งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการพัฒนาเพื่อธำรงบันไดขั้นที่ 2 สู่ HAการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พฤศจิกายน 2557.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการพัฒนาเพื่อธำรงบันไดขั้นที่ 2 สู่ HAการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พฤศจิกายน 2557."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการพัฒนาเพื่อธำรงบันไดขั้นที่ 2 สู่ HAการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
(องค์การมหาชน) พฤศจิกายน 2557

2 I-1 การนำองค์กร ทีมนำซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานแต่ละหน่วย ถึงบทบาทของตนต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร และการนำค่านิยมไปปฏิบัติในงานประจำของแต่ละ คน ทีมนำติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาอย่าง สม่ำเสมอทุกเดือน โดยครอบคลุมทั้งในระดับ หน่วยงาน, PCT,และระบบงาน ทีมนำกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยและ ติดตามการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทีมนำใช้ Leadership walk round เพื่อรับรู้ปัญหาและ สร้างความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับคุณภาพและ ความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน ทีมนำกำหนดจุดที่มุ่งเน้นให้มีการปฏิบัติและการ พัฒนาที่ชัดเจนและติดตามผล ทีมนำปรับปรุงหรือแสดงให้เห็นช่องทางการสื่อสาร กับบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ

3 ทีมนำซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานแต่ละหน่วย ถึงบทบาทของตนต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร และการนำค่านิยมไปปฏิบัติในงานประจำของแต่ละ คน ผู้นำเลือก key word ของวิสัยทัศน์ ที่เหมาะสมกับแต่ละ หน่วยงาน แล้วใช้คำถามว่าสมาชิกในแต่ละหน่วยงานมี บทบาทต่อการบรรลุความสำเร็จในประเด็นดังกล่าว อย่างไร ตัวอย่าง วิสัยทัศน์ “รพ.ที่ประชาชนไว้วางใจ” นำมาสู่ คำถามว่าแต่ละคนจะทำงานประจำในหน่วยงานของตน อย่างไรเพื่อให้ประชาชนไว้วางใจ ตั้งแต่ ER, ward, คน สวน, พนักงานเปล,ซักฟอก ฯลฯ ตัวอย่าง วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำการเสริมสร้างสุขภาพ โดย ชุมชนมีส่วนร่วม อย่างพอเพียงและยั่งยืน” การตั้งคำถาม กับทีมงานทางคลินิกอาจจะใช้ทุก key word ข้างต้น ขณะที่หน่วยงานสนับสนุนอาจจะเลือกบาง key word ที่ เหมาะสมมาใช้ หัวหน้าหน่วยงานอาจจะพูดคุยเรื่องนี้ในที่ประชุม ประจำเดือนบ่อยๆ จนนำมาสู่ความคิดใหม่ๆ แนวทาง ใหม่ๆ ในการทำงาน หรือโครงการใหม่ๆ แล้วนำมา แลกเปลี่ยนกันในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหรือเวที ผู้นำระดับสูง

4 ค่านิยมในที่นี้หมายถึงค่านิยมของ รพ. และค่านิยมของ HA/HPH ร่วมกัน
ทีมนำซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานแต่ละหน่วย ถึงบทบาทของตนต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร และการนำค่านิยมไปปฏิบัติในงานประจำของแต่ละ คน ค่านิยมในที่นี้หมายถึงค่านิยมของ รพ. และค่านิยมของ HA/HPH ร่วมกัน ผู้นำควรร่วมกันนำค่านิยมเหล่านั้นมาเขียนเป็นลักษณะ พฤติกรรมที่ DO & DON’T ให้ชัดๆ และสื่อสารให้ทุกคน รับทราบ เช่น ค่านิยม “ทำงานเป็นทีม” ผู้นำพิจารณาค่านิยมที่เหมาะสมสำหรับการสื่อกับ ทีมงานในแต่ละช่วงเวลา เพื่อปลุกใจหรือเพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการทำงานประจำวัน หรืออาจจะใช้ค่านิยม ใหม่ที่ไม่เป็นทางการนัก แต่เป็นที่ยอมรับของผู้คน เช่น “WE CAN” DO DON’T ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยแนวคิดลูกค้าภายใน รับรู้ความต้องการและตอบสนอง ไม่ใส่ใจว่าเพื่อนร่วมงานต้องการอะไร รับฟังความเห็นที่แตกต่าง และหาข้อสรุปร่วมกันเพื่อนำไปปฏิบัติ โต้เถียงเพื่อคงความคิดของตน ไม่มีใครยอมใคร

5 (2) ทีมนำติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาอย่าง สม่ำเสมอทุกเดือน โดยครอบคลุมทั้งในระดับ หน่วยงาน PCT และระบบงาน การติดตามทำให้เกิดการขับเคลื่อน ถ้าติดตามจนเป็น ปกติ จะไม่รู้สึกเครียด การติดตามอย่างสม่ำเสมอ ควรทำให้แต่ละหน่วยงาน แต่ละ PCT แต่ละระบบงาน ได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน ความก้าวหน้าของตนอย่างน้อยไตรมาสละครั้ง เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น แต่ละหน่วยแต่ละเรื่องอาจจะ รายงานไม่เหมือนกัน (ขอเพียงให้ไปสรุปความก้าวหน้า มาเล่าสู่กันฟัง) สิ่งที่จะรายงานอาจจะเป็นไปได้ในรูปแบบ ใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้ ความก้าวหน้าเทียบกับจุดตั้งต้น ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย แผนที่จะทำในไตรมาสต่อไป (คือถ้ายังไม่ก้าวหน้าก็ขอให้คิดว่าจะทำอะไรต่อ ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ control chart ในการนำเสนอข้อมูลผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทีมนำควรสร้างการเรียนรู้ในเวทีนำเสนอ เช่น ร่วมกันหาวิธีการเอาชนะอุปสรรค

6 PSG ข้างต้นคือรายการขั้นต่ำที่ทุก รพ.ควรปฏิบัติ อาจใช้ หลัก 3P มาช่วย
(3) ทีมนำกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยและ ติดตามการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว I 1 : Hand hygiene M 1.2 : Improve the safety of high-alert drug M 3 : Assuring medication accuracy at transition in care (Medication Reconciliation) M 9 : Blood safety P 1: Patients identification P 2.1 : Effective communication –SBAR P 2.3 : Communicating critical test results E 1 : Response to the deteriorating patient E 3 : Acute coronary syndrome E 4 : Maternal & neonatal morbidity PSG ข้างต้นคือรายการขั้นต่ำที่ทุก รพ.ควรปฏิบัติ อาจใช้ หลัก 3P มาช่วย Purpose: กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดตัวชี้วัดที่มีความหมายและเป็นไปได้ Process: ศึกษาแนวทางและข้อมูลวิชาการที่ update, วิเคราะห์ gap ของการนำแนวทางนั้นไปปฏิบัติ, หาวิธีลด gap ด้วยความคิดสร้างสรรค์หรือใช้หลัก Visual Management Performance: วัดผลเมื่อเริ่มต้น และติดตามประเมินผลตามตัวชี้ที่กำหนดไว้


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการพัฒนาเพื่อธำรงบันไดขั้นที่ 2 สู่ HAการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พฤศจิกายน 2557.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google