งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)
เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)

2 เนื้อหาในบทเรียน 1. รู้จักความหมายของซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
2. ชนิดของเครื่องมือสำหรับการสื่อสารในอินเทอร์เน็ต 3. รู้จักตัวอย่างเครื่องมือและซอฟท์แวร์เพื่อสังคมต่าง ๆ 4. การใช้ซอฟต์แวร์ Blog 5. การใช้ซอฟต์แวร์ Folksonomy 6. การใช้ซอฟต์แวร์ KUI

3 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม ซอฟท์แวร์ทางสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกัน โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ เช่น - - msn และ Instant messaging - Web - Blog - Wiki เป็นต้น

4 ชนิดของซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (1)
การจำแนกกลุ่มซอฟท์แวร์เพื่อสังคม 1. กลุ่มที่ใช้ประโยชน์เพื่อการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ - เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) ไม่ว่าจะเป็นการเขียน ส่งเสียง ส่งเป็นวีดีโอ เช่น การใช้ และ Web เป็นต้น - เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่ม แบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat, ICQ, MSN เป็นต้น

5 ชนิดของซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (2)
2. กลุ่มที่ใช้ประโยชน์เพื่อการสร้างการจัดการความรู้ - ในแบบเบื้องต้น เช่น WWW และการสืบค้นข้อมูล - ในระดับสูงขึ้นมา เป็นเครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น

6 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคม
1. Blog 2. Internet Forum 3. Wiki 4. Instant Messaging 5. Folksonomy 6. KUI

7 Blog

8 Blog - Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางคนอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log - Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อความ รูป และลิงค์ - การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging” - บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries” บุคคลที่โพสท์ลงใน entries เรียกว่า “blogger” - ตัวอย่างเว็บ Blogger, Bloggang, Travelblog, Hi5

9 จุดเด่นของ Blog 1. Blog เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน 2. มีความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น 3. Comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ

10 ความแตกต่างจากเว็บทั่วไป
Blog แตกต่างจากเว็บอื่นๆ อย่างไร - การใส่ข้อมูลใหม่ทำได้ง่าย - มี template อัตโนมัติช่วยจัดการ - มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภทผู้แต่ง ฯลฯ - ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ เพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย - เจ้าของ blog จะเป็นผู้สร้างหัวข้อสนทนาเท่านั้น - Blog เป็นช่องทางเผยแพร่งานพิมพ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

11 ส่งผลกระทบต่อสังคมและวิถีของผู้คน
- บาง Blog ลูกจ้างอาจจะก่อรำคาญใจต่อนายจ้างและทำให้บางคนถูกไล่ออก - การส่งข้อความบางอย่างสู่สาธารณะ อาจจะมีปัญหาตามมาคือการไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญา หรือการให้ข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือได้ บางครั้งการสร้างข่าวลือ ก็เอื้อประโยชน์ต่อสื่อสารมวลชนที่สนใจเรื่องนั้นๆ ได้ - Blog เป็นการรวบรวมความคิดของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ช่วยกับปัญหาด้านจิตวิทยา, อาชญากรรม, ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ

12 ประโยชน์ของการใช้บล็อก (blog)
- อนุญาตให้ผู้อ่านบล็อกมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น (comment) ต่อข้อความที่เสนอได้ - ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปจะสามารถใช้บล็อกได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก - บล็อกจะเรียงลำดับตามเหตุการณ์จากปัจจุบันไปอดีต จึงเป็นโอกาสที่ผู้ใช้จะใช้บันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้บันทึกได้ในทุกๆ เรื่อง ตามประสงค์ของผู้บันทึก - บล็อกจึงสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในกระบวนการการจัดการความรู้ - การสร้างลักษณะนิสัยให้ประชาคมรักการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในบล็อก จะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตของสังคมนั้น

13 ตัวอย่าง Blog (www.blogger.com)
รูปที่ 8-1 ตัวอย่าง Blog และหน้าจอการ post ข้อความใน Blog

14 Internet Forum

15 Internet Forum - ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และ newsgroup
- มีการรวบรวมข้อมูลทั่วๆไป เช่น เทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์ และการเมือง - ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้ - ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั่งโพส ความคิดเห็นของตนเองลงไปได้

16 Forum เรื่อง Computer และ Internet

17 Forum เรื่อง Game

18 Wiki

19 Wiki(1) - Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"
- สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน - Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ - เครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki เช่น Wikipedia, MoinMoin, Wackowiki

