งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ขอบฟ้าของกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ขอบฟ้าของกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ขอบฟ้าของกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล
กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 Private International Law ว่าด้วยเรื่องอะไร?
การตอบคำถามนี้ได้ต้องเริ่มจากการนิยาม ความหมายของ “International Law” (กฎหมายระหว่างประเทศ) และความหมายของ “Private Law” (คดีบุคคล, คดีเอกชน) เมื่อทราบองค์ประกอบทั้งสองแล้วจึงนำมาพิจารณาร่วมกันว่า “Private International Law” (กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล) คืออะไร? จากนั้นเราจึงกำหนดขอบเขตของวิชานี้ได้อย่างเข้าใจที่มาที่ไป

3 International Law บรรทัดฐานที่เป็นทางการ ที่ใช้บังคับกับความสัมพันธ์ในระดับระหว่างประเทศ คำถามแรกคือ ตัวแสดง (actor) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือใคร? คำถามที่สองคือ นิติสัมพันธ์ในระดับระหว่างประเทศนั้นว่าด้วยเรื่องใด? คำถามที่สามคือ กลไกในการระงับข้อพิพาทระหว่างตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้คืออะไร? คำถามสุดท้าย บรรทัดฐานที่ถูกใช้ในกลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศคืออะไร? มาจากไหน?

4 ปัจเจกบุคคลเป็นตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศได้หรือไม่?
เช่น นายกฤษณ์พชรไม่พอใจนายจางเหวย คนจีนที่รวยเกินไป นายกฤษณ์พชรจึงประกาศสงครามกับนายจางเหวย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่? เช่น นายกฤษณ์พชรมีอาณาเขตติดริมแม่น้ำอยู่รวมเป็นที่ดิน 40 ตารางวา แต่ปรากฏว่าดินแดนของนายกฤษณ์พชรถูกน้ำพัดพาไปกว่าสิบตารางเมตรจนเกิดที่งอกบนอาณาเขตของนายโรแบร์โตขึ้น นายกฤษณ์พชรจึงมีข้อพิพาทเรื่องอำนาจเหนือที่งอกกับนายโรแบร์โต เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่? โดยทั่วไป สิ่งที่ถือว่าเป็นตัวแสดงในระดับระหว่างประเทศ ได้แก่ รัฐ องค์กรโลกบาล และองค์กรระหว่างประเทศ

5 เรื่องทั้งหลายของนายกฤษณ์พชรไม่ใช่ข้อพิพาทระหว่างประเทศ เพราะกฤษณ์พชรไม่ใช่รัฐ ตรงกันข้าม กฤษณ์พชรอยู่ในรัฐไทย และถูกบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายของไทย เช่นเดียวกับ จางเหวย และโรแบร์โต เราพึงสรุปในเบื้องต้นได้ว่า... เมื่อรัฐทะเลาะกับรัฐและเราต้องการหาทางออกแห่งความขัดแย้งโดยไม่ต้องตีหัวกัน เราจึงต้องการกฎหมายมาเพื่อระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐนั้น แต่กฎหมายนั้นมาจากรัฐ และไม่มีรัฐใดจำเป็นต้องทำตามกฎหมายของรัฐอื่น กฎหมายระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นเพื่อระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐกับรัฐ โดยสันติและนิติวิธี

6 ดังนั้น... รัฐหรือองค์กรระหว่างประเทศ เป็นตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ย่อมไม่ใช่เรื่องของปัจเจกเป็นคนๆ เมื่อกฎหมายภายในใช้บังกับกับรัฐอื่นๆ ไม่ได้ หากไม่ต้องการรบกันก็จำเป็นต้องสร้างกฎหมายระหว่างรัฐต่างๆ ขึ้นมา โดยให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นผู้วินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างประเทศ และศาลดังกล่าวใช้ สนธิสัญญา (Treaties), จารีตประเพณีระหว่างประเทศ (Customs), หลักกฎหมายทั่วไป (General Principles) และ ความเห็นของนักนิติศาสตร์อันได้รับการยอมรับ == บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ

