ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รูปแบบการสอน
2
การสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
เป็นการสอนโดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วย แก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง การอภิปรายกระทำระหว่างครูกับนักเรียน หรือ ระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน วิธีการสอนแบบอภิปรายจะ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น พูดเป็น และสร้างความเป็นประชาธิปไตย ความมุ่งหมายของการสอน 1. เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย 2. เพื่อฝึกทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 3. เพื่อฝึกทักษะในการพูด และการแสดงความคิดสร้างสรรค์
3
ขั้นตอนการสอน 1.ขั้นเตรียมอภิปราย ผู้สอนต้องเตรียมในสิ่งต่อไปนี้ 1.1 หัวข้อและรูปแบบการอภิปราย 1.2 เตรียมตัวการอภิปรายมาล่วงหน้าทั้งด้านเนื้อหาสาระ และประเด็น ความคิดสำคัญและวิธีการพูด 1.3 ห้องเรียน ผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการ อภิปราย - จัดแบบวงกลม หรือครึ่งวงกลม เหมาะสำหรับการอภิปรายแบบระดมสมอง - จัดแบบรูปตัวยู หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมาะสำหรับการอภิปรายกลุ่มใหญ่ - จัดแบบรูปตัวที หรือแบบเรียงแถวหน้ากระดาน เหมาะสำหรับการอภิปราย หมู่แบบ
4
1.4 สื่อการเรียน อาจต้องใช้เอกสารไว้แจกประกอบการอภิปราย
2. ขั้นดำเนินการอภิปราย 2.1 บอกหัวข้อหรือปัญหาที่จะอภิปรายให้ชัดเจน 2.2 ระบุจุดประสงค์การอภิปรายให้ชัดเจน 2.3 บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์การอภิปราย เช่น ระยะเวลาที่ใช้ 2.4 ให้ดำเนินการอภิปรายโดยผู้สอนควรช่วยเหลือให้การอภิปรายดำเนิน ไปได้ด้วยดี 3. ขั้นสรุป ประกอบด้วย 3.1 สรุปผลการอภิปราย เป็นช่วงที่ผู้แทนกลุ่มสรุปผลการอภิปราย 3.2 สรุปบทเรียน ผู้สอนเป็นผู้สรุปเนื้อหาสาระสำคัญที่ได้จากการ อภิปราย 3.3 ประเมินผลการเรียน ผู้สอนควรมีการประเมินผลการอภิปราย ภายหลังที่สิ้นสุดบทเรียน
5
ข้อดี 1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ 3.ผู้เรียนไม่เบื่อ เพราะมีการปฏิบัติตลอดเวลาเรียน ข้อจำกัด 1.ใช้เวลามากพอสมควร ถ้าให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง 2.ผู้เรียนบางส่วนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น 3.ผู้สอนอาจเกิดความขับข้องใจ ถ้าการอภิปรายครั้งนั้นไม่สามารถสรุปผลในรูปที่ ผู้สอนปรารถนา
6
การสอนแบบสืบสวนสอบสวน ( Inquiry )
เป็นกระบวนการแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล โดยจะเริ่มต้น ด้วยปัญหา จากนั้นจึงตั้งสมมติฐาน ทดสอบสมมติฐาน หาแนวทางแก้ปัญหา โดยอาศัย ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลต่างๆที่รวบรวมมาได้ จากนั้นจึงนำมา ทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ แก้ปัญหาจนได้ข้อสรุปออกมา ความมุ่งหมายของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน 1. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสืบสวนสอบสวนความรู้หรือข้อเท็จจริงด้วยตนเอง 2. เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดหาเหตุผล 3. เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
7
ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
ขั้นที่ 1 การสังเกต (Observation) หลังจากกำหนดประเด็นปัญหา ให้ นักเรียนสังเกตสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดปัญหา ขั้นที่ 2 การอธิบาย (Explanation) นักเรียนจัดระบบความคิด ตั้งสมมุติ ฐานเพื่ออธิบายความคิดรูปแบบต่างๆ ในการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 การทำนาย (Prediction) เมื่ออธิบายความคิดรูปแบบต่างๆ ในการ แก้ปัญหาแล้วให้นักเรียนทำนายว่าเมื่อเกิดแล้วผลเป็นอย่างไรและแก้ไขอย่างไร ขั้นที่ 4 การนำไปใช้และสร้างสรรค์ (Control and Creativity) นักเรียน สามารถนำเหตุผลและความเข้าใจในการแก้ปัญหาไปใช้ประโยชน์ให้กว้างไกลใน ชีวิตประจำวันได้
8
ข้อดี 1. นักเรียนสามารถใช้ความคิด สติปัญญาและประสบการณ์เดิมของตนเองอย่างมีอิสระ 2. ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนช่างสังเกต มีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ตรวจ สอบ 3. นักเรียนเกิดความเชื่อมั่น กล้าแสดงความคิดเห็น ข้อสังเกต 1. ครูมีบทบาทสำคัญในการสอนแบบสืบสวนสอบสวน เนื่องจากครูต้องป้อนคำถาม ให้กับนักเรียนเพื่อนำไปสู่การคิดค้นคว้า 2. ครูต้องให้โอกาสนักเรียนทั้งห้องในการอภิปราย วางแผน และกำหนดวิธีกาแก้ปัญหา 3. ปัญหาที่กำหนดเพื่อสืบสวนสอบสวนไม่ควรยากเกินความสามารถของนักเรียน
9
จัดทำโดย นางสาวพิชญ์สิรี อุดแคว โปรแกรมวิชา การประถมศึกษา
10
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.