20 Wiki(2) - Wikipedia เป็นระบบสารานุกรมสาธารณะ(Encyclopedia) ที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย - มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ของวิกิที่สำคัญยิ่งในการสร้างสารานุกรม ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร้างสารานุกรมที่ - วิกิพีเดียในภาคภาษาไทยที่ หรือ - ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ

21 หน้าจอ Wikipedia http://th.wikipedia.org

22 Instant Messaging

23 Instant Messaging - เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy - ตัวอย่างเช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger, MSN Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น

24 ตัวอย่างโปรแกรม Instant Messaging

25 Folksonomy

26 ปัจเจกวิธาน (Folksonomy)
ก่อนหน้าการกำเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการจัดกลุ่มการจัดระเบียบ และค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 1. ค้นหาในเนื้อความ (Text Search) 2. เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological) 3. แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)

27 ค้นหาในเนื้อความ - Google ที่ก่อตั้งโดย Sergey Brin และ Larry Page
- ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ - เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ๆ อย่างไรต่อไป

28 Sergey Brin และ Larry Page

29 เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
- เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน - เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าว อย่าง CNN, BBC และ google news เนื้อหาเก่าจะตกไปอยู่ด้านล่าง - Blog ก็ใช้วิธีจัดเรียงตามเวลาเช่นกัน - ทั้งนี้หากต้องการอ่านเนื้อหาเก่าก็สามารถคลิกดูที่ปฏิทินได้

30 แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)
ลักษณะอื่นๆ ที่นำมาใช้ร่วมในการแบ่งประเภทนี้ อาจจะเป็น ช่วงราคาสินค้า, ยี่ห้อสินค้า, ผู้สร้าง, สถานที่ จะช่วยทำให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น เช่น ค้นหาคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ราคาไม่เกิน 30,000 บาท, ยี่ห้อ Dell เรียงลำดับตามยอดขายสูงสุดไปต่ำสุด การใช้ลักษณะหลายๆ ด้านมาทำการแยกแยะข้อมูลเรียกว่า Faceted Classification

31 ปัญหาที่พบเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่
- เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน - การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก - การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุด - ข้อมูลที่พบอาจจะขาดความน่าเชื่อถือ

32 ตัวอย่างโครงการที่ใช้อาสาสมัครมาช่วยกันจัดระเบียบกลุ่มประเภทของเว็บ
- โครงการ Open Directory Project ( - แม้กระนั้นก็ตามโครงการนี้ก็ยังไม่สามารถโตได้ทันกับการเติบโตของเว็บทั้งหมดได้เลย นี่เองเป็นแรงผลักให้เกิดระบบ ปัจเจกวิธาน ขึ้น - เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการข่าวสารความรู้สำหรับปัจเจกบุคคลอันนำมาซึ่งประโยชน์อันกว้างขวางในการศึกษาความสนใจและพฤติกรรมของกลุ่มชนหรือสังคมโดยรวมได้

33 กำเนิด ปัจเจกวิธาน - Joshua Schachter เริ่มรวบรวมเก็บเว็บต่าง ๆ เป็น Bookmark ของตนเองคนเดียวไว้มากและใช้ Keyword เพื่อจัดกลุ่มแทน - เช่น “search engine tools” และ “password security tools” เมื่อต้องการเรียกเว็บที่มีคำว่า tools ก็จะสามารถดึงรายชื่อเว็บทั้งหมดออกมาได้ทันที - ปัจเจกวิธาน เรียก keyword นี้ว่า tag เป็นคำสัก 2-7 คำที่เกี่ยวกับเว็บใหม่ที่สามารถจัดเป็นกลุ่มเว็บได้

34 Joshua Schachter ผู้ก่อตั้งเว็บ del.icio.us

35 รูปที่รวม tag คำว่า tools
วิธีการใช้ tag นี้มีความสะดวกตรงที่ไม่ต้องจำลำดับชั้นการจัดระเบียบเช่นเดิม การค้นเจอเว็บก็ได้จาก tag หลายๆ ตัวได้ ไม่จำกัดอยู่แต่ข้อมูลใน Folder เดียวกัน Joshua นำให้ทุกๆ คนสามารถตรวจดูเว็บที่มีการตั้งชื่อ tag โดยผู้อื่นได้