7 Private and Public Law กฎหมายมหาชน คือกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้มีอำนาจ หรือผู้มีอำนาจกับสามัญชนผู้ไร้อำนาจ อำนาจที่ว่าคืออำนาจแห่งรัฐ ซึ่งอำนาจแห่งรัฐมาด้วย กฎหมาย นโยบาย การปกครอง ฯลฯ และทั้งหมดมีความชอบธรรมต่อเมื่อมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ของส่วนรวมที่มากกว่าประโยชน์ของปัจเจกโดยเปรียบเทียบ เรื่องที่เป็นส่วนรวมแน่ๆ เช่น การทหาร การคลัง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคง การจรรโลงความยุติธรรม ฯลฯ

8 กฎหมายเอกชนคือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสามัญชนกับสามัญชน โดยตั้งอยู่บนหลักการว่าสามัญชนทุกคนเท่าเทียมเสมอหน้ากันต่อหน้ากฎหมาย สามัญชนสัมพันธ์กันได้เท่าที่พวกเขามีสิทธิและอำนาจในการสัมพันธ์กัน เช่น กฤษณ์พชร กับ สมศักดิ์ ตกลงกันเวนคืนที่ดินของนายปีนาไม่ได้ เพราะเราล้วนแต่ไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจ และไม่มีหน้าที่ สิทธิและอำนาจของสามัญชนไม่รวมไปถึงเรื่องสาธารณะที่เป็นทางการ เช่น กำหนดนโยบาย บังคับใช้กฎหมาย ออกกฎหมาย นิรโทศกรรม ฯลฯ นิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนจึงเกิดขึ้นในเรื่องส่วนตัวของพวกเขาเท่านั้น เช่น เขาจะค้าขายกันอย่างไร ใครเป็นตัวแทนใคร จะสมรสกันหรือไม่ จะใช้หนี้กันอย่างไร ฯลฯ

9 Private Law vs. International Law
คือ ส่วนผสมที่เข้ากันไม่ได้ กฎหมายเอกชนเป็นเรื่องของคนสามัญที่ไม่มีอำนาจรัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ประเด็นของกฎหมายเอกชน คือเรื่องประโยชน์ส่วนตน (เพราะการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมักถูกผูกขาดโดยรัฐ) เช่น ทำสัญญา ชำระหนี้ สมรส สืบมรดก ฯลฯ ประเด็นของกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ที่ประโยชน์ของรัฐ ซึ่งเท่ากับประโยชน์สาธารณะ เช่น เขตแดน ความมั่นคง ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ปราบปรามโจรสลัด ฯลฯ คิดอย่างไร กฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่สามารถเป็นกฎหมายเอกชนได้?

10 กรอบเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
ดูเหมือนว่าลำพังการพิจารณาจากถ้อยคำจะไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความหมายของ Private international law เราอาจพิจารณาความหมายของ Private international law จากขอบเขตของเนื้อหาวิชานี้ เพราะเนื้อหาของวิชาย่อมบอกเราว่า มีประเด็นปลีกย่อยใดที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องวิชา Private international law บ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจหัวเรื่องมากขึ้น ทำนองเดียวกับการดูตัวอย่าง เพื่อเข้าใจหลักการ (การใช้เหตุผลแบบอุปนัย)

11 กฎหมายว่าด้วยสัญชาติ (Law of Nationality)
กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการได้มาและการเสียไป ซึ่งความผูกพันทางกฎหมาย (Legal bond) ระหว่างบุคคลและรัฐ โดยรัฐเป็นผู้ให้สัญชาติแก่บุคคล เนื้อหาของกฎหมายสัญชาติจะว่าด้วยสามเรื่องได้แก่ เงื่อนไขแห่งการได้มาซึ่งสัญชาติ เงื่อนไขแห่งการเสียสัญชาติ และเงื่อนไขแห่งการได้คืนสัญชาติ สำหรับประเทศไทย กฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขเหล่านี้ ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508

