ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMalian Wongsawat ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
บทบาทข้าราชการฝ่ายปกครอง กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นางสาวลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2556
2
ประเด็นนำเสนอ 1. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเชื่อมโยงกับ นโยบายชาติอย่างไร 2. บทบาทจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการพัฒนา พื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา 3. บทบาทและแนวทางการดำเนินงานใน อนาคต
3
ประเด็นนำเสนอ 1. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเชื่อมโยงกับ นโยบายชาติอย่างไร 2. บทบาทจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการพัฒนา พื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา 3. บทบาทและแนวทางการดำเนินงานใน อนาคต
4
ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 กับอาเซียน
ยุทธศาสตร์ 1 การสร้างความเป็นธรรมในสังคม การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของชุมชน การพัฒนามาตรฐานระบบการคุ้มครองผู้บริโภค ยุทธศาสตร์ 2 การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนากำลังแรงงานให้มีความรู้และสมรรถนะ การสร้างค่านิยมให้คนไทยภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ยุทธศาสตร์ 3 ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงอาหารและพลังงาน การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหาร การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี ยุทธศาสตร์ 4 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ แผนฯ 11 การเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการตลาดและการกระจายผลผลิตไปสู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ การเพิ่มบทบาทของสกุลเงินเอเชียในตลาดต่างประเทศ ร่วมเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ / เคลื่อนย้ายแรงงาน / ส่งเสริมแรงงานไทยใน ต่างประเทศ มีส่วนร่วมในการป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและ อาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ การแพร่ระบาดโรค สร้างความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างมีจริยธรรม ไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว ส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานธุรกิจในเอเชียและสนับสนุนบทบาทของ องค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร ปรับปรุงและสร้างความเข้มแข็งของภาคีการพัฒนาในท้องถิ่น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยุทธศาสตร์ 5 การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ยุทธศาสตร์ 6 การยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การเพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวข้องกับกรอบความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ การควบคุมและลดมลพิษ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
5
นโยบายรัฐบาลด้านการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในอาเซียน
นโยบายเร่งด่วน เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับ ประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนว พรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของ สนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่ง ดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตลอดจนการเชื่อมโยง เส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอก ภูมิภาค (ข้อ 1.6) นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคม อาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ และเตรียมความพร้อมของ ทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความ มั่นคง (ข้อ 7.2) ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาคให้เป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานเศรษฐกิจ ทั้งการผลิตและการลงทุน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่อยู่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจและเมือง ชายแดน(ข้อ 7.8)
6
ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ โลจิสติกส์ 4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 5. การพัฒนากฎหมาย กฎ และระเบียบ 6. การ สร้างความรู้ ความเข้าใจและ ตระหนัก ถึงการเป็นประชาคมอาเซียน 7. การเสริมสร้างความมั่นคง 8. การเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงโอกาสจากอาเซียน 1. การเสริม สร้างความสามารถการแข่งขัน ของสินค้า บริการ การค้า และ การลงทุน 2.การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการ คุ้มครอง ทางสังคม ความเชื่อมโยง ความสามารถในการรองรับ (capacity) กฎ/ระเบียบการขนส่งสินค้า/ผู้โดยสาร ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะฝีมือแรงงาน/ผู้ประกอบการ มาตรฐานฝีมือ หลักสูตรการศึกษา เครือข่ายความร่วมมือกับประเทศสมาชิก การคุ้มครองแรงงาน สวัสดิการสังคม สภาพแวดล้อม วิสัยทัศน์ ประเทศไทยเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอาเซียนร่วมกัน พันธกรณี อำนวยความสะดวกทางการค้า ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ศักยภาพการผลิต มาตรฐานสินค้าบริการ ตลาด ตระหนักรู้ทุกกลุ่มทุกวัย องค์ความรู้อาเซียน วัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก เมืองหลวง เมืองอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยว/บริการ เมืองการค้าชายแดน ความร่วมมือระหว่างประเทศ อาชญากรรม/ภัยพิบัติ การจัดการพื้นที่ชายแดน ธรรมาภิบาล