36 ที่มาของคำว่า Folksonomy
- คำว่า Folksonomy นี้ มีที่มาจากการที่ ใครก็ได้ทุกๆ คน (Folk) มีสิทธิในการจัดทำอนุกรมวิธาน (Taxonomy) หรือ จัดกลุ่มประเภทหมวดหมู่ของเอกสารในโลกอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในแบบที่ตนเข้าใจ - ต่างจากการทำ Taxonomy เช่น การจัดประเภทสัตว์หรือพืช ที่อาศัย ผู้รู้ เป็นผู้ดำเนินการและให้ผู้อื่นจัดว่าอะไรควรจะอยู่ประเภทไหนตามที่ผู้รู้นั้นได้กำหนดไว้แล้ว

37 คุณลักษณะพิเศษที่ได้จาก ปัจเจกวิธาน
- กระแสการติดตามเว็บใหม่ๆ ตามชื่อ Tag (Stream and Feed) - การเห็นกลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆตาม หัวเรื่องที่สนใจ (Tag Cloud) - การให้คะแนนความนิยม (Rating and Popularity) - การท่องอินเทอร์เน็ตอย่างที่มีเนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)

38 กระแสการติดตามเว็บใหม่ ๆ ตามชื่อ Tag (Stream and Feed)
- จากตัวอย่าง มีหน้าเฉพาะสำหรับ Tag คำว่า Tools ซึ่งก็อาจจะมีหน้าเฉพาะอื่น ๆ ให้ เข้าไปติดตาม Tag เฉพาะใดๆ ได้ เช่น ถ้าท่านสนใจเรื่องภาษาไทย ท่านอาจจะตามอ่านได้จากหน้า “tag/thai” หรือ “tag/thai+language” - นอกจากนี้ยังมีการสร้าง RSS feed สำหรับหน้าดังกล่าว เพื่อใช้เตือนทาง RSS reader ว่ามีเนื้อหาใหม่ๆ ตาม Tag ดังกล่าว เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นมา ดังรูป

39 ตัวอย่าง RSS feed

40 Tag Cloud การเห็นกลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆตามหัวเรื่องที่ สนใจ ซึ่งจะชี้ให้เห็นได้ว่าบุคคลนั้นสนใจเรื่องใดบ้าง ทำได้ทั้งของทุกๆ คนรวมกัน หรือ เฉพาะบุคคล

41 การให้คะแนนความนิยม(Rating and Popularity)
ตัวอย่างการค้นหาเว็บที่เกี่ยวกับ Wallpaper ใน del.icio.us การแสดงจำนวนผู้ใช้ที่ได้ใส่ tag ให้กับเว็บนั้นๆ ถ้ามีจำนวนผู้ใช้ที่ใส่ tag มากก็แสดงว่าเว็บนั้นเป็นที่นิยม

42 - การใช้แกนในการค้นหาถึงสามอย่าง ช่วยให้พบข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
Cross-Navigation Cross-Navigation เป็นการท่องอินเทอร์เน็ตอย่างที่มีเนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน - การใช้แกนในการค้นหาถึงสามอย่าง ช่วยให้พบข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มขึ้น + User: เว็บทั้งหมดที่ผู้ใช้ผู้นี้ใส่ tag ให้และเรียกดู tag cloud ของผู้ใช้ผู้นี้ได้ด้วย + Tag: เว็บทั้งหมดที่มีการใส่ tag และเรียกดู tag ที่ เกี่ยวข้องได้ด้วย + URL: เว็บนี้มีใครใส่ tag บ้าง และใส่ว่าอะไรบ้าง - การค้น อาจจะเริ่มจากที่ User แล้วไปที่แกน tag และทำ ให้พบ tag ที่เกี่ยวข้องได้อีก โดยไม่ได้ตั้งใจ

43 การนำไปพบกับเนื้อหาอื่นๆ
การใช้ tag สามารถนำไปพบกับเนื้อหาอื่นๆ ได้นอกจาก URL เช่น - Flickr.com เก็บ และ ใส่ tag ให้กับรูปภาพ - CiteULike.org เก็บและใส่ tag ให้เอกสารงานวิจัย (academic paper) - 43Things.com บันทึกสิ่งที่อยากทำในชีวิตพร้อมกับใส่ tag ให้กิจกรรมนั้น - Tagzania.com บันทึกสถานที่ และใส่ tag ให้กับสถานที่หรือแผนที่

44 ตัวอย่าง tag/cat รวมภาพที่เกี่ยวกับแมวบน Flickr.com

45 อนาคตของ ปัจเจกวิธาน - ระบบการใช้ tag จะมีการนำไปประยุกต์ใช้กับ Blog และ Wiki เพื่อความสะดวกให้การค้นหาความรู้ต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในซอฟต์แวร์ทั้งสอง - ในระยะยาวอาจจะมีการแข่งขันของโปรแกรมลักษณะนี้อีกก็เป็นไปได้ โดยที่อาจจะมีคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ง่ายต่อการใช้งาน และมีความสามารถใหม่ๆ