12 นิติฐานะของบุคคลต่างด้าว (Legal Status of Aliens)
เนื้อหาส่วนนี้จะว่าด้วยสถานะทางกฎหมายของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติ ว่าบุคคลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับรัฐอย่างไร ซึ่งจะย้อนให้เราเห็นได้ว่า สิทธิที่สืบเนื่องมาจากการมีสัญชาติได้แก่อะไรบ้าง ในประเทศไทยกฎหมายที่กำหนดบรรทัดฐานในส่วนนี้ เช่น.. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือ กระจัดกระจายตามกฎหมายต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติที่ดิน พ.ศ. 2497, รัฐธรรมนูญ เป็นต้น

13 กฎหมายขัดกัน (Conflict of Laws)
เมื่อบุคคลเริ่มปฏิสัมพันธ์กันข้ามประเทศมากขึ้น เช่น การไปทำงานต่างประเทศ การค้าขายระหว่างประเทศ ทำให้ชีวิตของบุคคลเกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ชายไทยไปทำงานประเทศญี่ปุ่นแล้วชอบพอกับสาวจีนที่มาทำงานที่ญี่ปุ่นจึงสมรสกัน เช่น ชายไทยทำสัญญาซื้อขาย “หมาล้า” ของจีนโดยจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ที่ญี่ปุ่น เพื่อส่งหมาล้าออกไปขายยังประเทศไทย เช่น แฟนเก่าชายอังกฤษของสาวจีนไม่พอใจชายไทยจึง unauthorized access ในอีเมล์ของชายไทยแล้วเปิดเผยข้อมูลทางการค้า ทำให้ชายไทยได้รับความเสียหาย

14 โปรดสังเกตว่า... คดีเหล่านี้คาบเกี่ยวกับกฎหมายของหลายประเทศ ซึ่งกฎหมายของแต่ละประเทศนั้นอาจเหมือนหรือต่างกันก็ได้ สมมุติว่ากฎหมายจีนให้บุคคลบรรลุนิติภาวะที่อายุ 18 ปี สาวจีนอายุ 19 ปี แต่แต่งงานกับคนไทยที่กฎหมายไทยบรรลุฯ ที่ 20 ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดที่ 21 สมมุติว่ากฎหมายจีนถือว่าไม่ยอมรับคำเสนอที่ใช้เอกสารอิเล็กโทรนิกส์ แต่กฎหมายญี่ปุ่นยอมรับ สมมุติว่าถ้าการเจาะรบบคอมพิวเตอร์ไม่เป็นละเมิดในประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นละเมิดในประเทศจีนและไทย ฯลฯ

15 เห็นได้ว่า คดีเหล่านี้ข้อเท็จจริงที่ในแง่ตัวบุคคล หรือทรัพย์สิน หรือมูลคดี คาบเกี่ยวหลายประเทศ เป็นเหตุให้มีกฎหมายของหลายประเทศมีเขตอำนาจเหนือคดีเหล่านั้น เราเรียกคดีดังกล่าวว่าคดีที่มีองค์ประกอบต่างประเทศ (Foreign Components) กฎหมายขัดกันคือ กฎเกณฑ์ที่กำหนดว่าบนเงื่อนไขและหลักการใด ศาลจะใช้กฎหมายของประเทศใดในการวินิจฉัยคดีที่มีองค์ประกอบต่างประเทศดังกล่าว ด้วยอำนาจของกฎหมายนี้ ศาลไทยอาจต้องใช้กฎหมายของจีน หรือของญี่ปุ่นบังคับกับคดีก็ได้ สำหรับไทยแลนท์กฎหมายขัดกันอยู่ในรูปของ พระราชบัญญัติว่าด้วยกันขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

16 การขัดกันแห่งเขตอำนาจศาล (Conflict of Jurisdictions)
สืบเนื่องจากกฎหมายขัดกัน ก่อนจะพิจารณาว่าจะใช้กฎหมายขัดกันของประเทศไหน ต้องพิจารณาก่อนว่าคดีดังกล่าวอยู่ใน เขตอำนาจของศาลประเทศใด ถ้าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลประเทศไทยแล้ว ศาลไทยต้องใช้พระราชบัญญัติการขัดกันของกฎหมาย พ.ศ.2481 ซึ่งเป็นกฎหมายไทย เพื่อพิจารณาต่อไปว่า แล้วศาลไทยต้องใช้กฎหมายของประเทศใดในการวินิจฉัยคดี จึงต้องพิจารณาเรื่องเขตอำนาจก่อนการพิจารณาเรื่องกฎหมายขัดกันเสมอ สำหรับประเทศไทย ไม่มีกฎหมายที่ว่าด้วยเขตอำนาจศาลในคดีที่มีองค์ประกอบต่างประเทศเป็นพิเศษ แต่ใช้หลักทั่วไปตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4