7
ยุทธศาสตร์ประเทศ
8
เรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558
ประชาคมเศรษฐกิจ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่ง การพัฒนาประสิทธิภาพด่านที่เป็นประตูเชื่อมโยงการค้าอาเซียน เร่งรัดการทำความตกลงการขนส่งสินค้าข้ามแดน รวมทั้งเร่งเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง National Single Window กับระบบภายในหน่วยราชการ เร่งผลักดันการออก/ปรับปรุงกฏหมายเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในประเทศ เช่นกฏหมายเพื่อรองรับการดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง กฏหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า หลักประกันทางธุรกิจ สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ให้ความคุ้มครองทางสังคม จัดบริการสาธารณะและปรับระบบสวัสดิการสังคมที่จำเป็นแก่แรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียม พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสำคัญอื่นๆในอาเซียน นำร่องการยอมรับมาตรฐานหลักสูตรร่วมกันกับประเทศอาเซียน รวมทั้งจัดทำแผนการผลิตบุคลากรเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานอาเซียน ร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ประชาคมการเมืองและความมั่นคง พัฒนาระบบยุติธรรมและปรับปรุงกฏหมาย ให้มีความน่าเชื่อถือและส่งเสริมการเข้าถึงระบบยุติธรรมของประชาชน ส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐและเอกชน แก้ปัญหายาเสพติด และต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ เร่งพัฒนาระบบการบริหารภาครัฐให้เป็น E-Government และการให้บริการประชาชนในรูปแบบ E-Service เร่งจัดตั้ง ASEAN Unit และพัฒนาบุคลากร ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อประสานงานเรื่องอาเซียนโดยเฉพาะ A P S C
9
เป้าหมาย/ตัวชี้วัดเชิงบูรณาการ เป้าหมาย/ตัวชี้วัดระดับพื้นที่
การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ประเทศและยุทธศาสตร์อาเซียน สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ เป้าหมาย/ตัวชี้วัดเชิงบูรณาการ เป้าหมาย/ตัวชี้วัดระดับพื้นที่ การนำ แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ประเทศ สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ประเทศและยุทธศาสตร์ อาเซียน แผนพัฒนา กลุ่มจังหวัด/ จังหวัด Function Based Area Based การติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัด
10
ศักยภาพและบทบาทการพัฒนากลุ่มจังหวัด
11
ประเด็นนำเสนอ 1. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเชื่อมโยงกับ นโยบายชาติอย่างไร 2. บทบาทจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการพัฒนา พื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา 3. บทบาทและแนวทางการดำเนินงานใน อนาคต
12
กรอบการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้เชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียน
พัฒนาฐานการผลิต ทั้งในด้านการผลิตสินค้า ด้านการท่องเที่ยว และด้านระบบโลจิสติกส์ โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดอาเซียนและตลาดโลก ใช้การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองศูนย์กลางบริการหลัก พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ เมืองชายแดน เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเมืองเครือข่าย เป็นเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียน ชึ่งจะมีการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ มาตรฐานการให้บริการ และการอำนวยความสะดวกบริเวณจุดผ่านแดน การเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกการพัฒนาระดับพื้นที่ ได้แก่ กบจ. กบก. กรอ.จังหวัด และกรอ.กลุ่มจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ โดยการพัฒนาองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเฉพาะในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ประเทศและประชาคมอาเซียน ที่มา : เส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน สศช. 12
13
การจัดทำแผนพัฒนา และแผนงาน/โครงการ
ภาพรวมการดำเนินการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ผ่านมา การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ผ่านมายังมีบางกลุ่มขาดแนวทางการเตรียมการ และแผนรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ชัดเจน การดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่ผ่านมา ยังเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัด โครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ผ่านมายังมีข้อจำกัดในการบูรณาการแผนงาน/โครงการ ระหว่างจังหวัด กลุ่มจังหวัด หน่วยงานส่วนกลาง และท้องถิ่น จึงควรมีการพัฒนารูปแบบและ กระบวนการจัดทำให้มีขั้นตอนการบูรณาการระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้แผนงาน/โครงการเกิด ความเชื่อมโยงระหว่างกัน หรือสอดคล้องในห่วงโซ่กิจกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การจัดทำแผนพัฒนา และแผนงาน/โครงการ การพัฒนาที่ผ่านมา