ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย
ktoe แนวโน้มการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศ สัดส่วนการใช้พลังงานแยกตามประเภท การผลิต และนำเข้าพลังงานแต่ละประเภท ที่มา : กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2556
2
ปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน
สัดส่วนการผลิตไฟฟ้า แยกตามประเภทพลังงาน สัดส่วนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงสำเร็จรูป NG ภาคอุตสาหกรรม % ก๊าซธรรมชาติ 67 % ถ่านหิน 20 % ทางบก % นำเข้า 6 % น้ำ 5 % น้ำมันสำเร็จรูป ทางอากาศ % ทางน้ำ 2.84 % ภาคขนส่ง % น้ำมันสำเร็จรูป 1 % พลังงานทดแทน 1% ไฟฟ้า ประเทศไทยพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก (ร้อยละ 67) ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ส่งผลให้เมื่อเกิดปัญหาด้านการ supply ก๊าซธรรมชาติ อาทิเช่น การซ่อมบำรุงแหล่มจ่ายก๊าซจากประเทศเพื่อบ้าน จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า หรือกระทบต่อต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า อย่างมาก เชื้อเพลิง ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงเหลว โดยกว่า % ใช้สำหรับภาคการขนส่ง และ % ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคขนส่งเป็นการใช้ในการขนส่งทางบก ซึ่งผู้ใช้งานรถยนต์ทั้งส่วนบุคคล และบริษัทขนส่งยังไม่มีความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก
3
วิสัยทัศน์ในการปฏิรูปพลังงาน
อยากให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน มีการกระจายประเภทเชื้อเพลิงหลายชนิดอย่างเหมาะสม มีโรงไฟฟ้าที่สะอาด มีประสิทธิภาพสูง และมีกำลังการผลิตเพียงพอต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ อยากให้ราคาพลังงานมีความโปร่งใส สะท้อนต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพตลาดที่แข่งขันกันอย่างเสรี และไม่มีการบิดเบือนด้วยผลประโยชน์แอบแฝง ไม่ว่าจะเป็นในทางการเงินหรือการเมือง อยากให้ผู้ใช้พลังงานมีทางเลือกที่เป็นธรรม ไม่ถูกผูกขาดทั้งจากรัฐหรือเอกชน กิจการใดที่ผูกขาดโดยลักษณะธรรมชาติเช่นท่อก๊าซ หรือสายส่งไฟฟ้า ต้องมีการกำกับดูแลที่เข้มงวดและโปร่งใส
4
วิสัยทัศน์ในการปฏิรูปพลังงาน
อยากให้คนไทยทุกคนมีความตระหนักรู้เรื่องพลังงานเป็นอย่างดี และใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า เนื่องจากประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อยากให้ประเทศไทยมีการพัฒนาพลังงานทุกประเภท รวมทั้งพลังงานทดแทนเช่นก๊าซชีวภาพหรือขยะ และพลังงานหลักเช่นถ่านหินหรือพลังงานนิวเคลียร์อย่างมีสติและความเข้าใจที่ถ่องแท้ ไม่ปิดกั้นความคิดและทางเลือกพลังงานใด ๆ ด้วยอวิชชาหรือมิจฉาทิฏฐิ อยากให้โครงสร้างการตัดสินใจและการวางแผนพลังงานทำโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านพลังงาน โดยมีเป้าหมายผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศเป็นที่ตั้ง และปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง
5
โอกาสของพลังงานแสงอาทิตย์
ภาวะโลกร้อน ราคาพลังงานฟอสซิลแพงขึ้น ราคา Solar Cell ถูกลง ช่วงเวลาการผลิตที่สามารถลด Peak Load การลดความสูญเสียในสายส่ง (การใช้ไฟ ณ จุดผลิต) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการผลิตพลังงาน และการแก้กฏระเบียบให้ติดตั้งได้สะดวกขึ้น
6
ข้อจำกัดของพลังงานแสงอาทิตย์
ราคายังสูงกว่าพลังงานชนิดอื่น ๆ ผลิตได้ไม่ตลอดเวลา พัฒนาการแบตเตอรียังไม่ก้าวหน้าเพียงพอ ยังใช้เนื้อที่มาก เทียบกับกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ สัดส่วนการนำเข้าสูง ต้องมีโรงไฟฟ้าฟอสซิลสำรอง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.