17 ประเทศต่างๆ ในโลกมีแนวทางหลักๆ ในการกำหนดเขตอำนาจ เช่น
กำหนดเขตอำนาจเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคนชาติเป็นหลัก หลักคือโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลที่คนมีภูมิลำเนาได้ เช่น ฝรั่งเศส กำหนดเขคอำนาจเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของจำเลยเป็นหลัก กลุ่มนี้เชื่อว่าหากจะเป็นคดีความกัน “โจทก์ต้องไปหาจำเลย” ประเทศส่วนใหญ่ใช้หลักนี้ในการกำหนดเขตอำนาจ รวมถึงประเทศไทย (มาตรา 4(1) ป.วิ.พ) การกำหนดตามมูลคดี เช่น สัญญาเกิดขึ้นในเขตอำนาจใด, ละเมิดเกิดขึ้นที่ใด การกำหนดตามที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ การกำหนดโดยการตกลงยินยอมของคู่ความ

18 กฎหมาย “ระหว่างประเทศ” แผนกคดีบุคคล
หากพิจารณาตามตัวบทกฎหมายที่ใช้ย่อม ได้แก่ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง, การทำงานของคนต่างด้าว, การประกอบธุรกิจฯ, ที่ดิน ฯลฯ พระราชบัญญัติการขัดกันของกฎหมาย พ.ศ.2481 ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง ...

19 โปรดสังเกตความย้อนแย้ง
ทวนความจำว่า ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ (international law) คือ สนธิสัญญา, จารีตประเพณีระหว่างประเทศ, หลักกฎหมายทั่วไป ฯลฯ ตัวแสดงในกฎหมายระหว่างประเทศก็เป็น “รัฐ” กลไกระงับข้อพิพาทคือ ICJ, ICC ในขณะที่.. พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย ออกโดยรัฐสภา ส.น.ช. ฯลฯ ล้วนเป็นองค์กรภายในประเทศทั้งสิ้น ศาลที่พิจารณาทั้งเรื่อง สัญชาติ นิติฐานะของคนต่างด้าว และ กฎหมายขัดกัน เป็นศาลภายในประเทศ

20 “Private International Law”
เอาเข้าจริง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลคือ กฎหมายภายในของรัฐ แต่ต่างจากกฎหมายภายในอื่นๆ เพราะด้วยข้อเท็จจริงเชิงคดีตามกฎหมายภายในนี้มีความเกี่ยวพันกับ “องค์ประกอบต่างประเทศ” (Foreign elements) ซึ่งหมายถึง ข้อเท็จจริงที่ทำให้นิติสัมพันธ์ของบุคคลพัวพันกับกฎหมายต่างประเทศ เช่น ภูมิลำเนาของคู่ความ ที่ตั้งของทรัพย์ที่พิพาท มูลคดีเกิดในต่างประเทศ ฯลฯ บนเงื่อนไขนี้ หัวใจของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล จึงอยู่ที่การเลือกว่าต้องใช้กฎหมายภายในหรือกฎหมายต่างประเทศกับข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบกับกฎหมายไทย คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย พ.ศ. 2481

21 “International Private Law”
เพราะ Private international law เป็นเพียงคำเรียกที่ชินปาก แต่ไม่สอดคล้องกับลักษณะของกฎหมายที่ว่านี้เลย เพราะกฎหมายที่บังคับแก่คดีเหล่านี้ ไม่ใช่ “กฎหมายระหว่างประเทศ” แต่อย่างใด หากแต่เป็นกฎหมายภายในที่ใช้กับคดีที่มีองค์ประกอบระหว่างประเทศ จริงๆ แล้ว ควรเรียกกฎหมายกลุ่มนี้ว่า “กฎหมายเอกชนระหว่างประเทศ” (international Private Law)