46 ประโยชน์ของการใช้ปัจเจกวิธาน
- ใช้จัดหมวดหมู่ แห่งสรรพสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ โดยผู้จัดหมวดหมู่เป็นผู้กำหนดเอง - ไม่มีปัจเจกวิธานตัวใดที่สามารถใช้จัดหมวดหมู่ได้ทุกสรรพสิ่ง มีเฉพาะเรื่องให้เลือกใช้ เช่น - การจัดหมวดหมู่ของรูปภาพ - การกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ - การจัดหมวดหมู่ลิงค์เชื่องโยงในอินเทอร์เน็ตที่สนใจ - การเปิดโอกาสผู้ใช้จัดหมวดหมู่สารสนเทศ ด้วยตนเองได้โดยปราศจากการบงการ จากผู้อื่นหรือจากระบบแต่อย่างใด (เพียงแต่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์)

47 ประโยชน์ของการใช้ปัจเจกวิธาน (ต่อ)
เจตจำนงสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม - ให้ปัจเจกบุคคลได้มีโอกาสในการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อประมวลสังคมของพวกเขาได้ด้วยตนเอง - ให้ปัจเจกบุคคลจะมีอิสรเสรีในการเลือกประโยชน์ที่ต้องการด้วยตัวเอง - ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม จึงเป็นคำถามที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ตนเองตอบ

48 KUI

49 KUI (Knowledge Unifying Initiator)(1)
- KUI เป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม (Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledge Management) - KUI ประกอบด้วย 3 หมวดหลักดังนี้ - Localization เป็นการเสนอคำแปลความหมายของประโยค วลี หรือคำศัพท์ - Opinion Poll เป็นการเสนอความคิดเห็นจากการสำรวจความคิดเห็น - Public Hearing เป็นข้อเสนอแนะ การตีความ ประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมาย

50 KUI (Knowledge Unifying Initiator)(2)
- ที่แตกต่างจากเว็บบอร์ด คือ ถ้าประเด็นความเห็นใดสมาชิกให้คะแนน (Vote) น้อย หรือคนไม่สนใจ ประเด็นนั้นก็จะถูกลบออกไป - เกณฑ์การให้คะแนน (Vote) นั้น ต้องมีสมาชิกให้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของสมาชิกที่ได้ทำการลงทะเบียน

51 KUI (Knowledge Unifying Initiator)(3)
- มีส่วน Dictionary จะแสดงผลข้อมูลคำศัพท์ และใน Documentations เป็นการอธิบายการทำงานในแต่ละโมดูล - สมาชิกสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายได้ - ถ้าหัวข้อใดที่สมาชิกเป็นคนเพิ่มเข้าไปเอง ก็จะสามารถแก้ไขชื่อหัวข้อได้ด้วย

52 ตัวอย่างหน้าจอการใช้งาน KUI http://tosf.buu.ac.th/kui

53 การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมในการจัดการความรู้
- หัวใจของกระบวนการจัดการความรู้ เน้นที่การแบ่งปันความรู้ - มีการใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ และการจัดเก็บความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มากมาย เช่น - สร้างฐานความรู้ (knowledge base) - ส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกัน เช่น groupware มาใช้ประโยชน์

54 ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม “คุย” หรือ “KUI
- เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในสังคม ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความรู้ - ให้ปัจเจกบุคคลสามารถเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยมีอิสระเสรีในการนำเสนอความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจ - ใช้หลักการของการเคารพความเห็นของส่วนรวม ปฏิบัติตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ แต่ยังรับฟังความคิดเห็นที่ดีของคนส่วนน้อย - สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเป็นที่สนใจและใช้เพื่อจรรโลงสังคมได้

55 ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของโปรแกรม KUI
- สร้างความเข้าใจอันดีในภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เช่น - ให้ภาคประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ในภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบ - ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ - เพื่อแจ้งข่าวสาร ข้อเท็จจริง ที่ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกิจกรรมการตรวจสอบของคณะกรรมการฯ - การมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

56 สรุป การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
- ใช้ในการประมวลทางสังคม (social computing) สร้างระบบการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคม - ประชาคมมีโอกาสที่จะเข้าถึงและทำงานเพื่อสังคมของตนด้วยตนเอง - เน้นให้คงความเป็นปัจเจก (individual) ของบุคคลไว้ - ให้โอกาสปัจเจกบุคคลสามารถแสดงออกสู่สาธารณะ

57 คำถาม??


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google