จังหวัด/กลุ่มจังหวัดได้ดำเนินการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริการ ในภาคการผลิตต่างๆ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขยายตัวทางการค้า การลงทุนกับ ประเทศเพื่อนบ้าน และการพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปัญหาอุปสรรค ขาดการวางระบบผังเมืองที่ดีเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังไม่เพียงพอเพื่อรองรับการเชื่อมโยง การผลิต การค้า การลงทุนกับประเทศในกลุ่มอาเซียน นอกจากนี้ยังประสบภัยธรรมชาติที่มี แนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้แก่ การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ปัญหาจราจร ติดขัด ปัญหาสิ่งแวดล้อม อุทกภัย และภัยแล้ง เป็นต้น การพัฒนาที่ควรให้ความสำคัญ การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการให้ได้ มาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การวางระบบผังเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อเอื้อต่อการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การลงทุน เชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 13
14
ประเด็นนำเสนอ 1. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเชื่อมโยงกับ นโยบายชาติอย่างไร 2. บทบาทจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการพัฒนา พื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา 3. บทบาทและแนวทางการดำเนินงานใน อนาคต
15
ผลกระทบและการปรับตัวของภาคราชการ จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ต้องตื่นตัวและรับรู้เรื่องเกี่ยวกับอาเซียน มากขึ้น ต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อใช้ใน การพบปะเจรจาและประชุมหารือร่วมกัน เกิดความร่วมมือด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น การติดต่อราชการต่างๆในประเทศ สมาชิกประชาคมอาเซียนมากขึ้น ต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศ เพื่อนบ้าน ตลอดจนต้องศึกษาเรียนรู้ เข้าใจภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและ เปิดกว้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ (อ้างอิงจากความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี) 15
16
บทบาทสำคัญของข้าราชการฝ่ายปกครอง (จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ท้องถิ่น)
มท. ประชาคมอาเซียน พัฒนาบุคลากรภาครัฐและประชาชนให้พร้อมรับการเข้าสู่ AC บริหารจัดการพื้นที่และให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ปรับทัศนคติต่อประเทศเพื่อนบ้านในเชิงบวก เป็นมิตรไม่ใช่ศัตรู การประชุม/สัมมนาเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาร่วมกัน เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการลักลอบนำแรงงานเข้าประเทศโดยผิดกฏหมาย และความร่วมมือการค้าขายชายแดน เป็นต้น การพัฒนาจุดผ่านแดน ฯลฯ จัดทำแผน/ประสานแผนให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ประเทศและยุทธศาสตร์อาเซียน ส่วนราชการ จังหวัด ท้องถิ่น ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มขีดสมรรถนะในการบริหารจัดการพื้นที่ และยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน ปรับปรุงการทำงานเน้นความเสมอภาค โปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน ภาษา ความเข้าใจอาเซียน วัฒนธรรม สร้างการมีส่วนร่วม ฯลฯ 16
17
ประเด็นการขับเคลื่อนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองศูนย์กลางบริการหลัก การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองชายแดน การขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองเครือข่าย 17
18
การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองศูนย์กลางการบริการหลัก
จ.พิจิตร ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม และระบบ Logistics อาทิ ขยาย ทางหลวงและแก้ปัญหาจุดตัดทางแยกบนทางหลวงสายหลัก จัดระบบขนส่งมวลชนเขตเมืองและเชื่อมโยงระหว่างเมือง จัด พื้นที่และระบบกระจายสินค้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและลด ต้นทุน จัดการใช้ที่ดินให้เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่สำหรับเศรษฐกิจ และการลงทุนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อนุรักษ์ ประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว รวมทั้งพื้นที่การเกษตรที่สำคัญ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการ พัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยเน้นการวางผังเมือง และการ ฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมือง พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพัฒนาและยกระดับคุณภาพด้าน การศึกษา โดยเฉพาะด้านภาษา การสื่อสาร และการบริหาร จัดการเพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการค้า การลงทุน และ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่มา : เส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน สศช. 18
19
การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ
(1) พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ทางถนน ทางน้ำ ทางอากาศ) และสิ่ง อำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ และอำนวยความ สะดวกในการเดินทางและขนส่ง (Connectivity and Mobility) และพัฒนา ไปสู่การขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal) เพื่อประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนการขนส่ง (2) พัฒนาด้านระเบียบพิธีการทางศุลกากร กฎระเบียบการค้า การลงทุน ให้มีความทันสมัย และมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วย เพื่ออำนวย ความสะดวกการค้า และการขนส่งข้ามพรมแดน อาทิ การพัฒนาด่าน 24 ชั่วโมงเพื่อช่วยลดความยุ่งยากทางด้านเอกสารและระยะเวลาดำเนินการ (3) พัฒนาศูนย์กระจายสินค้า เพื่อรองรับการขนส่งในเส้นทางหลัก และ กระจายสินค้าจากระเบียงเศรษฐกิจสู่การพัฒนาศักยภาพของเมือง โดยการ พัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ เพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเชิงพื้นที่ และ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน (4) ส่งเสริมภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านการลงทุน ในแนว พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ และการพัฒนาความร่วมมือของผู้ประกอบการ ธุรกิจภายในประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการต่อรองกับต่างประเทศและ ศักยภาพในการแข่งขันตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือ กับผู้ประกอบการในต่างประเทศ เพื่อช่วยในการพัฒนาช่องทางการตลาดและ สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ที่มา : เส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน สศช. 19
20
การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองชายแดน
เมืองชายแดนที่สำคัญ ได้แก่ ตาก เชียงราย หนองคาย มุกดาหาร สระแก้ว กาญจนบุรี สงขลา และนราธิวาส พัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ มาตรฐานการให้บริการ และการอำนวยความสะดวกบริเวณจุดผ่านแดน เพื่อสนับสนุนการ พัฒนาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียน เสริมสร้างและขยายโอกาสการพัฒนาเขตประกอบการอุตสาหกรรม ตามแนวชายแดน โดยการพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายบริการพื้นฐานและ สิ่งแวดล้อมบริเวณชายแดนให้เป็นระบบ สอดคล้องกับความต้องการลงทุนของ ภาคเอกชน เช่น นิคมอุตสาหกรรม คลังสินค้า ระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อ การผลิตในภาคอุตสาหกรรม ขยายการบริการต่างๆ อาทิ การบริการด้านการเงิน การศึกษา และการ สาธารณสุข เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการประกอบธุรกิจ สนับสนุนการจัดการพื้นที่เมืองและชุมชนชายแดน รองรับการขยายตัว ทั้งในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และที่พักอาศัย โดยเฉพาะ สนับสนุนการวางผังเมืองรวมเมือง/ชุมชนชายแดน เพื่อ จัดระเบียบการใช้ ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม และพัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งให้มี ประสิทธิภาพ (5) เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการชายแดน อาทิ แรงงานต่างด้าว ปัญหา ยาเสพย์ติด การค้ามนุษย์ ฯลฯ และเร่งสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในจุดผ่านแดนถาวร 12 แห่ง (ไทย-เมียนมาร์ 3 แห่ง, ไทย-สปป.ลาว 5 แห่ง ไทย-กัมพูชา 1 แห่ง และไทย-มาเลเซีย 3 แห่ง) ที่มา : เส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน สศช. 20
21
การขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
พื้นที่เป้าหมายในระยะแรก 11 แห่ง แม่สาย เชียงแสน เชียงของ (1) ศึกษาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษในระดับประเทศและระดับพื้นที่ใน 11 พื้นที่หลัก รวมทั้งพิจารณาจัดทำเกณฑ์ มาตรฐานสำหรับพื้นที่จะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ กาญจนบุรีและบริเวณใกล้เคียงเพื่อเปิดประตู เศรษฐกิจด้านตะวันตก จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เทศบาลแม่สอด เพื่อรองรับการเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบพิเศษเขตเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ชายแดน จ.หนองคาย จ.บึงกาฬ พื้นที่ชายแดน จ.นครพนม จ.หนองคาย แม่สอด พื้นที่ชายแดน จ.มุกดาหาร พื้นที่ชายแดน จ.กาญฯ พื้นที่ชายแดน จ.สระแก้ว สะเดา พื้นที่ชายแดน จ.นราธิวาส ที่มา : เส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน สศช. 21
22
การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองเครือข่าย
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ เพื่อสร้าง ความเชื่อมโยงและสนับสนุนบทบาทการพัฒนาเมืองในแต่ละ กลุ่ม รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของเมืองเครือข่ายทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและบริการ อาทิ การพัฒนา ยโสธร สุรินทร์ และ บุรีรัมย์เป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ ลำพูนเป็นเมืองอุตสาหกรรม และรองรับการขยายตัวการบริการของจังหวัดเชียงใหม่ และ ปัตตานีเป็นเมืองอุตสาหกรรมอาหารทะเลและแปรรูป บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยเน้นการวางผังเมืองและการ ฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมือง พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพัฒนาและยกระดับคุณภาพ ด้านการศึกษา โดยเฉพาะด้านภาษา การสื่อสาร และการ บริหารจัดการ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการค้า การ ลงทุน และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่มา : เส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน สศช. 22
23
ขอบคุณ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.