22 ข้อสังเกตต่อกฎหมายสัญชาติ และครึ่งเทอมแรก
รวมถึงกฎหมายสัญชาติ และนิติฐานะของคนต่างด้าว หลายคนถือว่าทั้งสองเรื่องไม่อยู่ในวิชานี้เสียด้วยซ้ำ เพราะไม่ทั้ง Private และ ไม่ทั้ง international แต่เป็นกฎหมายมหาชน และส่วนหนึ่งของกฎหมายปกครอง ซึ่งบอกเราว่ารัฐมีคำสั่งให้เรามีหรือไม่มีสัญชาติ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และบางมิติเป็นการเมือง เพราะเรื่องสัญชาติสัมพันธ์กับนโยบายการเมือง และนโยบายประชากรอย่างมาก ซึ่งหมายความว่า เรื่องสัญชาติหลายครั้งแล้ว ไม่เป็นแม้แต่กรณีของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายตุลาการ แต่เป็นเรื่องของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายปกครอง

23 ข้อสรุปเบื้องต้น ดังนั้น เรื่องแรกเลยที่ต้องทำ คือการปรับวิธีคิดให้แน่ชัดว่าเรากำลังเรียนกฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองภายในประเทศ ไม่ใช่กฎหมายระหว่างประเทศ

24 นำเข้าสู่วิชากฎหมายสัญชาติของไทย
กฎหมายสัญชาติ คืออะไร? ทำไมจึงควรศึกษากฎหมายสัญชาติ? เราจะศึกษาอะไรกันบ้างในหัวข้อกฎหมายสัญชาติ? เราจะศึกษากันไปบนแนวทางใด?

25 ความหมายของ “สัญชาติ”
สัญชาติ คือ ความูกพันของบุคคลกับรัฐแห่งใดแห่งหนึ่ง ความผูกพันดังกล่าวทำให้ บุคคลกลายเป็นผู้ทรงสิทธิและหน้าที่ต่อรัฐ เสมอเหมือนกับบุคคลอื่นที่ถือสัญชาติเดียวกัน สิทธิ เช่น สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (Rights to vote), สิทธิในการได้รับบริการด้านการศึกษา (Rights to educational services), สิทธิในการถือครองและเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (Rights to Property)

26 หน้าที่ เช่น หน้าที่ในการเกณฑ์ทหาร (Duty to conscription for army service), หน้าที่ในการเสีบภาษีบางประเภท (Duty to pay tax), หน้าที่ในการจงรักภักดีต่อรัฐ (Duty to be royalty to the state) สัญชาติเป็นเครื่องมือในการจัดสรรบุคคลว่า “ขึ้นอยู่” (belong to) “เป็นคนในบังคับ” (under command of) “ผูกพัน” (bond to) กับรัฐใด

27 เพื่อใช้ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลนั้นในความสัมพันธ์แบบระหว่างประเทศ-โลกาภิวัฒน์
เช่น การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ (Labors mobility in international levels), การลงทุนในระดับระหว่างประเทศ (international investment), การคุ้มครองทางการทูต ฯลฯ โดยสรุปเบื้องต้น สัญชาติ คือ พันธะผูกพันระหว่างปัจเจกกับรัฐ

28 ทำไมจึงควรศึกษากฎหมายสัญชาติ
ดังที่พิจารณาไปข้างต้น ประการหนึ่ง เพราะเรื่องสัญชาติ สัมพันธ์กับสิทธิและหน้าที่ของปัจเจกบุคคล ดังนั้น ถ้าเราสนใจว่า “บุคคล” มีสิทธิอะไร? ที่ไหน? เมื่อไหร่? และอย่างไร? (ซึ่งสำหรับผมเป็นสารถะของการศึกษากฎหมาย) สัญชาติเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ไม่คำนึงถึงไม่ได้ เช่นอะไร...

29

30 ควรให้การรักษาพยาบาลแก่คนพม่าที่เจ็บป่วยบริเวณชายแดน แล้วเข้ามาในโรงพยาบาลของไทยหรือไม่
ถ้าควร ด้วยเหตุผลอะไร ถ้าไม่ควร ด้วยเหตุผลอะไร

31

32 ถ้าจำนวนขนาดนี้ล่ะ?

