการเลือก กลุ่มตัวอย่าง คือ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการสังเกตห้องสถาปัตยกรรม สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยี โปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ จำนวน 5 คน

5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กรอบแนวคิด ตัวแปรต้น กระบวนการสอนโดยใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน ตัวแปรตาม ทักษะการแก้ปัญหา การคำนวณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

6 เครื่องมือในการวิจัย
1. จัดทำสมุดบันทึกและประเมินผลการเรียนรายวิชา 2. เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตรวจสอบความถูกต้องของนักศึกษาในการคำนวณงานในแต่ละสัปดาห์ 3. วิเคราะห์ข้อมูล โดยคำนวณหาค่าร้อยละ 4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดย นำค่าเฉลี่ยร้อยละของการส่งงานสัปดาห์ที่ 1-8 มาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยร้อยละของการส่งงาน สัปดาห์ที่ 9-17

7 แผนภูมิ เปรียบเทียบ ก่อนการใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน
และหลังการใช้วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน

8 สรุปผลการวิจัย การที่ผู้สอนได้ใช้วิธีการเพื่อนช่วยเพื่อนมาใช้การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคำนวณ วิชากลศาสตร์โครงสร้าง ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขางานสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ โดยการเปรียบเทียบผลการทำแบบฝึกหัดของสัปดาห์ที่ 1-9 เปรียบเทียบกับ สัปดาห์ที่ เห็นได้ว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น จากร้อยละ 61 เป็นร้อยละ 81

9 ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ทำให้อาจารย์ผู้สอนทราบแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดทักษะการคำนวณ กลศาสตร์โครงสร้าง 2. เป็นแนวทางให้อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาอื่น ๆ ได้ศึกษาและนำไปสำรวจทักษะด้านต่าง ๆ ของนักศึกษาในระดับชั้นต่าง ๆ 3. ได้ช่วยปรับปรุงและพัฒนาทักษะการคำนวณของนักศึกษา

10 ข้อเสนอแนะ 1. อาจารย์ผู้สอนในวิชาอื่น ๆ ควรใช้วิธีการเพื่อนช่วยเพื่อนมาใช้ แก้ปัญหาการขาดทักษะการคำนวณ เพื่อช่วยให้การเรียนเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ 2. ในการสอนอาจารย์ผู้สอนต้องเอาใจใส่นักศึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อสงสัยในขณะทำการเรียนการสอน ให้มากที่สุด 3. ควรมีการเสริมแรง ยกย่องชมเชย และให้กำลังใจกับนักศึกษา อย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ทำการเรียนการสอน เพื่อสงเสริมให้นักศึกษา มีกำลังใจในการเรียน  


ดาวน์โหลด ppt นางสาวพรวิภา จารุเดช วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google