ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรงพยาบาลทุ่งสง นครศรีธรรมราช
ดูแลวัยใสให้ปลอดภัย & ก้าวย่างอย่างมีคุณค่า โรงพยาบาลทุ่งสง นครศรีธรรมราช
2
ปัญหา และความสำคัญ การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก เป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายของเด็กมีบาดแผล ฟกช้ำ เนื่องจากการถูกทำร้าย หรือเกิดโรคเอดส์ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ ด้านจิตใจ ทำให้เด็กฝันร้าย ซึมเศร้า กังวล พยายามทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย หวาดกลัวผู้กระทำทางเพศ ด้านพฤติกรรม ทำให้เด็กมีอาการซึมเศร้า ก้าวร้าว ผลการเรียนแย่ลง หนีออกจากบ้าน ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่าย หวนกลับไปสู่พฤติกรรมต่ำกว่าวัยของตนอย่างกะทันหันอาจหันไปพึ่งเสพยาเสพติด หรือสำส่อนทางเพศ อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆที่ส่งผลต่อเด็ก อาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ล่วงละเมิดไปแล้วหลายปี ทำให้บางครั้งนานจนดูเหมือนว่า เหตุการณ์นั้นไม่น่าจะมีผลอะไรต่อเด็ก แต่จริง ๆ แล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ยังฝังอยู่ในใจของเด็ก การดูแลช่วยเหลือด้านร่างกายและจิตใจ หลังจากเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ จึงมีความสำคัญ ต่อการก้าวย่างเข้าสู่วัยรุ่น หรือเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โรงพยาบาลทุ่งสง เห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้กำหนดนโยบายให้มีการดูแลเด็กกลุ่มนี้ ตั้งแต่ ปี 2552
3
เป้าหมาย เด็กปลอดภัยจากโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เด็กได้รับการดูแลสร้างเสริมด้านจิตใจ
4
การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ระบบบริการ ผู้ให้บริการ ดูแลร่วมกันหลายสาขา สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ อายุรแพทย์ พยาบาลจิตเวช เภสัชกร ให้บริการหลายจุดบริการ ขั้นตอนบริการ ในเวลา นอกเวลาราชการ การเก็บรักษาความลับ ช่วงเวลาตรวจของสูตินรีแพทย์ การดูแล เด็ก RAPE ไม่ได้ถูกล่วงละเมิด แต่ สมัครใจ เมื่อผู้ปกครองรู้ จึงพามาแจ้งความ ไม่กล้าบอกผู้ปกครอง ตั้งครรภ์ ก่อนมารับการรักษา ถูกล่วงละเมิดมานานมากกว่า 72 ชม ก่อนมาถึงรพ. รพ.มี 2 แห่ง ผู้ป่วย สถานที่
5
แนวทางการพัฒนา กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ ดูแลเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศ และมอบหมายให้มีหน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบหลัก จัดระบบบริการ/ขั้นตอนการบริการ/แบบบันทึก ที่เอื้อต่อการดูแลรักษาตั้งแต่แรกรับ และดูแลต่อเนื่อง ให้การดูแลรักษาโดยสหวิชาชีพ ครอบคลุมด้านร่างกาย (การใช้ยาป้องกันการติดเชือเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันการตั้งครรภ์ และให้การปรึกษาดูแลจิตใจ จัดระบบดักจับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการให้บริการและแก้ไขปัญหาป้องกันการเกิดซ้ำ ได้แก่ ** การรักษาความลับของผู้ป่วย จึงกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ การเก็บรักษาความลับของผู้ป่วยเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศ ** ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ให้การช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจต่อเนื่อง กรณีเด็กถูกสอบปากคำ โดยพยาบาลวิชาชีพ ร่วมกับพนักงานตำรวจ อัยการ
6
นโยบาย /แนวทางการปฏิบัติดูแลเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
7
ขั้นตอนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพื้อป้องกันการติดเชื้อ
8
การติดตามดูแลต่อเนื่อง
9
นโยบายการเก็บรักษาความลับ
10
ผลลัพธ์
11
ผลลัพธ์
13
การวิเคราะห์ เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง กลุ่มอายุ ปี ผู้กระทำส่วนใหญ่ เป็นแฟน รองลงมาเป็นเพื่อนและ เพื่อนบ้าน สาเหตุของการกระทำ เนื่องจากสภาพแวดล้อม เด็กที่มารับบริการหากเข้าเกณฑ์ข้อบ่งชี้ที่สามารถรับยาต้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับยาทุกราย จากการติดตามหลังเกิดเหตุ 3 เดือน ผลพบว่า เด็กกลุ่มนี้ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี มีเด็กหนึ่งราย ติดเชื้อเอชไอวี ตั้งแต่ แรกรับบริการ ผู้ป่วยขอกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนาเดิม ภาคอีสาน ด้านการตั้งครรภ์ พบว่า เด็ก 3 ราย (อายุ 12,14,15 ปี ) ตั้งครรภ์ขณะแรกรับ ให้การดูแลตามแผนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ด้านสภาพจิตใจ สามารถดูแลตนเอง เรียนหนังสือ ต่อได้
14
บทเรียน การดูแลเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ท่าที คำพูด การสอบถามประวัติการถูกกระทำ ต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ เพื่อไม่เป็นการตอกย้ำความรู้สึกต่อเด็ก ทีมผู้ดูแล ควรมีการประเมินความมีคุณค่าในตัวเองของเด็ก ต่อ วิกฤตที่เกิดขึ้น เพื่อวางแผนและให้การดูแลช่วยเหลือ ป้องกันผลกระทบเมื่อเข้าสู้วัยผู้ใหญ่ หรือวัยที่จะมีคู่ครอง การเก็บรักษาความลับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการดูแลเด็กกลุ่มนี้
15
การติดต่อกับทีมงาน นางอารี สุภาวงศ์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางอารี สุภาวงศ์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางพิมพ์จิตต์ สิทธิดำรงค์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลทุ่งสง นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ ต่อ 8366,8446 โทรศัพท์มือถือ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.