33 โรฮิงญา คือ ใคร? โรฮิงญา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศพม่า อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศ เดิมชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ในบังคลาเทศ แต่ถูกอังกฤษกวาดต้อนมาเพื่อใช้แรงงานและการสงคราม บางส่วนเป็นชาวอาหรับที่เดินทางมาค้าขายในรัฐอาระกันเดิม

34 โรฮิงญาเข้ามาทำไม? ต่อมามีความปั่นป่วนรุนแรงมากขึ้นในรัฐยะไข่ และปานปลายจนรัฐไม่สามารถควบคุมได้ (ในความรู้สึกของชาวโรฮิงญา) ร่วมๆ กับความยากจนข้นแค้นในรัฐยะไข่ (เช่นเดียวกับ คนไทใหญ่ ฯลฯ) โรฮิงญาเหล่านี้จึงพยายามทำให้ชีวิตตนเองดีขึ้นด้วยการอพยพ และกลายเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ในที่สุด

35 รัฐยะไข่ (อาระกัน)

36 ควรจะปฏิบัติต่อชาวโรฮิงยาอย่างไร
ควรรับเขาไว้และให้การเลี้ยงดู เปิดโอกาสให้ทำงานเสมือนพลเมืองไทย หรือควรผลักดันเขาออกไปจากผืนแผ่นดินไทย เพราะไม่ได้เป็นพลเมืองไทย

37 เพราะเหตุใดเราจึงรู้สึกว่าควรปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้แตกต่างไปจาก “คนไทย” ด้วยกันเอง

38 มิติในทางสังคม การถือสัญชาติเดียวกันทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน คนกลุ่มเดียวกัน
เช่น นักกีฬาทีมชาติ แม้อาจมีความแตกต่างอย่างมาก แต่ก็รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน

39 Zinadine Zidane ชาวฝรั่งเศส เกิดในครอบครัวชาวแอลจีเรียอพยพ

40

41 มิติในทางกฎหมาย การเป็นคนสัญชาติเดียวกันจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ และมีหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน
เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณสุข การศึกษา การเสียภาษี การได้รับความคุ้มกันจากกระบวนการยุติธรรม การมีสิทธิเลือกตั้ง ฯลฯ

42 เด็กข้ามชาติ พวกเขาสมควรมีสิทธิหรือไม่?
พวกเขามีสิทธิเรียนหนังสือหรือไม่ และเรียนอะไร? หากมี มีถึงระดับไหน ถึงเมื่อไหร่? หากมี มีที่ไหน รัฐหรือเอกชน? หากมี ต้องดำเนินการอย่างไร? พวกเขาสมควรมีสิทธิหรือไม่?

43 ลูกจีนคนจน (ณ พ.ศ ) คนจีนอพยพจำนวนไม่น้อยในช่วงนั้นทียากจนมักไม่มีสัญชาติไทย และความเป็นไทย จีนจนเหล่านี้มีสิทธิประท้วงการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ มีสิทธิทางการเมืองหรือไม่? ถ้ามี มีเพียงใด? เลือกตั้ง? ชุมนุม? ฯลฯ

44 สิทธิทางการเมืองกับสัญชาติ

45

46 เราต้องศึกษาอะไรบ้างเพื่อทำความเข้าใจเรื่องสัญชาติ
คำถามพื้นฐาน สัญชาติทำหน้าที่อะไร? ในระบบรัฐในโลกปัจจุบัน และรัฐทำหน้าที่อะไรในสังคมมนุษย์? แน่นอนเราย่อมต้องศึกษาตัวบทกฎหมาย แต่นอกจากนั้น เราต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง “สัญชาติ” กับ “รัฐ” และต้องเข้าใจ “รัฐ” ให้เพียงพอ เพื่อเข้าใจหน้าที่ของสัญชาติในสังคมมนุษย์

47 สัญชาติจึงเป็นเทคโนโลยีทางการเมืองของรัฐสมัยใหม่ ในชั้นตัวบทกฎหมาย
ในชั้นแนวคิดทฤษฎี รัฐสมัยใหม่-รัฐชาติ : กำเนิด, การดำรงอยู่, ที่มาแห่งอำนาจ และอนาคต สัญชาติกับรัฐสมัยใหม่ สัญชาติจึงเป็นเทคโนโลยีทางการเมืองของรัฐสมัยใหม่ ในชั้นตัวบทกฎหมาย กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ระเบียบข้อบังคับเท่าที่จำเป็น หลักการพื้นฐานทางกฎหมาย การตีความกฎหมาย การพิจารณาช่วงเวลาการมีผลบังคับใช้ของกฎหมาย

48 รวมกฎหมายสัญชาติของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มูลนิติธรรมประเพณีว่าด้วยสัญชาติไทย พระราชบัญญัติแปลงชาติ ร.ศ.๑๓๐/พ.ศ.๒๔๕๔ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๔๕๖ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๖ พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๙ พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๐๓ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕ พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๕

49 แนวทางในการศึกษากฎหมายสัญชาติ
ย้อนคิดเรื่องเนื้อหาของกฎหมายสัญชาติ การได้มาซึ่งสัญชาติไทย การเสียสัญชาติ การกลับคืนสัญชาติ ย้อนคิดเรื่องเหตุผลที่เราควรศึกษากฎหมายสัญชาติ สัญชาติเป็นความผูกพันกับรัฐที่ก่อให้เกืดสิทธิหลายประการ คนมีสัญชาติกับไร้สัญชาติแตกต่างกันมาก (ขึ้นอยู่กับฐานะอีกเปราะหนึ่งด้วย)

50 โดยสภาพ เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายสัญชาติกับบุคคลที่ไม่มีข้อพิพาทเรื่องสัญชาติ
เช่น นายกฤษณ์พชร เกิดในไทย มีบิดาและมารดาเป็นไทย กรณีแบบนี้ ย่อมไม่มีการโต้แย้งสัญชาติใดๆ อีก ชีวิตชนชั้นนำอย่างนายกฤษณพชร จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายสัญชาติเลย แล้วใครเป็นผู้ที่ต้องได้ใช้กฎหมายสัญชาติ?

51 ข้อพิพาทเรื่องสัญชาติ โดยทั่วไป เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่ของผู้ที่ยังไม่มีสัญชาติเท่านั้น
กลุ่มหนึ่งคือ พวกที่เคยถือสัญชาติอื่นแล้ว แต่ชีวิตปัจจุบันไม่สัมพันธ์กับรัฐที่ถือสัญชาติอย่างถาวร คนพวกนี้จึงอยู่แบบบุคคลชั้นสอง ชั้นสามในสังคม กลุ่มที่สองคือ เหล่าทายาทของกลุ่มที่หนึ่ง ซึ่งเกิดในไทย โตในไทย มีชีวิตแบบไทย แต่ไม่อาจถือสัญชาติไทยได้ จำยอมต้องเป็นคนชั้นสองสาม ไปเรื่อยๆ อีกกลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่มีสัญชาติอะไรเลย หรือคนไร้สัญชาติ (Stateless persons) เช่น คนที่ตกสำรวจ ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ สัญชาติจะมีความสำคัญกับคนชายขอบ (marginal) อาธารบุคคล (Subaltern) เท่านั้น คือ พวกมนุษย์ล่องหน ที่อยู่ในสังคมราวกับไม่มีตัวตน และไร้สิทธิเสียง (voiceless)

52 แนวทางในการศึกษากฎหมายสัญชาติจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกเสียจากเป็นการศึกษากฎหมายเพื่อมนุษย์ล่องหนเหล่านี้ ให้พอจะได้มีตัวตนได้บ้าง โดยอาศัยสิทธิและหน้าที่ ที่เกิดขึ้นจากการเป็นพลเมืองของรัฐ

53 คำถามท้ายสไลด์ กฎหมายสัญชาติเป็นกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่? เพราะเหตุใด? ให้นักศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนชายขอบ (Marginal persons) กับกฎหมายสัญชาติ?


ดาวน์โหลด ppt ขอบฟ้าของกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google